โครงงานสเปรย์ไล่ยุงจากเปลือกส้ม

ผลส้ม ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม เนื้อนิ่ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร เปลือกนอกเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองแดง ผิวผลเรียบเกลี้ยงและเป็นมันเปลือกอ่อน ผิวหนา และมีน้ำมันที่เปลือก ภายในมีเนื้อลักษณะฉ่ำน้ำ แบ่งออกเป็นกลีบๆ มีสีส้ม แต่ละกลีบจะมีเมล็ดสีขาวอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม สีขาวนวล (เปลือกสีเขียว) นิยมนำมาตากแห้งใช้เป็นยา มีรสปร่าหอมร้อน

9.เปลือกผลมีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้อาหารไม่ย่อย ท้องขึ้นท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น (เปลือกผล)

17.ตำรายาไทยเปลือกส้มเขียวหวานถูกจัดอยู่ในตำรับยา เปลือกส้ม 8 ประการประกอบไปด้วย เปลือกส้มเขียวหวาน, เปลือกส้มจีน, เปลือกส้มซ่า, เปลือกส้มโอ,เปลือกมะงั่ว, เปลือก.มะกรูด และเปลือกมะนาวหรือเปลือกส้มโอมือ มีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะโลหะ แก้ลมกองละเอียด กองหยาบ ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ทางลม (เปลือกส้ม) .ส่วนในบัญชียาสมุนไพร ก็มีปรากฏการใช้เปลือกส้มเขียวหวานในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) โดยปรากฏอยู่ในตำรับ ยาหอมเทพจิตรที่มีส่วนปะกอบของเปลือกส้มเขียวหวานอยู่ใน เปลือกส้ม 8 ประการร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกในตำรับซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง และช่วยบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (เปลือกผล)

(ลักษณะและสรรพคุณของเปลือกส้ม,’’  (2557).  (ออนไลน์).  แหล่งที่มา : (http://frynn.com)

การใช้สารเคมีกำจัดแมลงในบ้านเรือน

ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงในบ้านเรือนกันอย่างแพร่หลาย ประชาชนมักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จากการโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือจากคำบอกเล่าซึ่งอาจทำให้เลือกและใช้สารดังกล่าวไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นจึงควรศึกษาผลิตภัณฑ์และวิธีใช้สารเคมีกำจัดแมลงในบ้านเรือน ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วยสารที่สำคัญ 4 ประเภทคือ

1.ประเภทออกาโนฟอสเฟต (organophosphate insecticides) เช่น ไดคลอวอส (dichlorvos or DDVP)

2.ประเภทคลอริเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon insecticides) เช่นลินเดน (lindance)

3.ประเภทคาร์บาเมต (carbamate insecticides) เช่น โปรปอกเซอร์ (propoxur)

4.ประเภทไพเรทรุมและไพเรทรอยด์ (pyrethrum and pyrethroids) เช่น ไบโออัลเลทริน (bioallethrin)

สารเคมีกำจัดแมลงทั้ง 4 ประเภทนี้เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ จึงควรศึกษาพิษของสารเคมีดังกล่าว ซึ่งมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.ประเภทออกาโนฟอสเฟต เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน สูดดม หรือทางผิวหนัง ทำให้เกิดอาการพิษต่าง ๆ คือ

1.กระตุ้นประสาท ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระยะแรก คือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกแน่นบริเวณลิ้นปี่และยอดอก ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเกิดจากรับประทาน จะทำให้ปวดท้อง ท้องเดิน น้ำลายฟูมปาก น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ โดยกลั้นไม่อยู่หลอดลมมีเสมหะมาก หายใจหอบ หลอดลมตีบ หน้าเขียวคล้ำ ถ้าพิษรุนแรงมากอาจหยุดหายใจและถึงตายได้

2.กล้ามเนื้อกระดูก จะเห็นได้ชัดที่ลิ้น ตามหน้าและบริเวณคอ

3.มึนงง ปวดศีรษะ และกระสับกระส่าย ตื่นตกใจง่าย ถ้าอาการรุนแรงอาจชักและหมดสติได้

2.ประเภทคลอริเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน ประเภทนี้มีข้อเสียหลายประการคือ สลายตัวยาก สะสมได้ดีในไขมันและแมลงส่วนใหญ่มีความต้านทานต่อสารประเภทนี้เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการพิษคล้ายคลึงกับประเภทออกาโนฟอสเฟต ดังนี้

1. คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีอุจจาระร่วง

2.มีอาการชา แสบที่ริมฝีปาก ลิ้น และบางส่วนของใบหน้า

3. มึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเมื่อยตามตัว

4. มีอาการสั่น และกล้ามเนื้อกระตุกเป็นแห่ง ๆ โดยเริ่มต้นที่คอ ศีรษะ และเปลือกตา

3.ประเภทคาร์บาเมต ประเภทนี้ทำให้เกิดอาการพิษเช่นเดียวกับประเภทออกาโนฟอสเฟต แต่อันตรายน้อยกว่าเนื่องจากสลายตัวเร็จ ฉะนั้นผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

4.ประเภทไพเรทรูม และไพเรทรอยด์ ประเภทนี้ เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานหรือหายใจ ส่วนทางผิวหนังเข้าได้น้อยมาก แต่อาจเกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนังได้อย่างรุนแรง ในรายที่แพ้ การหายใจเข้าไปก็ทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกัน จะรู้สึกแน่น อึดอัด หายใจไม่ออก ถ้ากล่าวถึงพิษโดยทั่วไปแล้ว ประเภทนี้มีพิษน้อยที่สุด อาการที่เกิดขึ้นมีดังนี้

1.ผิวหนังบวมแดง เป็นตุ่มใส คันและมีน้ำเหลือง

2. อาการเหมือนแพ้เกสรดอกไม้ มีอาการจาม ไอ น้ำมูกไหลมาก หายใจอึดอัด

3.ถ้าแพ้มาก ผู้ป่วยจะมีอาการชาที่ปาก ลิ้น กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ในรายที่รุนแรงอาจหยุดหายใจและถึงตายได้

ข้อแนะนำวิธีใช้

1.ระหว่างฉีด หรือพ่น ควรหลีกเลี่ยงและป้องกันการสูดหายใจเอาละอองของสารเคมีกำจัดแมลงเข้าไป ถ้าฉีดหรือพ่นขณะมีลม ควรอยู่เหนือลม

2.หลังจากฉีดหรือพ่น ควรปิดห้องไว้ชั่วระยะหนึ่งเพื่อให้ละอองของสารเคมีกำจัดแมลงที่กระจายอยู่ในบรรยากาศบริเวณนั้นเจือจาง แล้วทำความสะอาดพื้นห้อง เพื่อกำจัดสารที่ตกค้างอยู่ตามพื้น

3.ควรล้างมือ หน้า หรืออาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง หลังจากฉีดหรือพ่นสารเคมีกำจัดแมลง

4.ระมัดระวังการรินหรือเทสารเคมีกำจัดแมลง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางผิวหนัง ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วควรฝังดิน

5.อย่าฉีดหรือพ่นในห้องที่มีเด็กอ่อน ผู้ป่วย ในบริเวณที่มีอาหารหรือกำลังประกอบอาหาร และบริเวณที่มีเปลวไฟ

6.เก็บให้พ้นจากเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร และห่างจากไฟหรือความร้อน

( ‘’การใช้สารเคมีกำจัดแมลงในบ้าน,’’ (2557). (ออนไลน์).แหล่งที่มา(http://webdb.dmsc.moph.go.)

โทษของสเปรย์ไล่ยุงที่มีสารเคมี

ผลิตภัณฑ์วัตถุมีพิษที่ใช้ในอาคารบ้านเรือน มีด้วยกันหลายประเภทที่สำคัญคือ

1.ประเภทใช้ไล่หรือกำจัดยุง และแมลงต่างๆ เช่น ยาจุดกันยุง สเปรย์ฉีดฆ่ายุง

2.ประเภทใช้กำจัดหนู มดมอด ปลวก เห็บ เหา เช่น เหยื่อพิษกำจัดหนู ยากำจัดเหาผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักไม่ทราบว่ามีวัตถุมีพิษเป็นส่วนผสมจึงไม่ได้ระมัดระวังในการและการ เก็บรักษา ทำให้บางครั้งเกิดอันตรายได้ ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทเหล่านี้ควรอ่านฉลากให้ถี่ถ้วน ข้อมูลและคำอธิบายในฉลากจะทำให้ระมัดระวังในการใช้มากยิ่งขึ้นและหากปฏิบัติตามคำแนะนำจะปลอดภัย และเกิดประโยชน์มากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ดีในฉลากจะต้องมีเลขทะเบียนและปีที่ขอขึ้นทะเบียน (ว.พ.ส.ที่……/……) ชื่อ และปริมาณวัตถุมีพิษ วิธีการใช้ วิธีการแก้พิษเบื้องต้นผู้ผลิต สถานที่ผลิต วันที่ผลิต และเลขที่ผลิต

ผลิตภัณฑ์วัตถุมีพิษที่ใช้ในอาคารบ้านเรือน ที่มีแนวโน้มว่าจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีดังนี้คือ

1.ยาจุดกันยุง

ยาจุดกันยุง หมายถึงผลิตภัณฑ์ยากันยุง ซึ่งเมื่อใช้จุดไฟแล้วสามารถระเหยสารออกฤทธิ์ขับไล่หรือฆ่ายุงได้ มีทั้งชนิดเป็นขดกลม และเป็นแท่ง นิยมใช้ตามร้านอาหารภัตตาคารและบ้านเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนบท เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายราคาไม่สูงมาก และประสิทธิภาพดีพอสมควร

สารที่เป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมสำหรับไล่หรือฆ่ายุงในยาจุดกันยุง เป็นสารเคมีกำจัดแมลงประเภทไพรีไทรอยด์ ด้วยคุณสมบัติที่ทำให้ยุงบินไม่ได้ตกลงมา (Knock down action) สลายตัวได้ง่ายก็สามารถทำให้เกิดพิษได้ โดยเฉพาะในรายที่เกิดอาการแพ้ จะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวม แดง เยื่อจมูกอักเสบและมีอาการเหมือนแพ้เกสรดอกไม้ คือ ได จาม น้ำมูกไหล หายใจขัด เป็นต้น

แม้จะไม่ค่อยพบอันตรายที่รุนแรงที่เกิดจากยาจุดกันยุง แต่ผู้ใช้ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและทรัพย์สินได้จึงควรปฏิบัติดังนี้

1.ควรใช้ยาจุดกันยุง ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี

2.ขาตั้ง และสิ่งรองยาจุดกันยุง ต้องทำด้วยวัสดุโลหะ หรือ วัตถุอื่นที่ไม่ติดไฟ

3.ล้างมือทุกครั้งหลังการหยิบใช้ หรือสัมผัส และเก็บยาจุดกันยุงไว้ในที่มิดชิด ให้พ้นมือเด็ก และไม่เก็บไว้ใกล้หรือรวมกับอาหา

 4.ขณะใช้ วางให้ห่างจากของไวไฟ หรือของที่เป็นเชื้อไฟได้และเมื่อเลิกใช้แล้วควรตรวจดูให้แน่ว่าได้ดับไฟเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากประมาท

2.ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงชนิดฉีดพ่น (สเปรย์) และชนิดของเหลว

ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ราคาค่อนข้างสูง และอันตรายมากกว่ายาจุดกันยุงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.ชนิดฉีดพ่นหรือสเปรย์ ประกอบด้วยสารเคมีกำจัดแมลง 1-4 ชนิด น้ำมันก๊าด และแก๊ส บรรจุในกระป๋องโลหะทรงกระบอกมีปุ่มกดให้สารออกมาเป็นละอองฝอย

2.ชนิดของเหลว ประกอบด้วยสารเคมีกำจัดแมลง 1-4 ชนิด และน้ำมันก๊าด บรรจุในกระป๋องโลหะทรงสี่เหลี่ยม เวลาใช้จะต้องถ่ายใส่กระบอกสำหรับฉีด ฉีดให้เป็นละอองฝอย เช่นกัน จะเห็นว่าทั้ง 2 ชนิดลักษณะการใช้จะคล้ายกัน คือฉีดพ่นออกมาให้เป็นละอองฝอยให้กระจายทั่วไป สารเคมีกำจัดแมลงก็กระจายในอากาศไปติดอยู่ตามพื้น หรือผนังและภาชนะต่างๆ ในการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ควรระมัดระวังโดยปฏิบัติดังนี้

2.1ปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุข้างกระป๋อง เช่น ให้คนและสัตว์ออกจากห้องหรือบริเวณที่จะฉีดปิดประตูหน้าต่างไว้แล้วจึงฉีดหลังจากฉีดทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วให้เปิดประตู หน้าต่างเพื่อระบายอากาศ

2.2เลือกใช้ให้ถูกประเภทกับแมลงที่ต้องการกำจัด ว่าเป็นแมลงคลานหรือแมลงบิน เนื่องจากความรุนแรงและฤทธิ์ตกค้างของสารเคมีต่อแมลงทั้งสองชนิดนั้นต่างกัน และการใช้ผิดประเภททำให้ใช้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร

2.3.ขณะใช้ควรปิดปาก-จมูก และหลังใช้ควรล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง

2.4.เก็บให้มิดชิด ไกลจากมือเด็ก เปลวไฟหรือที่มีความร้อน อาหารและ สัตว์เลี้ยง

25.เมื่อใช้หมดแล้ว ให้นำภาชนะบรรจุฝังดิน ห้ามนำไปเผา เพราะจะทำให้เกิดระเบิดได้

( โทษของสเปรย์ไล่ยุงที่มีสารเคมี,’’  (2557).  (ออนไลน์).  แหล่งที่มา : http://webdb.dmsc.moph.go.th)

วิธีการทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง

อุปกรณ์

1.มีด,ช้อน

2.เขียง

3.จาน,ชาม

4.หม้อ

5.ผ้าขาวบาง

6.เครื่องปั่น

7.ขวดสเปรย์

8.ครก

9.กระทะ

10.ซึ้ง

วัสดุ

1.ตะไคร้หอม

2.มะกรูด

3.เปลือกส้ม

4.น้ำ

5.หัวเชื้อน้ำหอม

6.พิมเสน

มีขั้นตอนการทำดังนี้

1.นำตะไคร้หอมล้างน้ำให้สะอาดและนำมาหั่นเป็นแว่นๆชิ้นเล็กๆ

2.นำมะกรูดมาหั่นเป็นแว่นๆเช่นเดียวกับมะกรูด

3.ปอกเปลือกส้ม

4.นำตะไคร้หอมไปปั่นขณะปั่นห้ามใส่น้ำ

5.พอปั่นตะไคร้หอมจนละเอียดแล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบางขณะกรองให้ใส่น้ำไปด้วย  แล้วเราก็จะได้น้ำตะไคร้หอม

6.นำมะกรูดไปนึ่งในซึ้งประมาณ 30 นาที ก่อนที่จะนำไปนึ่งสามารถใส่น้ำได้แต่อย่าใส่เยอะ

7.พอนึ่งจนน้ำของมะกรูดออกมาแล้วให้นำไปตำเพื่อที่จะให้น้ำออกมาอีกขณะตำสามารถใส่น้ำได้แต่อย่าใส่เยอะ

8.พอตำจนน้ำออกมาเยอะเท่าที่เราต้องการก็นำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วเราก็จะได้น้ำมะกรูด

9.นำเปลือกส้มไปนึ่งในซึ้ง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที สามารถใส่น้ำเยอะได้

10.พอนึ่งได้น้ำเปลือกส้มมาพอสมควรก็ นำมาตำเหมือนกับมะกรูดให้ได้น้ำเยอะ

11.กรองด้วยผ้าขาวบาง เราก็จะได้น้ำเปลือกส้ม

12.นำน้ำสมุนไพรทั้งสามชนิดมาผสมรวมกันอย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ

13.นำพิมเสนหยดลงไปประมาณ 2-3 หยด

14.ฉีดหัวเชื้อน้ำหอมลงไปประมาณ 2-3 ครั้ง

15.เมื่อได้กลิ่นหอมแบบที่เราต้องการแล้วก็นำใส่ขวดได้เลย สามารถเก็บโดยการไว้ในตู้เย็นได้

ประโยชน์ของสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง

ถ้าเราใช้สเปรย์ไล่ยุงสมุนไพรที่เราทำขึ้นเองเราก็สามารถลดค่าใช่จ่ายที่จะต้องซื้อสเปรย์ไล่ยุงตามท้องตลาด และสเปรย์สมุนไพรไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเราแถมกลิ่นหอมของสมุนไพรยังช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดที่สะสมมาตลอดทั้งวันและเป็นการประยุกต์ใช้สมุนไพรมาทำเป็นอย่างอื่นที่นอกจะนำมาทำประกอบอาหาร และต้นทุนในการที่เราจะผลิตสเปรย์สมุนไพรไล่ยุงเองนั้นต้นทุนจะไม่เยอะหรือต่ำนั้นเองและเรายังสามารถนำมาผลิตขายเองได้อีกด้วย

วิธีการขอเครื่องหมาย  อ.ย.  เครื่องสำอางค์

ความรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนกับ อ.ย.

1.การยื่นขอรหัสผู้ประกอบการจะต้องไปดำเนินการที่ อ.ย.เท่านั้น   

2.หลังจากท่านได้รับเลขที่ใบรับแจ้งเรียบร้อยแล้ว   ต้องนำเลขที่ใบรับแจ้งระบุลงบนฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของท่าน   พร้อมทั้งมีรายละเอียดฉลากครบถ้วน ตามกฎเกณฑ์อ.ย. (ดูข้อมูลเพิ่มเติม — กดคลิก

กรณีถ้าท่านไม่ดำเนินการตามกฎเกณฑ์ที่อ.ย. กำหนด   อาจจะเป็นเหตุให้ทางอย. สามารถเพิกถอนทะเบียนจดแจ้งสินค้าและผู้ประกอบการของท่านได้ 

3.ท่านสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้งของตนเองได้ที่เว็บไซต์ของอย.  —  สืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

(ข้อมูลจากอย. กระทรวงสาธารณะสุข)

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ – การชำระเงิน

ลำดับ

รายการ

ระยะเวลา
(วัน)

ค่าใช้จ่าย (บาท)

หมายเหตุ

1

ค่าจดผู้ประกอบการ (กรณียังไม่มีรหัสผู้ประกอบการ)
- ชำระครั้งเดียว

ไม่เกิน 7 วัน

3,000

ยื่นที่ อ.ย. ทุกวันพฤหัส

2

ยื่นจดแจ้งสูตร

15-45

500

ต่อสูตร

3

ใบรับรองการขาย (CFS)

5

1,000

4

ค่าดำเนินการ

1,000

ต่อครั้ง

ก่อนจะทำการชำระเงิน ให้ตรวจสอบยอดรวมทั้งหมดจากทีมงาน จากนั้นให้ชำระเงินโดย

1.โอนเงินมาที่บัญชี

§ธนาคารกรุงเทพ  สาขามหาวิทยาลัยเกษตร   ชื่อบัญชี "เบรคอสเมติก แลบ"    เลขที่บัญชี 043-7-02215-5

§ธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดไท  ชื่อบัญชี "เบรคอสเมติก แลบ"    เลขที่บัญชี 152-0-27510-2

§ธนาคารกสิกรไทย สาขาตลาดไท    ชื่อบัญชี "เบรคอสเมติก แลบ"    เลขที่บัญชี 484-2-14241-0

§ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบางขัน  ชื่อบัญชี "เบรคอสเมติก แลบ"     เลขที่บัญชี 385-2-17290-4   

 (หลังจากโอนเงินแล้ว กรณีแฟกซ์ใบสลิปการชำระเงินมาที่ 02-153-4562 หรือส่งสลิปใบโอนเงินมาที่อีเมล์)

2.ชำระด้วยบัตรเครดิต แจ้งความต้องการชำระวิธีนี้กับทีมงาน จากนั้นทีมงานจะส่งลิงค์เพื่อตัดบัตรเครดิตไปให้ท่านทางอีเมล์

ขั้นตอนการดำเนินการ

 กรณีผู้ประกอบการรายใหม่

ขั้นตอนที่ 1 :

ยื่นเรื่องขอจดเป็นผู้ประกอบการกับ อ.ย. ใช้เวลา 1-7 วัน หลังจากที่ได้รับเอกสารครบ

Noteถ้าเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ยื่นเรื่องจะแล้วเสร็จภายใน 1 วัน แต่ถ้าเป็นผู้ประกอบการรายเก่า (ที่เคยยื่นกับห้องแลบอื่นมาก่อน ทาง อ.ย.จะต้องค้นเอกสารเก่ามายืนยัน) จะต้องใช้เวลา 3 - 7 วัน

ยื่นขอให้ประทับตรารับรองหนังสือมอบอำนาจ - ใช้เอกสารดังนี้ 

ยื่นขอจดเป็นผู้ประกอบการ ( ทำเรื่องขอ 2 รายการพร้อมกัน) – ใช้เอกสารดังนี้

ขอรหัสผู้ประกอบการ

ขอ ID password (เพื่อยื่นจะแจ้งสูตรผ่านอินเตอร์เน็ตได้)

ขั้นตอนที่ 1 มีค่าใช้จ่ายดังนี้

ค่าใช้จ่ายในการจดรหัสผู้ประกอบการ (จ่ายครั้งเดียว) รวม 3,000 บาท

หมายเหตุ การจดผู้ประกอบการกับ อ.ย. มี 3 ประเภท ดังนี้

1.บุคคลธรรมดา : ชื่อ - นามสกุล (เช่น อภิชาติ ทรัพย์อนันต์)

2.บุคคลธรรมดา + ชื่อร้าน : ชื่อ - นามสกุล + ชื่อร้าน (เช่น อภิชาติ ทรัพย์อนันต์ - ร้านเสริมสวยสมใจ)

3.นิติบุคคล : ห้างหุ้นส่วนจำกัด/บริษัท (เช่น หจก.สวยประกาย)

ชื่อนี้จะไปปรากฏอยู่ในช่องผู้ประกอบการบนเว็บไซต์ของ อ.ย.

      ขั้นตอนที่ 2

ขอยื่นจดแจ้งผลิตภัณฑ์ ใช้เวลา 15 ถึง 45 วัน ขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ อ.ย.และความพร้อมของข้อมูล ด้านล่างนี้

สามารถยื่นได้ที่ อ.ย. หรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ต้องเตรียม

1.แจ้ง Code / สูตรอ้างอิง (สูตรอ้างอิง เจ้าหน้าที่จะกรอกข้อมูลให้)

2.ชื่อแบรนด์ ภาษาไทย / อังกฤษ

3.ชื่อสินค้า ภาษาไทย / อังกฤษ

4.วิธีใช้

5.ลักษณะผลิตภัณฑ์

6.ลักษณะภาชนะบรรจุ

7.ขนาดบรรจุ

8.รูปถ่ายภาชนะบรรจุ

9.ค่าใช้จ่ายจดแจ้งสูตร 500 บาท ต่อสูตร

เพื่อความรวดเร็วในการอนุมติ ให้เตรียมชื่อสินค้ารอไว้ 2 -5 ชื่อ กรณีชื่อแรกมีปัญหา

ตัวอย่างการคิดค่าใช้จ่าย

ผู้ประกอบการรายใหม่ ต้องการขายเครื่องสำอางในแบรนด์ตนเอง 3 ตัวด้วยกัน ต้องยื่นจดแจ้งสูตร 3 รายการ จะมีค่าใช้จ่ายดังนี้

รายการ

ราคา

1

ค่าจดผู้ประกอบการรายใหม่

3,000

2

ค่าจดแจ้งผลิตภัณฑ์ 3 รายการ : 3 x 500 =

1,500

รวม

4,500

กรณีที่มีรหัสผู้ประกอบการอยู่แล้ว และต้องการยื่นจดแจ้งสูตร 2 สูตร จะมีค่าใช้จ่ายดังนี้

รายการ

ราคา

1

ค่าดำเนินการ

1,000

2

ค่าจดแจ้งผลิตภัณฑ์ 2 รายการ : 2 x 500 =

1,000

รวม

2,000

เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อกับ อ.ย.

เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ ให้เตรียมเอกสารไว้ล่วงหน้าดังนี้ กรณีเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (หรือมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเดิม) ต้องยื่นขอประทับตรารับรองหนังสือมอบอำนาจ และยื่นขอรหัสผู้ประกอบการ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะขอยื่นจดแจ้งสูตรได้

ยื่นขอให้ประทับตรารับรองหนังสือมอบอำนาจ (สำหรับรายใหม่ หรือหนังสือมอบอำนาจเดิมหมดอายุ) มีดังนี้

1.หนังสือมอบอำนาจ (แบบ F-C2-31) และติดอากรแสตมป์ 30 บาท — ทางเบรก จะจัดส่งให้ทางอีเมล์ และกรอกข้อมูลให้ครบ (ถ้าไม่เข้าใจให้สอบถามทีมงานได้)

2.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของกระทรวงพาณิชย์ หรือใบทะเบียนพาณิชย์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา

3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (หรือสำเนาพาสปอร์ต - กรณีบุคคลต่างด้าว) ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจทุกคน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา

4.สำเนาใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ (หรือหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว - กรณีบุคคลต่างด้าวรับมอบอำนาจเป็นผู้ดำเนินการ) พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา

กรณีไม่มีรหัสผู้ประกอบการ

1.สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (ภพ.20 กรณีเป็นนิติบุคคล) 2 ฉบับ

2.สำเนาทะเบียนบ้านที่สถานประกอบการตั้งอยู่ จำนวน 2 ฉบับ

3.สำเนาทะเบียนบ้านที่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 2 ฉบับ

4.สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่เจ้าหน้าที่ประทับตรารับรองเฉพาะหน้าแรก

5.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของกระทรวงพาณิชย์ (กรณีเป็นนิติบุคคล) จำนวน 2 ฉบับ อายุไม่เกิน 6 เดือน

6.สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว)

7.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 2 ฉบับ

8.แผนที่ตั้งบริษัทหรือที่ทำการ วาดด้วยปากกาในกระดาษ A4 ให้ระบุซอย ตำแหน่งที่ตั้งให้ชัดเจน

9.แผนผังบริเวณปฏิบัติการ - ที่ผลิต/บรรจุ/เก็บสินค้า

สำเนาทุกฉบับให้ลงลายมือชื่อรับรอง

กรณีมีรหัสผู้ประกอบการ

1.สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่เจ้าหน้าที่ประทับตรารับรองเฉพาะหน้าแรก จำนวน 1 ฉบับ

2.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของกระทรวงพาณิชย์ อายุไม่เกิน 6 เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล) จำนวน 1 ฉบับ

3.สำเนาทะเบียนบ้านที่สถานประกอบการตั้งอยู่ จำนวน 1 ฉบับ

4.สำเนาทะเบียนบ้านที่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ

5.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ

สำเนาทุกฉบับให้ลงลายมือชื่อรับรอง

ยื่นขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์

1.แจ้ง Code / สูตรอ้างอิง (สูตรอ้างอิง เจ้าหน้าที่จะกรอกข้อมูลให้)

2.ชื่อแบรนด์ ภาษาไทย / อังกฤษ

3.ชื่อสินค้า ภาษาไทย / อังกฤษ

4.วิธีใช้

5.ลักษณะผลิตภัณฑ์

6.ลักษณะภาชนะบรรจุ

7.ขนาดบรรจุ

8.รูปถ่ายภาชนะบรรจุ

ค่าใช้จ่าย 500 บาท ต่อสูตร