บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลด้านการศึกษา

(๑) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
และจารีตประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และจัดให้มีพื้นที่สาธารณะสำหรับกิจกรรม
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้ใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย


(๒) อนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน
โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการ
และได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวด้วยตามที่กฎหมายบัญญัติ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาลต่างก็มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารส่วนท้องถิ่น ประชาชนทุกคนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมประชาชนไทยในท้องถิ่นและประเทศ ใช้สิทธิเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคง การปกครองระบอบประชาธิปไตย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลได้

2. เปรียบเทียบหน้าที่ของรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้   

3. เห็นความสำคัญของการเรียนเรื่องหน้าที่ของรัฐบาล

การวัดผลและประเมินผล

1. การตอบคำถาม

2. ตรวจชิ้นงานเรื่อง เปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบทบาทหน้าที่ของรัฐบาล

จุดเน้นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

ภายใต้การบริหารงาน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

  การ ศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาและการแข่งขันของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบันการแข่งขันของประเทศขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของคน มากกว่าจำนวนคนและทรัพยากรเช่นในอดีต ซึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ เกี่ยวข้องกับบุคลากรและผู้เรียนจำนวน หลายล้านคน ประกอบกับผลสรุปของการศึกษาไทยที่ผ่านมา คือ ใช้เวลาเรียนมาก เรียนรู้ได้น้อย มีความเครียด และคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาต่ำ ดังนั้น การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การบริหารงานของ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงเน้นย้ำให้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนแนวทางวิธีการทำงานให้เหมาะสม และต้องมีบทบาทในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย ด้านอื่นด้วย รวมทั้งมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้มากขึ้น ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ และขับเคลื่อนการทำงานอย่างจริงจัง สำหรับนโยบายที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและขับเคลื่อนการทำงาน มีดังนี้
  ๑. เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้ศึกษา
      ๑.๑ การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ โดยให้มีการทบทวนเนื้อหาสาระในหลักสูตรที่เด็กและเยาวชนต้องเรียนเพื่อให้มี ความรู้พื้นฐาน และการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก นอกจากนั้น ควรเน้นเรื่องพื้นฐานคณิตศาสตร์ เพื่อต่อยอดในการผลิตนักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษ และการใช้ภาษาไทย เพราะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การย่อความ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของเด็กไทย รวมทั้ง การสร้างจิตสำนึกและค่านิยม ที่ถูกต้องให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาด้านสุขภาพและภาวะโภชนาการให้เด็ก อย่างเหมาะสมกับวัยด้วย
      ๑.๒ การผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงกับอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและระดับสากล โดย การผลิตและพัฒนากำลังคนต้องเน้นในสาขาที่ขาดแคลนหรือมีความจำเป็นต่อการ พัฒนาประเทศ เช่น บุคลากรด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพยาบาล เป็นต้น ควรเน้นพัฒนาคนไทยให้มีความรู้ความสามารถ ด้านภาษาอังกฤษ มีศักยภาพเพียงพอไปทำงานในต่างประเทศได้ และต้องมีการเตรียมคนไทย ให้พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย โดยครูอาจารย์จะต้องแนะแนวการศึกษาให้นักเรียนนักศึกษาสนใจเรียนในสาขาที่ ขาดแคลนตั้งแต่ต้น เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนทำให้มีงานรองรับและมีรายได้ดี ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษา ด้านคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมยานยนต์ ให้เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์
      ๑.๓ การปลูกฝังคุณธรรมและจิตสำนึกประชาธิปไตย โดยให้ดำเนินการเรื่องการปฏิบัติธรรมของนักเรียนนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เน้นการปลูกฝังเรื่องความมีวินัย การแบ่งหน้าที่การทำงาน จิตอาสา การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ความเสียสละ ความเสมอภาคหญิง - ชาย ตั้งแต่เล็กๆ นอกจากนั้น ให้ดำเนินการนำโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการครูพระสอนศีลธรรม และโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับผู้บริหารมาดำเนินการต่อเนื่อง รวมทั้ง ควรนำเรื่องหน้าที่พลเมือง และศีลธรรมกลับมาบรรจุในหลักสูตร การเรียนการสอน
      ๑.๔ การพัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยให้มุ่งเน้นครูสาขา ที่ขาดแคลน โดยเฉพาะครูที่สอนไม่ตรงตามวุฒิ และครูบรรจุใหม่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ การนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และบุคลากรจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นครู ช่วยสอน โดยเร่งรัดแก้ปัญหาให้คนที่มีความรู้ในสาขาที่ขาดแคลนหรือชาวต่างชาติ ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูมาช่วยสอนในโรงเรียนได้ เช่น ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ควรเน้นการพัฒนาครูให้สามารถส่งเสริม สร้างทักษะและอำนวยการให้เด็กคิดได้อย่างถูกต้อง สร้างสรรค์ และเน้นการสร้างขวัญ กำลังใจและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลให้กับครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูมีกำลังใจทุ่มเทให้กับการพัฒนาการเรียนการสอนมากขึ้น เช่น เรื่องเงินเดือนครู การเลื่อนวิทยฐานะ ปัญหาหนี้สินครู เป็นต้น
      ๑.๕ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้นำโรงเรียนต้นแบบหรือโรงเรียนตัวอย่างที่สามารถจัดระบบการศึกษาโดยนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ดี มาเป็นตัวอย่าง เพื่อโรงเรียนอื่นนำไปปรับใช้เพิ่มขึ้นต่อไป
  ๒. การสร้างโอกาสทางการศึกษา
      ๒.๑ สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการทุพพลภาพ โดยให้มีการขยายการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มดังกล่าวอย่างทั่วถึง เช่น โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน การดำเนินโครงการระยะแรกเน้นให้โอกาสแก่คนที่ยากไร้เป็นเป้าหมายหลัก ระยะต่อมาเปิดโอกาสให้มี การสอบแข่งขัน ผู้เรียนดีจึงเป็นผู้ได้รับทุน (ทุนสำหรับเด็กเก่ง) ดังนั้น ต่อไปต้องพิจารณาทุนสำหรับผู้ยากไร้เพิ่มเติม เพื่อให้คนยากไร้มีโอกาสไปศึกษาต่อต่างประเทศอย่างเสมอภาค
      ๒.๒ การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต ควรส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย เช่น การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานได้ยกระดับการศึกษา และได้รับ การพัฒนา เพื่อการประกอบอาชีพและรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะควรให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความรู้ การประกอบอาชีพ เพื่อให้กลับมาเป็นกำลังการผลิตของสังคมได้ นอกจากนั้น ควรส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินโครงการพระราชดำริ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการ ศิลปาชีพ และการพัฒนาต่อยอดสินค้า OTOP เพื่อการส่งออกต่างประเทศ การเรียนภาษาของประเทศ เพื่อนบ้าน การเปิดศูนย์การเรียนรู้ในต่างประเทศ ทั้งศูนย์สอนภาษาไทยให้กับชาวต่างประเทศ และศูนย์ การเรียนรู้สำหรับคนไทยในต่างประเทศ เพื่อการสื่อสารและสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน
  ๓. การนำสันติสุขสู่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกรัฐมนตรีเน้นให้กระทรวงศึกษาธิการต้องมีบทบาทในการใช้การศึกษาแก้ไข ปัญหาความไม่สงบสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างจริงจัง โดยให้ประสานงานการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นต้น สำหรับการพัฒนาการศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการให้สิทธิพิเศษเรื่องความก้าวหน้าและเงินเดือนแก่ครูและบุคลากรทางการ ศึกษาในพื้นที่เสี่ยงภัย ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ และเน้นการจัดการเรียนการสอนสองภาษา (ภาษาไทยและภาษามลายู) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารภาษาได้ถูกต้อง
  ๔. การแก้ไขปัญหายาเสพติด มุ่งเน้นให้ทุกสถานศึกษาต้องไม่มียาเสพติด เช่นเดียวกับโครงการ "โรงเรียนสีขาว" ในอดีตที่ผ่านมา โดยให้เพิ่มเติมการดำเนินงานในเรื่องความเข้มแข็ง การติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องสอนให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติด และมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และการได้รับโทษ เมื่อกระทำความผิด นอกจากนั้น ควรเร่งรัดให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กและ เยาวชนอื่นด้วย เช่น เด็กท้องก่อนวัยเรียน ต้องให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้อง เด็กติดเกม ต้องสอนให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้เกี่ยวกับการรับโทษ ปัญหาการทะเลาะวิวาทและใช้ความรุนแรง ของนักเรียนนักศึกษา ต้องเร่งแก้ปัญหาและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี โดยเฉพาะระดับอาชีวศึกษา เป็นต้น
  ๕. การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ในการจัดหาแท็บเล็ตสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ต้องดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส รวมทั้ง เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระเพื่อบรรจุในแท็บเล็ตให้มีความน่าสนใจ และส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
  ๖. การวิจัยและพัฒนา การวิจัยให้มุ่งเน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อภาคการผลิต หรือภาคอื่นๆ ได้จริง ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น โดยแนวทางการดำเนินงานข้อแรก ให้สำรวจ และนำงานวิจัยที่ทำไว้แล้วที่สามารถนำมาปรับใช้ประโยชน์ได้ มาปรับปรุง ต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์จริง ข้อที่สอง ในการทำวิจัย ควรให้คนที่จะใช้ผลงานวิจัยเข้ามาร่วมทำการวิจัยหรือเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น ภาคธุรกิจ เพราะหากวิจัยแล้วภาคธุรกิจเห็นว่าได้ประโยชน์จริง ภาคธุรกิจย่อมให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยมากขึ้นช่วยประหยัดงบ ประมาณเพื่อการวิจัยของภาครัฐลง ทั้งนี้ ในการวิจัย นอกจากการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์แท้ๆ ส่วนหนึ่งแล้ว ควรเน้นการวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์หรือประยุกต์ใช้ได้จริง
  ๗. กองทุนตั้งตัวได้ การดำเนินงานโครงการกองทุนตั้งตัวได้ มีความพร้อมพอสมควร และผู้ประกอบการหรือผู้เข้าร่วมโครงการก็มีความพร้อม สามารถดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการใหม่ๆ ควรมีระบบช่วยสนับสนุน โดยให้ดำเนินการในส่วนที่ชำนาญ สำหรับในส่วนที่ไม่ชำนาญ อาจจัดหาระบบหรือจ้างผู้อื่นดำเนินการให้ เช่น ผู้ประกอบการบางรายเก่งในด้านการผลิต อาจจัดหาระบบหรือผู้รับจ้างมาดำเนินการเรื่องการทำบัญชี การบริหารต่างๆ เป็นต้น   ๘ . การผลักดันการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญของประชาชน ให้บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับ มีส่วนร่วมในการรณรงค์ ทำความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
  ๙. งบประมาณ ให้เร่งรัดดำเนินการให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะงบลงทุน ให้เริ่มดำเนินการโครงการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพื่อให้เงินลงไปช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย และการจัดซื้อ จัดจ้างให้ดำเนินการตามระบบปกติ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม โปร่งใส หากไม่จำเป็น ไม่ควรใช้วิธีกรณีพิเศษ
  ๑๐.การบริหารจัดการ
       ๑๐.๑ การบริหารให้ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใส ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงการซื้อขายตำแหน่ง เพราะการซื้อขายตำแหน่ง จะทำให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นตามมา ส่งผลกระทบให้คนที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง ตรงไปตรงมา ทำงานอย่างทุ่มเท หมดกำลังใจ
       ๑๐.๒ การดูแลเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษาอย่างจริงจัง ถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา ระหว่างครูกับนักเรียน อาจารย์กับนักศึกษา รวมถึงบุคลากรทางการศึกษาด้วย
       ๑๐.๓ การพัฒนาประสิทธิภาพสถานศึกษา ให้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก โดยจัดระบบรับส่งเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กด้อยคุณภาพ ไปเรียนยังโรงเรียนที่มีคุณภาพดีกว่า โดยผู้ปกครองไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ช่วยให้เด็กได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น และเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย ทั้งนี้ ในการดำเนินงานต้องคำนึงถึงปัญหาของมวลชนด้วย เช่น ผู้ปกครองยินยอม เป็นต้น
       ๑๐.๔ การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ให้มีการประเมินผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดทุก ๓ เดือน และปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  ๑๑. การบูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวง/หน่วยงานอื่นในการขับเคลื่อนนโยบาย รัฐบาล ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล นอกจากกระทรวงศึกษาธิการจะรับผิดชอบขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับด้าน การศึกษาโดยตรง ได้แก่ นโยบายเร่งด่วน และนโยบายที่เกี่ยวกับด้านการศึกษา แล้ว ยังต้องมีบทบาทเข้าไปมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านอื่น ด้วย เช่น การเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เพียงพอ (นโยบายด้านสาธารณสุข) การสร้างคนที่มีฐานความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดความรู้ สร้างนวัตกรรมจากงานวิจัยได้ (นโยบายด้านเศรษฐกิจ) การเพิ่มบทบาทในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว (นโยบายเร่งด่วน) เป็นต้น รวมทั้งนโยบายอื่นๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวงหลักและกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่อไป

จัดทำโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป

http://www.bps2.moe.go.th/index.php/policy/2009-12-30-07-28-12

หน้าที่ของรัฐบาลในด้านการศึกษามีอะไรบ้าง

1. หน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวกับการศึกษา โดยให้รัฐมีหน้าที่จัดให้เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยไม่จํากัดเฉพาะเด็กที่มีสัญชาติไทย แต่ครอบคลุมไปถึงเด็ก ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทยตามปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิ ...

บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลคืออะไร

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่ง ๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใด ๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการ ...

บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง

การใช้ระบบเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการทำหน้าที่ของรัฐให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ นั้นเรียกว่าการทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งประกอบด้วยการทำหน้าที่ การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม การกระจายรายได้และความมั่งคั่งทางสังคม การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และหน้าที่ทางเศรษฐกิจ ...

บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการบริหารประเทศมีกี่ด้าน อะไรบ้าง *

บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดบทบาท หน้าที่ของรัฐบาลคือ 1.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 2. ด้านความมั่นคงของรัฐ 3.ด้านศาสนาสังคมการสาธารณสุขการศึกษาและวัฒนธรรม 4. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม