การส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร

ความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational health and safety) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นสาขาวิชาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพของพนักงานในองค์กรป้องกันไม่ให้ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายอุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน

รู้หรือไม่ มีผู้เสียชีวิตกว่า 2.8 ล้านคนซึ่งมีผลมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน จากสถิติพบว่าในทุกๆ 15 วินาทีจะมีผู้เสียชีวิต 1 รายและมีการบาดเจ็บแต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอีกประมาณ 375 ล้านคนต่อปี ตัวเลขนี้ถือว่าสูงมากเป็นเหตุผลที่ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องหันมาให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียต่อพนักงาน สูญเสียทรัพย์สินและเงินค่าชดเชยต่างๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ว่าจะมากมายมหาศาลแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถซื้อชีวิตกลับมาได้

การส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร

ความปลอดภัย 3 หลักที่องค์กรควรจัดให้มี อ้างอิงจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก ได้แก่

1.จัดให้มีการส่งเสริมด้านสุขภาพของพนักงาน

2.จัดให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้พื้นที่การทำงานนั้นเกิดความปลอดภัย

3.จัดให้มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานและสนับสนุนทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้ปลอดภัยโดยให้พนักงานทุกคนนั้นได้มีส่วนร่วมมีการออกนโยบายเพื่อแสดงจุดยืนด้านความปลอดภัย รวมถึงจัดให้มีการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมความปลอดภัยด้วย

ความปลอดภัยในการทำงานถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และมีความเข้าใจผ่านการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยมาแล้วมีโอกาสที่จะลดอุบัติเหตุให้น้อยลงได้

ความปลอดภัยในการทำงาน ความหมายที่แท้จริงคือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยต่อพนักงาน ปราศจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงาน สำหรับอุบัติเหตุก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดและเมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมักมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่

1.อุบัติเหตุที่เกิดจากตัวบุคคล ซึ่งเกิดจากความประมาท การที่พนักงานไม่มีความระมัดระวังทำงานด้วยความประมาทนั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

2.อุบัติเหตุเกิดจากการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน หรือไม่มี WI

3.อุบัติเหตุเกิดจากสภาพการณ์ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ไม่ปลอดภัย เช่น เครื่องจักรได้รับการชำรุด

การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ โดยคิดเป็นร้อยละ 85 ของอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัยมีอะไรบ้าง

  • การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบในด้านความปลอดภัย
  • ความประมาท พลั้งเผลอ หรือเหม่อลอย
  • การไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลหรือ PPE
  • การทำงานข้ามขั้นตอน หรือทำงานเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
  • การใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท ตลอดจนการดัดแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
  • การทำงานด้วยความเร่งรีบหรือรีบร้อน
  • การทำงานโดยมีสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติไม่พร้อมที่จะปฏิบัติงาน

หัวใจสำคัญของการทำงาน คือ ความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งหมดนี้คงทำให้หลายๆ คนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น ได้รู้ว่าความปลอดภัยในการทำงานคืออะไรบ้าง องค์กรควรมีการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างไร เพื่อลดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน ในขณะเดียวกันพนักงานเองก็ควรได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้เกิดความรู้และความเข้าใจด้วยเช่นเดียวกัน

บริการของเรา

        วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 โครงการ เครื่องหมายรับรองวัสดุและผลิตภัณฑ์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย  (Safety Mark for Protective Materials and Products หรือ S-Mark) ภายใต้การดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ

     สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย จัดประชุม "คณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สิ่งทอ" ครั้งที่ 1/2565 กล่าวเปิดการประชุมโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ ดำเนินการประชุมโดยดร.ธีระ พงศ์อนันต์ อนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การประชุมดังกล่าวเป็นการหารือเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมที่พัฒนาโครงการ S-MARK  รวมถึงพัฒนาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตรวจประเมินของผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยให้ได้รับมาตรฐานสากล

        การประชุมครั้งนี้ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย ให้มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย ให้ได้รับความมั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์

การส่งเสริมความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน.
การเผยแพร่ข่าวสารด้านความปลอดภัย.
สนทนาความปลอดภัย.
การประกวดลดอุบัติเหตุ.
การประกวดความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย.
การประกวดคำขวัญ.
การประกวดพนักงานสวมเครื่องป้องกัน.
การประกวดพนักงานตัวอย่าง.
การประกวดความคิด.

ความปลอดภัยมีความสําคัญอย่างไร

1.ลดความสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของพนักงาน 2.การมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานทุกคนมีความปลอดภัย ย่อมจะทำให้พนักงานมั่นใจในการทำงาน ไม่ต้องหวาดระแวงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น 3.การมีกำไรเพิ่มมากขึ้น เมื่อผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้กำไรของโรงงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

องค์กรสามารถส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามข้อใด

องค์กรสามารถส่งเสริมความความปลอดภัยในองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามข้อใด? ทำกิจกรรมรณรงค์ด้านความปลอดภัยในการทำงาน กำหนดระเบียบปฎิบัติเรื่องความปลอดภัยในการปฎิบัติงานให้คนงานอ่านโดยไม่เน้นการปฎิบัติ ยกตัวอย่างกิจกรรมรณรงค์ด้านความปลอดภัยขององค์กรอื่นให้คนงานทุกคนได้ทราบข้อมูล

การส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานคืออะไร

เม.ย. ความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational health and safety) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นสาขาวิชาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพของพนักงานในองค์กรป้องกันไม่ให้ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายอุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน