โครงงาน 5 บท เรื่อง สบู่สมุนไพร

1.ชื่อโครงงาน สบู่ใบเตย

2.ลักษณะของโครงงาน (ทำเครื่องหมายถูกหลังประเภทโครงงานของนักเรียน)

   2.1 โครงงานสิ่งประดิษฐ์…….……..

2.รายชื่อคณะผู้ทำโครงงาน

ที่ ชื่อสกุล รูปภาพนักเรียน ห้อง เลขที่
1 นายเตชพัฒน์ พรมรัตน์   5/11 5
2 นายศุภกร คาคำดวน   5/11 13
3 นางสาวธิดารัตน์ มณีสุข   5/11 20
4 นางสาวอชิรญาณ์ สาคร   5/11 23
5 นางสาวกนกวรรณ สายสวัสดิ์   5/11 26
6 นางสาว พิชญ์สินี มาลา   5/11 30

4.ที่มาความสำคัญ

สบู่ เป็นเครื่องสำอางชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เดิมใช้เพื่อทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น ปัจจุบันกระบวนการผลิตสบู่ มีการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น มีสีสรรที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยาในทางการค้า มีการใช้สารสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์น่าใช้ บรรจุภัณฑ์สวยงามแต่แฝงไป ด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย มีพิษตกค้างและราคาสูง ปัจจุบันนิยมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พืชสมุนไพรที่ใช้ มีสาระสำคัญและมีสรรพคุณทางยา เช่น มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะใช้ในการบำบัดโรค มีสีสรรสวยงาม หาง่ายราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย ไร้สารสังเคราะห์ และไม่มีพิษตกค้าง ทำให้สบู่สมุนไพรที่ผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีคุณลักษณะเฉพาะที่หลากหลาย จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสบู่สมุนไพรที่มีคุณค่ายิ่งของภูมิปัญญาไทย เชื่อว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศไหน วัยไหน หรือชาติไหน คงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยใช้ “สบู่” ในการ นำมาถู ผสมกับน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกและทำความสะอาดร่างกาย ที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะในการใช้ชีวิตประจำวันของคนทุกคนต้องมีการอาบน้ำกันอยู่ทุกวัน  สบู่ก็มีมากมายหลาย ชนิดให้ได้เลือกใช้ ตามความเหมาะสม และความชอบของแต่ละบุคคล  แต่จะมีใครทราบหรือไม่ว่าสบู่ส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ล้วนแล้วแต่มีส่วน   ผสมที่ เป็นพิษของสารซักฟอก และสารเคมี และเศษที่หลงเหลือในอุตสาหกรรม จากการกลั่นน้ำมันและปิโตรเลียมเคมีรวมถึงวัตถุกันเสีย ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสัตว์และคน และที่มากกว่านั้น คือ ผิวสามารถดูดซึมของเสียเหล่านี้ได้ถึง 60%

2

ดังนั้นทางเราจึงได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำสบู่แล้วจัดทำสบู่ใบเตยที่ใช้ได้ผลอย่างดียิ่ง อีกทั้งยังไม่มีสารเคมีหรือสารพิษปนมาอีกด้วย สบู่นั้นเป็นผลจากปฏิกิริยาเคมีของส่วนผสมพื้นฐานคือน้ำด่าง(SodiumHydroxide) หรือ( PotassiumHydroxide) กับน้ำมันซึ่งในที่นี้มาจากน้ำมันมะพร้าวปฏิกิริยาเคมีนี้เรียกว่า Saponificationซึ่งจะทำให้ได้เกลือในรูปของแข็งที่ลื่นและมีฟองที่เราเรียกกันว่าสบู่โรงงานนอกจากนี้ส่วนประกอบสำคัญทุกชนิดที่ใช้ในกระบวนการผลิต ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จากธรรมชาติ คุณจึงมั่นใจได้ว่าไม่มีสารสังเคราะห์ใดๆ เจือปนอยู่ในสบู่ จึงเป็นสบู่ธรรมชาติที่มีความปลอดภัย

5.ปัญหาความต้องการ

ต้องการทำสบู่ที่มีส่วนผสมของใบเตย ซึ่งมีสรรพคุณต่างๆนั้นมาเป็นส่วนผสม

6.จุดประสงค์ของโครงงาน

  1. เพื่อศึกษาวิธีการทำสบู่สมุนไพร

2.เพื่อเป็นหนทางหารายได้และนำไปประกอบธุรกิจในขั้นต่อไป

3.เพื่อให้มีสบู่ที่ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติ

7.วิธีการดำเนินการ

3.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.1.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอที่ปรึกษาโครงงาน

3.1.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่อง สบู่ใบเตยว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใดและต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใด และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป

3.1.3 ศึกษาการสร้างเว็บบล็อกที่สร้างจาดเว็บไซต์ Google Side จากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเทคนิค วิธีการสร้างเนื้อหาของโครงงาน

3.1.4 จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาผ่าน powerpointของตัวเอง

3.1.5 ปฏิบัติการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อสบู่ใบเตยโดยการสมัครสมาชิกและสร้างบทเรียนที่สนใจตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอไว้แล้ว ทั้งนี้ได้นำเสนอบทเรียนผ่าน Google Side

3.1.6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายสังคมโดยใช้เว็บไซต์ lineเพื่อให้เพื่อนๆมาช่วยให้ข้อเสนอแนะและสื่อสารกันหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงาน

3.1.7 จัดทำเอกสารรายงาน โดยนำเสนอในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์

3.1.8 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอผ่าน powerpoint

3.1.9 นำเสนอผ่าน powerpoint เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ต่อไป

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงานโครงงาน

3.2.1คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน

3.2.2ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่อง สบู่ใบเตยว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซส์ต่างๆและเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป

3.2.3ศึกษาการทำ สบู่ใบเตยจากเอกสารและเว็บไซส์ต่างๆ ที่นำเสนอเทคนิคและวิธีทำสบู่สมุนไพร

3.2.4จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน

8

3.2.5ปฏิบัติการจัดทำโครงงานอาชีพ เรื่องสบู่ใบเตย นำเสนอรายงานความก้าวหน้าของงานเป็นระยะๆซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

3.2.6จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์

3.2.7นำเสนองาน

8.แผนการดำเนินงานและงบประมาณ

1)สมาชิกในกลุ่มนั้นตั้งปัญหา และเลือกหัวข้อในการทำโครงงาน

2)วางแผนการดำเนินงานโดยการร่างแผนไว้ก่อน

3)วางแผนในการหาอุปกรณ์ต่างๆในการทำ และคำนวณงบประมาณในการทำ

4)จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ

5)เริ่มลงมือในการทำโครงงาน

6)ตรวจสอบและวัดผลประเมินผลในการทำโครงงาน

7)นำเสนอผลงาน

งบประมาณ 300 บาท

9.ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ใบเตยหอม

สมุนไพรเตยหอมนั้นคนไทยคุ้นเคยกันมานาน เนื่องจากอดีตนิยมนำเตยหอมมาประกอบอาหารและขนมหวาน  เช่น  ไก่อบห่อใบเตย  ใช้แต่งกลิ่นเวลาหุงข้าวเจ้าและข้าวเหนียว หรือนำไปแต่งกลิ่นและสีของขนม  เช่น  วุ้นกะทิ  ขนมชั้น  ขนมเปียกปูน  ขนมลอดช่อง  ขนมขี้หนู ฯลฯ  เตยหอมมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า  ปาแนะวองิง  หวานข้าวไหม้  ปาเนถือจิ  ปาหนัน  พั้งลั้ง  เตยหอมจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ขึ้นเป็นกอ ชอบขึ้นในที่ชื้นและใกล้น้ำ  ลำต้นกลมต่อเป็นข้อ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้โคนลำต้นจะมีรากงอกออกมาเพื่อค้ำลำต้น  ใบจะออกจากลำต้นเรียงเวียนแน่นรอบลำต้น  ใบมีสีเขียว  รูปเรียวยาวคล้ายหอก ปลายใบแหลม  ขอบใบเรียบ  ไม่มีหนาม  ใบมีกลิ่นหอมเย็น  ไม่มีดอก  ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อเล็ก ๆ นำมาปลูก  ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ ใบ โดยใบเตยประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด ใบเตยใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยลดการกระหายน้ำ ซึ่งเมื่อเรารับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอ  ส่วนรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน  ในปัจจุบันได้มีการทำศึกษาวิจัย  โดยนำน้ำต้มรากใบเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทอลอง เพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด  ปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้  ส่วนการศึกษาวิจัยในคน  หมอได้นำใบเตยหอมมาผลิตในรูปแบบชาชง  บรรจุซองละ  6  กรัม  ให้คนปกติรับประทานวันละ  1  ครั้ง  เป็นเวลา  7  วัน  ผลปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานชาชงใบเตยลดลงอย่างมาก  จึงนับได้ว่าสมุนไพรใบเตยหอมนั้นเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

ความหมายของสบู่
เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดร่างกายที่ได้จากปฏิกิริยาของด่างกับไขมันจากพืชหรือสัตว์ ปัจจุบัน สบู่มีการใช้ส่วนผสมชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ให้มีลักษณะพิเศษ ตรงตามความต้องการใช้งานที่หลากหลายขึ้น  “สบู่” จากคำข้างต้น หมายถึง ผลิตภัณฑ์ของสบู่ที่ทำให้เป็นก้อนหรือเป็นของเหลว พร้อมด้วยส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการใช้ทำความสะอาด ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์สบู่ที่เราใช้กันในทุกวันนี้ ส่วน “สบู่ (soap)” อีกคำที่พบในสมการเคมีจะหมายถึง สารตั้งต้นสำหรับการผลิตสบู่ นั่นก็คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างด่างเข้มข้นกับไขมันพืชหรือสัตว์ ร่วมด้วยกับกลีเซอรีน (Glycerine)/กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งสารทั้งสองเป็นสารตั้งต้นในการทำสบู่เหมือนกัน แต่จะให้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเรียกว่า “เกล็ดสบู่”

ชนิดของสบู่

  1. สบู่ก้อนขุ่น เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่รู้จัก และใช้กันมานานจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวขุ่นหรือมีสีต่างๆ ตามสีของสารเติมแต่ง เช่น สีเขียว สีชมพู สีม่วง เป็นต้น สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ที่ให้คุณสมบัติเป็นก้อนแข็ง ขาวขุ่น ให้ฟองมาก
  2. สบู่ก้อนใส เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีลักษณะก้อนใสหรือค่อนข้างใสตามสัดส่วนของกลีเซอรีนที่ผสม ก้อนสบู่จะมีลักษณะอ่อนกว่าสบู่ก้อนขุ่น และสามารถทำให้เกิดสีใสต่างๆตามสารให้สีที่เติมผสม สบู่ชนิดนี้จะให้ฟองค่อนข้างน้อยกว่าสบู่ก้อนขุ่น เนื่องจากมีส่วนผสมของกลีเซอรีนเป็นส่วนใหญ่ สารตั้งต้นที่ใช้อาจเป็นกลีเซอรีนเหลวหรือกลีเซอรีนก้อน (กลีเซอรีนเหลว+เอทิลแอลกอฮอล์) ร่วมด้วยกับสารเติมแต่งชนิดต่างๆ
  3. สบู่เหลว เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีน้ำเป็นส่วนผสมทำให้เนื้อสบู่เหลว สีสีสันต่างๆตามสารเติมแต่ง สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้นจากเกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเหมือนชนิดสบู่ก้อนขุ่น แต่ต่างกันที่จะใช้ด่างเข้มข้นโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แทนโซเดียมไฮดรอกไซด์ เพราะจะให้เนื้อสบู่อ่อนตัวดีกว่า