วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จัดพิธีมหาปวารณา

วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จัดพิธีมหาปวารณา

รายละเอียด

    วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นระยะเวลาสิ้นสุดการจำพรรษา 3 เดือน ของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา” แปลว่า "อนุญาต” หรือ "ยอมให้” ซึ่งในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะชุมนุมกันประกอบพิธีกรรมพิเศษ เรียกว่า พิธีมหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุทุกช่วงอาวุโสได้วิพากษ์วิจารณ์ว่ากล่าวตักเตือนกัน และยังเปิดโอกาสให้มีการซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน และเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับคืนสู่โลกมนุษย์ หลังจากขึ้นไปจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครบถ้วนไตรมาส ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดาในเทวโลก ครั้นถึงวันมหาปวารณา จึงเสด็จกลับคืนมายังโลกมนุษย์โดยบันไดสวรรค์ ลงมาที่เมืองชื่อ สังกัสสะ แคว้นปัญจาละ วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า "วันเทโวโรหณะ” ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถือกันว่าเป็นวันบุญใหญ่ โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระเจ้าเปิดโลก” เพราะการเสด็จกลับลงมาในครั้งนั้นทำให้เกิดปรากฏการณ์ "โลกวิวรณปาฏิหาริย์” หมายถึง โลกทั้งสาม คือ โลกมนุษย์ นรก และสวรรค์ สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้

    กิจกรรมวันออกพรรษา

- การทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ หรือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ทำขึ้นหลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก และสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตักบาตรดาวดึงส์ โดยอาหารที่นิยมนำมาใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด ข้าวต้มลูกโยน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว โดยตามพุทธประวัติเล่าว่า พุทธบริษัทได้พร้อมใจกันใส่บาตรจนมีผู้คนแออัดมาก ไม่สามารถเข้าถึงพระสงฆ์และพระพุทธองค์ได้ จึงมีการเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้น ๆ บ้างแล้วโยนเข้าไปถวาย นี่เองจึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์การทำข้าวต้มลูกโยนขึ้นเป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะในโลกมนุษย์ ให้เหมือนครั้งพุทธกาล เรียกว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ โดยทางวัดต่างๆ จะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ขึ้นไปพำนักบนที่สูงของวัดก่อน แล้วเมื่อถึงเวลามงคลฤกษ์จึงค่อยนิมนต์ให้เดินเรียงแถวลงมาจากที่สูงให้ประชาชนทั้งหลายได้มองเห็นและตั้งใจใส่บาตรกันทางเบื้องล่างเลียนแบบภาพการเสด็จลงจากดาวดึงส์ของพระพุทธองค์ นที่ราชการ อีกทั้งประดับธงชาติ ธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา และควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยายธรรมเกี่ยวกับวันออกพรรษา ให้ความรู้แก่ประชาชน และผู้ที่สนใจทั่วไป    

- ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาตผู้ล่วงลับ

- ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา

- ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถา

คำสำคัญ

ความเป็นอยู่และประเพณี

รายการอ้างอิง

  1. อภินันท์ บัวหภักดี. (2562). เทศกาลออกพรรษา ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง. สืบค้นเมื่อ 16  กันยายน 2563, จาก http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=4564&filename=index

หัวข้อ :: วันออกพรรษา

 วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์

     วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน  ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

     วันออกพรรษา เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน

วันออกพรรษาหรือวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก

       ในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา (3เดือน) ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน และ บันไดทอง และ บันไดแก้ว ซึ่งสักกเทวราช (พระอินทร์) ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ที่ ประตูเมืองสังกัสนคร ที่นั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนต่างมารอรับตักบาตรภัตตาหารกันอย่างเนืองแน่นชาวพุทธจึงยึดถือปรากฎการณ์ในวัน แรม1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ เรียก “วันเทโวโรหณะ” และ วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก เพราะวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และ บาดาล (นรก) ต่างสามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง 3 โลก

วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จัดพิธีมหาปวารณา

วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

หลังจากทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา

ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา

 เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตุวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแย้งกันจนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร)  เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า

     “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”
 

ความสำคัญของวันออกพรรษา

วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลดังนี้ 

      1. หลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

      2. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน

      3. ใน

วันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน

      4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย

     วันออกพรรษาเป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรง ที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญ มักนิยมไปทำทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ

     นอกจากนี้ ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ประเพณีตักบาตรเทโว”

วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จัดพิธีมหาปวารณา

วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลก

ทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ

     คำว่า “ตักบาตรเทโว” มาจากคำเต็มว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ”  คือการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ) ที่ต้นมะม่วงใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ 7 บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน ครั้นออกพรรษาแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ

วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จัดพิธีมหาปวารณา

หลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

      ในเทศกาลออกพรรษา มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติ คือ ปวารณา การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

       1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมมูล

2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจดังมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้ การปวารณา จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยงานราชการ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมวันออกพรรษา

     1. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ

     2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในวันออกพรรษา และสามารถเลือกสรรหลักธรรม คือปวารณา ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนและสังคม

     3. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา

     4. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา

5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้อง

วันออกพรรษา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา