ตัวอย่างหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี

ตัวอย่างหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี

Advertisement

โฆษกรัฐบาลชี้แจงการเรียกชื่อตำแหน่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในหนังสือราชการ ให้ใช้ตำแหน่ง “รองนายกรัฐมนตรี” เท่านั้น ไม่ต้องต่อท้ายด้วยคำว่า “รักษาราชการแทนนายกฯ”

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเรียกชื่อตำแหน่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในหนังสือราชการ สาระสำคัญดังนี้

1) กรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” เท่านั้น เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญให้พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย

2) กรณีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ใช้ “รองนายกรัฐมนตรี” เท่านั้น เนื่องจากการรักษาราชการแทน เป็นไปตามกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน และคำสั่งที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงไม่ต้องต่อท้ายตำแหน่งด้วยคำว่า “รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี”

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

      ■ เนื่องจากผมยังเห็นว่า มีหลายแห่งยังมีการใช้คำว่า ฯพณฯ อยู่ แล้วผมเองก็เผลอใช้ไปหลายครั้งด้วย โดยไม่ได้ตรวจสอบเรื่องราวของการยกเลิกการใช้ ฯพณฯ คำนี้ จึงได้ค้นหาและสรุปมาให้ทราบกัน เืผื่อท่านที่ยังไม่ทราบ (แบบผม) จะได้ทราบและบอกต่อ ๆ กันไป นะครับ

ความว่า
      ■ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖ กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้ใช้คำว่า ฯพณฯ (อ่าน พะ-นะ-ท่าน)  แสดงถึงวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทยในลักษณะเดียวกับภาษาต่างประเทศ คือ His/Her Excelleney อักษรย่อ H.E. และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้แจ้งกระทรวงถือปฏิบัติ (ทว่า ก็่ไม่มีระบุชัดเจนว่า ตำแหน่งใดจะใช้คำว่า  ฯพณฯ เพียงแต่มีกำหนดให้ใช้คำ 2 คำ คือ พณะท่าน กับท่าน)

      ■ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๗ กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือที่ นว.๑๘๒/๒๔๘๗ แจ้งทุกกระทรวงว่า คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกระเบียบการใช้คำ ฯพณฯ ในหนังสือราชการและมีหนังสือที่ นว.๑๐๘/๒๕๘๘ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๘ แจ้งรัฐมนตรีทุกกระทรวงอีกครั้งหนึ่งว่า

          “ให้ยกเลิกใช้คำ ฯพณฯ นำหน้านามของรัฐมนตรี หรือผู้มีเกียรติเว้นแต่ในกรณีพิเศษที่จำเป็นจริง ๆ อันเกี่ยวกับการต่างประเทศ หรือใช้เฉพาะที่เป็นคำแปลมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น”

      ■ นอกจากหนังสือที่แจ้งโดยกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว ยังปรากฏในหนังสือ ประมวลข้อหาหรือเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๒๖ ที่รวบรวมโดยสวัสดิการสำนักนายกรัฐมนตรี หน้า ๔ ซึ่งได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้คำ ฯพณฯ ว่า

          “เนื่องจากระเบียบกำหนดให้เขียนคำขึ้นต้นแล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือมีไป ถึง โดยให้มีคำนำหน้าตำแหน่ง จึงไม่จำเป็นต้องใช้คำขึ้นต้นต่อด้วยคำว่า “ท่าน” หรือ “ฯพณฯ” เช่น กราบเรียน นายกรัฐมนตรี เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ตัวอย่างหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี

      ■ อย่างไรก็ตาม แม้มีหนังสือเวียนไปตามหน่วยงานราชการแล้ว ก็ยังปรากฏอีกว่า ในทางปฏิบัติยังมีหน่วยราชการใช้คำว่า ฯพณฯ  นำหน้านามและตำแหน่งในหนังสือราชการ และในภาษาพูด เช่น คำกล่าวรายงานดังปรากฏตามข้อมูลที่ได้จากการที่สำนักอาลักษณ์และเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ตรวจสอบพบว่า

           ■ ก. สำนักราชเลขาธิการ กองการในพระองค์ยังใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อหรือตำแหน่ง โดยใช้เฉพาะกับประธานองคมนตรีและนายกรัฐมนตรี เนื่องจากใช้มาโดยตลอด แม้จะทราบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยระเบียบงานสารบรรณ ๒๕๒๖ ว่าไม่กำหนดให้ใช้ก็ตาม ก็ยังใช้เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการลดฐานะและถือว่าเป็นการให้เกียรติ

           ■ ข. สำนักพระราชวัง กองพระราชพิธี (นางสาววิลาวรรณ ธันวานนท์ ผู้ยกร่างกำหนดการและหมายกำหนดการ) แจ้งว่า ได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระเบียบงานสารบรรณ ๒๕๒๖ โดย ไม่ใช้ คำ ฯพณฯ นำหน้าชื่อหรือตำแหน่งประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี องคมนตรี หรือ รัฐมนตรี

           ■ ค. กองกิจการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการเขียนกำหนดการ มีทั้งใช้คำว่า ฯพณฯ และไม่มี

           ■ ง. กระทรวงการต่างประเทศ (นางทรงทรัพย์ คเชนกรชัย เจ้าหน้าที่การทูต ๗ กองแบบพิธี กรมพิธีการทูต (เป็นผู้ให้ข้อมูล) แจ้งว่า กองแบบพิธีใช้คำว่า ฯพณฯ กับเอกอัครราชทูตต่างประเทศ รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และบุคคลระดับสูง เช่น ประธานองคมนตรี ประธานรัฐสภา รวมทั้งข้าราชการที่เกษียณอายุของกระทรวงการต่างประเทศที่โดยดำรงตำแหน่ง ระดับ ๑๐ ขึ้นไป โดยใช้ในหนังสือราชการและบัตรเชิญ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กองแบบพิธีไม่ทราบว่า เคยมีหนังสือเวียนยกเลิกการใช้ คำว่า ฯพณฯ และไม่ได้ตรวจสอบระเบียบงานสารบรรณ
(แสดงว่า หนังสืออาจหล่นตกไปไปอยู่ที่แม่บ้านก็เป็นได้..ประชดนะครับ)

           ■ จ. สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยึดถือปฏิบัติตามหนังสือเวียน นว.๑๐๘/๒๔๘๘ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๘ ให้ยกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ๒๕๔๖ ที่ไม่กำหนดให้ใช้คำว่า ฯพณฯ จึงไม่ใช่คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อหรือตำแหน่งใด ๆ และหากมีหนังสือมาจากหน่วยราชการและใช้คำว่า ฯพณฯ สำนักอาลักษณ์ฯก็จะตัดออกเสมอ

ตัวอย่างหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี

      ■ เมื่อมีความลักลั่นในการใช้คำว่า ฯพณฯ และประชาชนพบว่า หน่วยราชการสำคัญหลายแห่งยังคงใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าตำแหน่ง ทั้ง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯ แล้ว ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๗-๒๔๘๘ จึงมีผู้สงสัยโทรศัพท์และมีหนังสือสอบถามไปยังราชบัณฑิตยสถานอยู่เสมอ ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน ได้นำปัญหาดังกล่าวเข้าพิจารณาในคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับใช้ภาษา ไทย แล้วมีมติให้ตอบผู้ถามดังนี้

          “เมื่อสำนักนายกรัฐมนตรีได้วางระเบียบงานสารบรรณให้ถือปฏิบัติในการโต้ตอบ หนังสือราชการ โดยกำหนดให้เขียนคำขึ้นต้น แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือมีไปถึง โดยไม่ต้องมีคำว่า “ท่าน” หรือ ฯพณฯ ต่อท้ายคำขึ้นต้น ดังนั้น ในหนังสือราชการจึงควรถือปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว”
.....ระบุมายาวพอควร สรุปสั้น ๆ ว่า "ไม่ใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อหรือตำแหน่ง"

ยัง ยังไม่จบ

      ■ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ ในการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้มอบหมายให้ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ กรรมการ ตรวจสอบและเสนอความเห็นเกี่ยวกับคำว่า ฯพณฯ หากมีความเหมาะสมที่จะนำคำว่า ฯพณฯ กลับมาใช้ ก็จะได้ดำเนินการให้เป็นการถูกต้องต่อไป
      ■ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ได้นำเรื่องเสนอคณะทำงานศูนย์ส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทยของราช บัณฑิตยสถานแล้ว และได้พิจารณาเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กับเอกสารที่ราชบัณฑิตยสถาน ได้ประมวลไว้จากการตรวจสอบมาก่อนแล้ว และได้สรุปความเห็นเสนอรองนายกรัฐมนตรี ดังนี้

          “เนื่องจากมีหนังสือเวียนและมีระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดว่า ไม่ต้องใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อและตำแหน่ง ซึ่งหน่วยราชการและหน่วยงานต่าง ๆ พึงยึดถือปฏิบัติตาม โดยงดใช้คำว่า ฯพณฯ

ความหมาย

      ■ คำว่า ฯพณฯ เป็นการเขียนคำย่อของคำว่า "พณะหัวเจ้าท่าน" ซึ่งแปลว่า ท่านผู้เหนือหัว ใช้เขียนนำชื่อหรือตำแหน่งเสนาบดี หรือข้าราชการระดับสูง ซึ่งในอดีตคงใช้ได้โดยเหมาะสม เพราะประเทศไทยยังปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เสนาบดี ขุนนางระดับสูงครองอำนาจยิ่งใหญ่ จึงยกย่องว่า "เป็นท่านผู้อยู่เหนือหัว" แต่ในปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ วัฒนธรรมประเพณีมีมาแต่โบราณกาลว่า ทรงเป็น เจ้าชีวิต เพราะพระมหากษัตริย์ทรงสร้างบ้านแปลงเมือง นำความสุขความเจริญอุดมสมบูรณ์และความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประเทศ ทั้งยังทรงขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ตลอดมา จึงทรงอยู่ในฐานะ “เหนือหัว” โดยชอบธรรมและเหมาะสม

      ■ ส่วนคนสามัญ เมื่อบ้านเมืองปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีบุคคลใดสมควรที่จะเป็น ผู้อยู่เหนือหัวบุคคลอื่น จึงไม่ควรใช้คำว่า ฯพณฯ ซึ่งแปลว่า ท่านผู้เหนือหัว หรือพ่อเหนือหัวของบุคคลอื่น นำหน้าชื่อหรือตำแหน่งบุคคลสามัญไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด

          สั้น ๆ ไม่ต้องใช้ ฯพณฯ อีกต่อไป

ตัวอย่างหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี

ยัง ๆ ไม่หมด
      ■ ด้วยคำว่า ฯพณฯ เป็นคำที่เขียนยาก อ่านยาก และสะกดไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การเขียนและการอ่านคำไทย คำเดิมที่ถูกต้องคือ "พณะหัวเจ้าท่าน" ต่อมา ย่อคำลงเหลือ ฯพณฯ เขียนไปยาลน้อยไว้หน้าและหลังคำว่า พณ ซึ่งเป็นการเขียนรูปศัพท์ที่ "ไม่ถูกต้อง" และในความเป็นจริงทั้งผู้เขียน ผู้อ่าน และผู้ถูกเรียกก็ไม่ทราบว่า หมายความว่าอย่างไร จึงเป็นการใช้คำนี้โดยไม่มีเหตุผล เพราะไม่สื่อความหมายหรือความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งไม่เหมาะสมกับสภาวะสังคมในปัจจุบันด้วย

      ■ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติในสังคม และการใช้ถ้อยคำในภาษาทั้งภาษาราชการและภาษาพูดไม่สับสน เห็นควรยกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯ

.....สั้น ๆ อีกครั้ง ไม่ต้องใช้ ฯพณฯ อีกต่อไป
 

สรุปของสรุป
      ■ ปัจจุบัน หากคณะรัฐมนตรี มิได้มีมติเปลี่ยนแปลงมติตามหนังสือที่ นว.๑๘๒/๒๔๘๗ ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๗ และหนังสือที่ นว.๑๐๘/๒๔๘๘ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๘ ซึ่งให้ยกเลิกการใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อและตำแหน่ง  ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า ฯพณฯ นำหน้าชื่อและตำแหน่งทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด

* * * * * *  *

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.attt.in.th/accomplishment-379.html

ปล.ข้อมูลนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/vasit/2010/03/04/entry-1