ไม่ได้ จดทะเบียน สมรส แต่ มีลูกด้วยกัน

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฟ้องขอค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

          สังคมโลกมักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะ “อยู่ก่อนแต่ง มากขึ้น เพื่อเป็นการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย    (จดทะเบียนสมรส)

          แต่ก็มีไม่น้อยที่ระหว่างอยู่กินร่วมกันแบบไม่จดทะเบียนสมรสนั้น ปัญหาหนึ่งที่ไม่ค่อยจะได้วางแผนไว้ คือเรื่องของการตั้งครรภ์  และนำมาซึ่งปัญหาในทางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตกรณีที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่อาจจะไปต่อได้ หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าเลิกกันนั้นเอง แต่ถ้าคู่ไหนเลิกกันดี ก็ถือว่าโชคดี แต่จากประสบการณ์ของผมในฐานะทนายความแล้ว มักจะเลิกกันไม่ดี และยังส่งผลถึงเด็กที่เกิดมาด้วย

          ดังนั้น ในวันนี้สำนักงานฯ เราจึงขอหยิบยกเอาประเด็นเรื่อง การไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะฟ้องขอค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่ ? มาเล่าให้ทุกท่านฟัง

           เนื่องจากในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายจะทำให้บุตรที่เกิดขึ้นนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ผู้เป็นบิดาอาจไม่ต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้  หรือจะอธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ เมื่อคุณแม่ต้องกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว (Single mom) ในกรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ลูกที่เกิดมาจะถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นแม่เพียงผู้เดียว และจะเป็นลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ฉะนั้น ผู้เป็นพ่อก็ไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมาย

         แต่ต่อมาถ้าแม่ต้องการให้พ่อจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ก็จะต้องดำเนินการให้พ่อดำเนินการรับรองให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อเสียก่อน จึงจะมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเลี้ยงดูบุตรได้

         ซึ่งในทางกฎหมายบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว เรียกว่า “บุตรนอกสมรส”  ซึ่งกฎหมายก็ได้กำหนดวิธีการที่จะเป็นทำให้บุตรนอกสมรสกลายเป็น “บุตรชอบด้วยกฎหมาย” ได้ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

  1. บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร
  2. บิดามารดาสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายภายหลัง
  3. ศาลพิพากษาว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา

         อย่างไรก็ดี กรณีตามข้อ 1.  บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตรจะต้องให้บิดาไปจดทะเบียนรับรองบุตรกับนายทะเบียนที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอในแต่ละจังหวัด โดยมารดาต้องให้ความยินยอม รวมทั้งเด็กต้องให้ความยินยอม แต่ถ้ากรณีที่เด็กยังเล็กมากและยังไม่สามารถพูดให้ความยินยอมได้อาจขอให้ศาลมีคำสั่งแทนคำยินยอมของเด็ก

         กรณีตามข้อ 2. บิดามารดาสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายภายหลัง เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิด

         กรณีตามข้อ 3. หลังจากที่ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็จะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิดเช่นกัน

         และนอกจากเนื่องจากทั้งสามกรณีนั้นแล้ว ยังมีกรณีอื่นๆที่มารดาสามารถนำมาใช้อ้างได้อีก ถ้าพบข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ โดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา

  • เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเราหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
  • เมื่อมีการลักพาตัวมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาที่หญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
  • เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรของตน
  • เมื่อปรากฏในทะเบียนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
  • เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
  • เมื่อมีเหตุใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
  • เมื่อมีการแสดงออกที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร เช่น บิดาดูแลเรื่องการศึกษา ยินยอมให้เด็กใช้นามสกุลของตน

         สรุป หากมารดาต้องการจะฟ้องให้บิดาของเด็กนั้นจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ก็สามารถยื่นฟ้องบิดาต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ โดยให้ฟ้องมารวมกับการฟ้องให้บิดารับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งการฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียม

สถิตย์ อินตา ทนายความ

083-5681148

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail :
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

ทนายเกิดผล แก้วเกิด ไขข้อข้องใจ ผัวเมียไม่ได้จดทะเบียน หากเลิกกัน ลูกจะเป็นอย่างไร ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร

มีคำถามว่า ชายหญิงอยู่กินด้วยกันตามประเพณี มีลูกด้วยกัน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วต่อมาภายหลังต่างเลิกร้างกันไป

ฝ่ายชายเอาลูกไปด้วย โดยฝ่ายหญิงไม่ยินยอม ฝ่ายชายทำได้หรือไม่ และจะมีความผิดอะไรหรือไม่

ในเรื่องนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ซึ่งบัญญัติว่า

มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของหญิงนั้น

หมายความว่า ลูกทุกคน เป็นลูกของผู้หญิงฝ่ายเดียว ฝ่ายชายไม่มีสิทธิ์ในตัวบุตร

มารดาจึงมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมาย และ มีอำนาจดังนี้

มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิ

(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร

(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป

(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้ว แม่เท่านั้นที่มีอำนาจปกครองบุตร กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นที่กักบุตรไว้ได้

คำว่า ” #บุคคลอื่นหมายความรวมถึงชายที่เป็นบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วย” ตามฎีกาที่ 3461/2541 วินิจฉัยว่า

ฎีกาที่ 3461/2541#บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)ถึง (4) #การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ #และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
พิพากษายืน

หรือแม้ มารดาจะเคยยินยอมหรือตกลงให้บุตรไปอยู่กับฝ่ายบิดา ข้อตกลงดังกล่าวก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอ ฝ่ายบิดา จะยกเหตุนี้มาอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3780/2543

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543

โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว #การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลย #จึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)

ดังนั้น หากฝ่ายชาย ไม่ว่าจะเป็นพ่อ ลุงป้าน้าอาปูและย่า พาลูกหรือหลานไปโดยแม่เด็กไม่ยินยอม ย่อมมีความผิดฐาน #พรากผู้เยาว์

คุณแม่ทั้งหลาย สบายใจได้ #แชร์ต่อๆไปให้คลายกังวล

ไม่ได้ จดทะเบียน สมรส แต่ มีลูกด้วยกัน

เลิกกัน! ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร

ที่มา : https://www.facebook.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไม่อยากหย่า การรักษาชีวิตคู่ ต้องตั้งสติ! หยุดเลยอย่าพูด 8 คำนี้กับสามีหรือภรรยา

12 ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส ข้อดีของทะเบียนสมรสที่เมียถูกกฎหมายต้องรู้

วิธีบอกลูกพ่อแม่เลิกกัน พ่อแม่ควรบอกลูกตอนไหน

เชื้อชั่วๆ ท้องแล้วไม่รับ ฟ้องได้ไหม ทำอะไรได้บ้าง จัดการยังไงกับผู้ชายประเภทนี้

www.facebook.com/photo.php?fbid=419715115106257&set=a.113116982432740.1073741828.100012033163351&type=3&theater

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

ลูกใช้นามสกุลพ่อได้ไหมถ้าไม่ได้จดทะเบียน

กรณีมารดาเป็นคนไทย และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา บุตรที่เกิดจะเป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียวจึงต้องถือนามสกุลตามมารดา แต่หากต้องการจดสูติบัตร โดยให้บุตรใช้นามสกุลบิดานอกสมรส มารดาต้องบันทึกให้ปากคายินยอมก่อนด้วย

มีลูกด้วยกันแต่ไม่ได้จดทะเบียน ฟ้องได้ไหม

3. หากสามีหรือภริยามีบุตรร่วมกัน บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรเกิดมาจะถือว่า เป็นบุตรที่บิดาไม่ได้รับรองตามกฎหมาย แต่จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของภรรยาเท่านั้น อำนาจปกครองบุตรเป็นของฝ่ายภริยาแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งฝ่ายสามีจะไม่มีสิทธิในตัวลูก นอกจากจะมีการจดทะเบียนรับรองบุตรภายหลัง หรือ สามีภริยา ...

บุตร จะเป็นบุตร ที่ ถูก ต้อง ของบิดา ที่ ไม่ ได้ จดทะเบียน สมรส กับ มารดา ได้ อย่างไร

เด็กทุกคนที่เกิดมา ไม่ว่าบิดามารดาจะสมรสกัน หรือไม่ก็ตาม กฎหมายก็ให้ถือว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดา ตามมาตรา 1546 ซึ่งเป็น บทบัญญัติเพื่อคุ้มครองเด็กที่เกิดมา ให้ต้องมีผู้รับผิดชอบดูแลอย่างน้อยหนึ่งคน และหนึ่งคนในที่นี่ได้แก่ มารดาซึ่งก็คือหญิงที่คลอดเด็กนั้นนั่นเอง มารดาคงอ้างไม่ได้ว่า เด็กนั้นไม่ใช่บุตรของตน ...

ลูกนอกสมรสเป็นสิทธิ์ของใคร

แต่กรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน กฎหมายให้ถือว่าเด็กที่เกิดจากหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงเพียงคนเดียว ตามมาตรา 1546 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์