การเปลี่ยนแปลงองค์กร ตัวอย่าง

การเปลี่ยนแปลงองค์กร ตัวอย่าง

การเปลี่ยนแปลงองค์การอาจแยกวิเคราะห์ได้ 3 แบบ ดังนี้

            1  การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในองค์การ องค์การที่ก่อตั้งขึ้นแล้วย่อมเจริญเติบโตขึ้น หรือบางครั้งอาจประสบปัญหาเป็นครั้งคราว และอาจเสื่อมไปในที่สุด ดังนั้นจึงควรหาทางปรับปรุงองค์การเพื่อรักษาองค์การให้เจริญก้าวหน้าตลอดไป นั่นคือการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงหรือเปลี่ยนผู้บริหารระดับรองลงไป หรืออาจเปลี่ยนแปลงบุคคลระดับปฏิบัติการเพื่อให้องค์การดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

            2  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การ การจัดรูปแบบองค์การใหม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์การทางธุรกิจ ซึ่งมักจะทำเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน เช่น ยอดขายตกต่ำ บริษัทประสบปัญหาขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี เป็นต้น

            3  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานหรือเทคโนโลยี เช่น การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในองค์การ จึงเป็นเหตุให้มีการปรับปรุงองค์การเพื่อรับกับเทคโนโลยีใหม่นั้น ตัวอย่างเช่น การจ้างบริษัทรับทำความสะอาดเป็นรายปีแทนที่จะจ้างคนงานประจำทำความสะอาด เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงองค์กร ตัวอย่าง

ที่มา:http://clubpattana.com/2016/09/13/od-is-innovative-of-work/

    3.1 การพัฒนาองค์การ

             1 ความหมายของการพัฒนาองค์การ

            การพัฒนาองค์การ คือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

               2 ประเภทของการพัฒนาองค์การ 

การพัฒนาองค์การโดยทั่วไปนั้นจะแก้ปัญหาขององค์การ  2 แบบ คือ การพัฒนาทางด้านโครงสร้างและการพัฒนาทางด้านกระบวนการในการดำเนินงาน

           2.1 การพัฒนาทางด้านโครงสร้าง จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การ เช่น การตัดสินใจยุบแผนกจากเดิม  5 แผนก ลดลงเหลือ 3 แผนก เท่านั้น แล้วตั้งแผนกงานขึ้นมาใหม่ การเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานจากวันละ 8 ชั่วโมงทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มเป็นวันละ 9 ชั่วโมง

           2.2  การพัฒนาทางด้านกระบวนการในการดำเนินงาน เป็นการปรับปรุงเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือทัศนคติ ของพนักงาน ได้แก่ การนำเครื่องจักรใหม่มาใช้ การเปลี่ยนพฤติกรรมของหัวหน้าคนงานที่ การให้คนงานรับผิดชอบงานเป็นกลุ่ม การปรับปรุงระบบการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ การสร้างทีมงาน การเปลี่ยนพฤติกรรมของบริหารในองค์การ

สรุป 

                   เมื่อองค์การจัดตั้งขึ้น  ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ต้องเข้าใจถึง  วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ความเชื่อ หรือค่านิยม หรือฐานคติที่  มีร่วมกันในองค์กร ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมหรือองค์กร องค์การตั้งขึ้นย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ได้แก่ การเติบโตขององค์การการขยายขนาดขององค์การให้ใหญ่ขึ้นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง  เนื่องจากในกระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization)  และสภาวะธุรกิจไร้พรมแดน  เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ขึ้นพร้อมกัน 3 ด้าน  คือ ด้านเทคโนโลยี (Technology)  ด้านเศรษฐกิจ (Economics)  ด้านการเมือง (Polities)  เมื่อองค์การมีการพัฒนาย่อมมีการเปลี่ยนแปลง  การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น องค์การสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้ 3 แบบ การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในองค์การ  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การ และการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานหรือเทคโนโลยี

                  ส่วนการพัฒนาองค์การ คือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

การเปลี่ยนแปลงในองค์กรคืออะไร

(Organizational Change) การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมาย ถึง การเคลื่อนไหวขององค์การออกจาก สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสู่บางสิ่งที่ปรารถนา ในอนาคตเพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพ ขององค์การ สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้องค์การต้องมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเพราะว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมี

การเปลี่ยนแปลงในองค์กรมีอะไรบ้าง

คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น การสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ การเปลี่ยนตำแหน่งงาน การเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนหัวหน้า การรับช่วงกิจการต่อจากพ่อสู่ลูก การขยายตัวของธุรกิจ ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงจากภายในนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถควบคุมได้ เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงประเภทนี้จะอยู่ที่แนวทางการบริหารงานของแต่ละ ...

การเปลี่ยนแปลงขององค์กร มีกี่ระดับ

การเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) นักจิตวิทยาชื่อดัง ได้แบ่งขั้นตอนของกระบวนการ ให้การเปลี่ยนแปลง ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreezing) ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Changing) และระยะรักษาสภาพใหม่ให้อยู่กับองค์การได้ถาวร (Refreezing)

การเปลี่ยนแปลงมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไรบ้าง

1. ช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียทรัพยากรองค์กร เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เงินทุน ทักษะ เวลา กำลังคน และทรัพยากรอื่น ๆ 2. ทำให้ผู้บริหารองค์กร ธุรกิจมองปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างรอบคอบและครบทุกมิติ 3. ทำให้ผู้บริหารองค์กร ธุรกิจมีความตื่นตัวสูงในการที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลง