การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

Advertisement


การเป็นลมเป็นผลเนื่องมาจากโลหิตไหลไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จึงทำให้มีอาการหน้ามืดเป็นลม เพราะร่างกายอ่อนเพลีย อยู่ในที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ออกแรงหรือออกกำลังมากเกินไป ตื่นเต้นตกใจหรือเสียใจมากเกินไป

อาการของคนเป็นลม    มีอาการวิงเวียน หน้ามืด ตามัว ใจสั่น หน้าซีด มีเหงื่อออกตามฝ่ามือและหน้าผาก ชีพจรเต้นเบา และอาจหมดสติได้ เป็นต้น

การปฐมพยาบาลคนเป็นลม ปฏิบัติได้ดังนี้

  1. เมื่อผู้ป่วยรู้สึกเวียนศีรษะ หน้ามืด ต้องให้ผู้ป่วยสูดหายใจยาวๆ และนำผู้ป่วยไปอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
  2. ถ้าผู้ป่วยหมดสติควรให้ผู้ป่วยนอนหงาย โดยให้ศีรษะต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย หรือนอนราบก็ได้ และปฏิบัติดังนี้
    • คลายเสื้อผ้าให้หลวม
    • กันคนอย่าให้มุงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
    • ให้ดมยาดมหรือแอมโมเนีย
    • เช็ดเหงื่อผู้ป่วยให้แห้ง
    • ถ้ายังไม่ฟื้นต้องให้ความอบอุ่น ผายปอด และรีบพาไปพบแพทย์ทันที

นิยามของคำว่า“เคลื่อนย้าย (Transfers)”

การเคลื่อนย้ายเป็นการนำหรือช่วยผู้ป่วยจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ผู้ป่วยสามารถพยุงตนเองโดยการเดิน หรือใช้แขนได้ และมีการใช้เครื่องช่วยเช่นกระดานเคลื่อนย้าย walker หรือไม้เท้าเพื่อพยุงในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยตนเองได้

นิยามของ คำว่า “การยก(lifts)”

การยกเป็นกระบวนการที่ต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมดของผู้ป่วย (entire body weight) โดยคนอื่น (ผู้ป่วยไม่สามารถทำหรือช่วยได้)  หรือเครื่องมือเช่น เครื่องช่วยยก เพื่อจัดท่าหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่อื่น

 เทคนิคการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

  1. การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว
    วิธีที่ 1พยุงเดินเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ
    วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกัน แขนข้างหนึ่งของ ผู้ป่วยพาดคอ ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือโอบเอวและพยุงเดิน
    การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

วิธีที่ 2 การอุ้ม วิธีนี้ใช้กับผู้บาดเจ็บที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือในเด็กซึ่งไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักโดยการช้อนใต้เข่าและประคองด้านหลัง หรืออุ้มทาบหลังก็ได้

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

วิธีที่ 3 วิธีลาก เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้ ถังแก็สระเบิด หรือตึกถล่ม จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด

 

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

  1. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน
    วิธีที่ 1 อุ้มและยกเหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้
วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักและผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

  1. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน
    วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียงเหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ
    วิธีเคลื่อนย้ายผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียว ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้
    คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอและหลังส่วนบน
    คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณหลังส่วนล่างและก้น
    คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา
    ผู้ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอที่สุดควรเป็นคนที่ 3 เพราะรับน้ำหนักน้อยที่สุด เมื่อจะยกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องทำงานพร้อมๆ กัน โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นออกคำสั่ง ขั้นแรก ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า แต่ถ้าจะอุ้มเคลื่อนที่ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคง และอุ้มยืน เมื่อจะเดินจะก้าวเดินไปทางด้านข้างพร้อมๆ กัน และถ้าจะวาง ผู้ป่วยให้ทำเหมือนเดิมทุกประการ คือ คุกเข่าลงก่อนและค่อย ๆ วางผู้ป่วยลง
    การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง
วิธีที่ 2 การใช้คน 3 คน วิธีนี้ใช้ในรายที่ผู้บาดเจ็บนอนหงาย หรือ นอนคว่ำก็ได้ ให้คางของผู้บาดเจ็บยกสูงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ
1. ผู้ปฐมพยาบาล 2 คนคุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งผู้ปฐมพยาบาลอีก 1 คน คุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บ
2. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 1 ประคองที่ศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างหนึ่งรองส่วนหลังผู้บาดเจ็บ
3. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 2 อยู่ตรงข้ามคนที่ 1ใช้แขนข้างหนึ่งรองหลังผู้บาดเจ็บ เอามือไปจับมือคนที่ 1 อีกมือหนึ่งรองใต้สะโพกผู้บาดเจ็บ
4. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 3 มือหนึ่งอยู่ใต้ต้นขาเหนือมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพก แล้วเอามือไปจับกับมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกนั้น ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองที่ขาใต้เข่า
5. มือคนที่ 1 และคนที่ 2 ควรจับกันอยู่ระหว่างกึ่งกลางลำตัวส่วนบนของผู้บาดเจ็บ ผู้ปฐมพยาบาลจะต้องให้สัญญาณลุกขึ้นยืนพร้อม ๆ กัน

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีใช้คน 3 คน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม
ใช้กรณีที่ไม่มีเปลหามแต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง
วิธีเคลื่อนย้าย พับผ้าห่มตามยาวทบกันเป็นชั้น ๆ 2-3 ทบ โดยวิธีการพับผ้าห่มพับเช่นเดียวกับการพับกระดาษทำพัด วางผ้าห่มขนาบชิดตัวผู้ป่วยทางด้านข้าง ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะแคงตัวเพื่อให้นอนบนผ้าห่ม แล้วดึงชายผ้าห่มทั้งสองข้างออก เสร็จแล้วจึงม้วนเข้าหากัน จากนั้นช่วยกันยกตัวผู้ป่วยขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งต้องประคองศีรษะผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่า ได้รับบาดเจ็บที่คอหรือหลัง

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม
เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุ การใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล

วิธีการเคลื่อนย้าย เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งเป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน เพื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกัน

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม
 

วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหาม

1. บานประตูไม้
2. ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้น ใช้ไม้ยาวสองอัน ยาวประมาณ 2.20 เมตร
- อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว
- อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้นพับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ

การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

 ภาพ การใช้ผ้าห่มมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย

  1. เสื้อและไม้ยาว 2 อันนำเสื้อที่มีขนาดใหญ่พอๆกันมาสามตัว ติดกระดุมให้เรียบร้อย ถ้าไม่แน่ใจว่ากระดุมจะแน่นพอให้ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายช่วยด้วย แล้วสอดไม้สองอันเข้าไปในแขนเสื้อ
    การ เคลื่อน ย้าย ผู้ป่วย เป็นลม

>>>>

ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

http:// www.firstphysioclinic.com

Line ID : 0852644994

TEL.: 085-264-4994

เมื่อเพื่อนเป็นลมเราควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีการใด

เมื่อพบคนที่เป็นลม ควรรีบให้คนไข้นอนราบ หัวต่ำ (ไม่หนุนหมอน) และใช้หมอน หรือสิ่งอื่นยกขาให้สูงขึ้น.
คลายเสื้อผ้าที่คับ ให้หลวมออก.
กันไม่ให้คนมามุงล้อมผู้ป่วย.
ใช้พัดหรือสิ่งอื่นโบกลมให้ผู้ป่วย.
อาจให้คนไข้สูดดมยา เช่น ยาหม่อง พิมเสน แอมโมเนียหอม หัวหอม หรืออื่น ๆ.

ผู้ป่วยเป็นลมควรให้นอนท่าไหน

1.ให้ผู้ป่วยนอนศีรษะต่ำ (ไม่ต้องหนุนหมอน ยกขาสูง) คลายเสื้อผ้าและเข็มขัดให้หลวม เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ 2.อย่ามุงดูผู้ป่วย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 3.ใช้น้ำเย็นเช็ดบริเวณใบหน้า คอ แขนขา และให้ดมยาดม จะช่วยให้รู้สึกตัวเร็วขึ้น

คนเป็นลมทำยังไง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น.
จับผู้ป่วยนอนศีรษะต่ำ ปลดเสื้อผ้าและเข็มขัดให้หลวม.
ห้ามคนมุงดู เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก.
ใช้ผ้าเย็นๆ เช็ดตามหน้า คอและแขนขา.
ขณะที่ยังไม่ฟื้นห้ามให้น้ำและอาหารทางปาก.
เมื่อเริ่มรู้สึกตัว อย่าให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งทันที ควรให้พักต่ออีกสัก 15-20 นาที.

ผู้ป่วยที่เป็นลมจะมีอาการตามข้อใด

โดยแท้ที่จริงท่านอาจจะมีอาการมากกว่า เช่น ก่อนจะเป็นลมก็จะมีอาการเตือนมาก่อนว่ารู้สึกไม่ค่อยสบาย หนักในศีรษะ, ตัวโครงเครง หรือพื้นที่ยืนเคลื่อนไหวได้, ความรู้สึกสับสน, มองเห็นภาพเป็นจุดดำมืด, ตัวมัวลง มีเสียงดังในหู ท่านอาจจะคลื่นไส้ และบางทีก็อาเจียนออกมาแล้วไม่รู้สึกตัว