นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf

รายละเอียดคำแถลงนโยบายการจัดการศึกษา ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คนใหม่ นางสาวตรีนุช เทียนทอง ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2563

นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf
นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf
นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf
นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf
นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf
นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)

นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf

นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf

รมว.ศธ. มอบนโยบายการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 แก่ ผอ.สพท. และ ผอ.สถานศึกษา สังกัด สพฐ.ทั่วประเทศ เน้นย้ำ MOE Safety Center สถานศึกษาปลอดภัย ตามหลัก 3 ป. “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” พร้อมสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน “Screening Learning Loss” แก้ไขปัญหาความรู้ถดถอย ตั้งเป้าหมายต้องไม่มีนักเรียนออกกลางคัน
 
1 พฤศจิกายน 2565, สตูดิโอ OBEC Channel / นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัด สพฐ. โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมผ่าน OBEC Channel

นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf

รมว.ศธ. กล่าวว่า ขอเน้นย้ำกับผู้บริหาร สพท. และสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. ในการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาที่สำคัญในการดูแลพัฒนาการของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในสถานศึกษา ซึ่ง ศธ.ได้พัฒนาระบบแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยขึ้น คือ ศูนย์ “MOE Safety Center” ทั้งการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาให้ปลอดภัย การดูแลด้านโภชนาการ และสุขภาพ การป้องกันภัยธรรมชาติ

ที่สำคัญคือ การป้องกันภัยจากยาเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะกัญชา รวมทั้งภัยจากอาวุธปืน ซึ่งต้องไม่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างเด็ดขาด และต้องปฏิบัติอย่างเข้มข้น ตามหลัก 3 ป. คือ ป้องกัน ปลูกฝัง และ ปราบปราม ซึ่งนักเรียน ครู และประชาชนทุกคนสามารถแจ้งเหตุได้ 4 ช่องทาง ผ่านแอปพลิเคชัน MOE Safety Center เว็บไซต์ ไลน์ หรือสายด่วน 02-126-6565 ขณะนี้มีผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อการใช้งานแล้ว มากกว่า 1 ล้านราย ซึ่งต้องชื่นชมทุกหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อน พร้อมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าใช้ระบบเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยให้นักเรียน ครู และบุคลากรทุกคน
 
ทั้งนี้ ศธ.ได้มุ่งเน้นกำชับให้ครูกระชับความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น ทำให้เข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนิสัยและชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองโดยตรง สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองไว้วางใจในการนำผู้เรียนมาอยู่ภายใต้การดูแลของครูผ่านการเยี่ยมบ้านนักเรียน ที่สำคัญเพื่อร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือนักเรียนที่อาจมีปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทันท่วงที อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง และมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัย
 
ด้านการแก้ไขปัญหาความรู้ถดถอย ศธ.จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักเรียน ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน “Screening Learning Loss” ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้เรียน ดำเนินการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย ด้วยการนำข้อมูลนักเรียนมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม อาทิจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม ชดเชย หรือกิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติมตามความถนัด ความสนใจ ความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และขอให้เพิ่มความสำคัญในวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อสร้างสำนึกของความเป็นไทย รักในการเป็นชาติไทย โดยจัดการเรียนรู้ตามความพร้อม และเหมาะสมในแต่ละบริบทพื้นที่

โดยนำการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning มาใช้ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข มีทักษะการคิด ซึ่งจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้และป้องกันเด็กนักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งโครงการพาน้องกลับมาเรียน ยังเป็นนโยบายสำคัญที่เดินหน้าต่อเนื่อง โดยติดตามเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้ได้มากที่สุด และทำให้การออกกลางคันเป็นศูนย์ (Zero Drop Out) ในปีการศึกษา 2565 นี้

นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม School Mental Health ที่เป็นคอยคัดกรองดูแลช่วยเหลือนักเรียนและครูในสถานศึกษา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมทั้งจะมีแผนเผชิญเหตุและผู้ให้คำปรึกษา เพื่อตรวจสภาพจิตใจของเด็กและครู ซึ่งสถานศึกษาทั่วประเทศสามารถประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้
 
อีกเรื่องที่สำคัญ คือ สถานศึกษาควรสำรวจความต้องการของนักเรียนที่จะจบชั้น ม.ต้น ในการศึกษาต่อสายอาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อม ให้คำแนะนำและส่งต่อเข้าสู่โครงการ “อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ครอบครัวประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่าย สำหรับหลักสูตรทวิศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและ ม.ปลาย เมื่อจบการศึกษาผู้เรียนจะได้รับวุฒิทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ ม.ปลาย และปวช. นั้น ตนได้มอบหมายให้ สพฐ. ร่วมกับ สอศ. จัดทำแผนระดับจังหวัดว่าควรจัดทวิศึกษารายวิชาใด ในโรงเรียนไหนให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยเป้าหมายระยะสั้น เน้นการเรียนการสอนทวิศึกษาในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์, โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ, โรงเรียนที่มีความพร้อม และศูนย์ศึกษาสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนในโครงการทวิศึกษา จำนวน 11,722 คน ศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศ 190 แห่ง
 
ในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA นั้น ขณะนี้มี PA Support Team ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินแบบใหม่ ซึ่งไม่เพียงแค่มีความทันสมัย รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ยังเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน ลดภาระ ลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขอเลื่อนวิทยะฐานะของคุณครูและบุคลากรทางการศึกษา ช่วยให้ครูไม่ต้องใช้เวลานอกห้องเรียนเพื่อไปทำเรื่องเกี่ยวกับทะเบียนประวัติอีกต่อไป ไม่ต้องเดินไกลเข้าส่วนกลางเพื่อยื่นเอกสาร สามารถส่งเป็นไฟล์เอกสารดิจิทัล และติดตามผลการประเมินได้ทางระบบเช่นเดียวกัน จะทำให้ครูมีเวลาอยู่ในห้องเรียนมากกว่าเดิม

“ฝากถึงผู้บริหารเขตพื้นที่และสถานศึกษา ผู้ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการเชื่อมโยงนโยบาย และสร้างความเข้าใจแก่ครู ไปสู่การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ขอให้ทุกฝ่ายเป็นพลังผลักดันขับเคลื่อนงาน รวมทั้งการประสานการทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเป้าหมายของการจัดการศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ”