การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม

การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม

การแพร่แบบธรรมดา

ครูทบทวนความรู้เรื่องการแพร่ของโมเลกุลสาร โดยใช้กรณีของการหยดสารละลายด่างทับทิม

ลงในน้ำ� จากนั้นอธิบายกลไกการแพร่แบบธรรมดาว่าเกิดจากการเคลื่อนที่ของโมเลกุลสารและการ

เคลื่อนไหวของฟอสโฟลิพิดในชั้นลิพิดที่ทำ�ให้เกิดช่องที่โมเลกุลสารสามารถแทรกผ่านได้ โดยมีทิศทาง

การลำ�เลียงจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ� (รูป 3.29

ในหนังสือเรียน) อาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพื่อหาตัวอย่างสารที่ลำ�เลียงโดยวิธีนี้เพิ่มเติม

ออสโมซิส

ครูอธิบายเกี่ยวกับออสโมซิส โดยเพิ่มเติมจากกรณีการแพร่แบบธรรมดา ว่าโมเลกุลของน้ำ�มี

การเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาและสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้เช่นกัน ครูอาจเชื่อมโยงความรู้กับ

สถานการณ์ในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเก็บรักษาพืชผักไม่ให้เหี่ยว ความเข้มข้นของน้ำ�เกลือที่ให้ผู้ป่วย

ผ่านทางหลอดเลือด

การแพร่แบบฟาซิลิเทต

ครูนำ�เข้าสู่เรื่องการแพร่แบบฟาซิลิเทต โดยใช้ผลการวัดอัตราการลำ�เลียงกลูโคสเข้าสู่เซลล์เม็ด

เลือดแดงโดยเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดแดงในสารละลายกลูโคสที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ซึ่งพบว่าอัตรา

การลำ�เลียงที่วัดได้ต่างจากค่าประมาณการหากเกิดการลำ�เลียงโดยการแพร่แบบธรรมดา (รูป 3.30 ใน

หนังสือเรียน) และถามว่าการลำ�เลียงกลูโคสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงนี้มีกลไกเป็นอย่างไร

ครูอธิบายถึงอัตราการลำ�เลียงกลูโคสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงในการทดลองว่า เนื่องจากการ

แพร่แบบฟาซิลิเทตเกิดผ่านโปรตีนลำ�เลียงซึ่งมีความจำ�เพาะต่อสารจึงเกิดได้เร็วกว่าการแพร่แบบ

ธรรมดามากที่ความเข้มข้นเริ่มต้นเดียวกัน จากนั้นอธิบายถึงกลไกการแพร่แบบฟาซิลิเทต

โดยครอบคลุมถึงการจับกับโปรตีนลำ�เลียงที่มีความจำ�เพาะกับสาร การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโปรตีน

ลำ�เลียงที่ทำ�ให้โมเลกุลของสารที่จับเคลื่อนเข้าสู่เซลล์ และทิศทางการลำ�เลียงที่สัมพันธ์กับความเข้มข้น

(รูป 3.31 ในหนังสือเรียน)

ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบการแพร่แบบธรรมดากับการแพร่แบบฟาซิลิเทตในประเด็นต่อไปนี้

และอาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวอย่างสารอาหารที่ลำ�เลียงด้วยการแพร่แบบธรรมดา

และการแพร่แบบฟาซิลิเทต

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

204

อนุภาคของสารมีการเคลื่อนที่อย่างไร

โดย :

สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ

124 - อนุภาคของสารมีการเคลื่อนที่อย่างไร

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้นักเรียนสังเกตการแพร่ของเกล็ดด่างทับทิมในน้ำ เหมาะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

การแพร่ ด่างทับทิม

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

วีดิทัศน์และวีดิโอคลิป

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม

Hits

การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม
(19840)

สาธิตและทดลองให้เห็นจริงถึงการนำโทรศัพท์มือถือมาดูการผสมสีของแม่สีแสงจากจอแสดงผลแบบผลึกเหลว(Liquid ...

การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม

Hits

การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม
(13527)

ไขปริศนาวิทยากล ตอน แรงเสียดทานใช้ทำอะไร เป็นสื่อประกอบการสอนวิชาฟิสิกส์ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีเ ...

การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม

Hits

การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม
(5473)

วีดิทัศน์ประโยชน์ของแสงซินโครตรอน เป็นการแสดงถึงคุณสมบัติพิเศษของแสงซินโครตรอน นำไปสู่การใช้ประโยชน ...

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเคลื่อนที่ของด่างทับทิม

ภาพแสดงการผสมกันของสารสองสารด้วยการแพร่

การแพร่ เป็นการกระจายตัวของโมเลกุลของสสารจากจุดที่มีความเข้มข้นสูงกว่าไปยังจุดที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าด้วยการเคลื่อนที่เชิงสุ่มของโมเลกุล การแพร่จะทำให้เกิดการผสมของวัสดุอย่างช้า ๆ สำหรับเฟสหนึ่ง ๆ ของวัสดุใด ๆ ก็ตามที่มีอุณหภูมิสม่ำเสมอและไม่มีแรงภายนอกมากระทำกับอนุภาค กระบวนการแพร่ก็จะยังคงเกิดถึงแม้ว่าสสารจะผสมกันโดยสมบูรณ์หรือเข้าสู่ภาวะสมดุลแล้ว โดยพื้นฐานแล้ว การเคลื่อนที่ของโมเลกุลจากพื้นที่ที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่ความเข้มข้นที่ต่ำกว่าเรียกว่าการแพร่ทั้งสิ้น ตัวอย่างการแพร่ เช่น การแพร่ของเกล็ดด่างทับทิมในน้ำ การแพร่ของน้ำหวานในน้ำ การแพร่ของสีน้ำในน้ำ การแพร่ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

โดยปกติแล้วการแพร่ของโมเลกุลจะอธิบายทางคณิตศาสตร์ได้โดยผ่านกฎของฟิกส์

การประยุกต์ใช้งาน[แก้]

การแพร่เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญในสาขาย่อยของวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานมีดังต่อไปนี้

  • กระบวนการเผาผนึก (Sintering) เพื่อสร้างวัสดุแข็ง (เช่นการทำโลหะผง การทำเซรามิกส์)
  • การออกแบบตัวทำปฏิกิริยาเคมี
  • การออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยา ในอุตสหกรรมเคมี
  • การแพร่คาร์บอนหรือไนโตรเจน ลงไปในเหล็กเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ
  • การกระจายน้ำตาลเมื่อลงไปในน้ำ
  • การโดป (doping) ในกระบวนการผลิตสารกึ่งตัวนำ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ออสโมซิส

การแพร่เกิดขึ้นเมื่อใด

การแพร่ (Diffusion) คือ การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารจากที่มีความเข้มข้นของอนุภาค ของสารมากไปสู่ที่มีความเข้มข้นของอนุภาคของสารน้อย จนกระทั่งอนุภาคของสารทั้ง 2 บริเวณมี ความเข้มข้นเท่ากัน เรียกว่า สภาวะสมดุลของการแพร่การแพร่ของอนุภาคของสารจะเป็นไปอย่าง อิสระ สามารถแพร่ไปได้ทุกทิศทุกทาง

การแพร่ (diffusion) หมายถึงอะไร

О ทิศทางการแพร่จะเกิดจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่ บริเวณที่มีความเข้มข้นต ่าเสมอ О ในที่สุด บริเวณทั้งสองจะมีความเข้มข้นเท่ากัน ซึ่งเรียกว่าจุด สมดุลของการแพร่ ณ จุดนี้ อัตราการแพร่ไปและกลับมีค่าเท่ากัน จึง เรียกเป็นสมดุลจลน์ (Dynamic equilibrium)

สมดุลการแพร่ (diffusion equilibrium) คืออะไร

คือ การเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือไอออนของสารใดๆ จากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย จนกว่าทุกบริเวณจะมีความเข้มข้นของสารนั้นเท่ากัน เรียกสภาวะนี้ว่า สมดุลของการแพร่ (Dynamic Equilibrium)

กระบวนการแพร่มีอะไรบ้าง

ในชีวิตประจำวันของเรามีตัวอย่างของกระบวน การแพร่ของสาร เกิดขึ้นมากมาย เช่น การเติมน้ำตาลลงในกาแฟ การแพร่กระจายของกลิ่นน้ำหอม การฉีดพ่นยากันยุง การแช่อิ่มผลไม้ หรือแม้แต่การจุดธูปบูชาพระ เป็นต้น ประเภทของการแพร่