การสร้างแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติด

สมุนไพรถอนพิษยาเสพติดมีอะไรบ้าง ? ได้ผลจริงหรือ ?

สมุนไพรถอนพิษยาเสพติดมีอะไรบ้าง ข้อควรระวังคืออะไร สมุนไพรเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการต่างๆของการติดยาเสพติดได้ แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งจะปลอดภัย 100 % ควรได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเลิกยาเสพติด

วิธีการเลือกสถานบำบัดยาเสพติดที่คุณควรรู้ !

รวมทุกประเด็นที่ควรพิจารณาก่อนเลือกสถานบำบัดยาเสพติด เลือกอย่างไรให้เหมาะสม ความแตกต่างระหว่างสถานบำบัดของรัฐและเอกชนคืออะไร แบบไหนให้ผลลัพธ์ดี บทความนี้มีคำตอบ

ทุกเรื่องที่ควรรู้หากคนในครอบครัวติดยาเสพติด

รวมทุกแนวทางสำคัญที่ทุกครอบครัวจำเป็นต้องรู้ เมื่อคนในครอบครัวติดยาเสพต - แนวทางปฏิบัติตัวในครอบครัว - การประเมินอาการในเบื้องต้น - กระบวนการโน้มน้าวใน 4 ขั้นตอน - สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ - ภูฟ้าสามารถช่วยซัพพอร์ตครอบครัวที่ต้องอยู่กับผู้ป่วยยาเสพติดได้

  DSpace Repository

ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการมองโลกทางบวกและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดของเยาวชนที่ใช้สารเอมเฟตามีน

  • DSpace Home
  • คณะพยาบาลศาสตร์ (Faculty of Nursing)
  • รายงานการวิจัย(Research Reports)
  • View Item

JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการมองโลกทางบวกและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดของเยาวชนที่ใช้สารเอมเฟตามีน

จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส; นุชนาถ แก้วมาตร; ภาคิณี เดชชัยยศ; หทัยชนก เผ่าวิริยะ; ศรวิษฐ์ บุญประชุม; สุรชาติ นันตา

Date: 2560

Abstract:

การดูแลที่สำคัญในเยาวชนผู้ใช้สารเสพติดในระยะฟื้นฟู คือการเพิ่มความเข้มแข็งและแรงจูงใจ ภายในเพื่อป้องกันการกลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการมองโลกทางบวกและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดของเยาวชนที่ใช้สารเอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่เข้าร่วมบำบัดฟื้นฟูจากยาเสพติดในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ ๒ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 48 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดเสริมสร้างแรงจูงใจรายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกทางบวกและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดและโปรแกรมบำาบัดฟื้นฟูยาเสพติดตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดตามปกติกลุ่มบำบัดใช้เวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามการมองโลกทางบวก และความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่น .77 และ .85 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระยะก่อนและหลังการทดลองเสร็จสิ้น และระยะติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำา (Two-way repeated measurement ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. เยาวชนที่ใช้สารแอมเฟตามีนในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มบำบัดฯ มีคะแนนเฉลี่ย ความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดและการมองโลกทางบวกในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือนแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เยาวชนที่ใช้สารแอมเฟตามีนในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มบำบัดฯ มีคะแนนเฉลี่ย ความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีกับระยะติดตามผล 1 เดือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เยาวชนที่ใช้สารแอมเฟตามีนในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มบำบัดฯ มีคะแนนเฉลี่ยการ มองโลกทางบวกในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สามารถนำโปรแกรมการบำบัดนี้ ไปใช้เพื่อบำบัดเยาวชนที่ใช้สารเสพติดเพื่อเสริมสร้างการมองโลกทางบวกและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด

Show full item record

Files in this item

การสร้างแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติด

Name: 2562_014.pdf

Size: 2.546Mb

Format: PDF

This item appears in the following Collection(s)

  • รายงานการวิจัย(Research Reports)

Search DSpace

Browse

  • All of DSpace

    • Communities & Collections
    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects
  • This Collection

    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects

My Account

  • Login
  • Register

แรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติดโรงพยาบาลปทุมธานี

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

โปรแกรมเมทริกซ์, แรงจูงใจในการเลิกสารเสพติด, คุณภาพชีวิต, การบำบัดสารเสพติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเลิกสารเสพติดและคุณภาพชีวิตก่อนและหลังเข้ารับการบำบัดสารเสพติดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ของผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติด โรงพยาบาลปทุมธานี 

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการบำบัด จากผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ ที่โรงพยาบาลปทุมธานี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม SOCRATES และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้การทดสอบค่าที

ผลการศึกษา: จากผลการวิจัยคะแนนเฉลี่ย SOCRATES ก่อนและหลังเข้ารับการบำบัด พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการรู้ตนเองอยู่ในระดับต่ำมากเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คะแนนเฉลี่ยด้านความลังเลอยู่ในระดับต่ำเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และคะแนนเฉลี่ยด้านการลงมือทำอยู่ในระดับต่ำก่อนเข้ารับการบำบัดและระดับปานกลางหลังเข้ารับการบำบัด คะแนนเฉลี่ยด้านการรู้ตนเองและด้านความลังเลมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยด้านการลงมือทำและคะแนนรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกายอยู่ในระดับดีทั้งก่อนและหลังการบำบัดไม่เปลี่ยนแปลง คะแนนเฉลี่ยด้านจิตใจอยู่ในระดับดีทั้งก่อนและหลังการบำบัดไม่เปลี่ยนแปลง คะแนนเฉลี่ยด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลางทั้งก่อนและหลังเข้ารับการบำบัดไม่เปลี่ยนแปลง ด้านสิ่งแวดล้อมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางก่อนเข้ารับการบำบัดและระดับดีหลังเข้ารับการบำบัด คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านสังคมและคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : การบำบัดสารเสพติดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ 16 สัปดาห์ของโรงพยาบาลปทุมธานีมีประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการบำบัดโดย ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเลิกสารเสพติดและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://antidrugnew.moph.go.th/
2. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. แผนประชารัฐร่วมใจสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนมั่นคง ปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ. 2559-2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://www.oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/ProgramsandActivities/Pracharat_plan%202559-2560.pdf
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. โครงการพัฒนาการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพและผู้ติดยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2563 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2563]; เข้าถึงได้จาก: http://164.115.23.235:8080/sms2020/report/v_actionplan_budget_budgetcenter.php?budget_center=2100200081&budget_code=2100205782000000&budget_id=O3095
4. กัณณิกา สิทธิพงษ์. แรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(2): 217-38.
5. อมาวสี กลั่นสุวรรณ, นิตยา ตากวิริยะนันท์, ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงตนเองของผู้ป่วยเสพติดแอมเฟตามีน ในสถานบำบัดรักษาแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารกรมการแพทย์. 2561; 43(1): 90-5.
6. จิรฉัตร ถิ่นไพโรจน์, นวพร หิรัญวิวัฒน์กุล. ผลของการเข้ารับการบำบัดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยยาเสพติดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทยทหารบก. 2561; 71(1): 3-10.
7. Miller WR, Tonigan JS. Assessing drinkers’ motivation for change: The Stages of Change Readiness and Treatment Eagerness Scale (SOCRATES). Psychology of Addictive Behaviors. 1996; 10(2): 81-9.
8. อรรถพงษ์ ฉัตรดอน, รัศมน กัลยาศิริ. ความชุกของการใช้และการติดสารเสพติด คุณภาพชีวิต และแรงจูงใจการเปลี่ยนแปลงการใช้สารเสพติดของผู้ป่วยนอก แผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวุฒิบัตรจิตเวชศาสตร์]. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ , บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
9. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด, ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 4; 7-9 กันยายน 2541; โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่; 2540.
10. Prochaska JO, DiClemente CC, Norcross JC. In search of how people change. Applications to addictive behaviours. Am Psychol. 1992; 47(9): 1102-14. doi: 10.1037//0003-066x.47.9.1102.
11. Diclemente CC, Prochaska JO. Self change and therapy change of smoking behavior: A comparison of processes of change in cessation and maintenance. Addict Behav. 1982; 7(2): 133-42. doi: 10.1016/0306-4603(82)90038-7

การสร้างแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติด

How to Cite

License

ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์