บทบาทหน้าที่ของบุคลากรใน โรงเรียน

วิดีโอ YouTube

บทบาทหน้าที่ของบุคลากรใน โรงเรียน

1.) รับผิดชอบงานในหน้าที่ การกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นไปตามความคาดหวังตามตำแหน่งในอาชีพหรือตำแหน่งที่สังคมกำหนดขึ้น ซึ่งโครงสร้างของบทบาทประกอบด้วย ลักษณะที่เฉพาะของแต่ละบุคคล การแสดงพฤติกรรมและตำแหน่งที่ครองอยู่ หรือพฤติกรรมที่คนในสังคมต้องทำตามสถานภาพในกลุ่มหรือสังคม

2.) เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์     โรงเรียนเป็นสถานที่ที่นักเรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้ มีบุคลากรจำนวนมากที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน เช่น ครูอาจารย์ เพื่อนนักเรียนด้วยกัน นักการภารโรง แม่ค้า นักเรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาการปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคล โดยที่นักเรียนจะต้องให้ความเคารพนับถือครูอาจารย์ และปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นนักเรียนที่ดี ดังนั้นหน้าที่ของนักเรียนที่จะต้องปฏิบัติต่อครูอาจารย์

3.) กตัญญูรู้คุณของครูอาจารย์ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงบุคคลที่เป็นคนดี ( กตัญญู หมายถึง รู้คุณ ระลึกคุณของผู้มีพระคุณ  กตเวที หมายถึง การตอบแทนบุญคุณ การปฏิบัติตนตอบแทนผู้มีพระคุณ ความกตัญญูเป็นคุณธรรมที่ควรประพฤติปฏิบัติ และบุคคลที่พึงอาศัยแต่ผู้อื่นอย่างเดียว โดยผู้อื่นมาอาศัยตนเองไม่ได้ ผู้นั้นเป็นชีวิตที่ไม่ประเสริฐ ไม่มีคนยอมรับ หาความจริงได้ยากเพราะเป็นผู้เอาเปรียบโลกเป็นกาฝากของโลในปัจจุบัน โลกมีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุไปอย่างไม่หยุดยั้งส่งผลให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปทำให้จิตใจมนุษย์ต่ำลง มีความเห็นแก่ตัว ไม่สำนึกบุญคุณ บุคคลที่มีคุณธรรมด้านความกตัญญูกตเวที จึงนับล้วนแต่จะมีจำนวนน้อยลง

4.) ส่งเสริมเพื่อนในทางที่ถูกที่ควร ตามหลักของพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างมากใน “มงคลชีวิต 38 ประการ” ซึ่งเป็นหลักธรรมที่นำความก้าวหน้าในชีวิตมาให้ผู้ปฏิบัติ โดยสองข้อแรกกล่าวไว้ว่า 1. ไม่คบคนพาล 2. คบบัญฑิต ซึ่งก็คือการสอนให้คบเพื่อนที่ดีด้วยนั่นเองเมื่อเรารู้แล้วจากหลักคำสอนมงคลชีวิต 38 ว่า การคบคนดีจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้แล้ว เราก็ต้องมาพิจารณาต่อว่า มิตรที่ดีที่ควรคบหาสมาคมด้วยเป็นเช่นไร ซึ่งก็สามารถทราบได้ด้วยหลักคำสอนเรื่อง กัลยาณมิตรธรรม 7คำว่ากัลยาณมิตร ก็คือ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ

5.) รักใคร่ปรองดองกันในหมู่เพื่อนนักเรียนรงเรียนเป็นสถานที่ที่นักเรียนเข้ราไปศึกษาหาความรู้ มีบุคลากรจำนวนมากที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน เช่น ครูอาจารย์ 

เพื่อนนักเรียนด้วยกัน นักการภารโรง แม่ค้า นักเรียนจึงจำเป็นตอ้งศึกษาการปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคล

บทบาทหน้าที่ของบุคลากรใน โรงเรียน
บทบาทหน้าที่กลุ่มงานบริหารงานบุคคล
กลุ่มบริหารงานบุคคล
หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลหน้าที่และความรับผิดชอบ
1. เป็นคณะกรรมการบริหารโรงเรียน
2. พัฒนาระบบบริหารของกลุ่มบริหารบุคคลให้มีประสิทธิภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วม
3. จัดบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินงานในงานต่างๆ ในกลุ่มบริหารบุคคล
4. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของกลุ่มบริหารบุคคลให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของโรงเรียน
5. วางแผนและดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ให้การดำเนินงานต่างๆของกลุ่มบริหารงานบุคคลมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6. ส่งเสริมและสนับสนุนครูให้มีความรู้ ความสามารถในปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
7. ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือ ช่วยแก้ไขปัญหา และเป็นที่ปรึกษาให้ครูปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารบุคคลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. ประสานงานกับผู้ปกครอง ชุมชน และครูที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียน
9. เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาทางด้านบริหารบุคคลและร่วมในการดำเนินงานต่างๆ ของกลุ่มบริหารบุคคลให้ปฏิบัติงานด้วยความราบรื่น
10. สรุป ประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มบริหารงานบุคคลและจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มบริหารบุคคลบุคคลเสนอผู้บริหาร
11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

              1. งานบุคลากร หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. จัดทำแบบฟอร์มการลงเวลาการปฏิบัติงาน การลา การขออนุญาตออกนอกโรงเรียน ของครูและบุคลากร สรุปรายงานการปฏิบัติงาน การลา ในแต่ละวัน พร้อมทั้งติดตามให้เป็นไปตามระเบียบ และจัดทำสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
2. จัดทำและเก็บรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากร รวมทั้งการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากร ให้เป็นปัจจุบัน
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการ และการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองสิทธิต่างๆ ของข้าราชการครูและบุคลากร เช่นสิทธิการรักษาพยาบาล หนังสือรับรองเงินเดือน และอื่นๆ
5. ดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน การเลื่อนวิทยฐานะ การปรับวุฒิ การแต่งตั้ง การย้าย การโอนข้าราชการครูและบุคลากร
6. ดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาต/ลาศึกษาต่อ การเกษียณอายุราชการ การลาออกจากราชการ และการถึงแก่กรรม
7. ดำเนินการเกี่ยวกับวินัย และการรักษาวินัย
8. ดำเนินการเกี่ยวกับการจ้างพนักงานราชการ พนักงานบริการ และลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลัง หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
9. ดำเนินการปฐมนิเทศ และการพัฒนาแก่ผู้ที่ได้รับการสรรหา หรือบรรจุแต่งตั้งให้เป็นพนักงานราชการ ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
10. ดำเนินการติดตาม ประเมินผลการทดลองปฏิบัติราชการของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
11. ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
12. จัดกิจกรรมพัฒนาครูให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพครู
13. ส่งครูเข้ารับการอบรม จัดการอบรม และกิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
14. ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น
15. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
          2. งานธุรการและสารบรรณ หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. ดาวน์โหลดและพิมพ์หนังสือราชการจากระบบ e – office จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35
2. รับ – ส่ง และลงทะเบียนหนังสือราชการให้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
3. ร่าง – พิมพ์ โต้ตอบหนังสือราชการ ให้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ และทันเวลา
4. ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือราชการ เพื่อให้การดำเนินงานทันกำหนดเวลา
5. แยกประเภทหนังสือราชการ เอกสาร และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สามารถที่จะค้นหาได้สะดวกและรวดเร็ว
6. ทำลายหนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณ
7. จัดทำทะเบียนคุมคำสั่ง และประกาศของโรงเรียน
8. ติดตามประสานงานเกี่ยวกับหนังสือราชการเกี่ยวกับหน่วยงานต่าง ๆ
9. ให้คำชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่องาน
10. อำนวยความสะดวกในด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ และการบริการการพิมพ์เอกสารแก่คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน
11. จัดเตรียมวาระการประชุม และเอกสารการประชุมในการประชุมครูและบุคลากรในโรงเรียน
12. จัดทำรายงานการประชุมภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมครูและบุคลากรในแต่ละครั้ง
13. จัดทำแบบฟอร์มในการติดต่อทางราชการต่างๆ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกในการติดต่อราชการกับทางโรงเรียน
14. สรุป ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน
15. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
          3. งานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. จัดทำคู่มือ ระเบียบการดำเนินงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
2. ประชาสัมพันธ์และสรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในระเบียบการปฏิบัติงาน
3. เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. ประสานงานและสร้างความเข้าใจร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในส่วนของบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ
5. ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามมติของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
6. ประสานงานกับกลุ่มบริหารงานต่างๆ และจัดเตรียมเอกสารข้อมูลที่จะใช้ในการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
7. เข้าร่วมประชุม จัดทำรายงานการประชุม และแจ้งมติที่ประชุมให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบและดำเนินการหรือถือปฏิบัติแล้วแต่กรณี
8. ประสานการดำเนินงานตามมติการประชุมและรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการได้ทราบ
9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
          4. งานเวรยาม หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. จัดครูเวร ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยมีการมอบหมายงานเป็นลายลักษณ์อักษรและรายงานผู้บริหาร
2. ร่างคำสั่งเสนอผู้บริหารให้ครู บุคลากร ปฏิบัติหน้าที่เวรประจำวัน
3. จัดครูเวร และนักการภารโรง ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการในวันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. และกลางคืนทุกคืน ตั้งแต่เวลา 18.00 – 06.00 น.
4. นิเทศ กำกับ ดูแล ตรวจตราการปฏิบัติหน้าที่ของครูเวรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมทั้งประสานงานการไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
5. จัดทำแบบฟอร์มการบันทึกการปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการ และการตรวจเวรพร้องทั้งสรุปรายงานผู้บริหารเป็นรายเดือนทุกเดือน
6. วางระบบการบริหารงานครูเวร โดยจัดระบบเตือนผู้ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ทราบล่วงหน้า เพื่อป้องกันการผิดพลาดและหลงลืม ถ้าผู้อยู่เวรไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ต้องบันทึกขออนุญาตต่อผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อขอเปลี่ยนเวรล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ วัน
7. ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ภายในโรงเรียนและองค์กรภายนอกในส่วนที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องความปลอดภัยทั่วไป
8. ประเมินผล สรุปผลการปฏิบัติงานของครูเวร และรายงานผลการดำเนินงาน
9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
          5. งานยานพาหนะ หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. จัดทำแผนงาน/โครงการ เกี่ยวกับการจัดหา บำรุงรักษา การให้บริการยานพาหนะแก่คณะครูและบุคลากรของโรงเรียน ตลอดจนกำหนดงบประมาณเสนอขออนุมัติ
2. จัดทำแบบฟอร์มสำหรับการขอใช้บริหารยานพาหนะส่วนกลาง เพื่อให้สะดวกต่อการรับบริการ
3. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้ความรู้แก่ พนักงานขับรถ ตลอดจนพิจารณา จัดและให้บริการพาหนะแก่บุคลากร
4. บริหารงานการใช้ยานพาหนะส่วนกลางอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ตรวจเช็ค ซ่อมบำรุงรักษายานยนต์ ของส่วนกลางของสถานศึกษา ให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา