การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่

  1. หน้าหลัก
  2. บทความสุขภาพ
  3. เมนูอาหารแม่ท้อง

เมนูอาหารแม่ท้อง

การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่

Fertility and PregnancyFoodตั้งครรภ์

HIGHLIGHTS:

  • อาหารว่าง เปลี่ยนจากขนมนมเนยมาเป็นผักผลไม้ดีกับแม่ท้องและลูก ไม่อ้วนด้วย
  • หั่นผลไม้ หรือผัก เช่น แครอต เซเลอรี่ หรือซื้อผักสลัดเก็บไว้ในตู้เย็น เมื่อหิวรับประทานสดหรือเติมน้ำสลัด ราดโยเกิร์ต เป็นอาหารว่างทันใจ

อาจพูดได้ว่าอาหารการกินมีส่วนอย่างมากในการสร้างเสริมความแข็งแรงให้ลูกน้อยและสุขภาพของคุณแม่ ตลอด 280 วันตั้งแต่แรกตั้งครรภ์จนถึงวันคลอด คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีทั้งคุณค่าครบและเหมาะสมกับความต้องการทุกไตรมาสด้วย

การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่

เมนูที่เหมาะกับช่วงเวลาตั้งครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา

ช่วงแรกเกิด – 3 เดือน
สุขภาพแม่&ลูก คุณแม่มีอาการแพ้ท้อง ได้กลิ่นอะไรก็รู้สึกเหม็น กินไม่ลงอ่อนเพลีย วิงเวียน
ต้องการเป็นพิเศษ
  • อาหารย่อยง่าย ไม่มีกลิ่นคาวหรือฉุน รสเปรี้ยว
  • คาร์โบไฮเดรตย่อยง่าย อุดมคุณค่าทางอาหาร
    เพิ่มพลังงาน เช่น ข้าวกล้อง มัน และลูกเดือย ฯลฯ
  • กรดโฟลิกสร้างเซลล์สมองลูก มีมากในผักสีเขียว
    บรอกโคลี และผักโขม ฯลฯ
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 สร้างเซลล์สมองลูก
    มีมากในปลาทู ปลาแซลมอน และสาหร่ายทะเล ฯลฯ
  • วิตามินซี สร้างภูมิต้านทาน ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก
    และเสริมความแข็งแรงให้รก มีใน ผักสีเขียว ฝรั่ง มะขามป้อม ส้ม ฯลฯ
  • วิตามินดี ช่วยดูดซึมแคลเซียม จากแสงแดดอ่อนๆ
  • วิตามินบีรวม ช่วยสร้างเซลล์สมอง และความจำ
    มีในไข่แดง ตับ และนม ฯลฯ
  • โคลีน ช่วยสร้างเซลล์สมองลูก สารสื่อประสาทและความจำ
    มีมากใน จมูกข้าวสาลี ไข่แดง และเนื้อสัตว์ฯลฯ
  • ไขมัน ช่วยดูแลระบบในร่างกายแม่
    และดูแลสมองลูก มีในน้ำมันพืชต่างๆ
เมนู
  • โจ๊กข้าวกล้อง
  • ซุปผักโขม
  • ไก่ผัดขิง
  • บรอกโคลีผัดกุ้ง
  • ปลากะพงนึ่งมะนาว
  • ปลาช่อนทะเลผัดขิง
  • ยำผลไม้รวม
ช่วง 3 – 6 เดือน
สุขภาพแม่&ลูก คุณแม่มีปัญหาท้องผูก และต้องการอาหารเพิ่ม เพราะทารกในครรภ์โตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต้องการเป็นพิเศษ
  • โปรตีนสร้างเนื้อเยื่อลูก กินโปรตีนดีจากเนื้อสัตว์ไขมันน้อย เช่น ปลา ถั่ว และ นม ฯลฯ
  • เหล็กสร้างเลือดเพิ่มเพื่อส่งอาหารและออกซิเจนให้ลูก มีมากใน เนื้อสีแดง ตับ ไข่แดง ปลา กระเพราฯลฯ
  • ไอโอดีน ดูแลสมองและสติปัญญา มีมากในอาหารทะเล
  • ใยอาหาร ลดปัญหาท้องผูก มีมากใน ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท และผักผลไม้ ฯลฯ
เมนู
  • ผัดผักรวม
  • ต้มยำทะเล
  • ต้มส้มปลาทู
  • แกงส้มผักรวม
  • ตับผัดกระเพรา
  • ยำไข่ดาว
  • ข้าวกล้องคลุกกะปิ
ช่วง 6 – 9 เดือน
สุขภาพแม่&ลูก คุณแม่กินน้อยลงเนื่องจากลูกตัวโตขึ้น
จึงต้องกินน้อยๆ แต่เพิ่มมื้อแทน คุณแม่เป็นตะคริวง่าย
ต้องการเป็นพิเศษ
  • โปรตีนสร้างเนื้อเยื่อลูก กินโปรตีนดีจากเนื้อสัตว์ไขมันน้อย เช่น ปลา ถั่ว และ นม ฯลฯ
  • เหล็กสร้างเลือดเพิ่มเพื่อส่งอาหารและออกซิเจนให้ลูก มีมากใน เนื้อสีแดง ตับ ไข่แดง ปลา กระเพราฯลฯ
  • ไอโอดีน ดูแลสมองและสติปัญญา มีมากในอาหารทะเล
  • ใยอาหาร ลดปัญหาท้องผูก มีมากใน ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท และผักผลไม้ ฯลฯ
เมนู
  • ผัดผักรวม
  • ต้มยำทะเล
  • ต้มส้มปลาทู
  • แกงส้มผักรวม
  • ตับผัดกระเพรา
  • ยำไข่ดาว
  • ข้าวกล้องคลุกกะปิ

นพ. สุรเชษฐ์ อภินิลบงกช

ดูประวัติ

ดูแลสุขภาพคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์...สำคัญที่สุด

July 29 / 2020

ดูแลสุขภาพคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์...สำคัญที่สุด

การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่
การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่

พญ.วันวิสาข์  ไชยชนะ

สูติ-นรีเวช

การดูแลสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์

  • อาหารบำรุงครรภ์ควรเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางสูง
  • อาหารที่ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง เช่น น้ำขิง และยังช่วยเร่งการผลิตน้ำนมได้เป็นอย่างดี
  • ผักผลไม้ โดยเฉพาะผักสีเขียว, ผักสีส้ม เพราะมีประโยชน์ให้ลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างสมวัยและช่วยให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรงอีกด้วย
  • อาหารเร่งน้ำนม เช่น แกงเลียง ยำหัวปลีและผัดขิง เป็นต้น
  • การเดิน, การนั่ง, การนอน, ต้องระมัดระวังมากขึ้น
  • การนอนคว่ำในช่วงไตรมาสแรกอาจไม่ได้ส่งผลอะไร แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องเริ่มใหญ่ขึ้นควรนอนตะแคงด้านซ้าย เพราะจะช่วยพยุงท้องได้ดีและช่วยให้คุณแม่หายใจได้สะดวกมากขึ้น
  • การทานยาจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
  • ผิวแตกลาย เป็นผลข้างเคียงจากการที่ท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว การป้องกันโดยทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอไรเซอร์ อาจช่วยลดรอยแตกลายได้บ้าง
  • อึดอัด แน่นท้อง สามารถบรรเทาได้ด้วยการทานอาหารให้น้อยลงแต่แบ่งเป็นหลายมื้อๆ
  • การออกกำลังกาย เป็นสิ่งจำเป็น เพราะส่งเสริมให้กล้ามเนื้อต่างๆ แข็งแรงขึ้นและช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายวันละประมาณ 7-9 ชั่วโมง ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ท้องไม่ผูก
  • การพักผ่อน ให้มากกว่าปกติและควรได้พักผ่อนในช่วงกลางวันด้วย
  • การแต่งกาย ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม ไม่รัดรูป, ปรับขนาดยกทรงให้พอเหมาะกับเต้านมที่เพิ่มขนาดขึ้น รองเท้าควรใส่ไม่มีส้น

การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่
การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่
การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่
การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่

ลูกในครรภ์ แบ่งเป็น 3 ไตรมาส

  • ไตรมาสที่ 1 (1-3 เดือน) เมื่ออายุ 3 เดือน ขนาดทารกตัวยาว 10-12 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15 กรัม เป็นช่วงที่ไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูกแล้ว และกำลังเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน โดยมีรกและสายสะดือนำอาหารส่งไปถึงทารก ซึ่งเมื่อทารกมีอายุครรภ์ได้ 3 เดือน เขาจะมีอวัยวะครบถ้วน หัวใจเต้นประมาณ 120-160 ครั้ง/นาที แต่คุณแม่จะยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้น
  • ไตรมาสที่ 2 (4-6 เดือน) เมื่ออายุ 6 เดือน ขนาดตัวยาว 30 เซนติเมตร น้ำหนัก 600 กรัม เป็นช่วงที่ทารกเริ่มขยับตัวมากขึ้น มีการหลับตื่น สามารถลืมตา กลืนน้ำได้ มีขนขึ้นตามร่างกาย สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแต่การทำงานของปอดยังไม่ค่อยดี ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้น
  • ไตรมาสที่ 3 (7-9 เดือน) เมื่ออายุ 9 เดือน ขนาดตัวยาว 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 2,800 – 3,000 กรัม เป็นช่วงที่ทารกเริ่มเจริญเติบโตเต็มที่และสามารถหายใจได้เอง ระยะนี้เด็กจะเริ่มกลับตัวเอาหัวลงสู่ช่องคลอดเพื่อเตรียมพร้อมคลอดต่อไป

การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่
การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่
การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่

การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรที่จะเข้มงวดกับการดูแลตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ มีพัฒนาการที่ดี แข็งแรงสมบูรณ์ และไม่มีอาการเสี่ยงทั้งแม่และลูก

การทานอาหารเพื่อสุขภาพของแม่

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.วันวิสาข์  ไชยชนะ

สูติ-นรีเวช

แก้ไขล่าสุด 29/07/63