งาน วิจัย เกี่ยว กับ ดอก กุหลาบ

งาน วิจัย เกี่ยว กับ ดอก กุหลาบ

กุหลาบพันธุ์ใหม่ โครงการหลวง...จากงานวิจัยสู่งานส่งเสริม                                                                                                    

วชิระ เกตุเพชร และ อดิศร กระแสชัย
ฝ่ายงานไม้ดอก สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

งาน วิจัย เกี่ยว กับ ดอก กุหลาบ
กุหลาบเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณการปลูกและการใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับประเทศไทยมีเกษตรกรปลูกกุหลาบตัดดอกเป็นอาชีพจำนวนมากมานานแล้ว แต่พันธุ์กุหลาบที่ใช้ในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ เป็นพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ในต่างประเทศ ยังไม่มีพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์กุหลาบภายในประเทศไทยขึ้นใช้เอง เหตุผลที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงพันธุ์กุหลาบขึ้นใช้ภายในมูลนิธิโครงการหลวง เนื่องจากกุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีการปลูกและใช้อย่างกว้างขวางภายในประเทศ

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการพัฒนาพันธุ์ในเขตอบอุ่น แต่ถูกนำมาปลูกในเขตร้อน ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เหมาะสมในการปลูกภายใต้โรงเรือนที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม  หากนำมาปลูกในสภาพที่ไม่เหมาะสม การให้ผลผลิตจะไม่ดีเท่าที่ควรซึ่งในอดีตจะเห็นได้ว่า เมื่อสั่งซื้อเข้ามาทดสอบ สามารถคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับประเทศไทยได้เพียงไม่กี่พันธุ์เท่านั้น และพันธุ์ดังกล่าวนี้ผู้ปลูกบางรายจะต้องชำระค่าธรรมเนียม (royalty) ให้กับบริษัทผู้ปรับปรุงพันธุ์ตามข้อตกลง และมีการคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรยาวนานถึง 17 ปี ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองพันธุ์ที่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิบัตรพันธุ์พืชในต่างประเทศ ทำให้บริษัทปรับปรุงพันธุ์ไม่มีความมั่นใจที่จะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธ์พันธุ์ จึงยังคงสงวนพันธุ์กุหลาบใหม่ที่ดีเอาไว้ให้กับพื้นที่ปลูกที่สามารถรักษาข้อตกลงได้เท่านั้น โดยทั่วไปส่วนใหญ่เกษตรกรของประเทศไทยมีข้อจำกัดด้านเงินลงทุน จึงไม่สามารถหาซื้อพันธุ์กุหลาบใหม่มาปลูกได้ ดังนั้นหากเราให้ความสำคัญด้านการปรับปรุงพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทยแล้ว จะทำให้มีโอกาสที่จะได้พันธุ์กุหลาบที่เหมาะสมและเจริญเติบโตได้ดีกว่าพันธุ์ที่ปลูกอยู่ทุกวันนี้ อีกทั้งจะเป็นการช่วยประหยัดต้นทุน ในด้านการสั่งซื้อต้นกุหลาบจากต่างประเทศได้จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันหลายประเทศได้มีแนวโน้มปรับปรุงพันธุ์กุหลาบขึ้นใช้เองบ้างแล้ว เช่น สถาบันวิจัยพืชสวนนานาชาติ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มณฑลยูนาน ยังสนับสนุนให้มีการใช้พันธุ์กุหลาบที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นเอง (PBR Varieties from Local Breeders) จำนวน 23 พันธุ์ โดยบรรจุลงในแคตตาล๊อกดอกไม้ในตลาดประมูลในคุนหมิงร่วมกับพันธุ์กุหลาบจากต่างประเทศจำนวน 60 พันธุ์ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 38.3 ดังนั้นการพัฒนาพันธุ์กุหลาบขึ้นใช้เองภายในประเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้พันธุ์ที่สามารถปรับตัวได้ดี มีผลผลิตและคุณภาพสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการลดการนำเข้ากุหลาบจากต่างประเทศ เพราะพันธุ์กุหลาบเดิมย่อมเสื่อมความนิยมลงได้ตามกาลเวลา มูลนิธิโครงการหลวง จึงจำเป็นต้องสร้างพันธุ์กุหลาบใหม่ให้แตกต่างจากตลาดทั่วไปเพื่อปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาด การที่มูลนิธิฯ มีพันธุ์พืชใช้เองย่อมทำให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน และมีพันธุ์ที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของตลาด และสร้างมูลค่าให้กับมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อทดแทนการนำเข้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยพันธุ์ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิฯ และมีปลูกเฉพาะเกษตรกรภายใต้การดูแลของมูลนิธิฯ เท่านั้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรเลือกปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองต่อไป

งาน วิจัย เกี่ยว กับ ดอก กุหลาบ

งานวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามีงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์กุหลาบในประเทศไทยน้อยมาก เพราะการนำเข้าพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศมาปลูก ใช้ระยะเวลาและงบประมาณน้อยกว่า อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าว ไม่ได้พัฒนาบุคลากรทางด้านไม้ดอก และต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตและพันธุ์พืชจากต่างประเทศอยู่ตลอด จึงไม่สามารถพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนได้ อย่างไรก็ตามการวิจัยเพื่อพึ่งตนเองได้ มีความจำเป็น สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศในภายภาคหน้า มูลนิธิโครงการหลวงได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวที่จะต้องสร้างบุคลากร องค์ความรู้ และพัฒนาพันธุ์พืชขึ้นใช้เอง เพื่อทดแทนการซื้อพันธุ์มาจากต่างประเทศได้เป็นบางส่วน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากฝ่ายวิจัย มูลนิธิโครงการหลวง เพื่อวิจัยปรับปรุงพันธุ์กุหลาบมาอย่างต่อเนื่อง

งาน วิจัย เกี่ยว กับ ดอก กุหลาบ
เริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2545-2547 ในโครงการปรับปรุงพันธุ์กุหลาบคาร์เนชั่นและอะกาแพนทัส ซึ่งพบว่าได้จำนวนต้นกล้าลูกผสมค่อนข้างน้อย เกิดจากการที่ยังไม่ทราบเทคนิคในการผสมเกสร เพาะเมล็ด และดูแลลูกผสม ในปีพ.ศ.2547-2549 จึงได้ทำวิจัยในโครงการศึกษาเทคนิคการผสมเกสรและเพาะเมล็ดกุหลาบ ควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาพันธุ์กุหลาบโดยการกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์และการขยายพันธุ์กุหลาบโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยรังสีเอกซ์และแกมมา พบว่าสามารถชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้น้อย ลักษณะการกลายพันธุ์ดังกล่าวไม่คงตัวและไม่ได้ต้นที่ดีกว่าเดิม จึงดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมเกสรเพียงอย่างเดียว ซึ่งพบว่าได้จำนวนต้นลูกผสมมากขึ้นและเพียงพอต่อการคัดเลือก แต่ยังขาดรูปแบบในการคัดเลือก ในปีพ.ศ.2549-2551 จึงได้ทำวิจัยเพิ่มเติมในโครงการประเมินพันธุ์กุหลาบตัดดอกลูกผสม จนกระทั่งได้ลูกผสมที่มีลักษณะดี ซึ่งต้องทำการทดสอบผลผลิตและคุณภาพต่อไป ในปีพ.ศ.2552-2554 จึงได้ทำวิจัยต่อในเรื่องการประเมินและทดสอบลูกผสมกุหลาบตัดดอกสำหรับเกษตรกรภายใต้การดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อคัดเลือกลูกผสมจนได้พันธุ์ที่เหมาะสำหรับตัดดอกในการปรับปรุงพันธุ์กุหลาบมูลนิธิโครงการหลวง ได้ใช้เชื้อพันธุกรรมของกุหลาบตัดดอก ที่เป็นที่นิยมในขณะนั้นจำนวน 28 พันธุ์มาจับคู่ผสม จากนั้นทำการเพาะเมล็ด คัดเลือกและติดตา เพื่อทดสอบผลผลิต จนกระทั่งในปี 2555 ได้ออกพันธุ์ใหม่ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ในซีรี่ส์ “RPF” จำนวน 6 พันธุ์ เป็นกุหลาบตัดดอก 4 พันธุ์ ได้แก่ RPF-Magenta Pink, RPF-Lanna Beauty, RPF-Red Garnet, RPF-Coral Beauty และกุหลาบประดับสวน 2 พันธุ์ ได้แก่ RPF-Crimson Sweet, RPF-Inthanon Pride

ุกุหลาบพันธุ์ใหม่ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ปี พ.ศ. 2555

งาน วิจัย เกี่ยว กับ ดอก กุหลาบ

 

ุกุหลาบพันธุ์ใหม่ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ปี พ.ศ. 2556

งาน วิจัย เกี่ยว กับ ดอก กุหลาบ