การจัดทําแผนการพัฒนาการตลาด

ในการวางแผนการธุรกิจนั้น แผนการตลาดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นักธุรกิจให้ความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งสาเหตุหลักก็เพราะมันอธิบายวิธีสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ ทำอย่างไรลูกค้าถึงจะซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา ซึ่งโดยมากแล้วตัวแผนการตลาดนี้จะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. คำอธิบายผลิตภัณฑ์หรือบริการ และจุดขายที่แตกต่าง (หรือ USP – Unique Selling Point)
  2. โครงสร้างราคา
  3. แผนการขาย/การกระจายสินค้า
  4. แผนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

ขออธิบายทีละตัวแบบคร่าว ๆ นะครับ

คำอธิบายผลิตภัณฑ์หรือบริการ และจุดขายที่แตกต่าง (หรือ USP – Unique Selling Point)

เริ่มจากการโฟกัสว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรานั้นจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับลูกค้าได้บ้าง จากนั้นใช้แง่มุมนี้ในการเขียนอธิบายสินค้ามาโดยสรุปประมาณสัก 1 ย่อหน้า จากนั้นจึงค่อยไปคุยถึงเรื่องคุณสมบัติ

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา
เป็นคำอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพของสินค้า (หรือบริการ) ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น มันทำอะไรได้บ้าง มีประโยชน์อะไรบ้าง อ้อ พึงระลึกไว้ว่าเจ้าประโยชน์ที่กล่าวนี้ จะเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ด้วยตาหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าขายผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอาง นอกจากลูกค้าจะได้ผิวหน้าที่สะอาดขึ้นแล้ว ก็จะดูมีเสน่ห์อ่อนกว่าวัยได้อีกด้วย หรือถ้าใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจานชาม นอกจากความสะอาดก็ยังสร้างเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน — ตรงจุดนี้ถ้าเป็นไปได้ ทางทีมผู้บริหารและนักการตลาดทั้งหลายก็ควรมานั่งพูดคุยกันแล้วใส่ไอเดียเข้ามาคนละนิดละหน่อย ทำไปจนนึกไม่ออกแล้วว่าจะมีอะไร จากนั้นจึงค่อยเลือกว่าจะโฟกัสที่ประโยชน์ตัวใดที่จะสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้ดีที่สุ่ด

USP หรือจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์
อะไรที่ทำให้สินค้าหรือบริการของคุณแตกต่างจากของรายอื่น อะไรคือสารสำคัญทางการตลาดที่คุณอยากให้ลูกค้าได้รับจากสินค้าหรือบริการของคุณ เจ้าแผนการตลาดที่เราคุยกันอยู่ ก็คือการนำสารสำคัญตัวนี้แหละ ส่งไปให้ลูกค้าของคุณให้ได้

ตัวอย่างของ USP ของพิซซ่าบางแฟรนไชส์ก็เป็น ทำใหม่ร้อน ๆ และส่งถึงที่ภายใน 30 นาที ไม่งั้นกินฟรีไปเลย ของช็อคโกแลต M&M ก็เป็น “ละลายในปาก ไม่ละลายในมือ” เป็นต้น

โครงสร้างราคา และการวาง position ของแบรนด์
หลัก ๆ แล้วเราต้องการให้ราคาของสินค้าหรือบริการนั้นสามารถแข่งขันในตลาดได้ แต่ก็ยังมีกำไรพอสมน้ำสมเนื้อ ซึ่งจริง ๆ แล้วคุณจะคิดราคาเท่าไหร่ก็ได้ตราบเท่าที่ลูกค้ายังยินยอมที่จะจ่าย แต่ว่าก็ต้องพิจารณาหาขีดจำกัดของลูกค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยมากเรามักคิดราคาโดยดูจากต้นทุนก่อน จากนั้นดูผลประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ (เพิ่มกำไรตามสมควรตราบใดที่ลูกค้าน่าจะยังพอใจเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่เขาได้รับ) อ้อ และอย่าลืมเปรียบเทียบราคาจากคู่แข่ง่ขันในท้องตลาดด้วย (เมื่อนำประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับจากจุดขายของเรา ก็น่าจะพอได้ไอเดียว่าสินค้าหรือบริการของเรานั้นควรแทรกอยู่ในตลาดระดับใด ตัวราคาก็ควรจะสะท้อนถึง position นั้นๆ ของเราด้วย)

ต้นทุนของสินค้าหรือบริการ
อย่าลืมคำนวณทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนเปลี่ยนแปลง ค่าใช้จ่ายทางวัตถุดิบและแรงงานเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่ง ยังมีค่าขนส่ง ค่าบริหารจัดการ ค่าการตลาดและการขาย

คำถามก่อนการตั้งราคาสินค้าหรือบริการ
ไม่ว่าจะตั้งราคาสูงหรือต่ำกว่าคู่แข่ง คุณจำเป็นต้องตอบคำถามว่า

  • ผลของราคาจะทำให้ธุรกิจของคุณมีศักยภาพในการแข่งขันขึ้นจริงไหม และทำไมถึงเป็นแบบนั้น
  • ทำไมเราถึงสามารถตั้งราคาต่ำกว่าท้องตลาดได้ การตั้งราคาต่ำจะทำให้เราแข่งขันในธุรกิจนี้ได้ดีขึ้นจริงไหม ลูกค้าจะสนใจระดับราคาที่ต่ำลงนี้ขนาดไหน
  • ทำไมลูกค้าถึงจะยอมจ่ายให้เราในราคาที่สูงกว่า อะไรที่จะทำให้เขาตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของเราในราคานี้

แผนการขาย และการกระจายสินค้า

ระบุแนวทางในการกระจายสินค้า

  • สินค้า/บริการของคุณจะไปถึงมือลูกค้าได้อย่างไร จะผ่านทางเว็บไซต์ ทางอีเมล์ ทางพนักงานขาย ทางการส่งของถึงบ้าน หรือทางร้านค้าปลีก?
  • ช่องทางการกระจายสินค้าจะเป็นอะไร จะเป็นการกระจายโดยตรงจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค (หรือจากผู้ผลิตไปยังร้านค้าปลีกและค่อยไปยังผู้บริโภค) หรือจากผู้ผลิตไปยังยี่ปั๊วต่อไปยังซาปั๊วแล้วค่อยถึงร้านค้าปลีก — ตรงจุดนี้ควรระบุองค์ประกอบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นบริษัท บุคคล หรือเทคโนโลยี
  • ระบุค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้า (ใครเป็นคนรับภาระบ้าง) เงื่อนไขในการขนส่ง ระยะเวลาในการขนส่ง ผลกระทบต่อปริมาณและระยะเวลาในการผลิต
  • ระบุปริมาณสต็อกสินค้าที่ต้องคงไว้เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการขายจากปัญหาอย่างเช่น การขนส่งล่าช้า เป็นต้น

ระบุขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับลูกค้าของคุณ

  • จะใช้ระบบใดในการรับและประมวลผลออเดอร์ ขนส่ง และออกบิล
  • รูปแบบการจ่ายเงินของลูกค้าสามารถเป็นอะไรได้บ้าง มีเครดิตแบบไหนบ้าง มีการจ่ายก่อนหรือจ่ายล่าช้าบ้างไหมและด้วยเงื่อนไขอะไร
  • นโยบายการรับคืนสินค้าคืออะไร มีการรับประกันคุณภาพใด ๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการบ้างไหม
  • ระบบการดูแลหลังการขายมีอะไรบ้าง และมีค่าใช้จ่ายในรูปแบบใดบ้างไหม
  • ระบบวัดผลความพึงพอใจของลูกค้าเป็นอย่างไร

กลยุทธ์ในการขาย

  • มีพนักงานขายรูปแบบใดบ้าง และการวัดประสิทธิภาพการขายของแต่ละคน
  • รางวัลในการทำงานสำหรับพนักงานขายมีรูปแบบใดบ้าง
  • การฝึกอบรมพนักงานขาย

แผนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
หลัก ๆ คือการนำเสนอ USP ไปยังกลุ่มลูกค้าได้ชัดเจนและตรงเป้าหมายที่สุด แม้ว่าจะมีวิธีมากมายก็ตาม แต่วิธีที่ดีที่สุดยังคงเป็นการโฟกัสไปยังกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น โดยก่อนทำการโฆษณา จะต้องนึกให้ได้ว่าสื่อใดมีประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นจึงค่อยระบุงบประมาณโฆษณาว่าจะใช้กี่ % ในแต่ละสื่อ

สำหรับเรื่องแผนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์นี้ มีอยู่หลากหลายแนวทางมาก แนะนำให้อ่านบทความของเราเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

การจัดทําแผนการตลาดมีวิธีใดบ้าง

10 เทคนิคการวางแผนการตลาดที่ดี ต้องมีอะไรบ้าง?.
1. ตั้งเป้าหมายทางการตลาด.
2. ทำ Landscape Research รู้จักตัวเองและรู้จักตลาด.
3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน (Target Customer).
4. เข้าใจ Sales Funnel และ Customer Journey..
5. เลือกใช้กลยุทธ์ทางการตลาด.
6. เลือกสื่อหรือช่องทางในการทำการตลาด.
7. แผนการเงินและงบประมาณ.

การวางแผนการตลาดมีความสําคัญอย่างไร

แผนการตลาดจะทำให้บุคคลกรของท่านมีเป้าหมายในการทำงาน การมีเป้าหมายจะทำให้บุคลากรแล้ว ทั้งตัวท่านมีพลังในขับเคลื่อนนาวาทางธุรกิจของท่านไปสู่จุดมุ่งหมายอย่างมีส่วนร่วม ธุรกิจบางธุรกิจไม่นำเป้าหมายทางการตลาดมาสร้างประโยชน์ในการขับเคลื่อนบุคลากร องค์กรธุรกิจเคลื่อนตัวไปอย่างไร้รสชาติ การให้บุคลากรของท่านมีส่วนร่วมในการ ...

แผนการตลาดควรมีรายละเอียดอย่างไร

คิดเป้าหมายที่ชัดเจนเน้นๆ ที่สามารถปฎิบัติได้จริง กำหนดประเภทกิจกรรมต่างๆ ที่จะตอบสนองให้เป้าหมายทางการตลาดสำเร็จ กำหนดงบประมาณที่จะต้องใช้ และตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนแยกรายกิจกรรม กำหนดคู่แข่งที่จำเป็นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในแต่ละกิจกรรม

เหตุใดผู้ประกอบการจึงต้องจัดทำแผนการตลาด (Marketing Plan)

เหตุผลที่ 1 : คุณจะมีเป้าหมายชัดเจนที่วัดผลได้ ในการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ เหตุผลที่ 2 : คุณจะรู้จักกลุ่มลูกค้าที่แท้จริงของคุณ เหตุผลที่ 3 : คุณจะสามารถรับมือคู่แข่งที่มีอยู่ ไม่ให้ใครมาแย่งส่วนแบ่งในตลาดของคุณได้ เหตุผลที่ 4 : เมื่อคุณมีการวางแผนที่ดี จะช่วยให้ผลิต Content ออกมาได้ตรงใจกลุ่มลูกค้าของคุณ