วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน

โครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนชนบท ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล

ความเป็นมา

เนื่องด้วยปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของอุปกรณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกบรรจุลงในเครื่องมือสื่อสารอย่างอุปกรณ์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน (Smart Phone)  ซึ่งที่นิยมเป็นอย่างมาก  และมีกระจายตัวของการใช้งานอย่างรวดเร็วออกไปในวงกว้างในทุกพื้นที่ของประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบท   ทำให้การใช้เทคโนโลยีของคนทั่วไปจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ราคาแพง หรือเข้าถึงได้ยากอีกต่อไป   ทำให้การสื่อสารเชื่อมต่อกันระหว่างคนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเครือข่ายทางสังคม หรือโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ด้านต่างๆ อย่างมากมาย  โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบาทมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 45 ปี   ได้เห็นถึงข้อจำกัดของภาคการผลิตในชนบท และตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชน และกลุ่มอาชีพในชนบทในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลมากยิ่งขึ้น   จึงได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ดำเนินงาน โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนชนบท ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล”  ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินกิจกรรมผ่านกระบวนการอบรมที่สื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และมีการฝึกปฏิบัติ เพื่อสร้างการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งานให้กลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การยอมรับ และมีการใช้งานจริงให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมและอื่นๆ  เป็นการเพิ่มโอกาสทางอาชีพให้กับประชาชนในชนบท และเพิ่มโอกาสการค้าขายสินค้าของชุมชนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างบุคลากรในท้องถิ่น ให้เป็นวิทยากรเพื่ออบรมความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างการยอมรับในเทคโนโลยีดิจิทัล
  2. เพื่ออบรมความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างการยอมรับในเทคโนโลยีดิจิทัล และมีการใช้งานจริงให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมและอื่นๆ  ให้แก่กลุ่มอาชีพและประชาชนในชนบท
  3. เพื่อส่งเสริมการเข้าสู่ระบบการผลิตและการตลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่มอาชีพและประชาชนในชนบท
  4. เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมแก้ไขปัญหา และเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรสู่การเกษตรนวัตกรรม Smart Farming

ขอบเขต และกิจกรรมการดำเนินงาน

โครงการนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน ในพื้นที่ที่เป็นเครือข่ายการทำงานของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่  เชียงราย นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม บุรีรัมย์ กาญจนบุรีนครศรีธรรมราช (และพังงา)  และกระบี่ กิจกรรมหลัก คือ การอบรม โดยจะมีการพัฒนาหลักสูตการอบรมให้เหมาะสม และสอดคล้องกับพื้นฐานความรู้และทักษะดิจิทัลของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 4 หลักสูตร

หลักสูตรการอบรมและกลุ่มเป้าหมาย

หลักสูตร

กลุ่มเป้าหมายหลักจำนวน (คน)1.หลักสูตร   “ดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน”

วิทยากรแกนนำ

25

2.หลักสูตร  “ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต”

ผู้นำ หรือประชาชน

1,600

3.หลักสูตร “ดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการผลิตและรายได้”

สมาชิกกลุ่มอาชีพ

400

4.หลักสูตร “การเกษตรนวัตกรรม (Smart Farming)

เกษตรกร

128

เป้าหมายของโครงการ

  1. กลุ่มเป้าหมายของโครงการเกิดความรู้ สร้างความเข้าใจ การยอมรับในเทคโนโลยีดิจิทัล และมีการใช้งานจริงให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมและอื่นๆ
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าสู่ระบบการผลิตและการตลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และมีการดำเนินกิจกรรมที่เกิดรายได้อย่างเป็นรูปธรรม
  3. กลุ่มเป้าหมายของโครงการเกิดการใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา และใช้การเกษตรแผนใหม่ในการผลิตและสร้างรายได้

 ความยั่งยืนของโครงการหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ

– สมาชิกในชุมชน สมาชิกกลุ่มอาชีพ และเกษตรกร  ที่ได้รับการถ่ายทอด ความรู้และฝึกทักษะ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน และการเกษตรนวัตกรรม (Smart Farming) และเกิดการนำไปใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในพัฒนาคุณภาพชีวิต การผลิต การเพิ่มรายได้ และการเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชนในภาพรวม และได้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดที่สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล

– ชุมชนในพื้นที่ดำเนินงาน มีบุคลากรที่มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และได้นำไปใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในพัฒนาคุณภาพชีวิต การผลิต การเพิ่มรายได้และเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชนในภาพรวม เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด

– เกิดชุมชนนวัตกรรมอย่างน้อย 80 ชุมชน ที่สามารถพัฒนาการพึ่งตนเองและจัดการตัวเอง เพื่อคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

โครงการเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านละหนึ่งแสน นักพัฒน์รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปลี่ยนสายงานมา หรือเพิ่งได้รับการบรรจุเข้ามารับราชการในองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. คงไม่รู้เรื่องโครงการนี้ หรือถึงรู้ก็ไม่รู้รายละเอียดหรอกครับว่า เมื่อก่อน อบต.เรามีโครงการให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันกู้เงินไปทำกิจกรรมในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านละหนึ่งแสนบาท

ในตอนนั้นเศรษฐกิจในบ้านเมืองเราเป็นแบบนี้แหละครับ มันเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศ เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรจากเมืองกลับสู่ถิ่นฐานในชนบทจำนวนมาก กระทรวงมหาดไทยจึงนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งพาตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหา

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

  • โครงการเศรษฐกิจชุมชน ทำไมต้องหมู่บ้านละแสน มากกว่าได้มั้ย
  • การติดตามเร่งรัดการส่งเงินคืน หน้าที่นักพัฒน์หรือการเงิน
  • กรณีศึกษาการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน

โครงการเศรษฐกิจชุมชน ทำไมต้องหมู่บ้านละแสน มากกว่าได้มั้ย

วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน

ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินการโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ. 2541 กำหนดวงเงินไว้ให้กู้ยืมมีทั้งเกินแสนบาท และไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าหากว่าเกินหนึ่งแสนบาท คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติจะเป็นกรรมการระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัด แล้วแต่วงเงิน

แต่ถ้าขอกู้ในวงเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติโครงการคือระดับ อบต. เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่า กลุ่มอาชีพ/กลุ่มเกษตรกร มักจะขอกู้ในวงเงินขนาดนี้ล่ะ เพื่อที่จะไม่ต้องไปถึงกรรมการระดับอำเภอหรือจังหวัด ที่เมื่อไปแล้วอาจจะไม่ได้รับการอนุมัติ 555

ทีนี้ขั้นตอนในการยื่นขอกูเงินไม่มีอะไรยากเลยครับ เมื่อกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหาเงินทุนหมุนเวียนกระทรวงมหาดไทยจัดเงินทุนหมุนเวียนให้เงินช่วยเหลือประกอบอาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ต้องนำเงินคืนภายใน 5 ปี (แต่ถ้าผิดนัด ไม่คืนเงินตามสัญญา จะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามอัตราที่กฏหมายกำหนดไว้นะ)

วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน

กลุ่มอาชีพ/หลุ่มเกษตรกร ที่ต้องการขอยืมเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน จะต้องทำแบบคำร้องขอกู้เงินตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ในระเบียบและโครงการเสนอต่อคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านก็จะพิจารณาว่า กลุ่มอาชีพ/กลุ่มเกษตรกรที่เสนอโครงการขอกู้เงินมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้านจริงมั้ย

แล้วก็นำโครงการที่จะขอกู้เงินเข้าพิจารณาในเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันพิจารณาความสำคัญ ความจำเป็น ความเหมาะสมของโครงการ ถ้าหากว่าในหมู่บ้านนั้นมีกลุ่มเสนอโครงการเข้าไปมากกว่าหนึ่งโครงการ ก็ให้เวทีประชาคมหมู่บ้านช่วยกันพิจารณาแล้วก็จัดเรียงลำดับความสำคัญไว้

เสร็จแล้วก็ส่งโครงการที่ผ่านการพิจารณาแล้ว เสนอองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. พิจารณา อบต.ก็จะพิจารณาโครงการที่ได้รับมาจากคณะกรรมการหมู่บ้านต่างๆ ภายในตำบล ถ้าโครงการนั้นเป็นไปตามระเบียบ และอยู่ในอำนาจหน้าที่ ที่คณะกรรมการ อบต.สามารถพิจารณาได้ ก็จะพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่

เมื่อกรรมการอนุมัติแล้ว ก็ให้กลุ่มมาทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญานี้ทำขึ้น 4 ชุดครับ ให้เก็บไว้ที่กลุ่ม 1 ที่ อบต. 1 ที่กรรมการพัฒนาอำเภอ 1 กรรมการพัฒนาจังหวัด 1 

ดูข้อบกพร่องโครงการเศรษฐกิจชุมชน

การติดตามเร่งรัดการส่งเงินคืน หน้าที่นักพัฒน์หรือการเงิน

วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน

อย่างที่นักพัฒน์รุ่นเก๋าทราบดีครับในการกู้ยืมเงินจากโครงการเศรษฐกิจชุมชน มีเวลาในการคืนเงินอยู่ที่ 5 ปี ตามรายละเอียดในคำร้องขอกู้และในสัญญากู้เงิน ถ้าหากว่ากลุ่มไม่นำส่งเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนด อบต. จะต้องทวงเป็นหนังสือไปยังกลุ่ม

ใครเป็นคนทวง นักพัฒน์หรือการเงิน

คำถามนี้ไม่มีสูตรสำเร็จหรอกครับว่าใครจะเป็นคนทวง อยู่ที่เราจะคุยกัน บางแห่งนักพัฒน์ บางแห่งการเงิน บางแห่งผสมผสานกันไป เช่น หนังสือออกจากคลัง แต่นักพัฒน์เป็นคนกล่อม เป็นคนอธิบายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่ม อะไรแบบเนี้ยครับ มันอยู่ที่การคุยกันจริงๆ ว่าจะเป็นแบบไหน

และในปัจจุบัน แต่ละ อบต. มีศูนย์ยุติธรรมตำบล ของกระทรวงยุติธรรมเขามาฝากไว้ที่พวกเราอยู่แล้วครับ ถ้าหากว่ามีกลุ่มที่ผิดนัดไม่มาคืนเงินตามสัญญา ผมแนะนำให้พวกเราใช้บริการของศูนย์นี้ได้เลยครับ

กรณีศึกษาการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน

วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์โครงการเศรษฐกิจชุมชน

ถ้าเป็นเคสแบบนี้ ต้องเป็นเคส (แคลสสิค) หารือ การเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ. 2541 จังหวัดอุดรธานี ที่ อบต.หนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ หารือว่า กลุ่มผิดนัดส่งคืนเป็นเวลา 7 ปี การคิดดอกเบี้ยคิดเท่าไร ยังไง ลดได้มั้ย แล้วมันหมดอายุความแล้วต้องทำยังไงต่อ

กระทรวงมหาดไทย ตอบมาว่า การคิดดอกเบี้ยสำหรับกลุ่มที่ผิดนัดสัญญา กำหนดไว้ร้อนละ 7.5 ต่อปี ส่วนการลดดอกเบี้ยสำหรับกลุ่มที่ผิดสัญญา ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ. 2541 ข้อ 24 ไม่สามารถขอลดดอกเบี้ยที่ผิดสัญญาได้

อีกกรณีหนึ่งคือ การหมดอายุความ ให้นำประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และมาตรา 193/33 มาพิจารณาว่า กรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ ต้องคืนเงินต้น หรือดอกเบี้ย ตั้งแต่เมื่อใด

ซึ่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ. 2541 ข้อ 24 และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.3/ว 2287 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ได้แจ้งซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ. 2541 ตามผลการตรวจสอบของ สตง. ปี 2554 โดยให้ อบต. ตั้งงบประมาณเท่าจำนวนเงินที่ทางราชการเสียหาย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ชดใช้คืนกองทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ. 2541

โครงการเศรษฐกิจชุมชนคืออะไร

เศรษฐกิจชุมชน หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตการบริโภค การจ าหน่ายจ่ายแจกที่คนในท้องถิ่นชุมชนได้มีส่วนร่วมคิดร่วมท าร่วมรับประโยชน์ของประชาชน และร่วมกัน เป็นเจ้าของ เศรษฐกิจชุมชนมีรากฐานมาจากศักยภาพของชุมชน ภูมิปัญญาของชุมชน หรือทุนในชุมชน อาทิ วัฒนธรรม ประเพณีสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายทางทรัพยากร ...

ทวงหนี้เศรษฐกิจชุมชนเป็นหน้าที่ของใคร

การดำเนินการเกี่ยวกับลูกหนี้ผิดนัดค้างชำระหนี้โครงการเงินทุนเศรษฐกิจชุมชนดังกล่าว เป็นหน้าที่ ของเทศบาลตำบลบาลอ และถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการเร่งรัดให้กลุ่มอาชีพหรือกลุ่มเกษตรกรผู้ ชำระคืนโดยพลัน และหากไม่มีการชำระหนี้เทศบาลตำบลบาลอ ต้องรับผิดชอบความเสียหาย (ต้นเงินกู้และ ดอกเบี้ยผิดนัด) ของเงินทุนโครงการ ...