แบบฟอร์มหนังสือรับรองความสัมพันธ์

แบบฟอร์มหนังสือรับรองความสัมพันธ์
ทำไมใครๆถึงเลือก ศูนย์การแปลเอกสาร คิงส์ทรานสเลชั่น

จดหมายรับรองความสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ คืออะไร ถ้าต้องการทำอย่างไร ถ้าต้องการต้องทำอย่างไร

แบบฟอร์มหนังสือรับรองความสัมพันธ์

มีลูกค้าหลายท่าน ติดต่อสอบถามร้านแปลเอกสาร คิงทรานสเลชั่น ของเรา เข้ามาเกี่ยวกับ ตัวอย่าง แบบฟอร์ม ของ จดหมายรับรองความสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ ที่ทางสถานทูตเรียกร้องมา เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ส่วนมากในขั้นตอนการขอวีซ่า โดยเฉพาะ วีซ่า แต่งงาน หรือ Long stay ต่างๆ ทางสถานทูตที่ท่านไปขอวีซ่านั้น มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้อง ขอจดหมายแสดงความสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ

เพื่อยืนยันว่า ผู้ร้องขอวีซ่า และผู้ที่ท่านต้องการไปอยู่อาศัยด้วยในต่างประเทศ มีความสัมพันธ์กันจริงๆ ไม่ใช่การจ้างวาน หรืออื่นใด เพื่อให้ท่านเข้าประเทศได้เท่านั้น ทีนี้ คำถามต่อมาก็คือ งานแปลเอกสาร และจดหมายแสดงความสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ ควรจะมีแบบฟอร์มอย่างไร อะไรก่อน อะไรหลัง เอาล่ะครับ ถามมาเยอะ วันนี้ บริษัท แปลเอกสาร kingtranslations จัดให้ อ่านกันซะ จะได้เข้าใจ


จริงๆแล้ว จดหมายแสดงความสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ ไม่มีแบบฟอร์มใดๆ ที่ตายตัวนะครับ ขึ้นชื่อว่า จดหมายแล้ว คงไม่ใช่แบบฟอร์มราชการ ไม่มีอะไรตายตัว ถ้าจะมีแบบฟอร์ม ก็คงเป็นแบบฟอร์มของจดหมายทั่วไป ที่มีวันที่ อยู่ มุมด้านขวา เรื่อง ที่จะเขียน วันที่ เนื้อหา สรุป และคำลงท้าย รวมถึง ลงชื่อ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ (เว้นเสียแต่ว่าทางสถานทูต จะเรียกร้องให้คุณให้แบบฟอร์มอะไรมาเป็นพิเศษ)

แบบฟอร์มหนังสือรับรองความสัมพันธ์

คำถามต่อมาก็คือ เนื้อหาด้านในจะเป็นอย่างไร อย่าว่า

แต่แปลเอกสารภาษาอังกฤษเลย ฉันจะไปอธิบาย ยังไง ภาษาไม่กระดิก ภาษาไทย ฉันยังไม่รู้จะขึ้นต้น ลงท้ายอะไรยังไง ชีวิตไม่เคยเขียนอะไรยาวๆเลย เรามีคำแนะนำง่ายๆ สำหรับ การเขียนจดหมายแสดงความสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ นะครับ ก็คือ

หากคุณไม่มีอะไรต้องปิดบังแล้ว คุณก็เล่าทุกอย่างไปตามความเป็นจริงครับ เล่าไปเลยให้เต็มที่เป็นภาษาไทยนี่แหละ คบกันยังไง เจอกันยังไง อยู่ห่างกันมันทุกข์ทรมาน หัวใจเช่นไร และเพราะเหตุใด คุณจึงต้องการวีซ่านี้ มันจะทำให้รักของคุณสองคนสุขสมหวังเช่นไร ธรรมดาๆ ครับ เหมือนย้อนอดีตรัก ความหลังอันหวานชื่น ของคุณทั้งสอง ให้ทางสถานทูตฟังไปตามความจริง ไม่ต้องแต่งเสริมเติมแต่งอะไร แล้วจดหมายแสดงความสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ ที่ออกมาจะดูดีมาก เพราะมันจะค่อยๆ เล่าไปตามขั้น ตามตอน เป็นลำดับ เป็นเวลา

หลังจากนั้น ก็มาถึงเวลาที่ บริษัทแปลเอกสาร kingtranslations จะแสดงฝีมือ ก็คือ คุณก็เพียงนำ จดหมายแสดงความสัมพันธ์ภาษาไทย ที่คุณแต่งขึ้น ต้องเรียกว่าที่คุณเขียนขึ้น ถึงจะถูก มาให้เราประดิดประดอย เป็นภาษาอังกฤษ ที่สวยงาม เลิศหรู อลังการให้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานทูต เข้าใจ และ อนุมัติ วีซ่าให้คุณได้ในที่สุด สรุปขั้นตอนเพียงง่ายๆ ที่จะไม่ทำให้คุณต้องปวดหัวก็คือ

  1. แต่งจดหมายแสดงความสัมพันธ์ภาษาไทยขึ้นมา ด้วยการเล่าเรื่องตามความเป็นจริงแบบธรรมดาๆ
  2. ส่งจดหมายภาษาไทยที่คุณแต่งนั้น มาให้ ทางบริษัท ของเรา แปลเป็นภาษาอังกฤษ ในระดับมืออาชีพให้ในราคาย่อมเยา แต่คุณภาพระดับฝรั่งอ่าน แล้วซาบซึ้งไปด้วยแน่นอน

เพียงเท่านี้ เนื้อหาจดหมาย ที่จริงใจตรงไปตรงมาของคุณ และทักษะการแปลเอกสารภาษาอังกฤษระดับอาจารย์ของเรา เมื่อรวมกันเข้า ก็จะสามารถช่วยให้คุณได้จดหมายแสดงความสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ ไปแสดงให้ทางสถานทูตดู และได้รับอนุมัติวีซ่า อย่างแน่นอนครับ หากมีคำถามเพิ่มเติมใดๆ อย่าลืมติดต่อ เรานะครับ ทีมงา ใจดี คอยให้คำปรึกษาแก่ท่าน

1. แบบฟอร์มงานหนังสือเดินทาง (Passport Application Forms)
1.1 คำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport Application Form)
1.2 บันทึกการสอบสวน (Investigation Form)
1.3 คำให้การหนังสือเดินทางหาย (Lost Passport Report)
1.4 คำร้องขอหนังสือเดินทางฉุกเฉิน(Emergency Passport) และเอกสารเดินทางฉุกเฉิน(Emergency Travel Document)
2. แบบฟอร์มงานนิติกรณ์และรับรองเอกสาร (Legalization Forms)
2.1 คำร้องนิติกรณ์
2.2 รับรองลายมือชื่อ (Notary Public for Signature)
2.3 หนังสือมอบอำนาจทั่วไป
2.4 หนังสือมอบอำนาจที่ดิน
2.5 หนังสือมอบอำนาจสำหรับคัดสำเนา
2.6 หนังสือมอบอำนาจสำหรับเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร
2.7 หนังสือมอบอำนาจสำหรับย้ายชื่อออกจากทะเบียนกลาง
2.8 หนังสือยินยอมและมอบอำนาจให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ(ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์)
2.9 หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ (ผู้เยาว์อายุมากกว่า 15 ปีบริบูรณ์)
2.10 หนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล (Agreement for Marriage Name)
2.11 หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางกับผู้ที่มิใช่บิดามารดา (Letter of Consent)
2.12 หนังสือรับรองทรัพย์สินการซื้อที่ดิน
2.14 หนังสือสำคัญแสดงการมีชีวิต 

Thai Embassy Birth Certificate Link 3.5 บันทึกการสอบปากคำมารดา (กรณีบุตรนอกสมรสใช้นามสกุลของบิดา)

3. แบบฟอร์มงานทะเบียนครอบครัว (Registration Forms)
3.1 คำร้องขอสูติบัตร
3.2 คำร้องนิติกรณ์สำหรับขอสูติบัตร
3.3 คำให้การของมารดา กรณีบิดาเป็นชาวต่างชาติ
3.4 คำให้การของมารดา กรณีมีบุตรนอกสมรส (ไม่จดทะเบียนสมรส)
3.5 บันทึกสอบปากคำมารดาและบิดา กรณีมีบุตรนอกสมรสและประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลบิดา
3.6 บันทึกการสอบปากคำมารดา (กรณีบุตรนอกสมรสไม่ระบุชื่อบิดา)
3.7 บันทึกการสอบปากคำ (กรณีจดทะเบียนสมรสและประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลมารดา)
3.8 บันทึกสอบปากคำ กรณีขอสูติบัตรไทยให้บุตรซึ่งได้รับสัญชาติไทยย้อนหลัง (เกิดก่อนปี พ.ศ.2535)
3.9 คำร้องขอแก้ไขรายการในสูติบัตร
3.10 บันทึกสอบปากคำ กรณีชื่อหรือนามสกุลของบิดา/มารดาในเอกสารไทยไม่ตรงกับสูติบัตรของทางการสหรัฐฯ
3.11 มรณบัตร
3.12 คำร้องขอแก้ไขรายการมรณบัตร

3.13 คำร้องจดทะเบียนหย่า

3.14 คำร้องจดทะเบียนสมรส

4. แบบฟอร์มแปลเอกสาร (Translation Forms)
4.1 สูติบัตร  [ท.ร.1 ตอน1]
4.2 สูติบัตร  [ท.ร.19 ตอน1]
4.3 สูติบัตร  [ท.ร.19 ตอน4]
4.4 มรณบัตร [ท.ร.4 ตอน1]
4.5 มรณบัตร [ท.ร.20 ตอน1]
4.6 หนังสือสำคัญการจัดตั้งนามสกุล [แบบ ช.2]
4.7 หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ  [แบบ ช.3]
4.8 หนังสือสำคัญการแปลนามสกุล [แบบ ช.4]
 4.9 ทะเบียนหย่า [คร.6]
4.10ใบสำคัญการหย่า [คร.7]
4.11 บัตรประจำตัวประชาชน [แบบที่ 1]
4.12 บัตรประจำตัวประชาชน [แบบที่ 2]
4.13 บัตรประจำตัวประชนรุ่นใหม่ [แบบที่ 1]
4.14 ทะเบียนบ้าน ท.ร. 14  [ท.ร. 14]
4.15 สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)  [ท.ร. 14/1]
4.16 สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)  [ท.ร. 14/2]
4.17 แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร  [แบบที่ 1]
4.18 แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร  [แบบที่ 2]
4.19 ทะเบียนสมรส   [คร.2 แบบที่ 1]
4.20 ทะเบียนสมรส   [คร.2 แบบที่ 2]
4.21 ใบสำคัญการสมรส [คร.3]
4.22 ใบขับขี่รุ่นใหม่
 4.23 ใบขับขี่รุ่นเก่า
 4.24 แบบฟอร์มอื่นๆ
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ควรทราบและใช้ในการแปลอยู่เสมอ โปรดคลิ๊ก
5. แบบฟอร์มขอความช่วยเหลือคนไทยและลงทะเบียนคนไทยในต่างประเทศ
5.1 แบบฟอร์มขอความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ
6. แบบฟอร์มบัตรประชาชน
6.1. แบบฟอร์มคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชน
6.2 แบบฟอร์มบันทึกสอบปากคำ กรณีบัตรประชาชนหาย หรือหมดอายุเกิน 1 ปี