การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์

“ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด” เชื่อว่ามีเพื่อนๆหลายคนที่ยังคงสงสัยกันอยู่ว่าระบบจ่ายน้ำมันแบบนี้มันมีดียังไง แล้วมันดีกว่าแบบคาร์บูเรเตอร์ที่เราใช้กันมาตั้งแต่รู้จักคำว่ารถมอเตอร์ไซค์อย่างไรกันแน่ ดังนั้น ในวันนี้เราก็จะพาเพื่อนๆไปไขคำตอบกันครับ

การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์

เริ่มจาก ระบบคาร์บูเรเตอร์ สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะทำงานด้วยหลักการง่ายๆ คือ อาศัยแรงดูดอากาศภายในเสื้อสูบยามที่ลูกลูกสูบเคลื่อนที่ลง เป็นตัวดึงละอองน้ำมันจากคาร์บูเรเตอร์ ให้ออกมาผสมกับอากาศที่ไหลผ่านพอร์ทไอดีของตัวคาร์บูเรเตอร์ โดยหากผู้ขี่ต้องการจะให้คาร์บูเรเตอร์จ่ายน้ำมันเข้ามาผสมกับอากาศได้เยอะขึ้น เพื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ ก็เพียงแค่ควบคุมขนาดปากท่อสำหรับไหลเวียนอากาศของคาร์บูเรเตอร์ให้กว้างขึ้น เพื่อเปิดทางให้อากาศไหลเวียนเข้าได้มากกว่าเดิม และควบคุมรูระบายน้ำมันให้เปิดกว้างขึ้นเช่นกันเพื่อที่มันจะได้ระบายน้ำมันออกมาผสมกับอากาศได้มากขึ้นเพียงแค่นั้น

การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์

ส่วน ระบบหัวฉีด จะไม่ได้อาศัยแรงดูดของเครื่องยนต์ เป็นตัวดึงน้ำมันจากหัวฉีด แต่จะอาศัยปั๊มไฟฟ้าแรงดันสูง หรือที่เรียกกันเล่นๆว่า ปั๊มติ๊ก ซึ่งอยู่ในถังน้ำมัน (ส่วนใหญ่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์) เป็นตัวอัดฉีดน้ำมันไปยังหัวฉีดที่ติดตั้งอยู่บริเวณจุดใดจุดหนึ่งของพอร์ทไอดีก่อนเข้าห้องเผาไหม้ ซึ่งอัตราการจ่ายน้ำมันของหัวฉีดนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับกล่อง ECU ว่าอยากให้หัวฉีดเปิดระบายน้ำมันไปผสมกับอากาศที่เข้ามาจากลิ้นปีกผีเสื้อมากแค่ไหน แต่การที่หัวฉีดจะสั่งจ่ายน้ำมันได้ มันก็จะต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆมาอ้างอิงด้วยอีกหลายอย่าง หลักๆก็คือ รอบเครื่องยนต์ กับ ปริมาณอากาศขาเข้า และ/หรือถ้าจะให้ละเอียดยิ่งขึ้นก็ต้องมีการวัดประมาณออกซินเจนในไอเสียหลังจากเผาไหม้เพิ่มเข้าไปอีก เพื่อให้มันทำงานได้แม่นยำมากขึ้น

การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์

ดังนั้น ข้อดีของระบบคาร์บูเรเตอร์ จึงเป็นเรื่องของความเรียบง่าย และความไม่ซับซ้อนของตัวระบบ เนื่องจากทำงานได้ด่้วยระบบกลไกล้วนๆ ช่างที่ไหนก็สามารถซ่อมได้ ไม่ว่าจะอู่เล็กหรืออู่ใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถปรับจูนได้ง่ายๆ เพียงแค่ขันน็อตปรับ หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนด้านในเพียงไม่กี่อย่างเช่น นมหนู เป็นต้นเท่านั้น

การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์

แต่แน่นอนว่าข้อเสียของมันก็คือ มันจะจ่ายน้ำมันได้ไม่ละเอียดเท่าไหร่นัก ทั้งในเรื่องขนาดละอองน้ำมัน และส่วนผสมกับอากาศ จึงทำให้อาจจะสูญเสียเชื้อเพลิงไปกับการเผาไหม้มากไปโดยใช่เหตุ นอกจากนี้ด้วยความที่อัตราการจ่ายน้ำมันค่อนข้างคงที่ต่อปริมาณอากาศที่ไหลเข้า ทำให้หากตัวแปรอย่างความหนาแน่นอากาศเปลี่ยนไป เช่นบนพื้นที่เขาสูงๆ เครื่องยนต์ก็อาจจะทำงานได้ไม่ปกติอย่างที่ควรจะเป็น

การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์

ขณะที่ข้อดีของระบบหัวฉีดนั้นก็จะตรงกับข้ามกับคาร์บูเรเตอร์ เพราะอย่างที่เราเกริ่นไว้ข้างต้น ว่าระบบนี้ จะจ่ายน้ำมันโดยอาศัยค่าหลายๆอย่างมาเป็นตัวอ้างอิง ดังนั้นความแม่นยำในเรื่องการจ่ายส่วนผสมของเชื้อเพลิงต่ออากาศในแต่ละช่วงเวลาที่ใช้งานย่อมมีความแม่นยำกว่า และแปรผันอัตราการจ่ายน้ำมันตามสภาพอากาศภายนอกได้ ครอบคลุมกว่า (ถ้ามีการติดตั้ง ออกซิเจนเซนเซอร์)

การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์
แถมด้วยความที่น้ำมันซึ่งถูกฉีดออกมาจากหัวฉีดนั้น มีความเป็นฝอยละอองที่ละเอียดมากกว่า จึงช่วยทำให้มันสามารถจุดระเบิดได้ทั่วถึง รุนแรง และหมดจดมากยิ่งขึ้น ทำให้แม้จะจ่ายน้ำมันออกไปในปริมาณที่เท่ากันกับคาร์บูเรเตอร์ แต่แรงระเบิดที่ได้ก็จะสูงกว่าโดยปริยาย หรือถ้าอยากให้ได้แรงเท่ากัน ปริมาณน้ำมันที่ฉีดออกไปผสมกับอากาศ ก็จะน้อยกว่าแทน

การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์
ส่วนข้อเสียของระบบหัวฉีด ก็คือความซับซ้อนของตัวมัน และความที่ใช้ระบบไฟฟ้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้หากระบบไฟ หรือชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบมีปัญหาขึ้นมา เราก็อาจจะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้นๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถซ่อมแซมไปได้ (แต่ก็ไม่ได้พังง่ายๆนะครับ ชิ้นส่วนระบบหัวฉีดเนี่ย) แถมถ้าจะปรับจูนอัตราการจ่ายน้ำมันของหัวฉีด ก็มีแต่จะต้องเชื่อมต่อกล่อง ECU เข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อเซ็ทค่าใหม่เท่านั้น จะเซ็ทแบบงูๆปลาๆก็ไม่ได้ เนื่องจากค่าและตัวแปรต่างๆในกล่อง ECU เป็นค่าที่ค่อนข้างมีความเฉพาะเจาะจงและละเอียดอ่อน ดังนั้นผู้ที่จะปรับจูนมันได้ จึงต้องเป็นผู้ที่เคยอบรมหรือศึกษาเรื่องการปรับเซ็ทมาก่อนเท่านั้น

การทํางานของหัวฉีด มอเตอร์ไซค์
สนับสนุน Tips Trick ในครั้งนี้โดย GPX Demon 150 GR Fi สามารถอ่านรีวิวได้ที่นี่
อ่าน Tips Trick เทคนิคที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

หัวฉีดทํางานอย่างไร

หัวฉีดก็คือส่วนประกอบหนึ่งของเครื่องยนต์ที่ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปยังห้องเผาไหม้เพื่อทำการจุดระเบิด ปล่อยแรงดันให้เป็นละอองฝอยไปยังห้องเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนได้อย่างเต็มกำลัง💦

หัวฉีดเบนซิน ทํางานอย่างไร

หัวฉีด” (Electronic Fuel Injection: EFI) เป็นอุปกรณ์จ่ายน้ำมันแก๊สโซลีน (เบนซิน) เข้าไปยังห้องเผาไหม้ โดยหัวฉีดจะจ่ายเชื้อเพลิงออกมาเป็นฝอยละเอียดเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง ภายใต้การควบคุมการฉีด ที่แม่นยำของกล่องECU ทำให้ประหยัดกว่าระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์

หัวฉีดช่วยอะไร

หัวฉีดรถยนต์ หรือ Electronic Fuel Injection (EFI) คือ ส่วนประกอบส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์ ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังห้องเผาไหม้เพื่อจุดระเบิด ปล่อยแรงดันให้เกิดเป็นละออง เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถขับเคลื่อนได้เต็มกำลังและมีประสิทธิภาพรวมถึงประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าด้วย แต่เนื่องจากเป็นอุปกรณ์เล็ก ๆ ภายในเครื่องยนต์ ...

Injector ควบคุมการทำงานอย่างไร

ในการทำงานของหัวฉีดนี้ มันจะทำงานด้วยการควบคุมจากกล่อง ECU โดยจ่ายสัญญาณกราวด์ให้ และขดลวดทองแดงในหัวฉีดจะทำงานโดยการสร้างสนามแม่เหล็ก และใช้แรงนี้ยกเข็มหัวฉีด จากนั้นแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงที่รออยู่ที่บริเวณเข็มหัวฉีด ก็จะสามารถฉีดออกไป บริเวณด้านหลังวาล์วไอดีก็จะเกิดเป็น ไอดี ซึ่ง ไอดี คือส่วนผสมของอากาศและน้ำมัน ...