หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม อายุ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เชิญผ้าไตร น้ำสรง พร้อมเครื่องสักการะ ถวายแด่พระบุญมา คัมภีรธัมโม เนื่องในโอกาสครบอายุวัฒนมงคลครบ 93 ปี ณ วัดหนองกุง ตำบลบงใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร


1/10/2564 | 3,999 |

วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 15.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร อัญเชิญผ้าไตร น้ำสรง พร้อมเครื่องสักการะ ถวายแด่หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม เนื่องในโอกาสครบอายุวัฒนมงคลครบ 93 ปี 71 พรรษา ณ วัดหนองกุง  ตำบลบงใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร  

นางสาวเพ็ญประภา แพงไทย ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการในสังกัด ร่วมพิธีและปฏฺิบัติพิธีในส่วนที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ประวัติโดยย่อ หลวงปู่บุญมา  คัมภีรธัมโม

พระบุญมา     ฉายา  คัมภีรธัมโม        (นามสกุล  ธิอัมพร )
สังกัดวัด :     วัดหนองกุง (วัดป่าสีห์พนม)    ตำบลบงใต้        อำเภอสว่างแดนดิน    
                 จังหวัดสกลนคร
สังกัดคณะสงฆ์ :         ธรรมยุต
ประวัติ :     เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 ตรงกับวันแรม 3 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง 
               อายุ   93            พรรษา   70
ภูมิลำเนา :     บ้านขาม   หมู่ที่ 5         ตำบลค้อใต้         อำเภอสว่างแดนดิน 
                  จังหวัดสกลนคร                 
                 ชื่อบิดา  นายเข่ง  ธิอัมพร     มารดาชื่อ  นางชาดา  ธิอัมพร  
อุปสมบท :     เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 ขณะอายุได้ 24 ปี     ณ วัดโพธิสมภรณ์ 
                  ตำบลหมากแข้ง             อำเภอเมืองอุดรธานี     จังหวัดอุดรธานี 
        พระอุปัชฌาย์ : พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์
        พระกรรมวาจาจารย์ : พระครูสมุห์สวัสดิ์
        พระอนุสาวนาจารย์ : -
วิทยฐานะ :    ป.ธ.    -            นักธรรมชั้น    ตรี 
ตำแหน่งทางการปกครอง : - 
ประวัติการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน : เคยศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย  หลวงปู่ชอบ ฐานสโมหลวงปู่บุญมี ฐิตปุญโญ (พระราชญาณมุนี วัดป่าประชานิยม) หลวงปูคำดี ปภาโส และเป็นสหธรรมิก         หลวงปู่  คำบุ ธัมมธโร ร่วมธุดงค์ปลีกวิเวกไปด้วยกันหลายจังหวัด จนกระทั่งในปี พ.ศ.2524 ได้จำพรรษา     ณ วัดหนองกุง (วัดป่าสีห์พนม) จนถึงปัจจุบัน

ประวัติวัดหนองกุง โดยสังเขป

วัดหนองกุง ตั้งอยู่บ้านหนองกุง หมู่ที่ 7 ตำบลบงใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร สังกัด  คณะสงฆ์ธรรมยุต ตั้งวัดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2526 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่  12 มิถุนายน พ.ศ. 2540 เขตวิสุงคาม กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 279 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา น.ส.3 ก เลขที่ 1293, 1294, 1295, 1296, 1297, 1298 วัดหนองกุง ชาวบ้านเรียกว่าวัดสีห์พนมประชาราม หรือวัดป่าสีห์พนม เดิมชื่อเรียกกันว่า วัดคําหมู โดยมีนายสีห์พนม วรสาร อดีตนายอําเภอ เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น  มีผู้บริจาค ที่ดินให้วัดเป็นที่ตั้งวัด  คือนายคําเพียร บุญเรือง, นายปืน      นัดทะยาม, นายลุน แสงอรุณ, นายปุ่น สุเมผา นายสมบูรณ์ พรมบุตร์ และนายก่อน จดจํา ภายหลังมีเสนาสนะมั่นคง อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.2515 กุฏิสงค์ 30 หลัง วิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ.2538 โรงครัว 1 หลัง เรือนเก็บพัสดุ 1 หลัง เรือนรับรอง 1 หลัง ปูชนียวัตถุมี พระประธานประจำศาลาการเปรียญ 1 องค์  การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระอธิการบุญมา คมฺภีรฺธมฺโม รูปที่ 2 พระอธิการประสาท ญาณุตฺตโม ตั้งแต่ พ.ศ.2552 เป็นต้นมา 

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานร่วมกับคณะสงฆ์ เพื่อความมั่นคงแห่งพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความสงบสุขร่วมเย็นของสังคม 

ภาพ : ไพรัช  แก้วทอง  /  ข่าว : Lt.ภูริภัค ดำบุญมา


หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม อายุ
รูปภาพ


หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม อายุ


         โลกยุคใหม่เจริญก้าวหน้าขึ้น สิ่งลี้ลับและความอาถรรพ์ต่างๆ ก็เริ่มลดน้อยลง สมัยก่อนพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ละรูปล้วนมีชื่อเสียง สาธุชนคนใจบุญรู้จักกันถ้วนทั่ว และพระเกจิอาจารย์เหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งสิ้น และพระดีนั้นก็ย่อมไม่อวดอ้างคุณความดี ที่สาธุชนชาวพุทธสามารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ทำให้นึกถึงพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งนาม หลวงพ่อบุญมา โชติธมฺโม ที่พักสงฆ์เขาแก้วทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

         มีผู้ไปพบพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเรืองวิชาอาคมจำพรรษาอยู่ที่พักสงฆ์เขาแก้วทอง ต่างเล่าลือปากต่อปากถึงบารมีหลวงปู่และประสบการณ์เกี่ยวกับวัตถุมงคลของหลวงปู่บุญมา แสดงพลังอิทธิปาฏิหาริย์อยู่ยงคงกระพันคุ้มครองลูกศิษย์ที่แขวนวัตถุมงคลของหลวงปู่ อยู่บ่อยครั้งและปรากฏอิทธิปาฏิหาริย์เชิงประจักษ์ให้เห็นอยู่มากมายในสื่อหลายแขนง จนชื่อเสียงของ “พระครูสุนทรโชติธรรม” หรือ “หลวงพ่อบุญมา โชติธมฺโม ค่อย ๆ เริ่มปรากฏและโด่งดังอย่างรวดเร็วเมื่อกาลเวลาผ่านมา

         ย้อนอดีต...ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ ตรงกับวันอังคารที่ ๗ พฤศจิกายน ปีเถาะ ครอบครัว “เกตุศรี” โดย นายพ่วง และ นางทองคำ เกตุศรี ไผ่เจริญ ได้บุตรคนที่สองของครอบครัว คนแรกเป็นผู้หญิงชื่อ เด็กหญิงเลียบ เกตุศรี คนที่สองตั้งชื่อเรียกขานว่า เด็กชายบุญมา เกตุศรี และหลังจากให้กำเนิดเด็กชายบุญมาแล้ว ปีต่อ ๆ มานางทองคำได้ให้กำเนิดสมาชิกในครอบครัวอีก ๒ คน คือ เด็กชายสุวิทย์ และ เด็กหญิงสมหมาย เกตุศรี รวมลูก ๔ คน สมาชิกทั้งบ้าน ๖ คน

         เด็กชายบุญมาเจริญวัยตามกาลเวลา จวนจบกระทั่งถึงวัยที่จะต้องได้รับการศึกษาเล่าเรียน ผู้เป็นพ่อส่งเด็กชายบุญมาให้ไปอยู่กับ หลวงพ่อเขียน หรือ พระครูประสารวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านกุง ซึ่งเด็กชายบุญมามีศักดิ์เป็นหลานของหลวงพ่อเขียน สมัยนั้นหลวงพ่อเขียนเป็นพระเกจิอาจารย์เก่งทางด้านอยู่ยงคงกระพัน

         เด็กชายบุญมาอยู่รับใช้หลวงพ่อเขียน และศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดบ้านกุง จนกระทั่งจบการศึกษาประชาบาลชั้นประถมปีที่ ๓ นายพ่วงผู้เป็นพ่อก็ไปรับตัวกลับให้มาอยู่กับ “หลวงปู่เอี่ยม” พระเกจิอาจารย์ที่มีคนให้ความเคารพนับถือกันมาก ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่” หลวงปู่เอี่ยมนั้น มีวิชาอยู่ยงคงกระพันชาตรี หลวงปู่เอี่ยม รับเด็กชายบุญมาไว้เป็นลูกศิษย์แล้วก็ส่งให้เรียนต่อชั้นประถมปีที่ ๔ จนจบพอโตเป็นหนุ่มหลวงปู่เอี่ยมก็สอนวิชาอาคม ให้ร่ำเรียนอักขระวิชาต่าง ๆ ฝึกให้ทำจิตให้เป็นสมาธิ สอนการนั่งวิปัสสนากรรมฐานให้

         นายบุญมาใช้ชีวิตทางโลกอยู่จนกระทั่งอายุ ๒๕ ปี เข้าวัยเบญจเพศจึงหันหน้าเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นศิษย์พระตถาคตเจริญรอยตามพระพุทธองค์ โกนหัวปวารณาตัวอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดทุ่งแฝก หมู่ ๒ ตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พระครูศรีวิเลิศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการกรอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า“โชติธมฺโม”

         เมื่อบวชแล้ว ภิกษุหนุ่มนามบุญมาก็ศึกษาพระธรรมวินัย จนสามารถสอบนักธรรมเอกได้ในเวลาต่อมา จังหวะนั้นเองทางวัดบ้านแก่ง ว่างสมภารลง หลวงพ่อใหญ่ก็ได้ให้ หลวงปู่บุญมา มาเป็นสมภารวัดบ้านแก่ง สืบแทนหลวงพ่อทองดีที่มรณภาพ หลวงปู่บุญมา พอมาอยู่วัดบ้านแก่ง ก็ทำนุบำรุงพัฒนาวัดตามแต่อัตภาพ หลวงปู่บุญมา พัฒนาวัดบ้านแก่งมาตลอดจนสามารถสร้างกุฏิ สร้างศาลาการเปรียญ ทำการยกช่อฟ้าอุโบสถผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต และสร้างโบสถ์ใหม่ได้สำเร็จ ในปี ๒๕๓๘ ปัจจุบันท่านได้ย้ายมาจำวัด ที่พักสงฆ์เขาแก้วทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 

         ขณะอยู่วัดหลวงปู่บุญมาก็ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะพระกรรมฐานนั้น หลวงปู่บุญมาให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้รับถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่เอี่ยมนำมาปฏิบัติด้วยตนเองอย่างเคร่งครัด หลวงปู่บุญมาทำกรรมฐานโดยกำหนดเอาแสงสว่างจากเปลวเทียนเป็นหลัก เพ่งกสิณจากเปลวแสงเทียนที่เรียกกันว่า “เตโชกสิณ” คือ การทำสมาธิจิตเพ่งแสงสว่างแห่งเปลวไฟ ภิกษุที่ทำได้ต้องมีสมาธิมั่นตั้งอยู่ในกรรมฐาน กำหนดเอาธาตุทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมั่นคง แล้วพุ่งกระแสจิตสู่สิ่งที่กำหนดนั้น จนดวงจิตสงบนิ่งบังเกิดความสว่างขึ้นกลางมโนจิต เป็นการบรรลุกำหนดจิตให้เป็นสมาธิอันแน่วนิ่งและมั่นคงได้ จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบของการบำเพ็ญพระกรรมฐานและการทำกสิณเตโชธาตุแล้วนั่นเอง

         แม้ว่าท่านจะเป็นเกจิอาจารย์ยุคใหม่ แต่บารมีของท่านได้ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ลูกหามากมาย โดดเด่นในด้านแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีเป็นที่ประจักษ์โดยทั่ว ว่ากันว่าแขวนวัตถุมงคลของหลวงปู่บุญมาไปด้วยปลอดภัยกันทุกคน หรือแม้ว่าจะต้องมีเหตุด้วยคมหอกคมดาบหรือปืนผ่าหน้าไม้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ได้แค่แผลเลือดออกแค่ยางบอนเท่านั้นเอง

         ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านราคาขยับตัวไปสูงมากในเวลาอันสั้น และยังขยับขึ้นทุกวัน บางรุ่นกลายเป็นวัตถุมงคลในฝันไปแล้ว ในอนาคตภายหน้าวัตถุมงคลของหลวงปู่จะเป็นที่แสวงหาและเป็นตำนานบทใหม่อีกบทหนึ่งของเมืองปราจีนบุรีแน่นอน

         ผู้เขียนขอกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า "เสื้อเกราะเมืองปราจีนถิ่นหนุมาน" ต้องหลวงปู่บุญมา โชติธัมโม ที่พักสงฆ์เขาแก้วทอง ปราจีนบุรี

ด้วยความเคารพและศรัทธา

พงศ์ อิทธิบารมี เรียบเรียง