บรรดา เจ้าภาษีนายอากร ส่วน ใหญ่ จะ เป็น ชาว เพราะ

รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้น

     รัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง "สวนขวา" ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น มีการฟื้นฟูประเพณีวิสาขบูชาขึ้นใหม่

    รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่อง"อิเหนา" เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย สมัยนี้จัดเป็นยุคทองของวรรณคดี มีกวีคนสำคัญและมีชื่อเสียง จัดเป็นกวีเอกของโลก คือ สุนทรภู่ สมัยรัชกาลที่ 2 จัดเป็นยุคทองของวรรณคดี

       รัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด จิตกรเอกที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานดีเด่นในสมัยนี้ ได้แก่  หลวงวิจิตรเจษฎา (ครูทองอยู่) และ 

     มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรี ศูนย์กลางการศึกษาอยู่ที่ วัด และวัง

  เดิมใช้หนังสือจินดามณี เป็นแบบเรียน ต่อมามีหมอบรัดเลย์  มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งเข้าในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้พิมพ์หนังสือ  ประถม ก กา  ถือว่า หมอบรัดเลย์เป็นผู้นำการศึกษาแบบใหม่ และเป็นผู้นำความเจริญด้านการแพทย์ โดยเฉพาะการรักษาโรคโดยการผ่าตัด เข้ามาในประเทศไทย และในระยะนี้ยังไม่มีโรงเรียน ผู้ที่ต้องการเรียนต้องไปเรียนยังสำนักต่างๆ เช่น สำนักเจ้าพระยาศรีธรรมราช  สำนักพุทธโฆษาจารย์แห่งวัดพุทไธสวรรย์ และ

การเรียนที่สำคัญอีกแบบหนึ่งคือ การศึกษาวิชาชีพตามบรรพบุรุษ เช่น แพทย์  นักกฎหมาย  ครูอาจารย์  ช่างถม  ช่างทอง ช่างปั้น ช่างแกะสลัก  โดยจะอยู่กันเป็นแหล่งๆ เช่น  บ้านหม้อ  บ้านบาตร  บ้านช่างหล่อ  เป็นต้น

สำหรับการศึกษาสมัยใหม่  โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ เริ่มมีปรากฏบ้าง โดยพวกมิชชันนารีซึ่งเข้ามาสอนศาสนาเป็นผู้ดำเนินการ แต่จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงพระราชวงศ์และขุนนางข้าราชการเท่านั้น

ขนบธรรมเนียมประเพณี 

ขนบธรรมเนียมประเพณีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยึดตามแบบอยุธยา ที่สำคัญได้แก่

1.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) พระราชพิธีพระเมรุมาศ (การเผาพระบรมศพ) พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีสมโภชช้างเผือก ฯลฯ 

2.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพราหมณ์ เช่น พิธีการโล้ชิงช้า การสร้างโบสถ์พราหมณ์ ฯลฯ 

3.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระราชพิธีอาพาธพินาศ พระราชพิธีพืชมงคล ฯลฯ 

4.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับชาวบ้าน เช่น การเล่นเพลงสักวา พิธีการทำขวัญนาค การแต่งงาน การเผาศพ การโกนจุก พิธีตรุษสงกรานต์ สารทไทย ฯลฯ 

5.             ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พิธีวิสาขบูชา อาสาฬหบูชา มาฆบูชา เข้าพรรษา ออกพรรษา การบวชนาค เทศน์มหาชาติ สมโภชพระแก้วมรกต ฯลฯ

สมัยรัตนโกสินทร์ได้รับการฟื้นฟูหลายพิธี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีสมโภชช้างเผือก พระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกต การเล่นสักวา พระราชพิธีตรียัมปวาย(โล้ชิงช้า) พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตรา ทางสถลมารคและชลมารค พระราชพิธีอาพาธพินาศ พระราชพิธีวันวิสาขบูชา ฯลฯ พระราชพิธีดั้งเดิมเก่าแก่ของไทยนี้แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ความสามัคคีกลมเกลียวของคนในชาติ รวมทั้งความมั่นคงเป็นปึกแผ่นมาช้านานของชาติไทย 

ด้านวรรณกรรม 

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราชสำนักจัดว่าเป็นศูนย์กลางของวรรณกรรมและเป็นที่ชุมนุมของบรรดากวีทั้งหลาย ซึ่งมีทั้งองค์พระมหากษัตริย์ เจ้านายและบุคคลธรรมดา วรรณคดีที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ รามเกียรติ์ ราชาธิราช และสามก๊ก ในรัชกาลที่ 2 ทรงนิพนธ์บทละครไว้หลายเรื่อง แต่ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ บทละครเรื่องอิเหนา ส่วนกวีเอกสมัยนี้ คือ สุนทรภู่ ซึ่งมีผลงานชั้นเยี่ยมหลายประเภทด้วยกัน มีทั้งบทละคร เสภา นิราศ บทเห่ และกลอน เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน นิราศภูเขาทอง กลอนสุภาษิตสอนหญิง ฯลฯ 

ด้านศิลปกรรม 

ศิลปะแขนงต่างๆ ได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจังจนกลับเจริญรุ่งเรืองเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมที่สร้างอย่างประณีตงดงาม ทรงคุณค่ายิ่งของชาติ ได้แก่ พระราบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม และวัดราชโรสาราม ซึ่งทั้ง 3 วัดหลังนี้เป็นประจำรัชกาลที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ นอกจากนี้แล้วช่างสิบหมู่ยังร่วมกันสร้างผลงานไว้มากมาย เช่น เครื่องราชูปโภคขององค์พระมหากษัตริย์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ และเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ 

จิตรกรรม

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา เช่น การวาดภาพในอาคารที่เป็นพระอุโบสถ หรือพระวิหาร มักจะวาดภาพเทพชุมนุม ตั้งแต่เหนือระดับหน้าต่างขึ้นไปจนถึงเพดาน ส่วนช่วงระหว่างช่องหน้าต่างจะวาดภาพพุทธประวัติ หรือเทศชาติชาดก ผนังด้านหลังพระประธานวาดภาพเรื่องไตรภูมิ และผนังตรงหน้าพระประธานวาดภาพพระพุทธเจ้าตอนมารผจญ เช่น ภาพจิตรกรรมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านตะวันออกและตะวันตกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ฯลฯ ทั้งสองแห่งนี้เป็นงานในรัชกาลที่ 1 

ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ไม่มีงานให้เห็นเด่นชัด เนื่องจากการก่อสร้างที่สำคัญมักจะเสร็จในรัชกาลที่ 3 ดังนั้นภาพจิตรกรรมที่ประดับอาคารนั้นๆ มักจะเป็นภาพจิตรกรรมในรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น มักจะเป็นภาพจิตรกรรมในรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น ถือได้ว่ารุ่งเรืองที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะการที่มีการติดต่อค้าขายกับจีน ประกอบกับรัชกาลที่ 3 ทรงนิยมด้วย เห็นได้ชัดจากวัดหลวงในรัชกาลนี้ อาคารจะสร้างแบบจีนเป็นส่วนมาก จิตรกรเอกที่มีฝีมือชั้นครูมีผลงานดีเด่นในรัชกาลที่ 3 คือ หลวงวิจิตรเจษฎา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ครูทองอยู่ และครูคง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า คงแป๊ะ ผลงานของทั้งสองท่านนี้ถือว่าเป็นมรดกทางจิตรกรรมที่ล้ำค่าอย่างยิ่ง ภาพจิตรกรรมที่สำคัญในรัชกาลที่ 3 ได้แก่ ภาพจิตกรรมที่พระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดอรุณราชวราราม วัดบางยี่ขัน เป็นต้น 

นาฏศิลป์และดนตรีไทยเจริญที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 2 เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกวี เป็นศิลปิน และทรงสนพระทัยงานด้านนี้เป็นพิเศษ การเล่นโขนในรัชกาลนี้ได้ใช้เป็นแบบแผนของชาติสืบต่อมา

รัตนโกสินทร์สมัยปฏิรูปประเทศ

วิกฤตการณ์ทางการเมืองและการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก

นโยบายของไทยที่มีต่อการล่าอาณานิคม 

     การดำเนินวิเทโศบายของรัชกาลที่ 4 และ 5 ในยุคล่าอาณานิคมของชาวตะวันตกพระองค์ทรง   

ตะหนักถึงความเป็นมหาอำนาจของชาติตะวันตก การต่อต้านโดยใช้กำลังจึงเป็นไป  ไม่ได้ จึงต้อง

ใช้วิธีการอื่นแทน ซึ่งพอสรุปได้ 3 ประการ ได้แก่    

1. การผ่อนหนักเป็นเบา      

2. การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย        

3.การผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป

การผ่อนหนักเป็นเบา

     1.ยอมทำสนธิสัญญาเสียเปรียบ คือ สนธิสัญญาเบาริง ทำกับประเทศอังกฤษในสมัย  รัชกาลที่ 4 แม้จะทรงทราบดีว่าเสียเปรียบ แต่ก็พยายามให้เสียเปรียบให้น้อยที่สุด

บรรดา เจ้าภาษีนายอากร ส่วน ใหญ่ จะ เป็น ชาว เพราะ

2.การยอมเสียดินแดน รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงทราบดีถึงวิธีการเข้าครอบครองดินแดนไว้เป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก เช่น ขั้นแรกจะเน้นเข้ามาค้าขายหรือเผยแพร่ศาสนาก่อนแล้วภายหลังก็จะอ้างถึงข้อขัดแย้ง หรือขอสิทธิพิเศษ (เช่น ขอเช่าเมือง,แทรกแซงกิจการ ภายในประเทศ) ขั้นต่อไปก็จะส่งกำลังทหารเข้ายึด อ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนของตนให้ปลอดภัยหรือเพื่อเป็นหลักประกันให้ปฏิบัติตามสัญญา ขั้นสุดท้ายก็ใช้กำลังเข้ายึดเพื่อเอาเป็นดินแดนอาณานิคม โดยอ้างข้อพิพาทต่างๆ (กรณีอังกฤษยึดพม่า) ด้วยพระปรีชาสามารถในการหยั่งรู้ความคิดนี้ ทำให้พระองค์สามารถประคับ   ประครองให้ชาติไทยพ้นจากการถูกยึดครองของชาวตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเสียสละดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ของชาติเอาไว้ (ถือเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะทำเพื่อรักษาเอกราชเอาไว้)

นโยบายผ่อนหนักเป็นเบา 

     1. สนธิสัญญาเบาริง

ข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งของไทยจากสนธิสัญญาเบาริง 

สนธิสัญญาเบาริงเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน ในบรรดาความเสียเปรียบเหล่านั้นมีความเสียเปรียบ

ที่ยิ่งใหญ่ 2 ประการ

         1.ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ

            สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ สิทธิที่ไม่ต้องขึ้นศาลไทย เมื่อคนอังกฤษหรือคนในบังคับอังกฤษ 

(ประเทศอาณานิคมของอังกฤษ) หรือคนชาติใดๆ ที่ขอจดทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษ ทำความผิดหรือมีคดี

กับคนไทย ในประเทศไทย ให้ไปขึ้นศาลกงสุลอังกฤษ โดยอ้างว่า กฎหมายของไทยป่าเถื่อนและล้าหลัง

         2.ทำให้อังกฤษเป็นชาติอภิสิทธิ์ คือ อังกฤษเป็นชาติที่มีสิทธิพิเศษ ไม่ว่าไทยจะทำสัญญากับประเทศอื่นใด 

ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริง ก็ให้ถือว่าอังกฤษมีสิทธิเช่นเดียวกับชาตินั้นๆ โดยอัตโนมัติ 

     2. การยอมเสียดินแดนการเสียดินแดนของไทยเป็นการเสียให้แก่ชาติตะวันตกเพียง 2 ชาติ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการเสียให้แก่ฝรั่งเศส ครั้งแรกเสียไปในตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

รัชกาลที่ 4 หลังจากนั้นเป็นการเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 

ทั้งสิ้นการเสียดินแดนเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายในการรักษาเอกราชของชาติ 

การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเร่งปรับปรุงชาติบ้านเมืองให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ

และการเสด็จประพาสยุโรปเพื่อผูกมิตรกับชาติมหาอำนาจในยุโรปถึง 2 ครั้งของพระองค์ เป็นเครื่องยืนยันพระราชวิริยะอุตสาหะของพระองค์ที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้ ทุกครั้งที่ทรงยินยอมเสียดินแดนไปนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทั้งสิ้น

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 4 

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4

สาเหตุการปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4 

1.ทรงได้รับแนวคิดจากชาวตะวันตก ซึ่งพระองค์ได้สัมผัสและทรงคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งยังผนวชอยู่

2.เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และเป็นพื้นฐานที่จะได้มีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป    เพื่อรักษาเอกราชของประเทศชาติให้พื้นจากการครอบครองของประเทศตะวันตก    

   ที่กำลังขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยในขณะนั้น

การปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4

1.ออกประกาศต่างๆ เรียกว่า ประกาศรัชกาลที่ 4 เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสาร    

   ระเบียบแบบแผนการปฏิบัติของผู้คนในสังคมอย่างถูกต้อง

2.ปรับปรุงกฎหมาย ทรงตราพระราชกำหนดกฎหมายใหม่ และออกประกาศข้อบังคับต่างๆ    

   ถือว่าเป็นกฎหมายเช่นเดียวกันรวมทั้งหมดประมาณ 500 ฉบับ

3.โปรดให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมหาราชวัง มีชื่อเรียกว่า “โรงอักษรพิมพการ”    

   เพื่อใช้พิมพ์ประกาศและกฎหมายต่างๆ เป็นหนังสือแถลงข่าวของทางราชการ เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา

4.ให้ราษฎรมีโอกาสได้ถวายฎีการ้องทุกข์ได้สะดวก พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีการร้องทุกข์    โดยพระองค์จะเสด็จออกมารับฎีการ้องทุกข์ด้วยพระองค์เองทุกวันโกณ ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ 

   เดือนละ 4    ครั้ง และโปรดเกล้าฯให้ตุลาการ ชำระความให้เสร็จโดยเร็ว    ทำให้ราษฎรได้รับความยุติธรรมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

5.ทรงประกาศให้เจ้านายและข้าราชการทำการเลือกตั้งตำแหน่ง พระมหาราชครูปุโรหิตาจารย์   

   และตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งที่ว่างลง    แทนที่พระองค์จะทรงแต่งตั้งด้วยพระราชอำนาจของพระองค์เอง    นับเป็นก้าวใหม่ของการเลือกตั้งข้าราชการบางตำแหน่ง

6.การปรับปรุงระบบการศาล ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่างเกี่ยวกับระบบ การศาล ได้แก่    

   ทรงยกเลิกการพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาล เริ่มมีการจัดตั้ง ศาลกงสุลเป็นครั้งแรก

7.ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงเสวย    น้ำพระพิพัฒน์สัตยา

   ร่วมกับขุนนางข้าราชการ และทรงปฏิญาณนความซื่อสัตย์ของ    พระองค์ต่อข้าราชการทั้งปวงด้วย 

   ซึ่งแต่เดิม ขุนนางข้าราชการจะเป็นผู้ ถวาย สัตย์ปฏิญาณแต่เพียงฝ่ายเดียว    นับว่าพระองค์ทรงมีความคิดที่ทันสมัยมาก

8.ทรงริเริ่มการจัดกองทหารแบบตะวันตก

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 5

สาเหตุสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

1.ปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพื่อป้องกันการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก

2.การปกครองแบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้าปฏิรูปการ

   ปกครองใหม่ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริง 

การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 

รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้

1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) สมาชิกสภาประกอบด้วยข้าราชการ

ที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาจำนวน 12 คน ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมีหน้าที่ ถวายคำปรึกษา

ในเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดินโดยทั่วไป พิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ

2.องคมนตรีสภา (สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์) (Privy Council) สมาชิกประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ

์และข้าราชการระดับต่างๆ จำนวน 49 คน ทำหน้าที่ ถวาย คำปรึกษาข้อราชการและเสนอความคิดเห็นต่างๆ 

และมีหน้าที่ช่วยปฏิบัติราชการตามแต่จะมีพระบรมราชโองการ ปัจจุบันคือ คณะองคมนตรี ต่อมาภายหลัง 2 สภา

ถูกยกเลิกไปเพราะขุนนางไม่พอใจ คิดว่ากษัตริย์จะล้มล้างระบบขุนนาง จึงเกิดการ ต่อต้าน 

การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 5

      มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยยกเลิก จตุสดมภ์ และใช้การบริหารงานแบบกระทรวง

ตามแบบอย่างของตะวันตก โดยจัดรวมกรมต่างๆ ที่มีลักษณะงาน คล้ายๆ กันมาเป็นกรมขนาดใหญ่ 12 กรม ต่อมา 

เปลี่ยนเป็น กระทรวง อยู่ในความดูแลของเสนาบดี มี 12 กระทรวง

1.กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งเมืองประเทศราชทางเหนือ 

2.กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้รวมทั้งเมืองประเทศราชทางใต้ 

3.กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ 

4.กระทรวงวัง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ ตลอดจนพิจารณาคดีแทนพระมหากษัตริย์ 

5.กระทรวงเมือง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในพระนคร ดูแลรักษาบัญชีคนดูแลเกี่ยวกับคุก ดูแลกิจการตำรวจ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงนครบาล)

6.กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ จัดการเรื่องการเพาะปลูก การป่าไม้ เหมืองแร่ 

   การค้าขาย และการขุดคลอง รวมทั้งโฉนดที่ดิน ที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 5 นี่เอง

7.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร รายรับ-รายจ่ายของแผ่นดิน 

ตลอดจนรักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน

8.กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องการทหาร ทั้งทหารบก และทหารเรือ 

9.กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการศาสนา การศึกษา การพยาบาลและพิพิธภัณฑ์ 

10.กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเรื่องการก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนการไปรษณีย์โทรเลขและการรถไฟ 

11.กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยรวมการพิจารณาพิพากษาคดี ที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆเข้าด้วยกัน 

12.กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร ตลอดจนพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการต่างๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ต่อมาได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหมและยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง เพื่อความเหมาะสมและรัดกุมมากยิ่งขึ้นและให้กระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เกี่ยวกับการทหาร        ทั่วประเทศอย่างเดียว

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ยาวนานมาก(23ปี)

มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการบริหารงานในกระทรวงมหาดไทยมีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

มีผลงานด้านการปกครองที่สำคัญคือการจัดตั้งมณฑล 18 มณฑล   จังหวัด 71 จังหวัด อันเป็นรากฐานสำคัญในการปกครองและบริหารท้องที่ในปัจจุบันจนได้รับการยกย่องว่าเป็น   “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 5

1.ยกเลิกหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา และยกเลิกหัวเมืองประเทศราช จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล แบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล 

   เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย เป็นการรวมอำนาจตามหัวเมืองเข้าสู่ราชธานี            

    1.1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ดูแล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น เมือง

    1.2 เมือง มีผู้ว่าราชการเป็นผู้ดูแล แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ 

    1.3 อำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ดูแล แต่ละอำเภอแบ่งออกเป็นตำบล 

    1.4 ตำบล มีกำนันเป็นผู้ดูแล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน 

    1.5 หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล 

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นของรัชกาลที่ 5

1.ทรงริเริ่มให้สิทธิแก่ราษฎรในการเลือกผู้ปกครองตนเองเป็นครั้งแรก โปรดเกล้าฯให้มีการทดลองเลือกตั้ง “ผู้ใหญ่บ้าน”ที่บางปะอิน 

   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมือง ต่อมาใน พ.ศ.2440 ทรงออกพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116    กำหนดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยอาศัยเสียงข้างมากของราษฎร

2.โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก และสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่บริหารงาน สุขาภิบาล มีรายได้จากภาษีโรงเรือนในท้องถิ่น 

ผลของการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5

1.ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผลสืบเนื่อง      มาจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล    โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

2.รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทางการเมือง    ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้งการคุกคามจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก ต่อประเทศไทย 

3.ทำให้กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครอง พากันก่อปฏิกิริยาต่อรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ดังจะเห็นได้จากกรณีกบฏผู้มีบุญภาคอีสาน ร.ศ.121  กบฏเงี้ยวเมืองแพร่    ร.ศ.121 กบฏแขกเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.121 แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานสถารณ์ไว้ได้