พร บ กับ ประกัน คนละ บริษัท

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร เหมือนหรือต่างจากประกันรถทั่วไปหรือเปล่า

ใกล้ถึงเวลาต่อประกันรถยนต์ที่หลายคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับคำว่า พ.ร.บ. และประกันภัยชั้น 1, 2 หรือ 3 แต่น่าจะยังมีอีกหลายคน ที่ยังไม่รู้เลยว่า พ.ร.บ. ย่อมาจากอะไร และเรามีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่า พ.ร.บ ร่วมกับประกันชั้น 1, 2 หรือ 3 หรือไม่ เราซื้อแค่ พ.ร.บ หรือประกันชั้น 1 อย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่ ลองมาทำความเข้าใจกันหน่อยเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบประกันรถยนต์เหล่านี้

พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีนั้นเอง

ซึ่งวงเงินคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ ได้มีการกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจนว่า จะมีความคุ้มครองในรูปแบบใด ๆ บ้าง ซึ่งการฝ่าฝืนไม่ทำ พ.ร.บ. นี้ ไม่ได้ทำให้เกิดผลดีกับผู้ใดเลย เพราะนอกจากการที่จะทำให้มีปัญหาในการต่อภาษีรถแล้ว ยังเป็นการทำผิดกฎหมายแบบตรง ๆ เลย เพราะกฎหมายได้บังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นขั้นพื้นฐานอยู่แล้วเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยเข้าดูแลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน ซึ่งในแง่กฎหมายจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าเสียหาย และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัวได้นั่นเอง

แล้วประกันรถ ที่รู้จักกันในชื่อ ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ ที่เห็นมีการโฆษณา หรือที่มีการพูดถึงกันล่ะ คืออะไร ประกันเหล่านี้ จะอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ประกันภาคสมัครใจ ซึ่งจะเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ได้รับจาก พ.ร.บ. ซึ่งในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าความเสียหายมีมาก ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหาย จะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายเอง ซึ่งประกันภาคสมัครใจ จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในกรณีเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งในประเทศไทย ประกันภาคสมัครใจ จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท หรือที่เราเรียกกันว่า ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ นั่นเอง โดย

  • ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียภายที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย รวมถึงกรณีเกิดไฟไหม้และการสูญหายด้วย
  • ประกันชั้น 2 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 3 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 2+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่เฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และจำเป็นต้องมีคู่กรณีด้วย
  • ประกันชั้น 3+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 3 แต่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันภัยในวงเงินจำกัด และเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น

ซึ่งจะเห็นได้ว่า เราสามารถเลือกที่จะทำประกันภาคสมัครใจได้หลากหลายรูปแบบ เพราะค่าเอาประกันภัยของประกันภาคสมัครใจ จะมีค่าบริการที่หลากหลาย และแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของความคุ้มครองที่เราต้องการนั่นเอง ซึ่งการเลือกประกันภัยรถยนต์ของแต่ละบุคคลเอง ไม่ได้มีสูตรที่แน่นอนตายตัวว่า แบบใดจะดีที่สุด ซึ่งถ้ากำลังมองหาประกันภาคสมัครใจร่วมกับการซื้อ พ.ร.บ. อาจจะเลือกซื้อจากบริษัทประกันภัยเดียวกันไปเลย เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ การยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้พร้อมกัน เพื่อความสะดวกและความต่อเนื่องในการดำเนินการนั่นเอง แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นการบังคับทางกฎหมายนะครับว่า เราจะต้องซื้อจากบริษัทเดียวกัน เพียงแต่ในเรื่องการดำเนินการ กรณีที่เราเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีที่ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นน่าจะทำได้สะดวกกว่ากันนั่นเอง

แต่ไม่ว่าเราจะเลือกทำประกันภัยรถยนต์จากบริษัทใดก็ตาม ทั้งการทำประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และการทำประกันภาคสมัครใจ สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ คือ สิทธิประโยชน์และหน้าที่ของเราตามสัญญาประกันภัยนั่นเอง

ซึ่งผู้เอาประกันส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอ่านรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์และหน้าที่ในสัญญาประกันภัย จนเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือมีเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบตามที่ระบุในกรมธรรม์จึงจะเริ่มมาอ่านเงื่อนไข ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ในฐานะผู้เอาประกัน เราต้องมีการเตรียมความพร้อม พิจารณาเงื่อนไขและความคุ้มครองที่จะได้รับให้ดีเสียก่อน อย่าลืมเช็ครายละเอียดให้ถี่ถ้วน และหาข้อมูลเยอะ ๆ นะครับ

ประกันภัยรถยนต์นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้หรือเจ้าของรถยนต์ อุบัติเหตุในรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน ตลอดเวลา ถ้าคนใช้รถยังตั้งอยู่บนความประมาท ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร สำหรับในบ้านเรานั้น ประกันภัยรถยนต์มีด้วยกัน 2 แบบคือ ประกันภัยภาคบังคับ และประกันภัยภาคสมัครใจ

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกกันติดปากว่า  พรบ. ซึ่งมีความหมายมาจากคำว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งถูกตราเป็นกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2535 แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขรายละเอียดมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้ โดยหลักๆ ก็คือ พระราชบัญญัติฉบับนี้จะคุ้มครองผู้ประสบภัย ที่ได้รับความเสียหายอันมีสาเหตุมาจากรถยนต์นั่นเอง โดยจะเป็นคนเดินถนน หรือ คนใช้รถบนท้องถนนไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร ก็ได้รับความคุ้มครองทั้งหมด แม้ไม่ทราบว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร ผู้เสียหายก็ยังได้รับความคุ้มครอง  ว่าไปแล้ว พรบ.ภาคบังคับ มีประโยชน์มากในทางปฎิบัติ เพราะอย่างน้อยก็ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประสบเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่มากนัก อย่างน้อยก็อุ่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้น

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หมายความถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้น โดยความสมัครใจของ เจ้าของรถยนต์  ผู้ครอบครองรถยนต์หรือผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมาย แต่อย่างใด การประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดประกันภัยในปัจจุบันนี้

สำหรับการซื้อประกันภัยตาม พรบ. กับประกันภัยภาคสมัครใจแยกคนละบริษัทกัน กล่าวคือซื้อประกัน พรบ. บริษัทหนึ่ง และไปซื้อ ประกันประเภทสมัครใจ (ประเภท 1,2 หรือ 3) ตามโฆษณาชวนเชื่อของบรรดาบริษัทประกันภัยหรือตัวแทนประกันภัยที่เน้นการขายประกัน พรบ. ที่มีราคาประกันภัยรถยนต์ถูก เนื่องจากมีกฎหมายบังคับว่าเจ้าของรถทุกคนต้องทำ ประกันภัยตาม พรบ. มิฉะนั้นจะต้องถูกจับปรับเป็นหมื่น โดยไม่คำนึงถึงว่าลูกค้าหรือเจ้าของรถจะไปทำประกันภาคสมัครใจกับใคร ขอให้ซื้อประกัน พรบ. กับตนเองไว้ก่อนเป็นดี มีเจ้าของรถจำนวนไม่น้อยซื้อประกัน พรบ. ราคาถูก บางคนถึงกับแยกประกันพรบ. และประกันภาคสมัครใจไว้คนละบริษัทโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพียงเห็นว่าประกัน พรบ. ที่เสนอถูกกว่า ซึ่งก็จะประมาณ 100-200 บาท เช่น พรบ. รถเก๋งปกติกำหนดให้ขายตามพิกัดใหม่ไม่เกิน 1,000 บาท ก็มีบางบริษัทเสนอขายอยู่ที่ 800 บาท หรือ 850 บาท โดยหารู้ไม่ว่าจะเกิดปัญหาและความยุ่งยากตามมา

พร บ กับ ประกัน คนละ บริษัท

ตามหลักแล้วประกันภัยตาม พรบ. ทุกบริษัทจะต้องให้ความคุ้มครองเท่ากันหมด เพราะมีกฎหมายบังคับ ว่าเมื่อเสียชีวิตจะต้องจ่ายคนละ 8 หมื่นบาท ถ้าบาดเจ็บต้องจ่ายค่ารักษาไม่เกิน 5 หมื่นบาท และต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 15,000 บาท เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการบริการที่ต่างกัน บางบริษัทมีสาขามาก บาง บริษัทมีสาขาน้อย บางบริษัทจ่ายช้า บางบริษัทจ่ายเร็ว บางบริษัทก็ไม่จ่ายปิดบริษัทไปตอนไหนไม่รู้ หรือไม่มีมีตัวตนตั้งแต่เริ่มแรก คือลูกค้าโดนหลอกให้ซื้อ ซึ่งถ้าต้องการ ทำประกันภัยตาม พรบ. อย่างเดียว ไม่ได้ทำประเภทสมัครใจไว้ด้วย แนะนำให้ทำกับบริษัทที่มีสาขามาก หรือมีสาขาอยู่ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการติดต่อ เพราะการทำประกันภัยตาม พรบ. อย่างเดียว การบริการทั้งหมดเป็นของเจ้าของรถผู้เอาประกันหรือผู้ เสียหาย ที่จะต้องดำเนินการเองทั้งหมด ต้องไปรักษาเอง สำรองจ่ายเอง ไปตั้งเบิกเอง ในการไปขอ รับเงินค่าสินไหมที่บริษัทประกันภัยก็ต้องนำหลักฐานเอกสารไปเองให้ครบ ตั้งแต่ใบแจ้งความของตำรวจ ใบมรณะบัตร บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์ ใบพรบ.ที่ติดหน้ารถ และเอกสารเกี่ยวข้องอื่น เพื่อเคลมค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย ถ้าเอกสารดัง กล่าวนำไปไม่ครบ บริษัทก็จะปฏิเสธการจ่าย โดยให้นำเอกสารมาให้ครบก่อนจึงจะทำการจ่ายให้ได้ และที่สำคัญจะจ่ายให้ได้เฉพาะส่วนที่มีใบเสร็จถูกต้องเท่านั้น

การทำประกัน พรบ. กับประกันภัยประเภทสมัครใจไว้ในบริษัทเดียวกัน โดยเลือกทำกับบริษัทที่มีความมั่นคง ให้บริการที่ดี จะได้ไม่มีปัญหาในอนาคต นอกจากนี้ยังมีข้อดีของการทำประกันภัยทั้ง 2 แบบควบคู่กันไป คือ ความคุ้มครองตาม พรบ. คุ้มครองช่วยเหลือในกรณีที่มีการบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งในบางครั้งวงเงินที่ได้รับจาก พรบ.นั้น อาจไม่เพียงพอ ในการเจรจาต่อรองกับคู่กรณี ในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีของคุณได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จะได้มีวงเงินจากภาคสมัครใจมาช่วยอีกแรงหนึ่ง

ดังนั้นถ้าคุณทำประกัน ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะเข้ามาทำหน้าที่ในส่วนที่เกินให้ การที่คุณทำประกัน พรบ. และกรมธรรม์ภาคสมัครใจกับบริษัทประกันเดียวกัน จะทำให้คุณไม่ต้องไปเริ่มต้นในการเล่าเรื่องราว พร้อมทั้งขั้นตอนด้านเอกสารกับบริษัทประกันใหม่ที่คุณซื้อกรมธรรม์แยกออกไป และไม่ต้องติดต่อประสานงานถึง 2 บริษัทประกันภัย เพราะถ้าเป็นบริษัทประกันเดียวกันก็จะทราบเรื่อง ตั้งแต่เกิดเหตุครั้งแรก การดำเนินการต่อก็จะสะดวกและต่อเนื่อง ซึ่งจะง่ายและสะดวกกับตัวคุณเอง

เมื่อรถยนต์เกิดเหตุ ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป รู้ใจพร้อมสำหรับคุณเสมอ ด้วยระบบออนไลน์ 24 ชั่วโมง คลิกเช็คเบี้ย!