งานวิจัยเทียนหอมช่วยในการนอนหลับ

ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-

• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ : สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ปี 2563

สมัยก่อนผู้คนนิยมนำเทียนมาประดับบนโต๊ะอาหารเพื่อแสดงถึงฐานะ ความภูมิฐาน และมีรสนิยมของครอบครัว และนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสว่างไสว สามารถสร้างบรรยากาศ ให้ดูสวยงามอีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์จากเทียนทั่วไป ให้มีรูปลักษณ์สวยงามและมีกลิ่นหอม หรือน้ำมันหอมละเหยมาผสมเพื่อให้ได้กลิ่นตามต้องการ เทียนหอมจะช่วยดูแลให้รู้สึกผ่อนคลาย โดยการนำกลิ่นจากพืชมาใช้ บำบัดโดยสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย หรือที่เรารู้จักในชื่อ อโรมาเธอราปี เพื่อการผ่อนคลายและนำมาบำบัดโรคตามแต่คุณสมบัติของกลิ่นแต่ละกลิ่น เช่น กลิ่นมะลิ ทำให้สดชื่นแจ่มใส กลิ่นลาเวนเดอร์ ช่วยให้นอนหลับง่าย กลิ่นดอกบัวแดง ช่วยลดอาการวินเวียน หน้ามืด คัดจมูก และกลิ่นตะไคร้หอม ช่วยไล่ยุุงและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เป็นต้น

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. นางสาว สุกัญญา ราโช
2. นางสาว สุพัตรา จันทวงษา
3. นาง ชวนากร ศิริสุวรรณ

ผู้ประดิษฐ์
1. นางสาว สิริกัญญา จันทรังษี
2. นางสาว จารุวรรณ สารเนตร
3. นางสาว กัญญารัตน์ เหมือดอดทน
4. นางสาว สุพินญา บุญภา

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• วันที่เผยแพร่ผลงาน :

15 กันยายน 2564

• ระดับความพร้อมของนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

• ราคาของผลงานนวัตกรรม :

ยังไม่ได้กำหนดราคา

สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+

ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+

รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+

Aromatherapy candle (เทียนหอมอโรม่า)

งานวิจัยเทียนหอมช่วยในการนอนหลับ

• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา


• จุดเด่นของผลงานนวัตกรรม :

1. ทำให้สดชื่นแจ่มใส ผ่อนคลาย และนอนหลับง่าย
2. ช่วยลดอาการวินเวียน หน้ามืด และคัดจมูก
3. มีกลิ่นหอมและสามารถไล่ยุงได้
4. มีแสงสว่างและเพิ่มความโรแมนติก
5. เพื่อให้เกิดแสงสว่างและเพิ่มบรรยากาศ
6. ประดับตกแต่งในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสวยงาม
7. ช่วยดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
8. ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ


งานวิจัยเทียนหอมช่วยในการนอนหลับ

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา


• ประเภทผลงานนวัตกรรม :

ผลงานนวัตกรรม

• หมวดหมู่นวัตกรรม :

อื่นๆ


• ระดับนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• ความต้องการจำหน่าย :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น


วันที่เผยแพร่: 15 กันยายน 2564

|

ผู้เยี่ยมชม: 79

หลายคนชอบจุด เทียนหอมเพื่อผ่อนคลาย เนื่องจากมีกลิ่นหอม ช่วยทำให้จิตใจของคุณสงบ และรู้สึกผ่อนคลาย แต่บางคนอาจสงสัยว่า การดมควันของเทียนหอม อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้หรือไม่ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเทียนนั้นล้วนมีสารเคมีผสมอยู่ แต่ความจริงแล้วเป็นอย่างไร ติดตามกันได้ในบทความของ Hello คุณหมอ เลยค่ะ

การจุดเทียนเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

มีบทความมากมายบนอินเทอร์เน็ตที่อธิบายถึงอันตรายของการสูดดมควันเทียนหอม แต่บทความส่วนใหญ่ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถสรุปได้ว่า ความจริงแล้วการจุดเทียนหอมเพื่อผ่อนคลายนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

ในปี ค.ศ. 2003 คณะกรรมาธิการความปลอดภัยสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Consumer Product Safety Commission; CPSC) ได้ลงมติห้ามขายและผลิตเทียนที่มีไส้ตะกั่ว พวกเขายังห้ามนำเข้าเทียนที่มีส่วนผสมของตะกั่วจากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้น ผู้ผลิตเทียนส่วนใหญ่เลิกใช้ตะกั่วในการผลิตเทียนตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1970 เนื่องจากมีความกังวลว่า ควันที่เกิดจากการจุดเทียน อาจทำให้เกิดพิษจากสารตะกั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก

เทียนในยุคปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะทำจากขี้ผึ้งพาราฟิน หรือพาราฟิน แว็กซ์ (Paraffin wax) โดยขี้ผึ้งประเภทนี้ผลิตจากปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการทำน้ำมันเบนซิน

การศึกษาในปี ค.ศ. 2009 พบว่า ขี้ผึ้งพาราฟินที่ถูกเผาไหม้จะปล่อยสารเคมีที่อาจเป็นอันตราย เช่น โทลูอีน (Toluene) ออกมา อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่เคยถูกตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการตรวจสอบโดย The National Candle Association (NCA) และ The European Candle Association (ECA) ดังนั้น จึงมีการตั้งคำถามเกิดขึ้นว่า การศึกษานี้มีความน่าเชื่อถือหรือไม่

และมีการศึกษาในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งได้รับทุนจาก The European Candle Association (ECA) ได้ตรวจสอบไขเทียนหลัก ๆ ทุกประเภท เพื่อตรวจหาสารเคมีที่เป็นพิษ 300 ชนิด นักวิจัยพบว่า ระดับของสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากเทียนแต่ละชนิด มีปริมาณสารเคมีต่ำกว่าระดับที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้

ขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า เทียนที่เผาไหม้มีจะอันตรายต่อสุขภาพของคุณ อย่างไรก็ตาม หากคุณกังวลเกี่ยวกับผลเสียต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของขี้ผึ้งพาราฟิน คุณสามารถลองใช้เทียนที่ทำจากไขขี้ผึ้ง ไขถั่วเหลือง หรือไขจากพืชอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน

เทียนหอมเพื่อผ่อนคลาย เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

การเผาไหม้ของเทียนหอมเพื่อผ่อนคลายนั้น จะปล่อยสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้ เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ แม้ว่าเทียนหอมจะปล่อยสารประกอบเหล่านี้ออกมา แต่ก็ยังไม่มีการชี้ที่แน่ชัดว่ามันจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณหรือไม่ แต่ทั้งนี้บางคนอาจจะมีอาการแพ้เทียนหอม ซึ่งอาการต่าง ๆ มีดังนี้

  • จาม
  • อาการน้ำมูกไหล
  • การอุดตันของไซนัส (Sinus)

ควันของเทียนหอมเพื่อผ่อนคลาย ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

การหายใจเอาควันชนิดใดชนิดหนึ่งเข้าไปในปอดมากเกินไป อาจทำลายสุขภาพของคุณได้ การเผาไหม้ของเทียนที่ทำจากพาราฟินจะปล่อยเขม่าออกมา มีการคาดการณ์ว่า เขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ของเทียนนั้นจะคล้ายกับเขม่าที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ดีเซล ดังนั้น การลดปริมาณการสูดดมควันที่เกิดจากเทียนจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ โดยคุณควรจะจุดเทียนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และพยายามเก็บไว้ให้ห่างจากบริเวณที่สามารถเพิ่มปริมาณควันที่ปล่อยออกมา

เทียนหอมเพื่อผ่อนคลายแบบไหนที่ดีต่อสุขภาพ

การเผาไหม้เกือบทุกอย่างมีโอกาสปล่อยสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ โดยควันจากการเผาเทียนในบริเวณที่มีการถ่ายเทที่ดีไม่น่าจะส่งผลต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับมลพิษที่คุณหายใจเข้าไปในชีวิตประจำวัน หากคุณต้องการลดปริมาณฝุ่นละอองที่คุณหายใจเข้าไป การจุดเทียนที่ทำจากแหล่งธรรมชาติจึงถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

จากการศึกษาหนึ่งจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้พบว่า เทียนหอมที่ทำจากปาล์มสเตียริน (Palm stearin) จะปล่อยควันออกมาเพียงครึ่งเดียวของเทียนที่ทำจากพาราฟิน นักวิจัยยังอธิบายด้วยว่า เทียนหอมที่ทำจากธรรมชาติดูเหมือนจะปล่อยสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายในปริมาณที่ต่ำที่สุด ซึ่งเทียนหอมที่ผลิตจากไขธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น

  • ไขจากมะพร้าว
  • ขี้ผึ้ง (Beeswax)
  • ไขจากถั่วเหลือง
  • ไขจากปาล์ม
  • ไขจากผัก

การสูดดมควันทุกชนิดอาจไม่ดีต่อสุขภาพ หากคุณวางแผนที่จะใช้เทียมหอมเพื่อผ่อนคลายเป็นประจำ คุณควรจุดเทียนในห้องที่มีอากาศถ่ายเท เพื่อลดปริมาณควันที่คุณหายใจเข้าไป จะดีต่อสุขภาพของคุณ หรือสอบถามจากคุณหมอก่อนใช้เทียนหอมก็ได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด