ความ ปลอดภัย ใน การ ใช้ เครื่องจักร ประเภท

ความปลอดภัยในการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ
ในที่นี้
จริงๆแล้วมาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่า "Occupational Safety and Health" ผู้ประกอบอาชีพในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร
ครู นักเรียน 
เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ลูกจ้าง คนงาน ยาม เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่ต้องมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบ
โดยตรง
ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนักเรียนความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงาน
ต้องตระหนักและพึงระลึกถึงตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ความ ปลอดภัย ใน การ ใช้ เครื่องจักร ประเภท

ความปลอดภัย หมายถึง การที่ร่างกายปราศจากอุบัติภัยหรือทรัพย์สินปราศจากความเสียหายใดๆ เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์
ต้องการความปลอดภัยทั้งสิ้น 
ความปลอดภัยจะเป็นประโยชน์มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหรือการกระทําของตนเอง

 ความปลอดภัยในโรงงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกายชีวิต หรือ ทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงานในโรงงาน
ซึ่งก็คือสภาพการทํางานที่ถูกต้องโดยปราศจาก อุบัติเหตุในขณะทํางานนั่นเอง อุบัติเหตุ อาจนิยามได้ว่า คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่พึงประสงค์
ในระหว่างการทํางานและมีผลไปขัดขวางหรือก่อผลเสียหายแก่การทํางานนั้นในโรงงานต่าง ๆ นั้นย่อมจะเกิดอุบัติเหตุกับระบบต่าง ๆ ได้มาก
อาทิ เครื่องจักรเครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่งหรือขนถ่ายวัสดุ เครื่องมือกล วัตถุดิบ สารเคมี สารไวไฟ ฯลฯ อุบัติเหตุที่เกิดแก่ชีวิตร่างกาย 
จากสถิติที่ประเมินมาพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดแก่ร่างกายของคนงานคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถี่บ่อย ๆ ครั้งในการเกิดดังนี้

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
•การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
•ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
•การมีนิสัยชอบเสี่ยง
•การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน
•การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
•การแต่งกายไม่เหมาะสม
•การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เมาค้าง ป่วย

ความ ปลอดภัย ใน การ ใช้ เครื่องจักร ประเภท

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนที่เคลื่อนไหวไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
•การวางผังไม่ถูกต้อง วางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
•พื้นโรงงานขรุขระเป็นหลุมบ่อ
•พื้นโรงงานมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
•สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง
•เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด
•ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด

การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น 

หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น
•สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย ใช้-ไม่ใช้
•สะดวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
•สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน
•สุขลักษณะ หมายถึงผู้ปฎิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
•สร้างนิสัย หมายถึงการสร้างนิสัยที่ดี

กฎ 5 รู้
•รู้ งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

•รู้ การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

ความ ปลอดภัย ใน การ ใช้ เครื่องจักร ประเภท

Visitors: 104,928

?>

ความ ปลอดภัย ใน การ ใช้ เครื่องจักร ประเภท

อัพเดทวันที่ : 01 ก.ย. 2559

ในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร แม้พนักงานผู้ปฏิบัติงานจะสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ที่ครบถ้วน และมีคุณภาพสูง แต่หากใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในการทำงานที่ผิดประเภท รวมถึงเครื่องมือไม่พร้อมสำหรับการทำงาน การทำงานขณะนั้นย่อมมีความเสี่ยงสูงและอาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ วันนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกท่านไปเรียนรู้ความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องมือและเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

สาเหตุที่เกิดอันตราย
1.การใช้งานเครื่องมือ เครื่องจักรผิดวัตถุประสงค์ เช่น การใช้รถโฟล์คลิฟท์เป็นบันไดเพื่อใช้หยิบสิ่งของ เป็นต้น
2.เครื่องมือ เครื่องจักรมีการชำรุดหรือไม่พร้อมสำหรับการใช้งาน เช่น เฟืองเครื่องจักรฝืด เป็นต้น
3.เครื่องมือเครื่องจักรที่เป็นไฟฟ้า ไม่มีฉนวนหุ้มอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายในขณะปฏิบัติงาน

วิธีการป้องกันอันตราย
1.ออกนโยบายการใช้งานเครื่องมือและเครื่องจักรที่ถูกต้อง
2.มีการอบรมการใช้งานเครื่องมือ เครื่องจักรให้ถูกวิธี โดยต้องหมั่นทบทวนความรู้สม่ำเสมอ เช่น ทุกๆ6เดือน
3.ต้องหมั่นพูดคุยกับพนักงานปฏิบัติงานให้รู้ถึงอันตราย หากไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการทำงาน
4.ต้องหมั่นสำรวจเครื่องมือและเครื่องจักรทุกวัน เพื่อให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน

อันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
1.การบาดเจ็บจากเครื่องจักร
2.การสูญเสียอวัยวะ
3.การสูญเสียชีวิตในการทำงาน

จะเห็นได้ว่าหากเครื่องมือ เครื่องจักรไม่มีความพร้อมสำหรับการทำงาน ก็จะส่งผลต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานผู้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสำรวจเครื่องมือ เครื่องจักรให้พร้อมเสมอในการทำงาน รวมไปถึงการแนะนำอบรมพนักงานให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร จะได้ใช้งานอย่างถูกต้องและสุดท้ายต้องมีสติเสมอในการปฏิบัติงาน

ข้อมูลโดย บริษัท พีดีเอส อินเตอร์แนชชั่นแนล (ประเทศไทย) ผู้จัดจำหน่ายและให้คำปรึกษาด้านอุปกรณ์เซฟตี้ และอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เบอร์โทรศัพท์ 02 361 8191