การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ตัวอย่าง

  1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หมายความว่าอย่างไร 

(การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของสาร ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น 

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีของสารจะเหมือนเดิม 

แต่รูปร่างภายนอก อาจแตกต่างจากเดิม)

  2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี หมายความว่าอย่างไร 

(การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีสารใหม่เกิดขึ้น โดยสารใหม่ที่เกิดขึ้น 

มีองค์ประกอบและสมบัติทางเคมี  แตกต่างไปจากเดิม)

   การเปลี่ยนแปลงของสารในชีวิตประจำวันการเปลี่ยนแปลงใดบ้างจัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

และการเปลี่ยนแปลงใดบ้างจัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี                                  

(การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น การระเหิดของลูกเหม็น การระเหยของน้ำ 
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น การเกิดสนิมเหล็ก การระเบิดของประทัด)

   3.จงยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของสารที่นักเรียนเคยพบในชีวิตประจำวันมาอย่างละ 3 ตัวอย่าง 

(ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ  เช่น การกลายเป็นไอของน้ำ การระเหิดของลูกเหม็น 

การหลอมเหลวของน้ำแข็งตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น การเกิดสนิมของเหล็ก 

การบูดเน่าของอาหาร    การที่นักเรียนอมข้าวที่เคี้ยวไว้ แล้วรู้สึกว่ามีรสหวานเกิดขึ้น)

   จงบอกหลักและวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย 

(1.ต้องศึกษาสมบัติของสารเคมีที่จะใช้อย่างละเอียดก่อนใช้โดยศึกษาทั้งสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี              2. ใช้สารเคมีอย่างระมัดระวังที่สุด โดยปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด)

   การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี  เพราะเหตุใด

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ตัวอย่าง

   
   การเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนแต่ละคนยกตัวอย่างมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

(แตกต่างกัน คือ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างมีสารใหม่เกิดขึ้น บางอย่างไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น)
   การเปลี่ยนแปลงชนิดใดบ้างที่มีสารใหม่เกิดขึ้น
(การเผาไหม้ของเทียนไขมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ตั้งน้ำปูนใสทิ้งไว้จะมีตะกอนขาวขุ่นเกิดขึ้น 
การเกิดสนิมของโลหะ)
   4.ถ้านักเรียนจะจำแนกประเภทของการเปลี่ยนแปลงจะจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
(2 ประเภท คือ การเปลี่ยนแปลงที่หลังการเปลี่ยนแปลงมีสารใหม่เกิดขึ้น เรียกการเปลี่ยนแปลง              
ทางเคมี และการเปลี่ยนแปลงที่หลังการเปลี่ยนแปลงไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น เรียกการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ)
  5. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีแตกต่างกันอย่างไร
(การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจะทำให้สมบัติทางกายภาพของสารเปลี่ยนไป 
แต่องค์ประกอบ และสมบัติทางเคมีของสารจะเหมือนเดิม 
ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายหลังการเปลี่ยนแปลงจะมีสารใหม่เกิดขึ้น
ซึ่งสารใหม่ที่ได้จะมีองค์ประกอบ และสมบัติทางเคมีแตกต่างจากเดิม)

การเปลี่ยนแปลงสาร
           การเปลี่ยนแปลงสาร แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 
    
 - การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ( Physical Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวกับสมบัติกายภาพ โดยไม่มีผลต่อ องค์ประกอบภายใน และ ไม่เกิดสารใหม่ เช่น การเปลี่ยนสถานะ , การละลายน้ำ - การเปลี่ยนแปลงทางทางเคมี ( Chemistry Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางเคมีซึ่งมีผลต่อองค์ประกอบภายใน และจะมีสมบัติต่างไปจากเดิม นั่นคือ การเกิดสารใหม่ เช่น กรดเกลือ ( HCl ) ทำปฏิกิริยากับลวด แมกนีเซียม ( Mg ) แล้วเกิดสารใหม่ คือ ก๊าซไฮโดรเจน ( H2 )

การจัดจำแนกสาร 
          จะสามารถจำแนกออกเป็น 4 กรณี ได้แก่
          1. การใช้สถานะเป็นเกณฑ์
 
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 
          - สถานะที่เป็นของแข็ง ( Solid ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรคงที่ ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดติดกัน เช่น ด่างทับทิม ( KMnO4 ) , ทองแดง ( Cu ) 
          - สถานะที่เป็นของเหลว ( Liquid ) จะมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ และ มีปริมาตรที่คงที่ ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดกันน้อยกว่าของแข็ง และ มีสมบัติเป็นของไหล เช่น น้ำมัน , แอลกอฮอล์ , ปรอท ( Hg ) ฯลฯ 
          - สถานะที่เป็นก๊าซ ( Gas ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรที่ไม่คงที่ โดยรูปร่าง จะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคภายในจะอยู่ ห่างกันมากที่สุด และ มีสมบัติเป็นของไหลได้ เช่น ก๊าซหุงต้ม , อากาศ

          2. การใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ จะมีสมบัติทางกายภาพของสารที่ได้จากการสังเกตลักษณะความแตกต่างของเนื้อสาร ซึ่งจะจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
          - สารเนื้อเดียว ( Homogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารเหมือนกันทุกส่วน ทำให้สารมีสมบัติเหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น แอลกอฮอล์ , ทองคำ ( Au ) , โลหะบัดกรี 
          - สารเนื้อผสม ( Heterogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารแตกต่างกันในแต่ละส่วน จะทำให้สารนั้นมีสมบัติ ไม่เหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น น้ำอบไทย , น้ำคลอง ฯลฯ

          3. การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 
          - สารที่ละลายน้ำได้ เช่น เกลือแกง ( NaCl ) , ด่างทับทิม ( KMnO4 ) ฯลฯ 
          - สารที่ละลายน้ำได้บ้าง เช่น ก๊าซคลอรีน ( Cl2 ) , ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ฯลฯ
          - สารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น กำมะถัน ( S8 ) , เหล็ก ( Fe ) ฯลฯ

         4. การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ 

 จะจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 
          - สารที่นำไฟฟ้าได้ เช่น ทองแดง ( Cu ) , น้ำเกลือ ฯลฯ
          - สารที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น หินปูน ( CaCO3 ) , ก๊าซออกซิเจน ( O2 )