วัฒนธรรมดองแหรก

วัฒนธรรมดองแหรก

                อารยธรรม หมายถึง ความเจริญของมนุษยชาติ มีพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการผลิตอาหาร คือ การเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ การหลอมโลหะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและการทำมาหากิน อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนเมือง มีการจัดระเบียบการปกครอง มีผู้ประกอบอาชีพเฉพาะด้านตามความชำนาญ มีระบบการขีดเขียนบันทึก หรือมีตัวหนังสือใช้ อารยธรรมเป็นผลรวมของความเจริญทางวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นความเจริญด้านใดด้านหนึ่ง

                อย่างไรก็ดี บางทีก็มีการเรียกความเจริญบางแห่งเป็นอารยธรรม เช่น อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในประเทศอินเดีย อารยธรรมอินคา ในทวีปอเมริกาใต้ แม้ว่ายังไม่มีการคิดประดิษฐ์ตัวอักษรอยู่ในระดับวัฒนธรรม เช่น แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง แต่ก็มีการเรียกว่า แหล่งอารยธรรมบ้านเชียงก็มี แม้ว่าผู้คนดั้งเดิมของบ้านเชียงกำลังเปลี่ยนแปลงชุมชนเมืองและยังไม่มีตัวหนังสือใช้ อย่างไรก็ดีในเวลาต่อมาได้มีการสร้างสมความเจริญจนถึงระดับอารยธรรม 

วัฒนธรรมดองแหรก

                ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้คนตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยโบราณ จึงมีแหล่งอารยธรรมหรือแหล่งวัฒนธรรมอยู่หลายแห่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                    1) แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน อยู่ที่ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จงหวัดกระบี่ มีความสำคัญคือ เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ตัวตรง (HOMO erectus)ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย คือ เมื่อประมาณ 37,000 ปีล่วงมาแล้ว พบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหิน สำหรับใช้ในการยังชีพด้วยการล่าสัตว์ และจับปลา

วัฒนธรรมดองแหรก

                    2).แหล่งวัฒนธรรมดองซองอยู่ที่ปากแม่น้ำแดง ในตังเกี๋ย หรือเวียดนามตอนเหนือ มีความสำคัญ คือ พบกลองมโหระทึก (มะ-โห-ระ-ทึก) หรือเรียกว่า กลองดองซองทำด้วยสำริด ซึ่งมีอายุประมาณ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว ฝีมือการทำกลองมโหระทึกยอดเยี่ยมมาก ทำลวดลายได้ละเอียดสวยงาม เป็นรูปสัตว์ นก ด้านบนทำเป็นรูปกบ 2 ตัว ซ้อนอยู่ที่ 4 มุม กลองมโหระทึกใช้ในพิธีกรรม เช่น ตีขอฝน กลองมโหระทึกของวัฒนธรรมดองซองพบแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ แสดงว่ามีการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นถึงหมู่เกาะของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วัฒนธรรมดองแหรก

                           ที่มารูปภาพ  : https://goo.gl/BcR1DP                                        

                    3) แหล่งวัฒนธรรรมบ้านเชียง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุราว 5,000 กว่าปีมาแล้ว บ้านเชียงมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงมาตั้งแต่โบราณ ชาวบ้านเชียงรู้จักการทำเกษตร เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ จากสำริดและเหล็ก ทำเครื่องมือเครื่องปั้นดินเผาลายขูดขีด ลายเชือกทาบและขัดมัน และภาชนะดินเผาลายเขียนสีรูปทรงและลวดลายต่าง ๆ มากมาย

                นอกจากนี้ ชาวบ้านเชียงยังรู้จักทำเครื่องจักรสาน ทอผ้า มีประเพณีการฝังศพ ฝังสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร รวมกับศพเพื่ออุทิศให้กับผู้ตาย เช่น ขวาน ใบหอก มีด ภาชนะดินเผาทั้งที่เขียนสีและไม่เขียนสี กำไลและสำริด เป็นต้น และจากการค้นพบแกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็ก การพบเครื่องมือสำริด ทำให้สามารถกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมบ้านเชียงมีความก้าวหน้ามาก รู้จักการใช้โลหะและปลูกข้าวที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก

                บ้านเชียงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2535 ด้วยเหตุผลที่คนบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้มีหลักฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนยุคนั้นให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เป็นอย่างดี

วัฒนธรรมดองแหรก

      ที่มารูปภาพ : https://goo.gl/jgehES

                    4).แหล่งอารยธรรมยะรัง อยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำปัตตานี ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความสำคัญ คือ เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่เคยเป็นเมืองท่าค้าขายระหว่างจีนกับอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 การขุดแต่งเมืองโบราณยะรัง แสดงให้เห็นว่า ผู้คนยะรังเริ่มมีพัฒนาการจากชุมชนเล็ก ๆ บริเวณนี้ ต่อมามีผู้คนเข้ามาอยู่มากขึ้นจนเติบโตเป็นเมือง เพราะความเจริญทางการค้า ชาวเมืองยะรังในสมัยนั้นจึงได้รับอิทธิพลอารยธรรมทวารวดีและนับถือพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า ลังกาสุกะตามที่มีหลักฐานปรากฏในเอกสารจีน ชวา มลายู และอาหรับ

วัฒนธรรมดองแหรก

เมืองโบราณยะรัง

ที่มารูปภาพ https://pantip.com/topic/33979904

วัฒนธรรมดองแหรก