การอ่านออกเสียงร้อยกรอง

การแก้ปัญหาการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองตามแนวคิดกรณีตัวอย่าง

ผู้แต่ง

  • วิชุดา กรุยเปรียง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุมนา เขียนนิล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง, ชุดกิจกรรม, กรณีตัวอย่าง

บทคัดย่อ

งานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจปัญหาในชั้นเรียนของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองของนักเรียน 3) เพื่อศึกษานวัตกรรมที่นำไปใช้ในการแก้ปัญหาการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาผลของการนำนวัตกรรมชุดกิจกรรมการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองตามแนวคิดกรณีตัวอย่างไปใช้แก้ปัญหาการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนวัดนวลนรดิศจำนวน 5 คน ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองร้อยละ 60 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองตามแนวคิดกรณีตัวอย่าง แบบประเมินการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่านออกเสียงบทร้องกรองคิดเป็นร้อยละ 11.11 2) สาเหตุของปัญหาการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองเกิดจากนักเรียนไม่สามารถอ่านออกเสียงบทร้องกรองได้อย่างถูกต้องตามอักขระวิธี 3) ชุดกิจกรรมการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองตามแนวคิดกรณีตัวอย่างมีค่าความสอดคล้องของนวัตกรรมที่ 0.66 – 1.00 แปลผลได้ว่า สามารถนำชุดกิจกรรมตามแนวคิดกรณีตัวอย่างไปใช้แก้ปัญหาการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้ 4) ผลของการนำนวัตกรรมไปใช้แก้ปัญหาการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง พบว่า นักเรียนมีความสนใจต่อชุดกิจกรรมการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองตามแนวคิดกรณีตัวอย่าง นักเรียนได้ศึกษาเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของชุดกิจกรรมตามแนวคิดกรณีตัวอย่าง โดยมีครูคอยชี้แนะ และอธิบายเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองของนักเรียน ผลทำให้การประเมินการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองของนักเรียนทั้ง 5 คน ผ่านเกณฑ์การประเมิน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว

ธิดารัตน์ ฝูงพิลา, อุษา ปราบหงส์, และพจมาน ชำนาญกิจ. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร, 7(18), 91-102.

นันทา ขุนภักดี. (2559). การอ่านทำนองร้อยกรองไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

นิวัติ จัทราช. (2554). ผลของการใช้วิธีการเรียนแบบกรณีศึกษาในรายวิชา MGT 351 องค์การและการพัฒนาองค์การ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.

ภาสกร เกิดอ่อน และคณะ. (2557). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทยวรรณคดีและวรรณกรรม ม.๔. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). สุดยอดวิธีการสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นำไปสู่…การจัดการเรียนรู้ของครู ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง

How to Cite

License

เนื้อหา และข้อมูลต่างๆ ฯลฯ ในวารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เนื้อหาที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ไม่ใช่ความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาบทความ

หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาก่อนเท่านั้น

การอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรอง

หลักในการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

  1. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การแบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์เสียง

หนักเบา

  1. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย
  2. อ่านตามบังคับสัมผัส เช่น กัด-ตะ-เว-ที เพื่อให้สัมผัสกับ สัตย์
  3. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
  4. อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือเบาจนเกินไป
  5. คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
  6. มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง หรือหลบเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท
  7. ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น
  2. ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านและขณะกำลังอ่านเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
  3. ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผันวรรณยุกต์
  4. พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ
  5. หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่าง ๆ อยู่เสมอจึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ

ที่มา : https://www.dltv.ac.th/teachplan/episode/22471

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

ความหมายของการอ่านออกเสียง

การอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงตามอักษรถ้อยคำ และเครื่องหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้ถูกต้องชัดเจน เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ฟัง

หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

  1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่าน
    • ศึกษาเนื้อหา
    • ศึกษาประเภทของเรื่องที่อ่าน
  1. อ่านออกเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง
  2. อ่านให้คล่อง ฟังรื่นหู และออกเสียงให้ถูกต้อง ตามอักขรวิธี
    • อักขรวิธีในที่นี้ คือตัวอักษร สระ วรรณยุกต์
  1. อ่านออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างธรรมชาติที่สุด
  2. อ่านออกเสียงให้เหมาะกับประเภทของเรื่อง
  3. การอ่านในที่ประชุมต้องจับหรือถือบทอ่าน

ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยแก้ว

  1. เรื่องที่อ่านสื่ออารมณ์และวัตถุประสงค์ของผู้เขียน
  2. อ่านคำภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขรวิธี
  3. แบ่งวรรคตอนในการอ่าน
  4. อ่านออกเสียงดังพอประมาณ ไม่ตะโกนหรือเสียงเบา
  5. มีสมาธิในการอ่าน

ที่มา : https://www.clearnotebooks.com/th/notebooks/1213900

ความหมายของการอ่านออกเสียงร้อยกรองคืออะไร

การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้ง ในรสของค าประพันธ์ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทานองตามลักษณะคา ประพันธ์เเต่ละชนิด การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้๒ แบบ ดังนี้ 1. อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่าน ร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน

การอ่านแบบใดเป็นการอ่านออกเสียงร้อยกรอง

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลิน ซาบซึ้งในรสของบท ประพันธ์ซึ่งต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์แต่ละชนิด มีวิธีออกเสียงได้ ๒ อย่าง คือ ออกเสียงอย่างการอ่านร้อยแก้ว และออกเสียงเป็นทำนองเสนาะ

การอ่านออกเสียงร้อยกรองมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ ๑. อ่านแบบธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูดธรรมดา ไม่มีทานองเหมือนอ่านร้อยแก้ว แต่มีการ แบ่งจังหวะวรรคตอนให้ถูกต้องตามชนิดของคาประพันธ์ ๒. อ่านแบบทานองเสนาะ เป็นการอ่านออกเสียงที่มีทานองอย่างไพเราะ มีเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส แบ่งจังหวะจานวนคา การอ่านตามฉันทลักษณ์บังคับของคาประพันธ์

บทร้อยกรองมีความหมายว่าอย่างไร

หมายถึง คำประพันธ์ที่แต่งขึ้นโดยมีข้อบังคับหรือฉันทลักษณ์จำกัดคำและวรรคตอนให้สัมผัส กันไพเราะตามเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ เช่น กลอนสุภาพ โคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี 11 และ กาพย์ฉบับ 16 ฯลฯ