ไม่มี statement ขอวีซ่า ออ ส

น้องๆ หลายคนที่กำลังวางแผนยื่นวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย อาจมีคำถาม หรือได้รับข้อมูลมาว่า ยื่นวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย สามารถยื่นวีซ่า โดยไม่ต้องยื่นหลักฐานการเงินได้หรือไม่ คำตอบคือ สามารถทำได้ แต่ทุกคนที่ยื่นวีซ่าแบบไม่ยื่นหลักฐานทางการเงิน สถานทูตมีสิทธิที่จะเรียกดูเอกสารเพิ่มเติม  หากผู้สมัครมีความเสี่ยงสูงที่จะโยกย้ายถิ่นฐาน (Immigration Risk) โดยในบทความนี้ ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ จะขอสรุปข้อมูลเกี่ยวกับ การยื่นวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย การยื่นหลักฐานแสดงความสามารถทางการเงิน ต้องแสดงเป็นรูปแบบไหนได้บ้าง จำนวนเงินเท่าไหร่ และสามารถยื่นวีซ่า โดยไม่ต้องยื่นหลักฐานทางการเงินได้หรือไม่ ศึกษาต่อได้ในบทความนี้ได้เลย

Show
ยื่นวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย ต้องมีเงินในบัญชีเท่าไหร่ ไม่ยื่นหลักฐานการเงินได้ไหม

วีซ่านักเรียน (Subclass 500) คือวีซ่าสำหรับนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนได้สูงสุด 5 ปี และต้องลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในประเทศออสเตรเลีย โดยคุณสมบัติหลักๆ ที่จำเป็นสำหรับการยื่นวีซ่าออสเตรเลียคือ อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (ผู้สมัครที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องมีเอกสาร Welfare Arrangements และ Parental Consent จากผู้ปกครองเพิ่มเติมด้วย) มีเอกสารยืนยันการลงทะเบียนเรียน (Confirmation of Enrolment: CoE) ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงว่าผู้สมัครได้ลงทะเบียนเรียนกับสถาบันที่ได้รับการรับรองในออสเตรเลีย หลักฐานประกันสุขภาพ (Overseas Student Health Cover: OSHC) ที่ครอบคลุมตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ทั้งตัวผู้เรียนและผู้ติดตาม (ถ้ามี) และ ต้องมีจดหมายชี้แจงวัตถุประสงค์ (Genuine Temporary Entrant) ซึ่งจะต้องชี้แจงว่าผู้สมัครมีวัตถุประสงค์ในการอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียชั่วคราวเพื่อเรียนต่อเท่านั้น 

นอกจากนี้ ผู้เรียนยังต้องแสดงหลักฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ กรณีที่ผู้เรียนลงทะเบียนหลักสูตรที่ไม่ใช่หลักสูตรภาษาอังกฤษ และ หลักฐานแสดงความสามารถทางการเงิน ซึ่งผู้ยื่นวีซ่านักเรียนจะต้องแสดงเงินทุนที่เพียงพอ เพื่อครอบคลุมค่าเดินทาง ค่าครองชีพ และค่าเล่าเรียนตลอด 12 เดือน (หากน้อยกว่านี้ พิจารณาเป็นรายเดือน) หากมีผู้ติดตาม จะต้องมีหลักฐานทางการเงินที่เพียงพอสำหรับผู้ติดตามด้วย


หลักฐานแสดงความสามารถทางการเงิน (Evidence of financial ​capacity) คืออะไร?

หลักฐานแสดงความสามารถทางการเงิน (Evidence of financial ​capacity) คือ หลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าผู้สมัครมีทุนทรัพย์ที่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร หรือสมาชิกในครอบครัวที่ติดตามผู้สมัครเมื่ออยู่ในประเทศออสเตรเลีย โดยจะต้องแสดงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง หรือ สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที เช่น เงินสดในบัญชีธนาคาร หรือ สลากอมทรัพย์ ซึ่งหลักฐานทางการเงินและจำนวนเงินนั้นจะต้องครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษาในปีแรก ค่าครองชีพ ค่าที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศออสเตรเลีย 

หากลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1 ปี สถานทูตจะพิจารณาเฉพาะค่าใช้จ่ายสำหรับปีแรกเท่านั้น และหากลงเรียนในหลักสูตรที่ต่ำกว่า 1 ปีก็จะพิจารณาตามจำนวนเดือนที่ผู้สมัครหรือผู้ติดตามจะอยู่ในประเทศออสเตรเลีย

หลักฐานแสดงความสามารถทางการเงิน สามารถใช้อะไรได้บ้าง?

  1. จดหมายรับรองจากธนาคาร (Bank Guarantee Letter) ผู้สมัครหรือผู้สนับสนุนทางการเงินสามารถขอจากธนาคารเจ้าของบัญชีได้ และต้องขอเป็นภาษาอังกฤษ ระบุหน่วยเงินเป็นดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) โดยชื่อของสปอนเซอร์และผู้สมัครที่ระบุอยู่ในจดหมายจะต้องสะกดให้ตรงตามหน้าหนังสือเดินทางของตนเอง
  2. รายการเดินบัญชีย้อนหลัง (Bank Statement) ย้อนหลัง 6 เดือน ให้ขอเป็นภาษาอังกฤษ และให้ยอดเงินใน Statement ตรงกับยอดเงินใน Bank Guarantee Letter
  3. หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้ปกครองของผู้สมัครหรือคู่ของผู้สมัครสามารถสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้สมัครได้ โดยที่บุคคลนั้นจะต้องมีหลักฐานมาแสดงว่ามีรายได้ต่อปีขั้นต่ำ 62,222 AUD สำหรับนักเรียนคนเดียวหรือมีรายได้ขั้นต่ำ 72,592 AUD สำหรับนักเรียนที่มีครอบครัวติดตาม หลักฐานอื่นเช่น หลักฐานการเสียภาษีบุคคลธรรมดาของสปอนเซอร์ เช่น

หมายเหตุ:

  • เอกสารทางการเงินจะมีอายุเพียง 30 วันก่อนวันยื่นวีซ่าเท่านั้น เพราะฉะนั้นควรปรึกษากับเดอะเบสท์ก่อน
  • หุ้น (Stock) หรือ กองทุน (Fund) ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานทางการเงินได้ เนื่องจาก ไม่ใช่สินทรัพย์สภาพคล่อง และไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที แต่สามารถใช้ประกอบการยื่นวีซ่าได้

วีซ่านักเรียนออสเตรเลีย จะต้องยื่นหลักฐานแสดงความสามารถทางการเงินเท่าไหร่?

จำนวนเงินที่แสดงนั้นจะต้องครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าที่พักและค่าครองชีพ และค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ค่าครองชีพสำหรับผู้สมัครหลักและสมาชิกครอบครัวที่มาด้วยกันทั้งหมด (อาจมีการเปลี่ยนแปลง) ค่าครองชีพขั้นต่ำ (คิดตามสัดส่วนเมื่อพำนักอยู่ในออสเตรเลียน้อยกว่า 12 เดือน) คือ:
    • นักเรียนหรือผู้ปกครอง:  21,041 AUD
    • คู่สมรสหรือคู่ครองโดยพฤตินัย: 7,362 AUD
    • เด็กที่อยู่ในความอุปการะ: 3,152 AUD
  2. ค่าเล่าเรียนในช่วง 12 เดือนแรก
    • หากเรียนน้อยกว่า 12 เดือน ให้คิดตามเดือนที่พำนักอยู่ในออสเตรเลีย
    • หากเรียนมากกว่า 12 เดือน ให้คิดเฉพาะ 12 เดือนแรกเท่านั้น
    • หากได้ชำระค่าเรียนเรียบร้อยแล้ว หรือชำระไปบางส่วนสามารถหักออกจากยอดหลักฐานทางการเงินได้ ในกรณีนี้ ให้แสดงหลักฐานการชำระเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงินหรือการยืนยันการลงทะเบียน (CoE)
    • หากค่าเราเรียนปีแรกค้างชำระเท่าไหร่ให้พวกเพิ่มไปเท่านั้น เช่น ค่าเล่าเรียนปริญญาตรีปีแรกคือ 30,000 AUD ผู้สมัครได้ชำระไปแล้วก่อนยื่นวีซ่า 15,000 AUD หมายความว่าผู้เรียนจะต้องบวกยอดเงินที่ต้องคำนวนเพิ่มเติมอีก 15,000 AUD
  3. ค่าเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบินไปและกลับจากออสเตรเลีย)
    • 2,500 AUD หากคุณสมัครจากแอฟริกาตะวันออกหรือแอฟริกาใต้
    • 3,000 AUD หากคุณสมัครจากแอฟริกาตะวันตก
    • 2,000 AUD หากคุณสมัครจากที่อื่นนอกออสเตรเลีย
    • 1,000 AUD หากคุณสมัครในออสเตรเลีย
    • ถ้ามีผู้ติดตาม ให้รวมผู้ติดตามด้วย

อ้างอิงจาก immi.homeaffairs

การคำนวณยอดเงินที่ต้องยื่น ให้นำค่าใช้จ่ายในข้อที่ 1,2 และ 3 มาบวกกัน ได้เท่าไหร่ เท่ากับจำนวนเงินที่ต้องแสดงให้สถานทูต

หลักฐานแสดงความสามารถทางการเงินขึ้นต่ำที่แสดงให้สถานทูต

ระยะเวลาเรียน

ค่าครองชีพ

ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ TH-AUS

หลักฐานการเงินขั้นต่ำที่แสดงให้สถานทูต

3 เดือน

1,755 x 3 = 5,265 AUD 
ประมาณ 128,993 บาท

2,000 AUD
ประมาณ 49,000 บาท

7,265 AUD
ประมาณ 177,993 บาท6 เดือน

1,755 x 8 = 14,040 AUD
ประมาณ 343,980 บาท

2,000 AUD
ประมาณ 49,000 บาท

16,040 AUD
ประมาณ 392,980 บาท9 เดือน

1,755 x 11 = 19,305 AUD
ประมาณ 472,973 บาท

2,000 AUD
ประมาณ 49,000 บาท

21,305 AUD
ประมาณ 521,973 บาท12 เดือน

21,041 AUD
ประมาณ 515,505 บาท

2,000 AUD
ประมาณ 49,000 บาท

23,041 AUD
ประมาณ 564,505 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าเล่าเรียน

หลักฐานแสดงความสามารถทางการเงินจากคำแนะนำจากเดอะเบสท์

ยอดเงินข้างต้นเป็นยอดเงินขั้นต่ำที่ทางสถานทูตได้กำหนดให้แสดงซึ่งยังไม่รวมค่าเล่าเรียน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้สมัครจะต้องบวกค่าเรียนที่คงค้างชำระด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นยอดตายตัว เนื่องจากหลักฐานทางการเงิน ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ยิ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพทางการเงินมากเท่านั้น ดังนั้น ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ จึงคำนวณเพิ่มจากยอดข้างต้น 1.5 – 2 เท่า เพื่อคำนวณเผื่อค่าเล่าเรียน และคำนวณเผื่อกรณีมีผู้ติดตามด้วย ดังนี้

ระยะเวลาเรียน

หลักฐานการเงินขั้นต่ำที่แสดงให้สถานทูต

กรณีค้างชำระค่าเล่าเรียน ควรแสดงมากกว่าที่กำหนด 1.5 เท่า

กรณีมีผู้ติดตาม ควรแสดงมากกว่าที่กำหนด 2 เท่า3 เดือน

7,265 AUD
ประมาณ 177,993 บาท

7,265 x 1.5 = 10,897.5 AUD
ประมาณ 266,989 บาท

–6 เดือน

16,040 AUD
ประมาณ 392,980 บาท

16,040 x 1.5 = 24,060 AUD
ประมาณ 589,470 บาท

16,040 x 2 = 32,080 AUD
ประมาณ 785,960 บาท9 เดือน

21,305 AUD
ประมาณ 521,973 บาท

21,305 x 1.5 = 31,957.5 AUD
ประมาณ 782,959 บาท

21,305 x 2 = 42,610 AUD
ประมาณ 1,043,945 บาท12 เดือน

23,041 AUD
ประมาณ 564,505 บาท

23,041 x 1.5 = 34,562 AUD
ประมาณ 846,769 บาท

23,041 x 2 = 46,082 AUD
ประมาณ 1,129,009 บาท

หมายเหตุ: 

  • อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้คำนวณคือ 1 AUD มีค่าประมาณ 24.5 บาท
  • วีซ่านักเรียน จะได้วีซ่าเพิ่ม 1 – 2 เดือนหลังสำเร็จการศึกษา เพราะฉะนั้นจึงคำนวณค่าครองชีพเพิ่มอีก 1-2 เดือนให้ครอบคลุมระยะเวลาวีซ่าด้วย

ผู้สนับสนุนทางการเงิน เป็นใครได้บ้าง?

  1. ตัวผู้เรียนเอง
  2. คนในครอบรัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่มีความสัมพันธ์ชัดเจน 
  3. ญาติสายตรง เช่น ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ที่มีความสัมพันธ์ชัดเจน เช่น นามสกุลเดียวกัน
  4. กรณีที่ไม่ใช่ญาติสายตรง หรือนามสกุลไม่ตรงกัน สามารถใช้ได้ แต่ควรมีหลักฐานใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นเป็นผู้สนับสนุนมาโดยตลอด เช่น หลักฐานการรับรองการอุปการะบุตร
  5. อื่นๆ เช่น นายจ้าง หน่วยงานรัฐบาล เป็นต้น

สามารถแสดงหลักฐานทางการเงินได้มากกว่า 1 บัญชีหรือไม่ ?

สามารถที่จะแสดงหลักฐานทางการเงินผ่านบัญชีหลายบัญชีร่วมกันได้ และ/หรือ รายละเอียดการเงินของผู้สนับสนุนหลายคนได้เช่นกันถ้าจำเป็น เช่น

  • ใช้บัญชีของแม่ 500,000 บาท + บัญชีของป้า 500,000 บาท +บัญชีตัวผู้เรียนเองอีก 250,000 บาท เป็นต้น (ไม่จำเป็นต้องโอนเงินรวมกันในบัญชีเดียว)

ไม่ยื่นหลักฐานการเงินตอนขอวีซ่าได้ไหม?

สามารถทำได้ แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สถานทูตออสเตรเลียได้ใช้ระบบ Simplified Student Visa Framework (SSVF) เป็นระบบพิจารณาวีซ่าที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีผลสำหรับวีซ่านักเรียน Student Visa (Subclass 500) และ Student Guardian Visa (Subclass 590)  ซึ่งระบบ SSVF มีการประเมินความเสี่ยง Immigration Risk เพื่อประเมินผู้ยื่นวีซ่าว่ามีความเสี่ยงในการอพยพย้ายถิ่นฐานมากน้อยแค่ไหน โดยจะประเมินและวัดผลออกมาเป็น Assessment Level

Assessment Level คืออะไร?

Assessment Level คือการจัดอันดับความเสี่ยงของสถานทูตตาม Immigration Risk (ความเสี่ยงที่จะโยกย้ายถิ่นฐาน) แบ่งออกเป็น 3 Level แต่ละ Level ก็จะมีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกัน โดยจะประเมินทุก 6 เดือน คือ เดือนมีนาคม และเดือนกันยายนของทุกปี ปัจจัยที่ทำให้ Assessment Level ปรับขึ้นลง มีหลายปัจจัย เช่น จำนวนวีซ่าที่ถูกปฏิเสธ การปลอมแปลงเอกสาร อัตราการเข้าชั้นเรียนและการสอบผ่านของนักเรียน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Assessment Level ของสถาบัน

  1. สถาบัน Assessment Level 1 หมายถึง สถาบันที่มีความเสี่ยงต่ำ
  2. สถาบัน Assessment Level 2 หมายถึง สถาบันที่มีความเสี่ยงปานกลาง
  3. สถาบัน Assessment Level 3 หมายถึงสถาบันที่มีความเสี่ยงสูง

Assessment Level ของประเทศ

  1. ประเทศ Assessment Level 1 หมายถึงประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ
  2. ประเทศ Assessment Level 2 หมายถึงประเทศที่มีความเสี่ยงปานกลาง
  3. ประเทศ Assessment Level 3 หมายถึงประเทศที่มีความเสี่ยงสูง

ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงของประเทศ และความเสี่ยงของสถาบัน

 

สถาบัน Assessment Level 1

สถาบัน Assessment Level 2

สถาบัน Assessment Level 3

ประเทศ Assessment Level 1

มีความเสี่ยงต่ำมีความเสี่ยงต่ำมีความเสี่ยงปานกลาง

ประเทศ Assessment Level 2

มีความเสี่ยงต่ำมีความเสี่ยงปานกลาง

มีความเสี่ยงสูง

ประเทศ Assessment Level 3

มีความเสี่ยงปานกลาง

มีความเสี่ยงสูง

มีความเสี่ยงสูง

หมายเหตุ: Assessment Level ไม่เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันเสมอไป หลายๆ สถาบันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก หรือแม้กระทั่งสถาบันของรัฐบาล ก็อยู่ใน Assessment Level 2 – 3 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการบริหารความเสี่ยงของแต่ละสถาบันมากกว่า เช่น บางสถาบันงดรับนักเรียนที่เดินทางมาจากประเทศที่อยู่ใน Assessment Level 3 เพื่อรักษา Assessment Level ให้อยู่ในอันดับที่สูงต่อไป

การยื่นวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย Subclass 500 สามารถยื่นได้ 2 ประเภท ดังนี้

  1. ยื่นแบบ Streamlined เป็นการยื่นวีซ่าโดยไม่แสดงเอกสารทางการเงิน และผลคะแนนภาษาอังกฤษ 
  2. ยื่นแบบ Regular เป็นการยื่นวีซ่าที่ต้องแสดงเอกสารทางการเงิน และผลคะแนนภาษาอังกฤษ

โดยการยื่นวีซ่าแต่ละรูปแบบ จะสัมพันธ์กับความเสี่ยง Immigration Risk ดังนี้

 

สถาบัน Assessment Level 1

สถาบัน Assessment Level 2

สถาบัน Assessment Level 3

ประเทศ Assessment Level 1

ยื่นแบบ Streamlinedยื่นแบบ Streamlinedยื่นแบบ Streamlined

ประเทศ Assessment Level 2

ยื่นแบบ Streamlinedยื่นแบบ Streamlined

ยื่นแบบ Regular

  • ต้องแสดงผลภาษาอังกฤษ
  • ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน

ประเทศ Assessment Level 3

ยื่นแบบ Streamlined

ยื่นแบบ Regular

  • ต้องแสดงผลภาษาอังกฤษ
  • ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน

ยื่นแบบ Regular

  • ต้องแสดงผลภาษาอังกฤษ
  • ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน

ประเทศไทย ถูกจัดอันดับให้อยู่ในประเทศ Assessment Level 2 (จากข้อมูลเดือนมกราคม 2565)  ซึ่งหมายความว่ามีความเสี่ยงปานกลาง ดังนั้น

  • หากเลือกเรียนกับสถาบันที่อยู่ใน Assessment Level 1 สามารถยื่นแบบ Streamlined ไม่ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน และผลภาษาอังกฤษ
  • หากเลือกเรียนกับสถาบันที่อยู่ใน Assessment Level 2 สามารถยื่นแบบ Streamlined ไม่ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน และผลภาษาอังกฤษ
  • หากเลือกเรียนกับสถาบันที่อยู่ใน Assessment Level 3 จะต้องยื่นแบบ Regular และจะต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน และผลภาษาอังกฤษ

จะเกิดอะไรขึ้น หากประเทศถูกจัดอันดับให้อยู่ในประเทศ Assessment Level 3

หากประเทศไทยถูกจัดอันดับให้อยู่ในประเทศ Assessment Level 3 นั่นหมายความว่าประเทศมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น หากวางแผนยื่นแบบ Streamlined จะต้องลงเรียนกับสถาบันที่อยู่ใน Assessment Level 1 เท่านั้น

  • หากเลือกเรียนกับสถาบันที่อยู่ใน Assessment Level 1 สามารถยื่นแบบ Streamlined ไม่ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน และผลภาษาอังกฤษ
  • หากเลือกเรียนกับสถาบันที่อยู่ใน Assessment Level 2 จะต้องยื่นแบบ Regular และจะต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน และผลภาษาอังกฤษ
  • หากเลือกเรียนกับสถาบันที่อยู่ใน Assessment Level 3 จะต้องยื่นแบบ Regular และจะต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน และผลภาษาอังกฤษ

หมายเหตุ: หากลงเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ ไม่ต้องแสดงผลคะแนนภาษาอังกฤษ


สถานทูตมีสิทธิเรียกดูหลักฐานการเงินได้ ถึงแม้จะยื่นวีซ่าแบบไม่แสดงหลักฐานทางการเงิน

สิ่งที่ต้องทราบ: ถึงแม้จะยื่นวีซ่าแบบไม่แสดงหลักฐานทางการเงิน ระหว่างพิจารณาวีซ่าสถานทูตสามารถเรียกขอดูหลักฐานการเงินได้ตลอดก่อนที่จะอนุมัติวีซ่าให้ ดังนั้น หากผู้สมัครมีความเสี่ยงสูงที่จะโยกย้ายถิ่นฐาน (Immigration Risk) ถึงแม้ผู้สมัครจะเลือกเรียนกับสถาบัน Assessment Level 1 สถานทูตมีสิทธิ์เรียกขอเอกสารความสามารถทางภาษาอังกฤษ (English language Ablity) และ/หรือ เอกสารแสดงความสามารถทางการเงิน (Evidence of financial ​capacity) เพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ว่า ผู้สมัครมีความตั้งใจที่จะไปเรียนอย่างแท้จริง และมีเงินทุนเพียงพอสำหรับการเรียนต่อออสเตรเลียในครั้งนี้

ใครที่จะถูกเรียกดูหลักฐานการเงินบ้าง?

ทุกคนที่ยื่นวีซ่าแบบไม่ยื่นหลักฐานทางการเงินมีสิทธิที่สถานทูตจะเรียกดูทั้งหมด ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาวีซ่าว่าต้องการที่จะเรียกดูเพิ่มเติมหรือไม่ จากประสบการณ์ ผู้สมัครอาจเลือกเรียนกับสถาบัน Assessment Level 2 ก็ได้ เพราะปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับ Assessment Level 2 ดังนั้น จึงสามารถยื่นวีซ่าแบบ Steamlined ได้เช่นเดียวกันกับสถาบันที่อยู่ใน Assessment Level 1 ซึ่งข้อดีคือผู้สมัครมีตัวเลือกมากกว่าเนื่องจากสถาบันส่วนใหญ่ในออสเตรเลีย อยู่ในอันดับ Assessment Level 2 แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ควรเตรียมความพร้อมด้านเอกสารทางการเงินให้ดี อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะมี จดหมายรับรองจากธนาคาร (Bank Guarantee Letter) เนื่องจากสถานทูตมีสิทธิ์ขอดูได้ทุกเมื่อ ทางศูนย์ฯ เดอะเบสท์ จึงให้ความสำคัญกับจุดนี้มากกว่า เพราะหากกรณีทางสถานทูตขอตรวจสอบหลักฐานแสดงความสามารถทางการเงิน แล้วผู้สมัครไม่มีเอกสารมาชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด วีซ่านักเรียนจะถูกปฏิเสธทันที

ตัวอย่างสถานทูตเรียกขอเอกสารทางการเงิน

ตัวนักเรียนที่ถูกเรียกดูหลักฐานแสดงความสามารถทางการเงิน (Evidence of financial ​capacity) โดยเอกสารจะส่งมา 2 ฉบับ คือ เอกสาร IMMI s56 Request for More Information ซึ่งเป็นเอกสารที่ทางสถานทูตร้องขอหลักฐานเพิ่มเติม โดยให้ระยะเวลา 7 วัน ในย่อหน้าสุดท้าย จะเห็นว่าสถานทูตได้ชี้แจงเรียบร้อยว่า หากไม่ตอบกลับภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้น ใบสมัครจะถูกปฏิเสธทันทีโดยที่ไม่มีการร้องขอข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่มี statement ขอวีซ่า ออ ส
ไม่มี statement ขอวีซ่า ออ ส

ซึ่งจะแนบมาพร้อมกับเอกสาร IMMI Request Checklish and Details เพื่อชี้แจงรายละเอียด ซึ่งในตัวอย่างนี้ สถานทูตร้องขอ Financial Capacity ซึ่งก็คือ หลักฐานแสดงความสามารถทางการเงิน และสถานทูตยังระบุด้วยว่า ต้องแสดงให้ครอบคลุมเป็นจำนวนเงิน $23,411 (จำนวนเงินจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการประเมินของเจ้าหน้าที่สถานทูต) และตามที่ได้แจ้งไว้ข้างต้น หากไม่มีเอกสารชี้แจงกับสถานทูต วีซ่าจะถูกปฏิเสธอย่างแน่นอน

ไม่มี statement ขอวีซ่า ออ ส
ไม่มี statement ขอวีซ่า ออ ส

ไม่มี statement ขอวีซ่า ออ ส
ไม่มี statement ขอวีซ่า ออ ส


เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงหลักฐานทางการเงินสำหรับวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย สำหรับน้องๆ ที่วางแผนเรียนต่อออสเตรเลีย ต้องวางแผนให้ดีในเรื่องการโชว์เงิน หากถามว่ามีสิทธิ์ยื่นวีซ่าแบบไม่ยื่นหลักฐานทางการเงินได้ไหม ก็ต้องดูให้แน่ใจก่อนว่า โปรไฟล์ของผู้สมัครมีความเสี่ยงที่จะโยกย้ายถิ่นฐานหรือไม่ ทั้งนี้ จะต้องพิจาณาทั้ง วุฒิการศึกษา อายุ ประสบการณ์การทำงานของผู้สมัครด้วย ดังนั้น แนะนำให้ปรึกษากับศูนย์ฯ เดอะเบสท์ เพื่อที่จะให้ทางเราเช็คว่ามีความเป็นไปได้ไหมที่จะสามารถยื่นวีซ่าแบบไม่โชว์เงิน


บทความแนะนำเพิ่มเติม

  • เรียนต่อออสเตรเลีย ค่าครองชีพแพงไหม ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ใช้เงินเท่าไหร่กัน
  • เรียนต่อออสเตรเลีย ทำงานระหว่างเรียนได้หรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง สามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง ค่าตอบแทนเท่าไหร่ วีซ่าติดตาม ทำงานพาร์ทไทม์ได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
  • ทำความรู้จักกับ TEMPORARY GRADUATE VISA วีซ่าทำงานหลังเรียนจบออสเตรเลีย ผู้ที่วางแผนเรียนต่อออสเตรเลีย แนะนำให้อ่าน
  • เรียนปริญญาตรีออสเตรเลีย เริ่มต้นอย่างไรดี ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เลือกเรียนที่ไหนดี ทำงานพาร์ทไทม์จ่ายค่าเทอมได้หรือไม่ การสมัครเรียน ทุนการศึกษา โอกาสขอวีซ่าทำงานหลังเรียนจบ บทความนี้มีคำตอบ
  • แนะนำ 10 โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ การันตีคุณภาพระดับพรีเมี่ยม คุ้มค่า น่าไปเรียน พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ | วางแผนเรียนภาษาต่างประเทศต้องไม่พลาดบทความนี้
  • แนะนำ 10 โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสุดคุ้ม ประหยัดค่าใช้จ่าย ถูกและดีมีคุณภาพ แบ่งจ่ายค่าเรียนได้ พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ เรียนด้วยทำงานด้วยได้ | วางแผนเรียนภาษาต่างประเทศต้องไม่พลาดบทความนี้
  • เรียนอะไรให้ได้ PR ประเทศออสเตรเลีย | 15 หลักสูตรวิชาชีพออสเตรเลีย เรียนจบมีสิทธิ์ขอ PR ได้ มีหลักสูตรอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ | บทความนี้มีคำตอบ

ติดต่อเดอะเบสท์เพื่อสอบถามข้อมูลการเรียนต่อต่างประเทศเพิ่มเติม

เดอะเบสท์ เป็นศูนย์บริการให้คำปรึกษาเรียนต่อต่างประเทศครบวงจร เราเป็นตัวแทนที่ให้บริการแนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และ ประเทศอื่นๆ อีก 25 ประเทศทั่วโลก เรายินดีให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน จนสำเร็จการศึกษา รวมถึงดูแลนักเรียนระหว่างเรียนจนนักเรียนเรียนจบด้วยทีมผู้เชียวชาญในด้านการเรียนต่อต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ขั้นตอนเหล่านี้เราดำเนินการให้ฟรี และเราพร้อมที่จะทำตามคุณภาพ และมาตรฐานดังสโลแกนที่ว่า “We are Quality”

บริการของเรามีอะไรบ้าง ?

  • ฟรี!! บริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนต่อต่างประเทศทุกระดับชั้นทั่วโลก ตั้งแต่ โรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม สถาบันวิชาชีพ และสถาบันในระดับอุดมศึกษา รวมถึงหลักสูตรภาษาต่างประเทศ และเลือกสถาบันที่ดีที่สุดให้กับผู้เรียน
  • เราให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การประสานงานโรงเรียน เลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน เตรียมเอกสารสมัครเรียน และดำเนินเรื่องสมัครเรียนให้ฟรี
  • บริการเตรียมเอกสารยื่นวีซ่าครบวงจร และบริการยื่นวีซ่ากว่า 25 ประเทศทั่วโลก พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าอย่างตรงจุด และแนะนำวิธีการเตรียมตัวในการสัมภาษณ์วีซ่า 
  • บริการแปลเอกสาร ภาษาไทย – ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษ – ภาษาไทย รวมถึงภาษาที่ 3 เริ่มต้นเพียงแผ่นละ 200 บาท
  • เดอะเบสท์ เป็นตัวแทนรับสมัครสอบ IELTS IDP อย่างเป็นทางการ พร้อมให้คำแนะนำ และนัดวันสอบให้โดยน้องๆ ไม่ต้องเสียเวลาสมัครเอง สมัครสอบได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • บริการซื้อประกันภัยการเดินทางและประกันสุขภาพนักเรียนต่างชาติ จากบริษัทประกันชั้นนำ MSIG, NIB, Allianz, Orbit และอื่นๆ
  • บริการจองตั๋วเครื่องบิน ทุกสายการบิน และประสานงานกับสถาบันเกี่ยวกับรถรับ – ส่ง สนามบิน
  • บริการจัดหาที่พักทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโฮมสเตย์ อพาร์ทเม้น หรือหอพักนักศึกษา จัดหาให้ตามความต้องการส่วนบุคคล

 

 

“เรายินดีที่จะดูแลนักเรียนทุกคน ตั้งแต่เริ่มต้นจนนักเรียนสำเร็จการศึกษา และทำให้การเรียนต่อของคุณเป็นเรื่องง่าย ”