เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ

ภูมิลักษณ์ของทวีปอเมริกาเหนือ

            ภูมิลักษณ์หรือลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือนั้น ไม่สลับซับซ้อนมากนัก หากมองจากทิศเหนือลงมาสู่ทิศใต้สามารถแบ่งตามลักษณะทางธรณีวิทยา ได้เป็น 5 เขต ได้แก่

                 1. เขตกลุ่มเทือกเขาสูงภาคตะวันตก

                 2. เขตหินฐานทวีปคะเนเดียน

                 3. เขตที่ราบใหญ่

                 4. เขตเทือกเขาด้านทิศตะวันออก

                 5. เขตหมู่เกาะเวสต์อินดีสหรือหมู่เกาะในทะเลแคริเบียน


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


แผนที่แสดงเขตของภูมิลักษณ์หรือลักษณะทางกายภาพของทวีปอเมริกาเหนือ

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/SO_M3_10_4.png


1. เขตกลุ่มเทือกเขาสูงภาคตะวันตก

            เป็นเขตเทือกเขาสูงที่สลับซับซ้อนกันหลายแนวที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกที่มีอายุน้อย จึงเป็นเขตที่มักเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหว มีอาณาบริเวณตั้งแต่ตอนเหนือสุดของช่องแคบแบริงจนถึงประเทศปานามา ได้แก่ เทือกเขาอะแลสกา มียอดเขาสูงสุดในทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อ ยอดเขาแมกคินลีย์ (6,190 เมตร) เทือกเขารอกกี เทือกเขาแคสเกต เทือกเขาเซียราเนวาดา เทือกเขาเซียรามาเดร และเทือกเขาโคสต์  ระหว่างเทือกเขาสูงเหล่ามีที่ราบสูงระหว่างเทือกเขาที่สำคัญ คือ ที่ราบสูงอะแลสกา ที่ราบสูงบริติชโคลัมเบีย ที่ราบสูงเกรตเบซิน ที่ราบสูงโคโลราโด และที่ราบสูงเม็กซิโก โดยเฉพาะที่ราบสูงโคโลราโด มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นโกรกธาร หุบเหวลึก มีหน้าผาสูงชัน ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลของแม่น้ำโคโลราโด ทำให้เกิดการกัดเซาะดินและชั้นหิน เกิดเป็นภูมิประเทศที่สวยงาม ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ แกรนด์แคนยอน (Grand Canyon) ในมลรัฐแอริโซนา และมีอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงมาก คือ อุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน เป็นอุทยานน้ำพุร้อนกีเซอร์ รวม 120 แห่ง


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


http://www.mapsofworld.com/physical-map/maps/north-america-physical-map.jpg


2. เขตหินฐานทวีปคะเนเดียน

          เขตหินฐานทวีปคะเนเดียนหรือเขตหินเก่าแคนาดา (Canadian Shield หรือ Laurentian Shield) ได้แก่ พื้นที่บริเวณรอบอ่าวฮัดสันลงมาจนถึงทะเลสาบทั้ง 5  เป็นเขตหินเก่าเช่นเดียวกับบอลติกชิลด์ในทวีปยุโรปประกอบด้วยหินเปลือกโลกเก่าแก่และผ่านการสึกกร่อนมานาน ลักษณะของพื้นที่จึงเป็นที่ราบเกือบทั้งหมดและอยู่ในเขตอากาศหนาวจัด ทางตอนเหนือมีเกาะใหญ่น้อยมากมาย บางแห่งเป็นทะเลสาบที่ตื้นเขิน มีป่าสนขึ้นแทน พื้นที่ส่วนใหญ่มีธารน้ำแข็ง ปกคลุม มีอากาศหนาวเย็น ประชากรอาศัยอยู่เบาบาง ส่วนใหญ่เป็นพวกเอสกิโม ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยด้วยน้ำแข็ง เรียกว่า อิกลู” Igloo และเป็นเขตที่มีน้ำตำไนแอการา ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


ภาพ เขตหินฐานทวีปคะเนเดียนหรือเขตหินเก่าแคนาดา (Canadian Shield หรือ Laurentian Shield)

ที่มา : http://paleoportal.org/media/boilerplate/0/25873_period_per_map_17_image.jpg


3. เขตที่ราบใหญ่

            เขตที่ราบใหญ่ (Great plaints) เป็นเขตที่ราบภาคกลาง อันกว้างใหญ่ มีอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือลงมาจนถึงอ่าวเม็กซิโกทางตอนใต้ และระหว่างเทือกเขารอกกีกับเทือกเขาแอปปาเลเชียน ประกอบด้วยชั้นหินที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบลูกคลื่น คือ บริเวณที่สูงจะอยู่ตอนเหนือและเขตติดต่อกับเทือกเขารอกกี บริเวณตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ ประกอบด้วยเขตที่ราบ 6 เขต คือ

                    1. ที่ราบลุ่มแม่น้ำแมกเคนซี (Mackenzie Lowlands) อยู่ตอนเหนือสุดระหว่างเขตหินเก่าแคนาดากับเทือกเขาแมกคินลีย์ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแคบๆ มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง เนื่องจากมีอากาศหนาวเย็น


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


แผนที่แสดงที่ตั้งเขตลุ่มแม่น้ำแมกเคนซี

ที่มา : http://www.bizbilla.com/country-maps/maps/canada-map-physical.jpg


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


ภาพ แผนที่แสดงอาณาบริเวณเขตลุ่มแม่น้ำแมกเคนซี

ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/53/Mackenzierivermap.jpg/256px-Mackenzierivermap.jpg


                   2. ที่ราบแพร์รีแคนาดา (Canadian Prairie) เป็นที่ราบใหญ่อยู่ทางภาคกลางของแคนาดา

ได้แก่ บริเวณรัฐแมนิโทบา ซัสแคตเชวัน แอลเบอร์ทา เป็นเขตปลูกข้าวสาลีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


แผนที่แสดงอาณาบริเวณที่ราบแพร์รี่แคนนาดา

ที่มา : http://static1.1.sqspcdn.com/static/f/362075/6428426/1270534585480/PrairiePotholeRegionMap.gif?token=WHuyv0k8u8dYzOmDKA0CFbuhjTU


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


แผนที่แสดงอาณาบริเวณที่ราบแพร์รี่แคนนาดา

ที่มา : http://www.geoatlas.com/medias/maps/continents/north%20america/n166506t1a/north_america_phy.jpg


                    3. ที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ (Great Lakes and St.Lawrence) ทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ ทะเลสาบสุพีเรีย (ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก) มิชิแกน ฮูรอน อีรี และออนแทริโอ เป็นแหล่งน้ำที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และระหว่างทะเลสาบอีรีกับออนแตริโอมีน้ำตกขนาดใหญ่ ชื่อว่า น้ำตกไนแอการาและที่ชายฝั่งทะเลสาบออนแตริโอ มีทางระบายซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก เขตที่ราบรอบทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ มีดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก และเป็นบริเวณที่การขนส่งทางน้ำภายในทวีปสำคัญที่สุดในโลก จึงเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


ภาพ แผนที่แสดงอาณาบริเวณที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5

และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ (Great Lakes and St.Lawrence)

ที่มา : http://www.ezilon.com/maps/images/North-America-physical-map.gif


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ

ภาพ แผนที่แสดงอาณาบริเวณที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5

และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ (Great Lakes and St.Lawrence)

ที่มา : https://greatlakesinform.org/sites/default/files/Map_GLWhole_InlandAquatic_0.jpg


                 4. ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี (Mississippi-Missouri Plain) เป็นที่ราบที่เกิดจากแม่น้ำพัดเอาดินตะกอนมาทับถมเป็นบริเวณกว้าง เหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่ แม่น้ำมิสซิสซิปปี ซึ่งมีความยาวที่สุดในอเมริกาเหนือ ยาว 3,779 กิโลเมตร ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก และมีแม่น้ำสาขา คือ แม่น้ำมิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอส์  เป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นแห่งหนึ่งของอเมริกาเหนือ


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


ภาพ แผนที่แสดงอาณาบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี (Mississippi-Missouri Plain)

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/SO_M3_10_4.png


                   5. ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก (Gulf Coast and Atlantic Plain)  มีบริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาแอปปาเลเชียนลงไปทางใต้ถึงอ่าวเม็กซิโก โดยเฉพาะที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกเป็นเขตที่มีอากาศร้อน จึงเหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน เช่น ยาสูบ ข้าวเจ้า ฝ้าย ผลไม้ต่างๆ


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


ภาพ แผนที่แสดงอาณาบริเวณที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก

และชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก (Gulf Coast and Atlantic Plain)

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/SO_M3_10_4.png


          6. ที่ราบบนที่สูง (High Plains) ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของเทือกเขารอกกี ซึ่งเป็นเขตเงาฝนหรือเขตอับลม ทำให้มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีต่ำ เป็นเขตเหมาะสำหรับปลูกข้าวสาลี โดยใช้เครื่องจักรทุ่นแรงในการเพาะปลูกแบบไร่ขนาดใหญ่


เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


ภาพ แผนที่แสดงอาณาบริเวณที่ราบบนที่สูง (High Plains)

ที่มา : http://www.mapsofworld.com/physical-map/maps/north-america-physical-map.jpg


4. เขตเทือกเขาด้านทิศตะวันออก

            เขตเทือกเขาหินเก่าทางตะวันออก มีอาณาเขตตั้งแต่เกาะนิวฟันด์แลนด์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดาลงมาถึงภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เป็นเขตหินเก่าแต่มีอายุน้อยกว่าเขตหินเก่าแคนาดา ประกอบด้วยเทือกเขาเตี้ย ๆ ขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในเขตนี้พื้นที่มีความต่างระดับกัน ทำให้เกิดแนวน้ำตกมากมาย ผ่านการสึกกร่อนมานาน ได้แก่ เทือกเขาแอปปาเลเชียน มียอดเขาสูงสุดชื่อ ยอดเขามิตเชล อยู่ในมลรัฐนอร์ทแคโรไลนา สูง 2,005 เมตร

          ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร จึงมีลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเล โดยชายฝั่งทางตอนเหนือบริเวณอ่าวอะแลสก้าจะเป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้า แหว่งมาก เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง เช่น เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนนาดา ส่วนชายฝั่งทางตอนใต้บริเวณอ่าวเม็กซิโก จะเป็นที่ราบชายฝั่งที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำ ซึ่งได้พัดพาตะกอนมาสะสม จึงเป็นที่ตั้งของเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น เมือง ฮิวสตัน เมืองนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา


5. เขตหมู่เกาะเวสต์อินดีสหรือหมู่เกาะในทะเลแคริเบียน

            หมู่เกาะเวสต์อินดีส (West Indies) เป็นภูมิภาคในเขตลุ่มน้ำแคริบเบียนและมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีเกาะต่าง ๆ และประเทศที่เป็นเกาะของเกรตเตอร์แอนทิลลีส เลสเซอร์แอนทิลลีส และหมู่เกาะลูคายานเป็นจำนวนมาก

            หลังจากการเดินทางครั้งแรกของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสซึ่งเดินทางไปยังทวีปอเมริกา ชาวยุโรปก็เริ่มใช้คำว่า "เวสต์อินดีส" (อังกฤษ: West Indies) เพื่อจำแนกภูมิภาคนั้นออกจากหมู่เกาะอีสต์อินดีส (เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

เขตหินเก่าแคนาดา ภูมิประเทศ


แผนที่ ประเทศในหมู่เกาะเวสต์อินดีส และทะเลแคริบเบียน

ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/98/Caribbean_general_map.png


รายชื่อประเทศและดินแดน

ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส

และทะเลแคริบเบียน

พื้นที่
(km²)

ประชากร*
(คน)

ความหนาแน่นของประชากร
(per km²)

เมืองหลวง

แคริบเบียน:

แองกวิลลา (สหราชอาณาจักร)

102

13,254

129.9

เดอะแวลลีย์

แอนติกาและบาร์บูดา

443

68,722

155.1

เซนต์จอห์น

อารูบา (เนเธอร์แลนด์)

193

71,566

370.8

โอรันเยสตัด

บาฮามาส

13,940

301,790

21.6

แนสซอ

บาร์เบโดส

431

279,254

647.9

บริดจ์ทาวน์

หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (สหราชอาณาจักร)

153

22,643

148.0

โรดทาวน์

หมู่เกาะเคย์แมน (สหราชอาณาจักร)

262

44,270

169.0

จอร์จทาวน์

คิวบา

110,860

11,346,670

102.4

ฮาวานา

ดอมินีกา

754

69,029

91.6

Roseau

สาธารณรัฐโดมินิกัน

48,730

8,950,034

183.7

ซานโตโดมิงโก

เกรนาดา

344

89,502

260.2

เซนต์จอร์จ

กัวเดอลุป (ฝรั่งเศส)

1,780

448,713

252.1

บัส-แตร์

เฮติ

27,750

8,121,622

292.7

ปอร์โตแปรงซ์

จาเมกา

10,991

2,731,832

248.6

คิงส์ตัน

มาร์ตีนิก (ฝรั่งเศส)

1,100

432,900

393.5

ฟอร์-เดอ-ฟร็องส์

มอนต์เซอร์รัต (สหราชอาณาจักร)

102

9,341

91.6

พลิมัท; เบรดส์

เกาะนาแวสซา (สหรัฐอเมริกา)

5

เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (เนเธอร์แลนด์)

960

219,958

229.1

วิลเลมสตัด

เปอร์โตริโก (สหรัฐอเมริกา)

9,104

3,916,632

430.2

ซานฮวน

เซนต์คิตส์และเนวิส

261

38,958

149.3

บาสแตร์

เซนต์ลูเซีย

616

166,312

270.0

แคสตรีส์

เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์

389

117,534

302.1

คิงส์ทาวน์

ตรินิแดดและโตเบโก

5,128

1,088,644

212.3

พอร์ต-ออฟ-สเปน

หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส (สหราชอาณาจักร)

430

20,556

47.8

โคเบิร์นทาวน์

หมู่เกาะเวอร์จิน (สหรัฐอเมริกา)

352

108,708

308.8

ชาร์ลอตต์อะมาลี


💥💥💥💥💥💥💥💥

งานที่อ้างถึง

ห้องสมุดบ้านจอมยุทธ์. (สิงหาคม 2543). เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2559 จาก baanjomyut.com: http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/continent/03_1.html

วิกิพีเดีย สารานุกรม. (7 มีนาคม 2558). เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2559 จาก wikipedia.org: https://th.wikipedia.org/wiki/อิกูล

nongnan9004. (ม.ป.ป.). เรียนสังคมศึกษากับครูแนน. เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2559 จาก nongnan9004.wordpress.com: https://nongnan9004.wordpress.com/ภูมิศาสตร์/ทวีปอเมริกาเหนือ-north-america/

pichappy. (7 มิถุนายน 2556). บ้านเอสกิโม (อิกลู) Igloo. เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2559 จาก facebook.com: https://www.facebook.com/pg/pichappy/photos/?tab=album&album_id=478127765590158

toeybeast. (9 พฤศจิกายน 2559). เกร็ดน่ารู้ “ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา”. เรียกใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2559 จาก