วิจัยการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบน

1.ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                 การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพลศึกษา เป็นการเรียนการสอนที่ต้องการให้เยาวชนมีสุขภาพที่ดี ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจากการเรียนการสอนดิฉันได้พบปัญหาจากนักเรียนบางส่วนที่ไม่สามารถเล่นทักษะวอลเล่ย์บอลได้ จากปัญหาที่พบ คือปัญหาทางด้านทักษะการเสิร์ฟลูกวอลเลย์บอลมือบนซึ่งมีนักเรียน 10 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 40 คน ที่ไม่สามารถเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบนได้ จากสาเหตุนี้ดิฉันจึงได้ทำการซักถามโดยการสนทนากับตัวนักเรียน พบว่า มีอยู่ 4 สาเหตุใหญ่ๆ คือ นักเรียนไม่มีความถนัดในการเล่นวอลเลย์บอล  นักเรียนไม่เคยเรียนทักษะพื้นฐานการเล่นวอลเลย์บอลมาก่อน   นักเรียนมีรูปร่างที่ไม่เหมาะสม   และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือนักเรียนไม่เคยฝึกซ้อมตามแบบฝึกที่ถูกต้อง นั่นคือสาเหตุหลักใหญ่ของตัวนักเรียน ที่พบว่านักเรียนไม่สามารถเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบนได้  ซึ่งถ้าเราไม่แก้ไขปัญหาในทักษะนี้ เด็กก็จะไม่สามารถพัฒนาในทักษะต่อไปได้ และยังจะส่งผลไปยังการจัดการเรียนการสอนในวิชาพลศึกษาในระดับพื้นฐาน และจะต้องนำไปวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มากขึ้น  ดิฉันจึงเห็นว่า การค้นพบปัญหาในทักษะนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาให้เด็กนักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะนี้ได้อย่างถูกกต้อง โดยจะใช้เครื่องมือวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่มีใครนำมาวิเคราะห์ปัญหา ดิฉันจึงได้คิดทำประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติทักษะการเสิร์ฟลูกวอลเลย์บอลมือบนไม่ได้จนนักเรียนสามรถปฏิบัติทักษะนี้ได้ดียิ่งขึ้น

2.ปัญหาการวิจัย

           นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เสิร์ฟลูกวอลเลย์บอลมือบนไม่เป็น

3.วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

          3.1  เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะ การเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบน

          3.2  เพื่อศึกษาความสามารถทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบน

          3.3  เพื่อเปรียบเทียบความสามรถการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบนก่อนเรียนและหลังเรียน

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          4.1   เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลต่อไป

          4.2   นักเรียนสามารถเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบนหลังเรียนได้ดีกว่าก่อนเรียน

          4.3 นักเรียนสามารถเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบนได้อย่างถูกต้อง

          4.4  ช่วยก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบน

5. การดำเนินงานวิจัย

        5.1 กลุ่มตัวอย่าง

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาทักษะ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 

โรงเรียน สวีวิทยา จังหวัด ชุมพร จำนวน 10 คน

         5.2 ตัวแปรที่ศึกษา

               1.  ตัวแปรอิสระ ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบน

               2.  ตัวแปรตาม  ได้แก่  ความสามรถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบน

       5.3  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ประกอบด้วย

                    1.  แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบน มี  แบบฝึกได้แก่

                            การเสิร์ฟลูกวอลเลย์มือบนไปให้คู่

                           -  การเสิร์ฟลูกวอลเลย์มือบนไปกระทบฝาผนัง

                           -  การเสิร์ฟลูกวอลเลย์มือบนข้ามตาข่าย

                   2. แบบทดสอบทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบนก่อนฝึกและหลังฝึก

         5.4 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ดังนี้

                        1. ทบทวนทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบน

                       2. ศึกษาแบบแบบทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบนของผู้อื่นที่เคยพัฒนาไว้

                      3. ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิทางทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบน

                                  อาจารย์ จักพันธ์   เสนีย์      โรงเรียนสวีวิทยา

                     4. ดำเนินการสร้าง

                     5. นำแบบฝึกที่สร้างเสร็จให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน   จำนวน  3  คน

                                 1. อาจารย์  จักรพันธ์ เสนีย์        หัวหน้ากลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา

                                2. อาจารย์  สุวัฒน์  ถิ่นเขาน้อย  อาจารย์พลศึกษาโรงเรียนสวีวิทยา

                               3. นางสาว วนิดา  ชรอยนุช     นักกีฬาวอลเลย์บอล

                 6.นำผลการประเมินมาหาค่าความเที่ยงตรง(OIC)ได้ค่า OICอยู่ระหว่าง  0.66-1.00

  5.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล

            ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล  ดังต่อไปนี้

              1.ทดสอบกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบนก่อนฝึก และบันทึกคะแนนการสอบไว้

             2. ฝึกโดยใช้แบบฝึกการเสิร์ฟวอลเลย์มือบนที่พัฒนาขึ้นเอง โดยใช้ระยะเวลาจำนวน  ชั่วโมง

             3.ทดสอบกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบน หลังฝึก และบันทึกคะแนนการสอบไว้

     5.6 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล

           ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล  ดังนี้

              1.หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของความสามารถทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบน

             2.หาความก้าวหน้าความสามารถทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบนก่อนฝึกและหลังฝึก

6. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 

          วิเคราะห์ข้อมูลความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์มือบน โดยใช้ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความก้าวหน้าก่อนฝึกและหลังฝึก  ดังตารางที่ 1 และ ตารางที่

ตารางที่ 1  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความสามารถก่อนและหลังฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์มือบน

รายการ

N

X

S.D

ทดสอบก่อนฝึก

10

5.5

0.96

ทดสอบหลังฝึก

10

7.6

0.51

    จากตารางที่ 1  พบว่า คะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการทดสอบก่อนฝึกและหลังฝึกเท่ากับ 5.5 และ 7.6 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มมมากขึ้น

ตารางที่ 2   เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบนของนักเรียนชั้น

 ม. 2 ก่อนและหลังฝึก  จำนวน 10 คน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

นักเรียนคนที่

คะแนนก่อนเรียน

คะแนนหลังเรียน

ความก้าวหน้า

1

5

7

+2

2

5

8

+3

3

5

7

+2

4

4

8

+4

5

7

7

+0

6

5

8

+3

7

6

8

+2

8

7

7

+0

9

6

8

+2

10

5

8

+3

คะแนนรวม

55

76

21

คะแนนเฉลี่ย

5.5

7.6

2.1

          จากตารางที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าในการฝึกมีความก้าวหน้าเฉลี่ย 2.1  คะแนน

7. สรุปผลการวิจัย

         จากการพัฒนาทักษะการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

           1.ได้แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบน ใช้ฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบน วิชา วอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1ชุด ประกอบด้วย

                  -  การเสิร์ฟลูกวอลเลย์มือบนไปให้คู่

                  -  การเสิร์ฟลูกวอลเลย์มือบนไปกระทบฝาผนัง

                  -  การเสิร์ฟลูกวอลเลย์มือบนข้ามตาข่าย

          2 .นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบนมีความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบนจากการสอบก่อนฝึกและหลังฝึกเท่ากับ5.5  และ 7.6 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มมมากขึ้น

          3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบน มีคะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าในการฝึกเท่ากับ2.1  คะแนน

8.ข้อเสนอแนะ

             จากการใช้กิจกรรมฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ปรากฏว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสามรถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลมือบนสูงขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการฝึกของนักเรียนพบว่า มีการพัฒนาขึ้นตามระยะเวลาและกิจกรรมที่ฝึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแบบฝึกที่พัฒนาขึ้นส่งผลต่อการฝึก ดังนั้นผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้

         ข้อเสนอแนะการนำไปใช้

               1 .ควรฝึกเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่ยังบกพร่องในการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอลมือบนโดยเปลี่ยนทักษะให้เหมาะสมกับลักษณะข้อบกพร่องนั้นๆ

              2. นำแนวทางในการพัฒนาไปใช้กับสภาพปัญหาอื่นๆในการจัดการเรียนการสอน

       ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

             1. ควรพัฒนาแบบฝึกทักษะอื่นๆ เช่น  การตบหรือการเล่นลูกมือบน เพื่อให้มีนวัตกรรมใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนเพิ่มมมากขึ้น

            2. การศึกษาทดลองเปรียบเทียบวิธีฝึกที่ต่างกันในการพัฒนาทักษะเดียวกันเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้น