ต่อ ใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ราคา

ต่อ ใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ราคา

ต่อ ใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ราคา

ต่อใบขับขี่ชนิด 5 ปี ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ตอนที่แล้วได้พูดถึงขั้นตอนการต่ออายุใบขับขี่จากชนิดชั่วคราว 2 ปี เป็นชนิด 5 ปีไปแล้วนะคะ ย้ำอีกครั้งนะคะว่าใบขับขี่ในปัจจุบันได้ยกเลิกแบบตลอดชีพและใช้ชนิด 5 ปีทดแทน เพราะฉะนั้นเราจะมีนัดกับกรมการขนส่งทางบกทุกๆ 5 ปี สำหรับผู้ที่ใช้รถเป็นพาหนะในการเดินทางประจำอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไรเท่าไหร่ แต่สำหรับผู้ที่นานๆใช้ทีก็ต้องหมั่นตรวจสอบวันหมดอายุหน้าใบขับขี่อยู่เสมอนะคะ 

    เช่นกันกับ ใบขับขี่ชนิดชั่วคราว คือ หากไม่ต่ออายุหลังจากบัตรหมดอายุเกิน 1 ปี จะต้องเสียค่าปรับ แถมยังต้องเข้าทดสอบขับรถใหม่ ซึ่งก็คงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ดีเท่าไหร่ใช่มั้ยคะ นอกจากจะเสียเวลาในการมาติดต่อที่กรมการขนส่งทางบกเพิ่มขึ้นแล้ว (เพราะต้องเพิ่มเวลาทดสอบขับรถด้วย) ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดระหว่างการทดสอบอีก ซึ่งปัจจุบันสนามสอบภาคปฏิบัติหลายสนามโดยเฉพาะที่ สำนักงานขนส่งในกรุงเทพและปริมณฑล ได้ทำการเปลี่ยนระบบการตรวจการทดสอบจากการใช้เจ้าหน้าที่ มาเป็นระบบอิเลกทรอนิกส์ โดยใช้เซนเซอร์เป็นตัววัดการทดสอบ เรียกได้ว่าถ้าเกิดพลาดพลั้งขึ้นมาก็หมดสิทธิ์อุทรณ์ร้อยเปอร์เซนต์คะ


    ที่กล่าวมาทั้งหมดก็ไม่ไดมีเจตนาจะข่มขู่แต่อย่างใดนะคะ เพียงแต่ไม่อยากให้ท่านผู้ใช้รถใช้ถนนละเลยหรือมองข้ามกับเรื่องพื้นฐาน ที่อาจจะทำให้เราต้องเสียเวลาอันมีค่าไปกับความวุ่นวายและปวดเศียรเวียนเกล้าในการที่จะต้องลางานทั้งวันเพื่อไปจัดการให้เรียบร้อย ซึ่งถ้าไปต่อใบอนุญาตตามกำหนดแล้วรับรองได้เลยว่าใช้เวลาไม่เกินครึ่งวัน ท่านก็จะได้รับใบขับขี่ใบใหม่ที่ต่ออายุเรียบร้อยแล้วไปพกไว้ให้อุ่นใจอย่างแน่นอนคะ

สำหรับขั้นตอนการต่อใบอนุญาตชนิด 5 ปี เป็น 5 ปี มี ขั้นตอนดังนี้


เอกสารที่ต้องเตรียม
1.ใบขับขี่รถยนต์ชนิด 5 ปีใบเดิม
2. บัตรประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา


ขั้นตอนต่อไปเมื่อเอกสารพร้อมแล้วมีดังนี้
ขั้นที่ 1 ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ โดยให้ไปที่ฝ่ายทะเบียนใบอนุญาตของแต่ละสำนักงาน ยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการออกใบคำขอให้ จากนั้นก็นั่งรอเรียกชื่อต่อไปคะ
ขั้นที่ 2 ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ก็เป็นขั้นตอนเดียวกันกับตอนที่เราทดสอบเพื่อขอรับใบขับขี่คะ คือ ทดสอบการมองเห็นสี     สายตาทางลึก  ทางกว้าง  ทดสอบปฏิกิริยาเท้า การทดสอบนี้ก็เพื่อเป็นการวัดสมรรถภาพ ณ ปัจจุบัน ว่ายังคงมีความพร้อมในการขับขี่อยู่หรือไม่
ขั้นที่ 3 อบรมภาคทฤษฎีจำนวน 1 ชม. เพื่อเป็นการทบทวนมารยาทในการใช้รถใช้ถนน รวมไปถึงกฎจราจรต่างๆ

ขั้นที่ 4  ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่   หลังจากผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ไปที่ช่องชำระค่าธรรมเนียม เพื่อถ่ายรูปติดบัตรและชำระค่าธรรมเนียม 505 บาท ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ 


จากตอนที่แล้วซึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนใบอนุญาตจากชนิดชั่วคราว 2 ปี เป็นชนิด 5 ปี กับ การต่อใบอนุญาตจากชนิด 5 ปี เป็น 5 ปี มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนอยู่ 2 จุดใหญ่ๆ คือ


1. การเปลี่ยนใบอนุญาตจากชนิดชั่วคราว 2 ปี เป็นชนิด 5 ปี  ต้องใช้ใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานประกอบการยื่นเอกสาร ในขณะที่การต่อใบอนุญาตจากชนิด 5 ปี เป็น 5 ปี ไม่ต้องใช้
2. การเปลี่ยนใบอนุญาตจากชนิดชั่วคราว 2 ปี เป็นชนิด 5 ปี  จะไม่มีการอบรมภาคทฤษฎี ในขณะที่การต่อใบอนุญาตจากชนิด 5 ปี เป็น 5 ปี จะต้องเข้าอบรมภาคทฤษฎีเป็นเวลา 1 ชม. ค่ะ

ใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์หรือต้องการทำประกันรถยนต์ เราขอแนะนำประกันรถยนต์จากวิริยะประกันภัย ทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2129-7474

วิธีต่อใบขับขี่ ขั้นตอนการต่อใบขับขี่ อัปเดตล่าสุดปี 2565 สอบใบขับขี่ต้องทำยังไง ต่อใบขับขี่ใช้เอกสารอะไรบ้าง ทั้งใบขับขี่รถยนต์และใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ขั้นตอนการจองคิวทำใบขับขี่ ต่อใบขับขี่ล่วงหน้า หรือใบขับขี่หมดอายุไปแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง

ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับรถ คือเอกสารสำคัญสำหรับผู้ขับขี่รถทุกประเภทที่ต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาอย่างถูกต้อง หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ใครที่จะขับขี่รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ออกมาบนท้องถนน ก็ต้องไปสอบใบขับขี่ให้เรียบร้อยเสียก่อนนั่นเอง

ขณะที่ใบขับขี่นั้นมีกำหนดอายุการใช้งาน นั่นเท่ากับว่าผู้ขับขี่ทุกคนก็มีหน้าที่ต้องไปต่อใบขับขี่เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ฉะนั้นมาดูกันว่า การต่อใบขับขี่ต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ตั้งแต่การจองคิวใบขับขี่ จนถึงการเดินทางไปทำใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่ง เรื่องค่าใช้จ่ายในการทำใบขับขี่ รวมถึงข้อมูลในเรื่องอื่น ๆ ต้องมีข้อปฏิบัติอย่างไร โดยแบ่งรายละเอียดตามกรณีต่อไปนี้

  • การจองคิวต่อใบขับขี่
  • การต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี (เปลี่ยนจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี)
  • การต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี (ต่อชนิด 5 ปี เป็นชนิด 5 ปี)

ต่อ ใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ราคา

จองคิวต่อใบขับขี่

กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้ผู้ที่จะดำเนินการเกี่ยวกับใบขับขี่ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องทำการ จองคิวทำใบขับขี่ เพื่อเข้ารับการอบรมล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการขอใบอนุญาตขับขี่ชนิดชั่วคราวหรือทำใบขับขี่ใหม่ของผู้ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือการต่อใบขับขี่ประเภทต่าง ๆ โดยสามารถทำการจองผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

1. จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ ปัจจุบันน่าจะถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด โดยสามารถทำการจองผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือทำการจองทางเว็บไซต์ gecc.dlt.go.thของกรมการขนส่งทางบก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

2. จองคิวต่อใบขับขี่ทางโทรศัพท์ โดยติดต่อไปยังหมายเลขของสำนักงานขนส่งพื้นที่ต่าง ๆ

3. จองคิวต่อใบขับขี่ด้วยตนเอง โดยเดินทางไปยังสำนักงานขนส่งพื้นที่ต่าง ๆ

ต่อ ใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ราคา

ภาพจาก gecc.dlt.go.th

ต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี

การขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคล เปลี่ยนจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี หรือที่เรียกว่าต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี คือขั้นตอนหลังจากที่ทำใบขับขี่ครั้งแรกและได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้ว 1 ปี โดยการต่อใบขับขี่ครั้งต่อไปก็จะเป็นการขอรับใบขับขี่ชนิด 5 ปีนั่นเอง ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่ชนิด 5 ปี

1. ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

2. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์, ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว หรือไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่

3. ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือถูกลงโทษปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปในความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 6 เดือนแล้ว

               • ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย

               • ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น

               • ในลักษณะกีดขวางการจราจร

               • ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

               • โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

               • โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่น

4. ใบขับขี่ชั่วคราวต้องไม่หมดอายุมาเกินกว่า 1 ปี หากหมดอายุเกิน 1 ปี ต้องมีการทดสอบเพิ่มเติม

ต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ใช้เอกสารอะไรบ้าง

1. ใบขับขี่ชั่วคราวที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

2. บัตรประชาชนตัวจริง

3. ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอต่อใบขับขี่ไม่เกิน 1 เดือน

ขั้นตอนต่อใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ต้องสอบอะไรบ้าง

1. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ

2. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

               • ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ

               • ทดสอบสายตาทางลึก

               • ทดสอบสายตาทางกว้าง

               • ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรกเท้า)

3. ชำระค่าธรรมเนียม ถ่ายรูปติดใบขับขี่ และรับใบขับขี่ โดยค่าใช้จ่ายแบ่งเป็น ค่าคำร้อง 5 บาท และค่าธรรมเนียมใบขับขี่ตามแต่ละประเภท หากเป็นใบขับขี่รถยนต์ 500 บาท (รวม 505 บาท) ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ 250 บาท (รวม 255บาท)

หมายเหตุ หากใบขับขี่ชั่วคราวหมดอายุแล้วเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องสอบข้อเขียนใหม่ และหากหมดอายุเกิน 3 ปี ต้องเข้าอบรม, ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถใหม่ทั้งหมด

ต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี

สำหรับใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคล ทั้งใบขับขี่รถยนต์ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ และใบขับขี่รถจักรยานยนต์ มีอายุ 5 ปี ซึ่งการต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี มีหลักเกณฑ์ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ขอต่อใบขับขี่

1. เป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถบดถนน ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ หรือใบขับขี่รถชนิดอื่นอยู่เดิมแล้ว

2. ผู้ขอยังคงมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ถือใบขับขี่ชนิดนั้น ๆ

3. ใบขับขี่ฉบับเดิมต้องไม่หมดอายุมาเกินกว่า 1 ปี หากหมดอายุเกิน 1 ปี ต้องมีการทดสอบเพิ่มเติม

ต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี ใช้เอกสารอะไรบ้าง

1. ใบขับขี่เดิม หรือใบแทน

2. บัตรประชาชนฉบับจริง

3. ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอต่อใบขับขี่ไม่เกิน 1 เดือน

ขั้นตอนต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี ต้องสอบอะไรบ้าง

1. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ

2. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

  • ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
  • ทดสอบสายตาทางลึก
  • ทดสอบสายตาทางกว้าง
  • ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรกเท้า)

ต่อ ใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ราคา

3. ชำระค่าธรรมเนียม ถ่ายรูปติดใบขับขี่ และรับใบขับขี่ โดยค่าใช้จ่ายแบ่งเป็น ค่าคำร้อง 5 บาท และค่าธรรมเนียมใบขับขี่ตามแต่ละประเภท หากเป็นใบขับขี่รถยนต์ 500 บาท (รวม 505 บาท) ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ 250 บาท (รวม 255 บาท)

ใบขับขี่หมดอายุต้องต่อภายในกี่วัน

กรณีที่ ใบขับขี่หมดอายุ ในส่วนของใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ ใบขับขี่รถยนต์ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ และใบขับขี่รถจักรยานยนต์ สามารถยื่นคำขอใบอนุญาตใหม่ หรือทำการต่อใบขับขี่ โดยมีเงื่อนไขคือ

  1. หากใบขับขี่หมดอายุมาแล้วไม่เกิน 1 ปี สามารถยื่นคำขอต่อใบขับขี่ได้เลย
  2. หากใบขับขี่หมดอายุมาแล้วเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องสอบข้อเขียนใหม่
  3. หากใบขับขี่หมดอายุมาแล้วเกิน 3 ปี ต้องเข้ารับการอบรม สอบข้อเขียนใหม่ และทดสอบขับรถใหม่ทั้งหมด รวมทั้งต้องยื่นเอกสารใบรับรองแพทย์เพิ่มเติมด้วย

ทําใบขับขี่ต้องอายุเท่าไหร่

กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอทำใบขับขี่ประเภทต่าง ๆ ต้องมีอายุตามเกณฑ์ ดังนี้

  • ใบขับขี่ส่วนบุคคล ได้แค่ ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ และใบขับขี่รถยนต์ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
  • แต่หากเป็นการขอใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ชั่วคราว สำหรับมอเตอร์ไซค์ที่มีขนาดกระบอกสูบไม่เกิน 110 ซี.ซี. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
  • ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
  • ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ และใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี
  • ใบขับขี่รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และใบขับขี่รถประเภทอื่น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

เอกสารต่อใบขับขี่ ใช้อะไรบ้าง

  • บัตรประชาชน
  • ใบขับขี่เดิมที่หมดอายุ
  • ใบรับรองแพทย์ใบขับขี่

หมายเหตุ - กรมการขนส่งทางบกได้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการต่อใบขับขี่ และทำใบขับขี่ ทุกประเภท ต้องใช้ใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารประกอบด้วย รวมถึงการต่อใบขับขี่ 5 ปี เป็น 5 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

ต่อ ใบขับขี่ 2 ปี เป็น 5 ปี ราคา

ภาพจาก dlt.go.th

ใบรับรองแพทย์ (สำหรับใบอนุญาตขับรถ)

การต่อใบขับขี่กรณีใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี หรือเกิน 3 ปี

สำหรับการต่อใบขับขี่ในกรณีที่ใบขับขี่หมดอายุมาแล้วเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องสอบข้อเขียนใหม่ แต่หากหมดอายุมาแล้วเกิน 3 ปี ต้องเข้ารับการอบรม สอบข้อเขียนใหม่ และทดสอบขับรถใหม่ทั้งหมด ซึ่งตามหลักเกณฑ์ใหม่ ทั้ง 2 กรณีต้องยื่นเอกสารใบรับรองแพทย์ประกอบด้วย สามารถจองคิวอบรมล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เพื่อระบุวัน เวลา และสถานที่ที่ต้องการ

  หลักฐานสำหรับการต่อใบขับขี่กรณีขาดต่อเกิน 1-3 ปี

  • บัตรประชาชนฉบับจริง

  • ใบขับขี่เก่า (ถ้ามี)

  • ใบรับรองแพทย์ ที่ออกในช่วงเวลาไม่เกิน 1 เดือน

อบรมใบขับขี่ออนไลน์ มีขั้นตอนอย่างไร ใครต้องอบรมบ้าง

          กรมการขนส่งทางบกได้เปิดระบบการอบรมต่ออายุใบอนุญาตขับรถ หรือ ใบขับขี่ ผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์ผ่านระบบ e-Learning ซึ่งสามารถดำเนินการเข้ารับการอบรมได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ จากที่บ้าน แทนการเข้ามาอบรมที่สำนักงานเพื่อเป็นการลดขั้นตอนในการดำเนินการที่สำนักงานฯ รวมไปถึงช่วยลดจำนวนคิวรอเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น แต่คนที่จะสามารถเข้าอบรมได้ต้องเป็นผู้ที่ต่อใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถหมดอายุเท่านั้น ใครที่ทำใบขับขี่ใหม่หรือยังไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อนต้องจองคิวเข้าไปดำเนินการอบรมที่สำนักงานขนส่งฯ เท่านั้น โดยสามารถดูขั้นตอนและวิธีการเพิ่มเติมได้ที่ : อบรมใบขับขี่ออนไลน์ 2565 มีขั้นตอนและวิธีการอบรมอย่างไร ใครต้องอบรมบ้าง

กรมการขนส่งทางบกประกาศเปิดทำใบขับขี่ที่สำนักงาน

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้ประกาศพร้อมให้บริการด้านใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ ในส่วนที่ไม่ต้องมีการอบรมในสำนักงาน ซึ่งผู้เข้ารับบริการต้องจองคิวต่อใบขับขี่ล่วงหน้าผ่านทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue รวมถึงการให้บริการด้านทะเบียนและภาษีรถที่สำนักงานขนส่งที่กลับมาเปิดให้บริการตามปกติเช่นกัน

หมายเหตุ - ใบขับขี่ จะหมดอายุตามวันที่ระบุ ซึ่งจะตรงกับวันที่ทำ โดยสามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ 6 เดือน ​ก่อนถึงวันหมดอายุ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : กรมการขนส่งทางบก