สํานวนจากวรรณคดี รามเกียรติ์

nusarawana ♦ กันยายน 23, 2012 ♦ ใส่ความเห็น

สำนวนคำ หมายถึง คำกล่าวที่คล้องจอง แต่ไม่ได้มุ่งที่จะสั่งสอน เช่น

” ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง ” หมายถึง ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง

” ยื่นหมู ยื่นแมว “ หมายถึง ส่งสิ่งของแต่ละฝ่ายแลกเปลี่ยนพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน

” ยุให้รำตำให้รั่ว “ หมายถึง ยุแหย่ให้ผิดใจกัน

” ปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง ” หมายถึง พยายามทำให้เกิดเรื่องราวที่ไม่ดีขึ้นมา

” เอามือซุกหีบ , แกว่งเท้าหาเสี้ยน “ หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อน หรือความยุ่งยากให้ตัวเองโดยใช่ที่

” จับปลาสองมือ “ หมายถึง ชายหรือหญิงที่มีใจไม่แน่นอนว่าจะเลือกรักใครจริง

แต่ปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานรวมเรียกคำสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนคำว่า ” สำนวน ”

สำนวนไทย มีที่มาจากวรรณคดีก็มีมาก เช่น จากเรื่องรามเกียรติ์

– พระรามเดินดง        – จองถนน       – กล่องดวงใจ

– ยักษ์ลักมาลิงพาไป     – สิบแปดมงกุฎ     – หนุมานคลุกฝุ่น

– งอมพระราม        – ลูกทรพี    – วัดรอยเท้า

แต่ละสำนวนมีเรื่องราวดังตัวอย่างสำนวนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องบทพากย์รามเกียรติ์ ตอนนางลอย เช่น

พระรามเดินดง , งอมพระราม    สำนวนนี้มีความหมายว่า ลำบากตรากตรำทุกข์ยากเป็นเวลานาน เนื่องจากพระราม

ต้องออกไปเดินป่าตามบัญชาของท้าวทศรถผู้เป็นพระราชบิดาเป็นเวลานาน ๑๔ ปี ได้รับความทุกข์เพราะต้องจากบ้านเมือง

และพลัดพรากจากนางสีดาผู้เป็นชายา ต้องทำศึกกับทศกัณฐ์และพวกพ้องอย่างหนัก แต่ในที่สุดก็ชนะศึกและพานางสีดากลับ

กรุงอโธยา เพื่อทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองสืบไป

จองถนน สำนวนนี้หมายความว่า เตรียมแผนการรุกล้ำที่ของผู้อื่น หรือหมายถึง ทำวางโตเป็นใหญ่  คำว่า ” จอง ” หมายถึง ” ผูกสร้าง ” เพราะฉะนั้น จองถนนก็คือ สร้างถนน พระรามได้ยกไพร่พลลิงติดตามหานางสีดาไปถึงฝั่ง

มหาสมุทรตรงข้ามกรุงลงกาอันเป็นบ้านเมืองของทศกัณฐ์ ที่ซึ่งทศกัณฐ์นำนางสีดาไปกักขังไว้ แต่พระรามข้ามไปไม่ได้ จึงเกณฑ์ไพร่พลลิงให้นำหินมาถมทะเล เพื่อทำเป็นถนนข้ามไปกรุงลงกา

ตัวอย่างสำนวนไทยที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของช้างก็มี   เช่น

– ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ทำงานใหญ่เกินตัวแต่ได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า

– ฆ่าช้างเอางา  หมายถึง การลงทุนเพื่อผลประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่า

– อ้อยเข้าปากช้าง หมายถึง สูญไป ไม่มีทางได้คืนมา

– เห็นช้างเท่าหนู  หมายถึง ไม่เกรงกลัว ไม่มีสติยั้งคิด

คำพังเพย

nusarawana ♦ กันยายน 23, 2012 ♦ ใส่ความเห็น

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่มีลักษณะติชม หรือแสดงความคิดเห็นอยู่ในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้

และยังไม่เป็นสำนวนแท้ เช่น

” เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง “   หมายถึง ทำตามผู็อื่นโดยไม่รู้ว่าทำเพื่ออะไร

” ตีงูให้กากิน “ หมายถึง  ลงทุนทำในสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่ตนเอง และอาจได้รับโทษด้วย

” ขนมพอสมน้ำยา “ หมายถึง ต่างฝ่ายต่างทำสิ่งที่ไม่ดีเข้าหากัน แต่ก็เข้ากันไปด้วยกันได้ อ่านเพิ่มเติม

เรื่อง สุภาษิต

nusarawana ♦ กันยายน 23, 2012 ♦ ใส่ความเห็น

สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่ดีงามเป็นความสัตย์จริงทุกสมัย เป็นคำสอนให้ประพฤติดีงาม และคำสุภาษิตนั้นเป็นถ้อยคำสั้น ๆ

แต่กินความลึกน่าเชื่อถือ เช่น อ่านเพิ่มเติม

จุดประสงค์การเรียนรู้

nusarawana ♦ กันยายน 23, 2012 ♦ ใส่ความเห็น

 ๑. ใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไดู้ถูกต้องเหมาะสม

๒. อธิบายสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ได้

สำนวนไทย

nusarawana ♦ กันยายน 23, 2012 ♦ ใส่ความเห็น

ข้อความที่เป็นสำนวนไทยมีลักษณะดังนี้ คือ

1. มีความหมายโดยนัย คือความหมายไม่ตรงตัวตามความหมายโดยอรรถ พูดอย่างหนึ่งมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น
กินปูนร้อนท้อง – รู้สึกเดือดร้อนเพราะมีความผิดอยู่
ขนทรายเข้าวัด – ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ

ฤษีเลี้ยงลิง – เลี้ยงเด็กซุกซน เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

สรุปผลอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

nusarawana ♦ กันยายน 23, 2012 ♦ ใส่ความเห็น

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
จากการที่คณะผู้จัดทำได้มีความสนใจศึกษาสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตามวัตถุประสงค์คือเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนวน  สุภาษิต คำพังเพย      โดยแบ่งตามลำดับอักษรพยัญชนะไทยเนื้อจากสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจากบทประพันธ์ วรรณคดี หนังสือต่างๆ ได้แก่ หนังสือสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หนังสือคำคมสุภาษิตสอนหญิงชาย ซึ่งพบว่าสำนวน  สุภาษิต คำพังเพย  มีจำนวนมากซึ่งถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณที่ใช้สั่งสอนอบรมบุตรหลานให้มีคุณธรรมซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีการนำ  สำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย   มาใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งเราได้ยินอยู่บ้างในปัจจุบันเพื่อให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติมีคุณธรรมและสามารถอยู่รวมกันได้ในสังคมอย่างสงบสุข
อภิปรายผล
จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่องการศึกสำนวนสุภาษิตคำพังเพย

สำนวนหมายถึงคำที่พูดคือเป็นคติมีความลึกซึ้งใช้สอน คือการวางแนวและแสดงคำนิยมของสมัยโบราณ เช่น คำว่าน้ำพึ่งเรือเสือ เสือพึ่งป่า
สุภาษิตหมายถึง  เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ เพื่อใช้ติชมสะท้อนถึงความคิดความเชื้อถือและค่านิยมอันเป็นลักษณะของคน เช่นคำว่าบ้านเคยอยู่  อู่เคยนอน
คำพังเพยหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายตามปกติทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย  หรือความหมายในเชิงเปรียบเทียบเช่นคำว่า กินบนเรือนขี้รถบนหลังคา

ประโยชน์ที่ได้รับ
๑. เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม
๒. มีความรู้เกี่ยวกับสำนวนสุภาษิตคำพังเพย
๓. มีความเข้าใจเกี่ยวกับการนำสำนวนสุภาษิตคำพังเพยมาใช้
๔. ได้ฝึกทักษะในการวาดภาพประกอบสุภาษิตคำพังเพย

ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงงานคือ
๑. เนื่องจากเนื้อหาของสำนวนสุภาษิตคำพังเพยอาจมีจำนวนมากในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาอาจหรือยกเนื้อหาของสำนวนสุภาษิตคำพังเพย
๒. ควรมีการจัดทำเป็นหนังสืออินเล็กทรอนิเผยแพร่ทางเว็บไซต์ในโอกาสต่อไป
๓. นำผลจากการศึกษาสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไปสร้างเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ    เช่น นิทาน เรื่องสั้น  บทละคร  เป็นต้น   เพื่อให้เหมาะสมกับผู้รับสาร

Hello world!

nusarawana ♦ กันยายน 18, 2012 ♦ 1 ความเห็น

Welcome to WordPress.com! This is your very first post. Click the Edit link to modify or delete it, or start a new post. If you like, use this post to tell readers why you started this blog and what you plan to do with it.

Happy blogging!

สํานวนที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์มีอะไรบ้าง

มีสำนวนไทยไม่น้อยเลยที่มีต้นกำเนิดมาจากวรรณคดี ดังเช่นสำนวนที่เราอาจจะได้ยินกันมาจนชินหูอย่าง 'ลูกทรพี' หรือ 'วัดรอยเท้า' สองสำนวนนี้มาจากวรรณคดีเอกของไทยเรื่อง รามเกียรติ์

งอมพระรามมาจากวรรณคดีเรื่องใด

งอมพระราม มีความหมายว่า มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ (หน้า 191) สำนวน นี้ มีที่มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนที่พระรามต้องออกเดินทางรอนแรมไปในป่าถึง 14 ปี เพื่อ

สำนวน "องคตพดหาง" หมายความว่าอย่างไร

ในหนังสือ สำนวนไทยที่มาจากวรรณคดี (หนังสือชุด บรมราชกุมารีอักษรานุรักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) อาจารย์ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา อธิบายว่า สำนวน องคตพดหาง มีความหมายว่า เย่อหยิ่งจองหอง อวดดี ตีตนเสมอ

สํานวนภาษาไทยมีอะไรบ้าง

รวม 30 สํานวนไทย พร้อมความหมาย ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน.
1. สุกเอาเผากิน การทำงานหรือทำอะไรสักอย่างแบบลวกๆ ให้พอเสร็จสิ้นและผ่านพ้นไป.
2. ผักชีโรยหน้า ... .
3. งมเข็มในมหาสมุทร ... .
4. หัวล้านนอกครู ... .
5. ไม่เอาถ่าน ... .
6. ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม ... .
7. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ... .
8. คนล้มอย่าข้าม.