หลักการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

วิธีเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

ในบางทีหลายคนคงจะยุ่งกับงานจนไม่มีเวลาทำกับข้าวกินเอง จึงต้องอาศัยอาหารสำเร็จรูป ซึ่งทำให้ง่ายต่อการดำรงชีวิต อย่างเช่น  อาหารกระป๋อง  และคุณต้องซื้ออยู่บ่อยๆเป็นประจำเพราะมีเวลาจำกัด  แต่คุณจะดูอย่างไรว่าอาหารกระป๋องที่คุณซื้อนั้นมีคุณภาพสามารถรับประทานได้อยู่ เพราะบางทีอาหารกระป๋องก็ขายไม่ได้ และตั้งไว้นานซึ่งอาจจะทำให้เสื่อมคุณภาพ หรือเน่าเสียแล้ว ทั้งนี้เรามีวิธีการง่ายๆมาแนะนำคุณทั้งหลาย ในการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง มาบอกกัน

วิธีการ คือ

- ให้สังเกตดูลักษณะของกระป๋อง ถ้าด้านบนหรือด้านล่างมีรอยปูดหรือบุบ แสดงว่าอาหารในกระป๋องเสียหรือเสื่อมคุณภาพแล้ว

- ใช้นิ้วดีดบนกระป๋องแล้วสังเกตฟังเสียงที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นอาหารกระป๋องจำพวกผลไม้ เสียงที่เกิดขึ้นควร เป็นเสียงดังใสกังวาน จึงจะดี แต่ถ้าเป็นอาหารกระป๋องจำพวก ผัก เนื้อ ปลา ควรมีเสียงหนักๆ ซึ่งแสดงว่าอาหารในกระป๋องยังสดดีอยู่

- ให้สังเกตวันหมดอายุ หรือวันที่ผลิตซึ่งระบุไว้บนฝา กระป๋องหรือใต้กระป๋อง

- ถ้าซื้อมาแล้วเปิดออกพบว่า ภายในกระป๋องมีฟองอากาศ ไม่ควรรับประทาน

- อาหารที่ยังใช้รับประทานได้ ถ้าเติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย จะช่วยให้รสดีขึ้น

หลักการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

( รูปจาก f.ptcdn.info )

รู้กันแล้วใช่ไหมล่ะ คราวหน้าหากคุณจะซื้ออาหารกระป๋องครั้งต่อไปก็ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามดูนะ รับรองไม่ผิดหวัง

ข้อมูลจาก ezythaicooking.com

2259 2016-02-28 23:08:18

       

ในการประกอบอาหารแต่ละชนิดจะต้องมีการเตรียมวัตถุดิบ เช่น ผัก เนื้อสัตว์ เครื่องปรุงรส ให้พร้อม วัตถุดิบในการประกอบอาหารมีส่วนสำคัญที่จะทำให้อาหารนั้นน่ารับประทาน ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้นการเลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาด เพื่อนำมาประกอบอาหารเป็นสิ่งจำเป็นเพราะส่งผลต่อสุขภาพ และค่าใช้จ่าย วัตถุดิบแต่ละชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการและมีราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจ ในการเลือกวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารจะช่วยให้ได้วัตถุดิบอย่างดีมีคุณค่าทางโภชนาการมาประกอบอาหารและมีราคาถูก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดี

    ๓.๑ หลักทั่วไปในการเลือกซื้ออาหารมารับประทานในครอบครัว

        ในการเลือกซื้ออาหารและวัตถุดิบมาประกอบอาหาร ผู้ซื้อจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเลือกซื้อ เพื่อที่จะได้ของที่มีคุณภาพ ครบตามที่ต้องการ หลักการซื้ออาหาร มีดังนี้

        ๑. วางแผนการซื้อล่วงหน้า โดยเขียนรายการที่ต้องการซื้อล่วงหน้า

        ๒. ซื้ออาหารที่สด ใหม่และสะอาด ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ

        ๓. คำนึงถึงความประหยัด เช่น เลือกอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงแต่ราคาถูก

        ๔. ซื้ออาหารให้มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว

        ๕. กำหนดงบประมาณในการซื้อ 

        ๖. สำรวจความต้องการในครอบครัว จะได้เลือกซื้ออาหารที่สามารถทานร่วมกันได้

    ๓.๒ การเลือกซื้ออาหารสด

        ในการเลือกซื้ออาหารสด ควรเลือกตามลักษณะของอาหารแต่ละชนิด ดังนี้

        ๑. การเลือกซื้อผักและผลไม้ ในการเลือกซื้อเราควรคำนึงถึงคุณภาพ โดยเลือกที่สดใหม่ตามลักษณะของผลไม้แต่ละชนิด รวมทั้งควรเลือกผัก ผลไม้ ที่มีในท้องถิ่นหรือตามฤดูกาล เพราะมีให้เลือกมากมายและราคาถูกกว่านอกฤดู โดยพิจารณาเลือก ดังนี้

            หลักการเลือกซื้อผักสด ผักที่ใช้รับประทาน มีทั้งประเภทที่รับประทานใบ ลำต้น หัว ผล ดอก หรือรับประทานทัั้งใบทั้งลำต้น การเลือกซื้อจะต้องเลือกผักที่สด มีความสะอาด ไม่เหี่ยวเฉาหรือมีสีเหลือง ไม่มีคราบขาวๆ ตกค้าง เพราะอาจเป็นย่าฆ่าแมลงที่ตกค้าง ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ปัจจุบันมีผักปลอดสารพิษเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

            หลักการเลือกซื้อผลไม้ ผลไม้มีหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีวิธีการเลือกซื้อที่แตกต่างกัน เช่น

            ส้มเขียวหวาน ควรเลือกที่ผิวละเอียด เปลือกบาง ไม่นิ่มเกินไป ขั่วไม่นูน สีตามชนิดของส้ม

            ฝรั่ง ควรเลือกที่ผิวละเอียด ไม่ตกกระ ไม่ช้ำ ไม่เน่าเสีย เนื้อแน่น กรอบ

            ลำไยควรเลือกที่ขั้วค่อนข้างแบน เมล็ดในเล็ก เนื้อหนา รสหวาน เนื้อไม่แฉะ

            เงาะ ควรเลือกที่ขนและเปลือกไม่ดำ เปลือกบาง เนื้อหนา ล่อน ไม่ติดเม็ด เนื้อแห้ง ไม่ฉ่ำน้ำ

            องุ่น ควรเลือกพวงที่มีขั้วสด ผลติดกันเป็นพวงแน่น ไม่มีรอยช้ำ

       ๒. การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์เป็นอาหารที่ให้โปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ในการเลือกควรคำนึงถึงความปลอดภัย ควรเลือกที่สะอาด มีความสด ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่เขียวคล้ำ

            หลักการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ มีหลักการเลือกแตกต่างกัน ดังนี้

            เนื้อหมู เลือกที่มีสีชมพูอ่อน นุ่มเป็นมัน เนื้อละเอียดแน่น

            ปลา เลือกที่เหงือกมีสีแดง ครีบของเหงือกปิดสนิท ท้องไม่แตก ตาใส เกล็ดแน่น

            เนื้อวัว เลือกที่มีสีแดงสด ไม่ดำคล้ำ ไม่มีน้ำเหลืองไหลซึม มันมีสีเหลือง

            เป็ด ไก่ เลือกที่เนื้อแน่น กลิ่นไม่เหม็น ไม่มีสีคล้ำ

            กุ้ง เลือกที่หัวติดกับตัวแน่น เนื้อใต้ตัวไม่แดง

            ปูทะเล ปูเนื้อเลือกซื้อที่อกแข็ง กดไม่ลง ส่วนปูไข่ เมื่อดีดกระดองด้านหลัง มีเสียงโปร่ง กล้ามปูไม่หลุดจากตัว

            หอย เลือกหอยสด ฝาปิดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็นแกะเปลือกออกจะมีสีแดง

            ไข่ เลือกที่สดใหม่ เปลือกไข่สะอาด ไม่มีรอยแตกร้าว เมื่อส่องกับไฟภายในไข่จะไม่มีจุดสีดำหรือฟองอากาศ

    ๓.๓ การเลือกซื้อและเก็บรักษาอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง

            อาหารแห้ง เป็นอาหารที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานกว่าอาหารสด ในการเลือกซื้ออาหารแห้งควรซื้อจากสถานที่จำหน่ายที่สะอาดไม่สกปรก มีที่เก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ชื้นแฉะ และมีภาชนะปิดมิดชิด ถ้าเป็นอาหารกระป๋อง หรือของแห้งที่บรรจุขวดจะต้องดูที่ภาชนะบรรจุว่ามีรอยรั่วบุบเป็นสนิมหรือไม่ และก่อนซื้อต้องอ่านฉลากให้ละเอียด

            ในการเลือกอาหารแห้ง ควรพิจารณา ดังนี้

ชนิดของอาหารแห้ง  การเลือกซื้อ  การเก็บรักษา
 
ข้าวสาร
 เลือกที่สะอาด ไม่มีตัวมอด ไม่มีเศษสิ่งสกปรกเจือปน ถ้าเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือจะได้คุณค่าทางอาหารมากกว่าข้าวขาว เพราะไม่ผ่านการขัดสี ไม่สูญเสียวิตามิน  ข้าวสารควรเก็บในที่แห้ง ไม่อับชื้น ใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หนูหรือแมลงสาบลงไปได้
อาหารกระป๋อง   ดูรายละเอียดบนฉลาก เช่น วันหมดอายุ กระป๋องไม่ปุบ บวม หรือเป็นสนิม
 บรรจุกระป๋อง วางไว้ในที่ไม่อับชื้น
 กุ้งแห้ง  เลือกที่แห้งสนิท ไม่ใส่สี ตัวกุ้งมีน้ำหนัก  เก็บใส่ขวดปิดฝาให้มิดชิด เก็บในที่แห้ง นำไปตากแดดเป็นระยะๆ

กระเทียม 
 เลือกที่เปลือกแห้งสนิท กลีบแน่น  ควรแขวนในที่ลมโกรกและหยิบใช้ได้สะดวก และควรนำไปผึ่งแดดบ่อยๆ ใส่กระจาด ห่อ หรือใส่กล่องเก็บในที่แห้งและเย็น
 หอมแดง  เลือกที่หัวไม่เสีย  ควรแขวนในที่ลมโกรก และนำไปผึ่งแดดบ่อยๆ
 พริกแห้ง  เลือกพริกเม็ดใหญ่ มีสีแดงเข้ม  ใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่น เก็บในที่ไม่อับชื้น
 กะปิ  เลือกที่เนื้อละเอียดนุ่ม มีกลิ่นหอม ไม่แฉะหรือกระด้าง ไม่มีละอองเกลือจับอยู่ที่ผิวกะปิ  บรรจุกระปุกหรือขวดแก้ว มีฝาปิดมิดชิดควรนำไปตากแดดทุก ๒ สัปดาห์ เก็บในตู้เย็นหรือเก็บในที่ไม่ชื้น