แบบ ประเมิน การ นํา เสนอ โครง งาน

โครงงานเมื่อทำการศึกษา และปฏิบัติเรียบร้อยแล้วต้องมีการวัดและประเมินผล โดยต้องวัดให้ครอบคลุมกิจกรรมการทำงาน   ตั้งแต่การเตรียมก่อนลงมือทำกิจกรรม กระบวนการทำงานตามแผนที่วางไว้และผลสำเร็จของผลงานที่อาจอยู่ในรูปชิ้นงาน หรือทฤษฎีก็ได้ เพื่อหาข้อบกพร่อง  ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงาน จนถึงสิ้นสุดการปฏิบัติงาน การประเมินผลมักจะประเมินตามจุดประสงค์และการปฏิบัติงาน  จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอและมีผลย้อนกลับต่อผู้ปฏิบัติงานคือ นำผลประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ถือเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลง คือ พฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ

Show

1.  พุทธพิสัย คือ การเปลี่ยนแปลงด้านความคิด

2.  จิตพิสัย     คือ การเปลี่ยนแปลงด้านเจตคติหรือจิตใจ

3.  ทักษะพิสัย คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการทำงาน

                                                  ประโยชน์การประเมินโครงงาน                                                       

1.  ทำให้ทราบข้อบกพร่องและความสำเร็จของงาน

2.  ทำให้มีการปรับปรุงแก้ไขตลอดเวลาที่กำลังปฏิบัติงาน

3.  ผู้ปฏิบัติงานมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานด้วยความตั้งใจ  เสียสละ  และจริงใจ

4.  ทำให้บุคคลอื่นทราบว่าโครงงานได้รับความสำเร็จหรือล้มเหลว ถ้าสำเร็จก็จะนำไปเป็นแบบอย่างต่อไป  ถ้าล้มเหลวก็จะทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด และหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป

องค์ประกอบของเกณฑ์การประเมินผลงาน

1.  การวางแผนการทำโครงงาน

2.  วิธีการดำเนินงานโครงงาน

3.  สรุปผลการดำเนินโครงงาน

4.  การนำเสนอโครงงาน

แนวทางประเมินโครงงาน

1.  ประเมินในหัวข้อต่างๆเช่น  การแสดงออก   ความรู้  ความคิด  ความสามารถ  ทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  กระบวนการเรียนรู้  กระบวนการทำงาน  ผลผลิต  แฟ้มสะสมงาน  ผลงานการทดสอบ 

2.  ประเมินผลโดยให้ผู้สอน  ผู้เรียน ผู้ปกครอง  เพื่อน  ฯลฯ เป็นผู้ประเมิน

3.  ระยะเวลาในการประเมิน อาจประเมินเป็นระยะๆ เช่น ก่อนการทำโครงงาน(ขั้นเตรียมการ) ระหว่างทำโครงงาน หลังทำโครงงาน  โดยใช้วิธีการต่างๆประเมิน  เช่น  การสังเกต  สัมภาษณ์  ตรวจรายงาน  ตรวจผลงาน  ทดสอบ  จัดนิทรรศการแสดงผลงานฯลฯ

คำชี้แนะก่อนการประเมินผลการทำโครงงาน

ครูเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานนักเรียนแต่ละกลุ่ม  โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้

1.  ชื่อเรื่อง    แสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2.  ชื่อเรื่อง   มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถาม  มีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด

3.  สมมุติฐาน    มีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม

4.  วิธีการ            เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา

5.  แหล่งศึกษา   สามารถค้นคว้าคำตอบได้

6.  วิธีการนำเสนอ   ชัดเจน    เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา

7.  การวัดและประเมินผลโครงงาน ครูควรกำหนดเกณฑ์และตารางการวัดผลให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการทำกิจกรรม และชัดเจนก่อนลงมือทำ เพื่อกระตุ้นการทำงาน    ดังตัวอย่างแบบต่างๆ

แบบประเมินโครงงาน

1.ชื่อโครงงาน.....................................................................................                                          2.กลุ่มที่..................... ชื่อ............................................................................................................................

การประเมินโครงงาน  มีหลักเกณฑ์การประเมินดังนี้

รายการประเมิน

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

หมายเหตุ

1.       รายงานโครงงาน

1.1   รูปเล่มรายงานมีส่วนประกอบ ครบถ้วน

1.2   เสร็จตามเวลาที่กำหนด

(5)

3

2

…………….

……………

2.       ความสำคัญของโครงงาน

2.1   ความน่าสนใจ

2.2 ประโยชน์  การนำไปใช้

(5)

2

3

……………

……………

3.       การดำเนินการ

3.1   การวางแผน/เตรียมการ

3.2   สอดคล้องกับบทเรียน

3.3   เหมาะสมกับวัยของนักเรียน

3.4   สอดคล้องกับจุดประสงค์โครงงาน

3.5   ความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม

(10)

2

2

2

2

2

……………..

……………

……………..

………………………….

4.       เนื้อหา

4.1   การรวบรวมข้อมูล

4.2   การสรุปข้อมูลเป็นองค์ความรู้

(10)

5

5

…………..

……………

5.       การนำเสนอ

5.1   การใช้ภาษาในการนำเสนอ

5.2   การสื่อความหมายให้เข้าใจ

(5)

5

5

…………..

……………

รวม

40

…………..

                                                                                ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

แบบประเมินตนเองในการปฏิบัติโครงงาน

คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านข้อความแล้วพิจารณาว่ามีความรู้สึกตรงกับคำตอบใด  แล้วเขียนเครื่องหมาย  ลงในช่องนั้น

เกณฑ์การประเมิน 

5    หมายถึง    ดีมาก

  หมายถึง    ดี

3    หมายถึง    ปานกลาง

2    หมายถึง    ควรปรับปรุง

  หมายถึง    ไม่ปฏิบัติ     

รายการประเมิน

ระดับการปฏิบัติ

หมายเหตุ

5

4

3

2

1

1.       นักเรียนได้ฝึกทักษะในการทำงาน

2.       ปรึกษางานกับเพื่อนอย่างมีเหตุผล

3.       กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมโครงงาน

4.       ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

5.       ช่วยเหลือทำงานอย่างสม่ำเสมอ

6.       ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงาน

7.       ฝึกฝนค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

8.       ทำงานที่กลุ่มมอบหมายให้ทำจนเสร็จทันเวลา

9.       ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน

10.   พึงพอใจกับผลงานกลุ่มของตนเอง

                          รวม

                                                                                ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

ตัวอย่างแบบการประเมินผลโครงงาน

รูปแบบการประเมินผลโครงงาน  อาจจัดทำได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวิธีการและความสะดวกของผู้ประเมินที่จะแปลข้อมูล  ขอเสนอตัวอย่างดังนี้ 

1.ชื่อโครงงาน  ......................................................................................................................

2.ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน

2.1     .........................................................................................................................

2.2     .........................................................................................................................

2.3     .........................................................................................................................

จุดมุ่งหมายของโครงงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติ

ข้อสังเกตระหว่างปฏิบัติงาน

1.........................................

...........................................

2.........................................

...........................................

3.........................................

...........................................

1.........................................

2.........................................

3.........................................

4.........................................

5.........................................

1.ความเหมาะสมของระยะเวลา

 .................................................

 .................................................

2. การปฏิบัติ

 ได้............................................

 ไม่ได้........................................

3. ผลการปฏิบัติ

  ตรงตามจุดมุ่งหมาย.................

 ไม่ตรง......................................

4.ข้อบกพร่อง............................

 .................................................

5. จุดเด่น...................................

   ...............................................

 ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

ตัวอย่างแบบการประเมินผลโครงงาน

1.ชื่อโครงงาน  .....................................................................................................................

2.ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน

2.1     .........................................................................................................................

2.2     .........................................................................................................................

2.3     .........................................................................................................................

เกณฑ์การประเมิน 

5    หมายถึง    ดีมาก

  หมายถึง    ดี

3    หมายถึง    ปานกลาง

2    หมายถึง    ควรปรับปรุง

  หมายถึง    ไม่ปฏิบัติ              

ที่

กิจกรรม

ระดับความคิดเห็น

5

4

3

2

1

1.

2.

3.

การวางแผนการทำกิจกรรม

1.การเตรียมร่างโครงงานอย่างรวดเร็ว

2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทันสมัยและเป็นไปได้

3.กำหนดขั้นตอนปฏิบัติงานชัดเจน

กระบวนการทำงาน

1.ทำตามแผน

2.ขยันเอาใจใส่

3.ทุกคนมีส่วนร่วม

ผลสำเร็จของงาน

1.ทำเสร็จตามเวลา

2.เป็นประโยชน์

3.เหมาะสม

กิจกรรมที่จะวัด ครูผู้สอนจะเป็นผู้กำหนด หรือร่วมกันกับผู้เรียนที่ทำกิจกรรมโครงงานนั้นๆก็ได้

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

ตัวอย่างการประเมินการเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์

1.  การเขียนรายงาน

2.1    ความถูกต้องของแบบฟอร์ม ครอบคลุมหัวข้อที่สำคัญ แบ่งแต่ละหัวข้อออกอย่างชัดเจน ตามลำดับ (บทคัดย่อ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์และวิธีการทดลอง ผลการทดลอง สรุปและอภิปราย ผลการทดลอง)

2.2    การเสนอแนะในแต่ละหัวข้อ ถูกต้อง ชัดเจนตรงประเด็น เป็นลำดับขั้นตอน

2.3    การใช้ภาษาศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ ถูกต้องชัดเจน รัดกุม และสละสลวยสามารถสื่อสารที่สำคัญให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างดี

2.4    การแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ

2.5    การใช้หลักการทำงานวิทยาศาสตร์ให้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับความรู้ และปัญหาโดยมีความเข้าใจเป็นอย่างดี

2.6    การอ้างถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความเข้าใจในความรู้ที่อ้างถึงอย่างดี

2.  การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์)

2.1    การสังเกตที่นำมาสู่ปัญหา

2.2    การตั้งสมมุติฐานที่ถูกต้อง ชัดเจน

2.3    การออกแบบการทดลอง (การควบคุมตัวแปร วิธีการรวบรวมข้อมูล การทดลองซ้ำ การเลือกและทดสอบความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ) เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม ละเอียด รอบคอบสอดคล้องกับปัญหา

2.4    การใช้นิยามเชิงปฏิบัติการอย่างถูกต้อง

2.5    การจัดกระทำกับข้อมูล การนำเสนอข้อมูล (ในลักษณะของรูปภาพ กราฟ ตารางตัวเลข ฯลฯ ที่ถูกต้องเหมาะสม กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย น่าสนใจ)

2.6    การแปรความหมายข้อมูลและข้อสรุปที่ถูกต้อง

2.7    การจัด การเลือกเครื่องมือวัดอย่างถูกต้องมีหน่วยกำกับเสมอ

2.8    การคำนวณที่ถูกต้อง

3.  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.1    ความแปลกใหม่ของปัญหาและการระบุตัวแปร ที่ต้องการศึกษา (การดัดแปลง เปลี่ยนแปลงจากที่ผู้อื่นเคยทำมาก่อน การคิดขึ้นใหม่ วิธีการแก้ปัญหา วิธีวัดและควบคุมตัวแปรวิธีการรวบรวมข้อมูลการเลือกและทดสอบความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง หรือการประดิษฐ์ ฯลฯ)

4.2    การแสดงหลักฐานการบันทึกข้อมูลอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เป็นระเบียบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความละเอียดถี่ถ้วน ความมานะบากบั่น ตั้งใจจริงในการทดลอง และรวบรวมข้อมูล

4.3    การอภิปรายผลการทดลองอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ อีกทั้งมีข้อเสนอแนะหรือสมมุติฐานสำหรับการศึกษาทดลองต่อไปในอนาคต

4.  การจัดแสดงโครงงาน

4.1    ความเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์ ชิ้นส่วน วัสดุ กลไกต่างๆ ประกอบการแสดง ความสามารถในการสาธิตผลการทดลอง หรือการทำงานของกลไกต่าง

4.2    ความประณีต สวยงาม คงทน

4.3    การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์)

4.4    การจัดกระทำข้อมูล การนำเสนอข้อมูล (ในลักษณะของรูปภาพ กราฟ ตารางตัวเลขที่ถูกต้องเหมาะสม  ชัดเจน เข้าใจง่าย น่าสนใจ)

4.5    การออกแบบการจัดแสดงผลงานที่สื่อความหมายถึงแนวความคิดหลัก สาระสำคัญ ต่างๆ อย่างชัดเจน

4.6    ความถูกต้องเหมาะสม  ชัดเจน ของคำอภิปรายในแผนงาน

4.7    การแปรความหมายข้อมูล และลงข้อสรุปที่ถูกต้อง

4.8    การวัด (มีหน่วยกำกับเสมอ)

4.9    การคำนวณ (ถูกต้อง)

4.10ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.11ความแปลกใหม่ของการออกแบบ การนำเสนอข้อมูล และการใช้วัสดุในแผงแสดงโครงงาน

5.  การอภิปรายปากเปล่า

5.1   การอภิปรายและตอบข้อซักถาม แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ

5.2   การใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ มีความถูกต้อง (อธิบายได้ตามที่อ้างในรายงาน)

5.3   อธิบายและตอบข้อซักถามโดยแสดงหลักฐานข้อมูลที่ได้จากการทดลอง และการอ้างเอกสาร (ตามที่อ้างในรายงาน) ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม แสดงถึงความเข้าใจอย่างแท้จริง

5.4   อธิบายและตอบข้อซักถามที่แสดงให้เห็นถึงการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

5.4.1     การสังเกตที่นำมาสู่ปัญหา

5.4.2     การตั้งสมมุติฐาน

5.4.3     การระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

5.4.4     การออกแบบการทดลอง  (  การควบคุมตัวแปร    วิธีการรวบรวมข้อมูล

การทดลองซ้ำ การเลือกและการทดสอบความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ)

5.4.5     การให้นิยามเชิงปฏิบัติการ

5.4.6     การจัดทำข้อมูล การนำเสนอข้อมูล

5.4.7     การแปรความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

5.4.8     การวัด การเลือกเครื่องมือวัด การใช้เครื่องมือวัด การใช้หน่วยกำกับ

5.4.9     การคำนวณ

5.5    อธิบายและตอบข้อซักถาม  ที่แสดงให้เห็นถึงการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   ที่มาของความคิดความแปลกใหม่ในการตั้งปัญหาที่จะศึกษาเลือกตัวแปรที่จะศึกษา ออกแบบการทดลอง เลือกวัสดุอุปกรณ์ การจัดทำข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล

5.6    อธิบายและตอบข้อซักถาม พร้อมทั้งเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์จากโครงงาน

5.6.1     ต่อการพัฒนาตนเอง

5.6.2     ต่อส่วนรวม ( ความเป็นไปได้ ในการขยายผลการศึกษาทดลองของโครงงาน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างมีเหตุผล และสร้างสรรค์) 

5.7    อธิบายและตอบข้อซักถามที่แสดงให้เห็นถึงความมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์

5.7.1     ความละเอียดถี่ถ้วน และความมานะบากบั่นในการสังเกตหรือการทดลอง

5.7.2     ไม่ตัดสินใจง่ายๆ โดยปราศจากข้อเท็จจริงสนับสนุนอย่างเพียงพอ

5.7.3     มีใจกว้างที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจเป็นธรรม โดยไม่ยึดมั่นใน ความคิดของตนฝ่ายเดียว

5.7.4     สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

5.7.5     มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น

5.7.6     มีความซื่อสัตย์สุจริตทั้งในความคิดและการกระทำ

5.7.7     ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต

ตัวอย่างแบบสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน

1.ชื่อโครงงาน  ......................................................................................................................

2.ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน

2.1     .........................................................................................................................

2.2     .........................................................................................................................

2.3     .........................................................................................................................

3. ชื่อผู้สังเกต    .......................................................................................................................

ข้อที่

รายการสังเกตและประเมิน

ผลการประเมิน

หมายเหตุ

ดีมาก

ปานกลาง

น้อย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

ประธานสามารถดำเนินการอภิปราย

สมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็น

ผู้อภิปรายมีเหตุผล

การใช้ภาษาในการอภิปราย

ระบบการทำงานตามกระบวนการกลุ่มมีประสิทธิภาพ

ประธานสามารถนำสรุปและคลอบคลุมประเด็นได้

นักเรียนยอมรับฟังซึ่งกันและกัน

สมาชิกของกลุ่มมีความรับผิดชอบ

สมาชิกในกลุ่มได้รับความรู้ในเนื้อหาและกระบวนการทุกคน

ครูนำสรุปนักเรียนร่วมอภิปรายกับครูได้อย่างกว้างขวาง

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

ตัวอย่างแบบประเมินการพูดรายงาน

1.ชื่อโครงงาน  ......................................................................................................................

2.ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน

2.1     .........................................................................................................................

2.2     .........................................................................................................................

2.3     .........................................................................................................................

3. ชื่อผู้สังเกต    .......................................................................................................................

คำชี้แจง

1. ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการรายงานโครงงาน

2. ให้ทำเครื่องหมาย    /   ลงในช่องการปฏิบัติงานให้ตรงกับความเป็นจริง

เกณฑ์การประเมิน

ดีมาก

ดี

ปานกลาง

ปรับปรุง

1. ลีลาท่าทาง อารมณ์  น้ำเสียง

2. การเรียบเรียงข้อความ

3. เนื้อหาสาระถูกต้อง

4. พูดมีวรรคตอน

5. การแสดงความคิดเห็น

6. การใช้ถ้อยคำ 

7. ความตั้งใจในการพูด

8. ความชัดเจนในการใช้ภาษา

9. กลวิธีการนำเสนอ

10. มารยาทในการพูด

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

แบบประเมินการจัดทำโครงงาน

โรงเรียน.......................................................ภาคเรียนที่...................ปีการศึกษา........................................

1.ชื่อโครงงาน..............................................................................................................................................

2.ชื่อผู้ทำโครงงาน

2.1     ................................................................... ชั้น......................... เลขที่.............................

2.2     ................................................................... ชั้น......................... เลขที่.............................

2.3     ................................................................... ชั้น......................... เลขที่.............................

ความหมายระดับความคิดเห็น           5   ดีมาก    4    ดี      พอใช้    2     ต้องปรับปรุง   1  ไม่ผ่าน

ที่

หัวข้อประเมิน

ระดับความคิดเห็น

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข

5

4

3

2

1

1

โครงงาน

1.1 หลักการและเหตุผล

1.2 ความชัดเจนของจุดประสงค์

1.3 ความชัดเจนของเป้าหมาย

1.4 ความเหมาะสมของระยะเวลาในการดำเนินงาน

1.5 แผนปฏิบัติงานกำหนดขั้นตอนชัดเจน

1.6 การติดตามและประเมินผล

1.7 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

รวมคะแนน

2

กระบวนการทำงาน

2.1 การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้

2.2 ความก้าวหน้าของโครงงานมีความสม่ำเสมอ

2.3 มีการประเมินผลเป็นระยะๆ

2.4 ความรับผิดชอบ  เอาใจใส่ของสมาชิกกลุ่ม

2.5 ความสามารถดำเนินงานแต่ละกิจกรรม

2.6 บันทึกผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

รวมคะแนน

ที่

หัวข้อประเมิน

ระดับความคิดเห็น

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข

3

ผลสำเร็จของงาน

3.1 ดำเนินงานตรงเวลาตามที่กำหนด

3.2 ความสมบูรณ์ครบถ้วนของเอกสารรายงาน

3.3 ความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

3.4 ความสมบูรณ์ของผลงานหรือชิ้นงาน

3.5 คุณภาพของผลงานหรือชิ้นงาน

3.6 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3.7 ความมานะพยายาม

3.8 ใช้งบประมาณเหมาะสม

3.9 การนำเสนอผลงานด้วยโครงงานด้วยแผงโครงงาน

3.10 การนำเสนอโครงงานด้วยวาจา

รวมคะแนน

รวมทั้งหมด

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

หมายเหตุ   1.รายการกิจกรรมที่จะวัด  ครูผู้สอนควรร่วมกับนักเรียนในการกำหนด

                    2. การให้คะแนนสรุป  ให้รวมคะแนนทั้งสามส่วนแล้วนำมาเทียบสัดส่วนกับคะแนนเต็มตามที่กำหนดไว้

ตัวอย่างแบบสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน

ชื่อนักเรียน.........................................................................ห้อง..................................................................

ผลการสังเกตตั้งแต่............./............................../................ถึง................./................................./...............

ครูผู้สอน.................................................................................

เกณฑ์การประเมิน    

+  หมายถึง   กระทำเป็นประจำ   O  หมายถึง   กระทำเป็นบางครั้ง    -     หมายถึง   ไม่เคยกระทำ

พฤติกรรมที่แสดงออก

รายชื่อนักเรียน

1. การยินดีเรียนรู้และการปฏิบัติงาน

1.1 ตั้งใจฟังคุณครู

1.2 ยอมรับฟังคำแนะนำของเพื่อน

1.3 รับฟังคำวิจารณ์ของเพื่อน

1.4 ทำงานที่ตนรับผิดชอบ

1.5 ขอคำแนะนำจากครูหรือผู้รู้

1.6 ปฏิบัติงานตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด

1.7 ตั้งคำถามในชั้นเรียน

1.8 ให้คำแนะนำเพื่อน

1.9 อาสาคุณครูในการปฏิบัติงาน

2. การตั้งใจทำงานจนสำเร็จ

2.1 ทำงานเสร็จทันตามเวลา

2.2 มีการปรับปรุงงาน

2.3 มีความพยายามทำงานให้เกิดผลดีที่สุด

2.4 ผลงานสำเร็จตามจุดประสงค์

2.5 ส่งผลงานครบถ้วน

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

ตัวอย่างแบบสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน

ชื่อนักเรียน.........................................................................ห้อง..................................................................

ผลการสังเกตตั้งแต่............./.................................../................ถึง................./............................/...............

ครูผู้สอน........................................................................

รายการพฤติกรรม

คุณภาพการปฏิบัติงาน

ไม่ปฏิบัติ

ดีมาก

ปานกลาง

พอใช้

ปรับปรุง

1.มีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติก่อนทำจริง

2.มีการเตรียมพร้อมทั้งวัสดุ  อุปกรณ์  และผู้รับผิดชอบก่อนปฏิบัติงาน

3.มีการวางแผนกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับความพร้อม

4.ขั้นตอนที่วางแผนไว้สามารถปฏิบัติได้จริง

5.ปฏิบัติงานตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด

6.ผลงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

ตัวอย่างแบบสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน

ชื่อนักเรียน.........................................................................ห้อง..................................................................

ผลการสังเกตตั้งแต่............./.................................../................ถึง................./............................/...............

ครูผู้สอน........................................................................

เกณฑ์การประเมิน 

5    หมายถึง    ดีมาก

  หมายถึง    ดี

3    หมายถึง    ปานกลาง

2    หมายถึง    ควรปรับปรุง

  หมายถึง    ไม่ปฏิบัติ              

พฤติกรรมที่แสดงออก

รายชื่อนักเรียน

1. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

2. มีการซักถาม

3. มีการแสดงความคิดเห็น

4.  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม

5. มีความสามัคคี

6. เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

รวมคะแนน

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน....................................................

ตัวอย่างแบบสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม

1.กลุ่มที่.....................................................................................................

2.ชื่อผู้ทำโครงงาน

2.1     .................................................................ชั้น............................เลขที่.................................

2.2     .................................................................ชั้น............................เลขที่.................................

2.3     .................................................................ชั้น............................เลขที่.................................

เกณฑ์การประเมิน 

5     หมายถึง   ดีมาก

   หมายถึง   ดี

3     หมายถึง   ปานกลาง

2     หมายถึง    ควรปรับปรุง

   หมายถึง   ไม่ปฏิบัติ         

เกณฑ์การให้คะแนน

พฤติกรรมที่แสดงออก

5

4

3

2

1

รวม

1.ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม

2.มีความตั้งใจในการทำงาน

3.มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

4. ทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด

5.มีความรับผิดชอบในงานที่รับมอบหมาย

รวมคะแนน

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน...................................................

ตัวอย่างแบบประเมินผลงาน    (กรณีโครงงานช่าง/ประดิษฐ์)

1.ชื่อโครงงาน.....................................................................................................

2.ชื่อผู้ทำโครงงาน

2.1     .................................................................ชั้น............................เลขที่.................................

2.2     .................................................................ชั้น............................เลขที่.................................

2.3     .................................................................ชั้น............................เลขที่.................................

เกณฑ์การประเมิน 

5     หมายถึง    ผลงานดีมาก

4     หมายถึง    ผลงานดี

3     หมายถึง    ผลงานปานกลาง

2     หมายถึง     ผลงานควรปรับปรุง

1     หมายถึง     ผลงานไม่สมบูรณ์              

พฤติกรรมที่แสดงออก

เกณฑ์การให้คะแนน

5

4

3

2

1

รวม

1. ผลงานเสร็จตามเวลา

2. ผลงานมีความเหมาะสมคุ้มค่า

3. ผลงานมีความสมบูรณ์  ประณีต  สวยงาม

4.  ผลงานนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

5. ผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

รวมคะแนน

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน...................................................

ตัวอย่างแบบประเมินผลการรายงาน

1.กลุ่มที่.....................................................................................................

2.ชื่อผู้ทำโครงงาน

2.1     .................................................................ชั้น............................เลขที่.................................

2.2     .................................................................ชั้น............................เลขที่.................................

2.3     .................................................................ชั้น............................เลขที่................................

เกณฑ์การประเมิน 

5    หมายถึง   ดีมาก

  หมายถึง   ดี

3    หมายถึง   ปานกลาง

2    หมายถึง    ควรปรับปรุง

  หมายถึง   ไม่ปฏิบัติ      

รายการประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน

5

4

3

2

1

รวม

1. เนื้อหาถูกต้อง  ครบถ้วน  ชัดเจน

2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3. จัดทำปก รูปเล่มได้เหมาะสม

4. ใช้ภาษาเขียนรายงานได้ถูกต้องสมบูรณ์

5. มีการทำงานตามทักษะกระบวนการ

6. รายงานมีข้อมูล  ภาพประกอบ

7. รูปเล่มรายงานสะอาด เรียบร้อย สวยงาม  ประณีต

8. ทำงานเสร็จ  ส่งตามเวลา

9. จัดเรียงหัวข้อได้ถูกต้อง

10.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอรายงาน

รวมคะแนน

ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน

(............................................................................)

วันที่.............เดือน...................................................

ตอนที่   8

บทบาทของครูในการให้คำแนะนำแก่นักเรียน

บทบาทของครูในการให้คำแนะนำแก่นักเรียน

ขั้นที่   1   เริ่มต้นโครงงาน

ขั้นนี้เป็นการทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนที่มีเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน แล้วแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้นั้นแก่นักเรียนคนอื่นๆ และเป็นการสร้างความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงานในรายละเอียดลึกลงไป

Ø     ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับหัวข้อโครงงานและช่วยกระตุ้นให้นักเรียนนำเสนอความรู้และประ สบการณ์ เดิมของตน

Ø     นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้เดิมเกี่ยวกับโครงงานกับเพื่อนๆโดยการอภิปราย และนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ เช่นการวาดภาพระบายสี การทำงานศิลปะอื่นๆ การเขียน การทำแผนภูมิ

Ø     ครูตรวจสอบและบันทึกความรู้ประสบการณ์ที่นักเรียนมีอยู่เดิม

Ø     ครูช่วยนักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงานเพื่อทำการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป

Ø     ครูจดบันทึกคำพูด คำถามของนักเรียน แล้วเลือกนำมาจัดแสดงในห้องเรียน    เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตรวจสอบประเด็นคำถามที่นักเรียนต้องการศึกษา

ขั้นที่ 2 พัฒนาโครงงาน

ในขั้นนี้นักเรียนจะได้ทำงานภายใต้การดูแลแนะนำของครู เป็นทั้งการทำงานเดี่ยว งานที่เป็นกลุ่มเล็กๆของคนที่มีความสนใจตรงกันหรือกลุ่มใหญ่ งานที่ทำเป็นการนำเสนอการเรียนรู้ที่เป็นผลของการศึกษาหาคำตอบตามคำถามในขั้นที่ 1 โดยแสดงออกในรูปของการสร้างสิ่งต่างๆ งานศิลปะ การเล่นสมมุติ และเป็นขั้นที่นักเรียนจะได้ออกไปศึกษาข้อเท็จจริงโดยการมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งนั้นๆ

Ø     ครูดำเนินการให้นักเรียนได้ออกไปศึกษาจากแหล่งความรู้จริงๆ ให้มีโอกาสได้สัมผัสกับแหล่งความรู้ที่เป็นสิ่งของ สถานที่กระบวนการหรือบุคคลด้วยตนเอง ให้เกิดประสบการณ์ตรง

Ø     นักเรียนเข้าไปสำรวจ สังเกตและสัมภาษณ์ อย่างใกล้ชิด

Ø     ค้นหาคำตอบที่ต้องการ และตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นขึ้นใหม่ให้ได้รายละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น

Ø     ครูจัดเตรียมแหล่งความรู้ต่างๆสนับสนุน เช่น หนังสือ ของจริง หุ่นจำลองเพื่อที่นักเรียนจะได้ตรวจสอบความรู้ของตน และครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆสำหรับการออกไปแสวงหาความรู้ให้นักเรียน

Ø     นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้มานำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างแบบจำลองต่างๆ การวาดภาพระบายสี การทำแผนภูมิ การทำหนังสือ การเล่นสมมุติ

ขั้นที่ 3 รวบรวมสรุป

ขั้นนี้ครูจัดเตรียมสถานการณ์เพื่อรวบรวมผลการศึกษาตามโครงงานจัดนำเสนอแก่คนอื่นๆ

Ø     ครูช่วยนักเรียนเลือกและจัดเตรียมผลงานที่จะนำเสนอ

Ø     นักเรียนประเมินผลงานของตนเองและเลือกผลงานที่จะนำเสนอ

Ø     ครูแนะนำให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้นำเสนอในรูปแบบต่างๆเช่น งานศิลปะ เพลง การแสดงละคร  แต่งเป็นนิทานหรือทำหนังสือ

Ø     ครูอาจจะช่วยนักเรียนตั้งประเด็นความสนใจขึ้นใหม่สำหรับโครงงานต่อไป

กิจกรรมหลักของการสอนแบบโครงงาน

แม้ว่าการสอนแบบโครงงานจะมีลักษณะยืดหยุ่นสูง         กิจกรรมการเรียนส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียน      ครูเป็นผู้คอยสังเกตบันทึกความคิดและคำถามตามความสนใจของนักเรียนแล้วจัดกิจกรรมสนองตอบความต้องการเหล่านั้นก็ตาม แต่ก็ยังมีกิจกรรมหลักๆ ที่ใช้ในทุกขั้นของการสอนในแบบนี้ ที่ใช้ในขั้นการสอนทั้ง 3 ขั้นตลอดโครงงาน

1.  การอภิปราย ในเด็กเล็กๆระดับชั้นอนุบาลการอภิปรายในกลุ่มเล็กๆจะช่วยนักเรียนให้ได้มีโอกาสสนทนากับครู ครูได้ตรวจสอบ บันทึกความรู้และความสนใจของนักเรียน และเป็นการช่วยพัฒนาความคิดของนักเรียน เมื่อนักเรียนมีโอกาสได้สนทนากับครูเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงานในกลุ่มเล็กๆก่อน จะช่วยให้นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายกลุ่มใหญ่ได้ดียิ่งขึ้น

2.  การทัศนศึกษา หมายถึงการที่นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทุกๆอย่าง ไม่ได้หมายความถึงการเดินทางออกไปศึกษายังสถานที่ต่างๆนอกโรงเรียนเพียงอย่างเดียว  แต่รวมถึง การได้พูดคุยสัมภาษณ์บุคคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือคนอื่นๆ การสำรวจ สังเกตสิ่งต่างๆอย่างใกล้ชิดนอกห้องเรียนในบริเวณโรงเรียน หรือแม้กระทั่งการได้สังเกตการทำงานโครงงานของเพื่อนร่วมชั้นอย่างใกล้ชิด การทัศนศึกษาจะทำให้นักเรียนสร้างความรู้และเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเขามีโอกาส   ได้เห็น   ได้ฟัง   ได้สัมผัส  ได้ดมกลิ่น  ชิมรส  สิ่งที่เป็นจริงที่เขาสนใจ ในเด็กเล็กๆ การทัศนศึกษาควรอยู่ในละแวกใกล้ๆโรงเรียน ไม่ควรต้องใช้เวลาในการเดินทางมากจนเกินไป ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นข้อพึงพิจารณาของครูในการเลือกหัวข้อของโครงงานด้วย

3.  กิจกรรมการนำเสนอ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำเสนอความรู้ ทั้งที่เป็นความรู้เดิมก่อนการเริ่มโครงงาน หรือความรู้ที่ได้จากการทำโครงงาน ซึ่งเป็นการย้อนกลับไปคิดและรวบรวมความรู้และความคิดที่เขามีอยู่ อันจะนำไปสู่การตั้งข้อคำถามที่จะทำการค้นหาคำตอบต่อไป วิธีการที่จะนำเสนอในเด็กเล็กๆจะออกมาในรูปของการวาดภาพระบายสี การเขียนโดยการช่วยเหลือของครู การเล่นสมมุติ การสร้างของจำลอง การทำแผนภูมิ

4.  กิจกรรมการศึกษาค้นคว้า นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าหาคำตอบของคำถามที่เขาสนใจได้จากแหล่งความรู้หลากหลาย ไม่ว่าจะจากบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือหนังสือ ด้วยการสัมภาษณ์ หรือสังเกตอย่างใกล้ชิด การสัมผัสจับต้อง การบันทึกรวบรวม

5.  การจัดแสดง เป็นงานนำผลงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นในกระบวนการของโครงงาน ตั้งแต่ขั้นที่ 1   เริ่มต้นโครงงานมาจัดแสดงในห้องเรียน ในรูปของการติดบนป้ายนิเทศ บนผนังห้องเรียน ในกรณีที่เป็นภาพวาด งานเขียน ภาพถ่าย หรือจัดแสดงบนโต๊ะหรือมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน การจัดแสดงผลงานจะเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างนักเรียนกับเพื่อนคนอื่นๆในห้องเรียน เป็นการแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในการทำโครงงานของนักเรียน เป็นการย้ำ นักเรียนให้เห็นถึงประเด็นที่นักเรียนกำลังศึกษา และยังเป็นการแสดงให้บุคคลภายนอกเห็นถึงเรื่องราวของโครงงานที่นักเรียนศึกษา

เทคนิคการแบ่งกลุ่ม

ผู้สอนอาจจะแบ่งกลุ่มโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  สำนักงาน  2534:230)  เช่น

1.  แบ่งกลุ่มตามเพศ  ใช้ในกรณีที่ครูมีวัตถุประสงค์ที่ชี้เฉพาะลงไป  เช่น ต้องการสำรวจความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง   ในด้านต่างๆเช่น  ทัศนคติ  ค่านิยมฯลฯ  ครูก็อาจแบ่งกลุ่มแยกเพศชายเพศหญิงได้

2.  แบ่งกลุ่มตามความสามารถ  ใช้ในกรณีที่ครูมีภาระงานมอบหมายให้แต่ละกลุ่มแตกต่างกันตามความสามารถ  หรือต้องการศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ที่มีความสามารถสูงและต่ำ

3.  แบ่งกลุ่มตามความถนัด  โดยแบ่งกลุ่มที่มีความถนัดเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน

4.  แบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ  โดยให้สมาชิดเลือกเข้ากลุ่มกับคนที่ตนพอใจ  ซึ่งครูทำได้แต่ไม่ควรให้บ่อยนักเพราะจะทำให้นักเรียนขาดประสบการณ์ในการทำงานกับบุคคลที่หลากหลาย

5.  แบ่งกลุ่มแบบเจาะจง  ครูเจาะจงให้เด็กบางคนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน  เช่นให้เด็กเรียนเก่งอยู่กับเด็กที่เรียนอ่อนเพื่อให้เด็กเรียนเก่งช่วยเด็กเรียนอ่อน  หรือช่วยให้เด็กปรับตัวเข้าหากัน

6.  แบ่งกลุ่มโดยการสุ่ม  ไม่เป็นการเจาะจงว่าใครอยู่กับใคร

7.  แบ่งกลุ่มตามประสบการณ์  คือการรวมกลุ่มโดยพิจารณาเด็กที่มีประสบการณ์คล้ายกันมาอยู่ด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการช่วยกันวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ

8.  แบ่งตามเขตปกครอง ผู้รวบรวมขออนุญาตเพิ่มเติมการแบ่งกลุ่มอีกรูปแบบคือ คือในการทำโครงงานบางครั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทางไปปฏิบัติโครงงาน  ครูอาจแนะนำให้นักเรียนแบ่งกลุ่มตามเขตปกครอง  เช่น  หมู่บ้าน  ตำบล  จำนวน  3-5  คน หรือกรณีโครงงานช่างหรือการประดิษฐ์อาจแนะนำให้นักเรียนคิดโครงงานที่เป็นสินค้าเด่นของตำบล (OTOP)  หรือนำมาเป็นแบบอย่างหรือจัดแข่งขันโครงงานของนักเรียนในตำบลต่างๆเพื่อเป็นการพัฒนาโดยมิได้เน้นที่รางวัล