โรงเรียนคุณภาพประจําตําบล ppt

โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐาน กิจกรรมพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบล  

๑.  หลักการและเหตุผล                        

            โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน  แนวคิดการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบทซึ่งนักเรียน  ส่วนใหญ่มักด้อยโอกาสในการได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ

            อย่างไรก็ตาม  จากการรายงานของธนาคารโลก  พบว่า ผลการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งในการขยายโอกาสทางการศึกษา  ขณะที่คุณภาพของการจัดการศึกษามีแนวโน้มลดลง  โดยมีโรงเรียนเฉพาะที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเทียบเคียงได้กับค่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศสหรัฐอเมริกา (The World Bank, ๒๐๐๙)   แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ที่อยู่ในเขตชนบทยังด้อยคุณภาพ  ทั้งผลการวิจัยยังพบว่า การทุ่มเททำงานจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาเด็กด้อยโอกาสในท้องถิ่นชนบทจะส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (economic returns) ของประเทศอย่างยิ่ง  ทั้งยังลดปัญหาสังคม และส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโดยรวม (Newsweek, ๒๐๐๙:Aug ๑.)

             กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตระหนักในความสำคัญดังกล่าว  จึงกำหนดนโยบายการพัฒนา “โรงเรียนคุณภาพ” ในท้องถิ่นชนบทเพื่อให้มีความเพียบพร้อมที่จะเป็นต้นแบบ หรือศูนย์สาธิตการให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ  ตลอดจนเป็นศูนย์รวม หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน  ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ  เชื่อมั่นและศรัทธาในการปฏิบัติงานของโรงเรียนและไม่จำเป็นต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในเมือง  นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง โดยโรงเรียนและชุมชนสามารถจัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์บริการและเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ 

๒.  วัตถุประสงค์ 

         ๒.๑  เพื่อพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบทให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพ” มีความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านวิชาการ  อาชีพ  และการพัฒนาสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพ  เป็นศูนย์พัฒนาครูสำหรับโรงเรียนต่าง ๆที่อยู่ใกล้เคียง และมีกิจกรรมบริการชุมชน      

         ๒.๒  เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท      

         ๒.๓  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมจากชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  นำไปสู่ความเข้มแข็งของโรงเรียนและรองรับการกระจายอำนาจ 

๓.  เป้าหมาย       

          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ  ๑  โรงเรียน (ยกเว้น กทม.) รวม  ๑๘๒  โรงเรียน 

๔.  รูปแบบการพัฒนา 

           ความคาดหวังการพัฒนา  คือ  เป็นโรงเรียนดีต้นแบบระดับตำบล (๑ ตำบล  ๑  โรงเรียน)  หรือเป็นโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม  โดยกำหนดคุณลักษณะหรือภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่ต้องการ คือ 

           ·       เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง มีความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการ  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดนตรี กีฬา และศิลปะ  

           ·       เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านกายภาพที่มีความสะอาด  ร่มรื่น ปลอดภัย 

           ·       เป็นโรงเรียน “ทำมาหากิน” ที่เน้นการพัฒนาพื้นฐานด้านอาชีพและการมีรายได้ระหว่างเรียน 

           ·       เป็น “โรงเรียนของชุมชน” ที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นและบริการชุมชนอย่างเข้มแข็ง   

โดยมีแนวทางการพัฒนา  ดังนี้     

               ๔.๑  ภาพความสำเร็จ 

                      ๑)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูงไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน  ๕  กลุ่มสาระหลัก  

                      ๒)  โรงเรียนสร้างวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็ง  และไม่มีปัญหายาเสพติด       

                      ๓)  โรงเรียนมีความร่วมมือกับชุมชน  ผู้ปกครอง   คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง             

                      ๔)  นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  มีสำนึกความเป็นไทย  มีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านอาชีพ  มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ระดับสูง และมีสุขภาพพลานามัยดี                  

                      ๕)  นักเรียนมีความรู้ และทักษะอย่างดีด้านภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สองอื่น ๆ ตามความสนใจหรือความถนัด    

               ๔.๒    กิจกรรมดำเนินการสำคัญ           

                     ๔.๒.๑  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเข้มข้น  โดยเน้น                         

                                ๑)  ผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  โดยเน้นการอ่านออก  เขียนได้ คิดเลขเป็น เป็นทักษะพื้นฐานของนักเรียนทุกคน

                                ๒)  การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและเน้นการคิดวิเคราะห์ด้วยการเรียนแบบโครงงาน (project-based learning)  หรือ การเรียนโดยการแก้ปัญหา (problem-based learning)               

                                ๓)  การส่งเสริมให้นักเรียนมีการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์โดยกระบวนการหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เชื่อมโยงกับการบริการหรือพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างจิตสาธารณะ  เป็นสมาชิกของชุมชนที่มีคุณภาพ  นำไปสู่การรักและพัฒนาถิ่นฐานของตน                     

                                ๔)  การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียน และบุคลากรทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ 

                        ๔.๒.๒  พัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนา จัดหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์  และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ     

                                ๑)  อาคารสถานที่สะอาด  ร่มรื่น  ปลอดภัย มีสีสันสวยงาม  น่าอยู่ น่าเรียน                            

                                ๒)  คอมพิวเตอร์  ๑  เครื่อง ต่อนักเรียน  ๑๐  คน                  

                                ๓)  อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อย่างน้อย  ๒ Mb                    

                                ๔)  ห้องสมุด  ๓  ดี               

                                ๕)  สระว่ายน้ำ หรือ ศูนย์กีฬา (sport complex)          

                                ๖)   อุปกรณ์ดนตรี  กีฬา และศิลปะ               

                                ๗)  ศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพ  ซึ่งอาจประกอบด้วยพื้นที่เพื่อการเกษตร  อาคาร/โรงฝึกงานเพื่อการฝึกอาชีพตามบริบทของท้องถิ่น เช่น  การสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน  งานด้านบริการ  การสร้างผลผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปอาหาร  เป็นต้น  

                        ๔.๒.๓   บริหารจัดการบุคลากรครู และผู้บริหารโรงเรียนดีต้นแบบระดับตำบลอย่างเหมาะสม  เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จที่กำหนดไว้ตามข้อ  ๔.๑             

                                  ๑)  การคัดเลือกหรือพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนให้มีความมุ่งมั่น และศักยภาพอย่างสูง 

                                  ๒)  โรงเรียนดีประจำตำบลควรมีครูจบวิชาเอกภาษาไทย และคณิตศาสตร์  หรือได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตรงกับวิชาที่สอนอย่างน้อย  ๕  กลุ่มสาระวิชาหลัก และมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้ในการเรียนการสอน                                    

                                   ๓)  การพัฒนาครู และบรรจุ แต่งตั้งครูใหม่   


                         ๔.๒.๔  
 จัดเครือข่ายกับโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อความร่วมมือ และช่วยเหลือกันทางวิชาการ เพื่อทำให้เกิดระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ได้มากที่สุด

                         ๑)  บริการวิชาการสำหรับนักเรียนและครูจากโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น  การนำนักเรียนมาเรียนรวม   การจัดครูเคลื่อนที่  ความร่วมมือกันในการพัฒนาครู และวางแผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียน   เป็นต้น
                       ๒)  มีเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนดีระดับอำเภอ   โรงเรียนมาตรฐานสากล  การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย หรือสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น


                      ๔.๒.๕   เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น การทำบันทึกความเข้าใจ (MOU)  กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนดูแลนักเรียน  และการส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐ  และเอกชน เช่น สสวท.  สถานประกอบการ เป็นต้นเช่น สสวท.  สถานประกอบการ เป็นต้น  เพื่อระดมสรรพกำลัง

                    ๔.๒.๖   
ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในอย่างเข้มแข็ง  เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 

                       ๑)  โรงเรียนประเมินตนเอง


                   ๒)  โรงเรียนกำหนดแผนปฏิบัติการรายปี และแผนพัฒนาระยะ ๔  ปีเพื่อพัฒนาตนเองให้บรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จของการเป็นโรงเรียนคุณภาพ  ตามข้อ ๔.๑ และทำความตกลงเป็นบันทึกความเข้าใจ (MOU)  ในการปฏิบัติงานระหว่างโรงเรียน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 


                       ๓)  โรงเรียนรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา   


                     ๔)   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานิเทศ ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานของโรงเรียนเป็นรายโรง อย่างน้อยภาคเรียนละ  ๒  ครั้ง  


                     ๕)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาช่วยเหลือ แทรกแซง หรือ แก้ไขการปฏิบัติงานของโรงเรียนหากไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้
                  ๔.๒.๗  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินการ และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน ช่วยเหลือทั้งด้านงบประมาณ  ด้านวิชาการ  และเน้นการติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  การจัดระบบการให้รางวัลเพื่อขวัญกำลังใจ  การรายงานและประชาสัมพันธ์ 

๕.   เกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียน 

        

๑)  เป็นโรงเรียนที่สอนระดับประถมศึกษา  หรือโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา หรือ โรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบล

        ๒)  โรงเรียนมีบริเวณพื้นที่กว้างขวาง  เพียงพอต่อการจัดหรือพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการ                                 


        ๓)  ผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่น  และมีศักยภาพอย่างสูงในการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม  


        ๔)  โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก และเป็นศูนย์กลางระหว่างโรงเรียนด้วยกัน และระหว่างชุมชน  


        ๕)  โรงเรียนมีพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน 

๖. กระบวนการคัดเลือกโรงเรียนเป้าหมาย

         
๑.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกโรงเรียนดีประจำตำบล  ตามเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนดีประจำตำบลดังระบุในโครงการ

         ๒.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเลือกโรงเรียนเป้าหมายจำนวน  ๑ โรงเรียน  ซึ่งอาจเลือกจากโรงเรียนดีประจำตำบล (๗,๐๐๐ โรงเรียน) หรือไม่ก็ได้  โดยมีการทำ “ประชาคม” หรือมีภาคี ระหว่างโรงเรียนใกล้เคียงและชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการกำหนดโรงเรียนเป้าหมายและร่วมพัฒนา โดยมีแนวทางเสนอแนะดังนี้  

     
         ๒.๑  แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนเป้าหมาย  ประกอบด้วยภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ครอบครัว  ชุมชน  ฝ่ายปกครอง  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันสังคมอื่น ๆ เป็นต้น 


          ๒.๒  ประชุมร่วมกับภาคีเกี่ยวกับแนวทางการแนวทางการคัดเลือกโรงเรียน  เพื่อให้ได้โรงเรียนเป้าหมายที่ชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้ทำชุมชนและฝ่ายปกครองเห็นพ้องที่จะดูแลช่วยเหลือโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ  สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ๓.  ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอโรงเรียนที่เหมาะสม ๑ โรงเรียน  พร้อมบอกเหตุผลของการคัดเลือก