มิ ช ชั้น นารี ชนชาติ ใด ที่เข้ามาใน ประเทศไทย เป็น ชนชาติ แรก

จอห์น อัลเลน โช : มิชชันนารี ช่วยเหลือ หรือ ทำร้าย?

  • โทบี ลักเฮิร์สต์
  • บีบีซี นิวส์

29 พฤศจิกายน 2018

มิ ช ชั้น นารี ชนชาติ ใด ที่เข้ามาใน ประเทศไทย เป็น ชนชาติ แรก

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ผู้คนควรมองมิชชันนารีอย่างไร?

"พ่อกับแม่อาจคิดว่าผมบ้าที่ทำแบบนี้...แต่ผมคิดว่า มันคุ้มที่จะประกาศพระนามพระเยซูให้แก่คนเหล่านี้"

ตัวเขาเองไม่ใช่มิชชันนารี แต่โชบอกว่า เขาตั้งเป้านำคำสอนของพระเยซูคริสต์ไปเผยแผ่ให้แก่ชนเผ่านี้

ความพยายามในการเผยแผ่ศาสนาของเขากลายเป็นที่สนใจของชาวคริสต์ทั่วโลกที่กำลังเผยแผ่ศาสนา

มิชชันนารีเหล่านี้คือใคร พวกเขาต้องการอะไร แล้วพวกเขาเป็นพลังบวกให้โลก หรือ ผู้มาเยือนที่ไม่พึงปรารถนา

มิชชันนารีคืออะไร?

ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ ได้ส่งมิชชันนารีไปทั่วโลก แต่ก็ไม่มีมิชชันนารีของศาสนาไหนที่เป็นที่รู้จักและแผ่หลายมากเท่ากับมิชชันนารีศาสนาคริสต์

มิชชันนารีของศาสนาคริสต์ทุกนิกายท่องเนื้อหาตอนหนึ่งของพระคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งเป็นท่อนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่ปรากฏอยู่ใน พระวรสารนักบุญมัทธิว (Book of Matthew) ซึ่งพระเยซูขอให้เหล่าผู้ศรัทธา "สร้างสาวกในทุกชาติ"

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

มิชชันนารีศาสนาคริสต์ เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาทั่วโลกมานานหลายร้อยปีแล้ว

เนื้อหาตอนนี้ บรรดามิชชันนารีรู้จักกันในชื่อ พระมหาบัญชา(the Great Commission) และถือว่าเป็นคำสอนสุดท้ายของพระเยซู ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสู่สวรรค์

คนเคร่งศาสนามักเป็นแนวหน้าของความพยายามในการขยายอาณานิคม การเผยแผ่ศาสนาถูกมองว่า เป็นหนทางหนึ่งในการ "นำอารยธรรม" ไปสู่คนที่อยู่นอกยุโรปและสหรัฐฯ

  • ชนเผ่าเซนทิเนล: เรื่องเล่าจากชายผู้รอดชีวิต หลังพบกับชาวเกาะที่ 'สังหาร' หนุ่มอเมริกัน
  • ชาวเซนทิเนล ชนเผ่าที่ตัดขาดจากโลกภายนอกและเพิ่งสังหารนักท่องเที่ยวอเมริกัน คือใคร?

เมื่อเวลาผ่านไป การเผยแผ่ศาสนากลายเป็นทั้งการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และทางกายภาพ

"ไม่ว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดพูดถึงหลักการของโครงการเผยแผ่ศาสนามากแค่ไหน จอห์น โช ก็ไม่ใช่เป็นตัวแทนของพระเยซู" เดวิด ฮอลลิงเกอร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณที่เกษียณแล้ว ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California at Berkeley) บอกกับ บีบีซี "เขาเป็นพวกผิดธรรมดา"

"ผู้ที่เผยแผ่คำสอนของพระเยซูโน้มน้าวให้คนหันมานับถือศาสนา แต่พวกเขาก็สร้างโรงพยาบาลและโรงเรียนไปด้วย" เขากล่าว "พันธกิจเหล่านี้ ล้วนมีส่วนเกี่ยวพันกับ บริการเพื่อสาธารณะ"

ศูนย์ศึกษาศาสนาคริสต์ทั่วโลกของสหรัฐฯ (Centre for the Study of Global Christianity) ระบุว่า ในปี 2018 มีมิชชันนารีศาสนาคริสต์อยู่ราว 440,000 คน ที่เผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ

ตัวเลขนี้รวมทั้งนิกายคาทอลิก, โปรแตสแตนต์, ออร์โธด็อกซ์, และนิกายในอเมริกาเหนืออย่าง พยานพระยะโฮวา (Jehovah's Witnesses) และศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย (Church of Jesus Christ of Latter Day Saints หรือ LDS Church) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มอรมอน (Mormon)

โบสถ์ LDS เป็นหนึ่งในไม่กี่นิกายที่มีโครงการมิชชันนารีจากส่วนกลาง โดยมีจำนวนมิชชันนารีอยู่เกือบ 66,000 คนทั่วโลก และนับตั้งแต่เกิดนิกายนี้มา ทางโบสถ์ได้ส่งมิชชันนารีไปเผยแผ่ศาสนาแล้วมากกว่า 1 ล้านคน

ในปี 2017 ทางโบสถ์ระบุว่า มิชชันนารีของทางโบสถ์ได้ทำให้คนหันมานับถือศาสนาคริสต์ได้ 233,729 คน

มิชชันนารีทำอะไรบ้าง?

จอห์น อัลเลน และลีนา ภรรยาของเขา ซึ่งหมอทำคลอดที่จดทะเบียนและนางพยาบาล ทำงานเป็นมิชชันนารีศาสนาคริสต์ในปาปัวนิวกินีแล้ว 15 ปี

สองสามีภรรยาชาวอเมริกันคู่นี้ "พยายามส่งเสริมค่านิยมของชาวคริสต์และแบบอย่างคำสอนของพระเยซูที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ" นายอัลเลน บอกกับบีบีซี ผ่านทางอีเมล์

"มันไม่ได้เป็นเรื่องของการทำให้คนเชื่ออย่างที่เราเชื่อ" เขาเขียน "มันเป็นการทำให้คนเห็นด้วยตัวเอง จากพระคัมภีร์ไบเบิล ว่า พระเจ้าทรงมีแผนการให้กับมนุษยชาติโดยทั่วไป และมีให้กับทุกคนโดยเฉพาะ"

ทั้งคู่ก่อตั้งคลินิกทางการแพทย์เมื่อ 10 ปีก่อน เพื่อช่วยเหลือชาวคาเมียในจังหวัดกัลฟ์ (Gulf Province) เมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่

ชาวปาปัวนิวกินี 5 คน และพยาบาลชาวอเมริกัน 3 คน ทำงานกับพวกเขาที่ศูนย์สุขภาพคูไน (Kunai Health Centre) และช่วยรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ ด้วย ทางทีมงานได้จัดตั้งโครงการสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และทารกแรกเกิดหลายโครงการ

นายอัลเลน กล่าวว่า ทั้งคู่พูดภาษาท็อกพีซิน (Tok Pisin) อย่างคล่องแคล่ว และกำลังเรียนภาษาคาเมียอยู่ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เฉพาะในการพูดมาจนถึงปี 2009 ซึ่งทั้งสองสามีภรรยาได้เริ่มที่จะจดบันทึกภาษานี้

"มันเรียนยากมาก เพราะเราเป็นคนที่เขียนและบันทึกมัน" นายอัลเลน เล่า "เท่าที่เรารู้... ไม่มีคนภายนอกที่ใช้ภาษานี้อย่างคล่องแคล่วเลย"

"ไม่ใช่ว่างานมิชชันนารีทุกอย่างในปัจจุบันจะเป็นแบบนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรากำลังทำอยู่" เขาอธิบาย

แอนดรูว์ เพรสตัน ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์อเมริกัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า ในทางประวัติศาสตร์ มิชชันนารีบางคนเป็นผู้ที่อยู่แนวหน้าในการหัดเรียนภาษาต่าง ๆ

"ตอนนี้มันต่างไปจากเมื่อก่อนแล้ว" เขากล่าวกับบีบีซี "แต่เมื่อ 100 ปีก่อน มิชชันนารีเป็นคนกลุ่มเดียวที่ไม่ได้คล่องแค่เฉพาะภาษาในเอเชียและแอฟริกาที่ไม่เป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่ยังใช้ภาษาจีนและญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่วด้วย"

  • 9 สิงหา วันชนเผ่าพื้นเมืองโลก: ไร้สัญชาติ ขาดที่ทำกิน สิ้นโอกาสทางเศรษฐกิจ

ขณะที่นายอัลเลนเรียกธรรมเนียมในท้องถิ่นนี้ว่า "ประสบการณ์เรียนรู้ที่ต่อเนื่อง" มันเป็นเรื่องที่พวกเขาให้คำมั่น

"วิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้คน คือการนั่งอยู่ในโคลนกับเขา, กินข้าวกับเขา, นอนในกระท่อมกับเขา, ดีใจในเรื่องที่เขาดีใจ และเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ไปกับเขาด้วย" เขากล่าว

"ตอนนั้นแหละคุณจึงจะเริ่มเห็นคุณค่าของครอบครัวใหม่ของคุณ และเริ่มเห็นวัฒนธรรมของพวกเขาผ่านสายตาของคุณ"

ส่วน สกอตต์และเจนนิเฟอร์ เอสโปซิโต ทำงานเป็นมิชชันนารีไม่สังกัดนิกายในนิการากัว พวกเขาทำฟาร์ม, โครงการด้านกีฬา. และกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล เพื่อเผยแผ่ศาสนา

"เราเพียงแค่เผยแผ่คำสอนของพระเยซูอย่างต่อเนื่อง" สกอตต์ บอกกับบีบีซีทางโทรศัพท์ ทั้งคู่ตั้งใจที่จะไม่นับจำนวนผู้ที่พวกเขาช่วยให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ได้ แต่ประเมินว่า พวกเขาทำได้แล้วประมาณ 800-1,200 คน ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา

"แต่ละจิตวิญญาณมีความสำคัญ" สก็อตต์ กล่าว "ตอนที่คุณเริ่มนับและตั้งเป้าหมาย สมมุติว่า คุณอยากได้ 500 คน คุณก็จะถูกผลักดันจากเป้าหมายและตัวเลขนี้ ทำให้คุณละเลยคนที่มีความสำคัญ และต้องใช้เวลากับคนคนนั้นนาน"

คุณคิดอย่างไรกับ จอห์น โช?

"ตอนเรารู้เรื่องของจอห์น โช ที่นี่ เราคิด 'ว้าว เราเคยมีความคิดแบบนั้นมาก่อน'" จอห์น อัลเลน มิชชันนารี เผยกับบีบีซีผ่านทางอีเมล์

แต่เขาไม่ได้คิดว่าจะไปที่เกาะนั้นเอง เขาพูดกับเพื่อนร่วมงานของเขา ซึ่งเคยคุยกันถึงการเข้าหาชาวเซนทิเนล

เขากล่าวว่า แม้ว่าพวกเขาไม่ได้คิดจะทำเรื่องนี้กันจริง ๆ แต่ก็ได้ช่วยกันคิดวิธีการเข้าหาคนกลุ่มนี้อย่างปลอดภัย การเริ่มเข้าไปทำความรู้จัก และทำอย่างไรจึงจะลดความเป็นตัวตนของตัวเองให้น้อยที่สุด แต่พยายามเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของพวกเขาให้มาก

ที่มาของภาพ, Instagram/John Chau

คำบรรยายภาพ,

เมื่อวันที่ 21 ต.ค. @johnachau โพสต์ว่า เขากำลังเดินทางไปยังภูมิภาคดังกล่าว

ทั้งนายและนางเอสโปซิโต เชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับ จอห์น โช เป็นเรื่องน่าเศร้า พวกเขารู้ว่า บางคนมองการกระทำของเขาว่าโง่เขลา แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่สนับสนุนเขา

"ฉันลังเลที่จะกล่าวหาเขา" เจนนิเฟอร์ เอสโปซิโต กล่าว "เท่าที่ฉันได้อ่าน เขารักพระเจ้า การเสียสละของเขาอาจทำให้มีคนจำนวนมากหันมานับถือศาสนาคริสต์ในอนาคต"

"ใครจะรู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้างในอนาคต"

นายเอสโปซิโต เชื่อว่า ถ้าคณะแพทย์ฝ่าฝืนกฎหมายและธรรมเนียมเพื่อเข้าไปช่วยชนเผ่านี้จากการเจ็บป่วย ปฏิกิริยาของผู้คนจะเปลี่ยนไป

"ถ้าคนที่ไปเป็นหมอ และถูกฆ่า ผมคิดว่า คนส่วนใหญ่ทั่วโลก คงบอกว่า พวกเขาเป็นคนกล้าหาญ" เขากล่าว "[จอห์น โช] ไปเพื่อช่วยชีวิตอมตะของพวกเขา"

การพูดเช่นนั้น ไม่ได้หมายความว่า นายเอสโปซิโต จะเห็นด้วยกับการละเมิดกฎหมายอย่างที่จอห์น โช ทำ เขากล่าวว่า พวกเขา "เคารพกฎหมายและธรรมเนียมท้องถิ่นอย่างมาก"

"เราทุกคนควรมีหัวใจอย่างเขา ในความหมายที่ว่า เขาเต็มใจที่จะตาย แต่ผมไม่คิดว่าทุกคนจำเป็นต้องเข้าหาชนเผ่าอันตรายต่าง ๆ"

งานมิชชันนารีเป็นลัทธิจักรวรรดินิยมรูปแบบหนึ่งหรือไม่?

เคตลิน ลาวรี อดีตมิชชันนารี โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กในช่วงไม่กี่วันหลังจากการเสียชีวิตของ จอห์น โช ว่า

"ฉันเคยเป็นมิชชันนารี ฉันคิดว่า ฉันกำลังทำงานให้กับพระเจ้า แต่ถ้าพูดจริง ๆ ฉันกำลังทำงานที่ทำให้ฉันรู้สึกดี"

"นี่คือ ความยิ่งใหญ่ของคนผิวขาว นี่คือ การสร้างอาณานิคม"

มาร์ก พล็อตคิน เป็นนักพฤกษศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าทีมอนุรักษ์แอมะซอน กลุ่มที่ทำงานให้กับรัฐบาลโคลอมเบียเพื่อคุ้มครองกลุ่มคนที่แยกตัวจากสังคม

เขากล่าวกับบีบีซีว่า "ผมทำงานในแอมะซอนมานาน 30 ปีแล้ว ผมได้เห็นมิชชันนารี 2 แบบ คือ พวกที่อยาก 'ทำให้ชนเผ่าเหล่านี้ออกสู่โลกภายนอก' กับพวกที่อยาก 'รักษาจิตวิญญาณเพื่อพระเยซู'

เขากล่าวว่า ขณะที่เหล่ามิชชันนารีเชื่ออย่างแท้จริงว่า พวกเขากำลังทำให้โลกนี้ดีขึ้น แต่งานของพวกเขาก็อาจจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งได้เช่นกัน

"การลากคนที่ได้ติดต่อกับโลกภายนอกออกมาจากป่าเพราะคิดว่าดีกับตัวเขา บางครั้งก็ไม่ได้เป็นผลดีกับเขาเสมอไป" เขากล่าวกับบีบีซี

  • ผู้รอดชีวิตคนสุดท้าย: เรื่องเล่าของ “มนุษย์ผู้โดดเดี่ยว”

เขายกตัวอย่าง ชาวอะคูริโย (Akuriyo) ในสุรินัม ซึ่งติดต่อกับมิชชันนารีในปี 1969 นายพล็อตคิน บอกว่า ภายใน 2 ปี "40-50% ของชาวอะคูริโย เสียชีวิต" เนื่องจากโรคทางเดินหายใจ แต่เขาสงสัยว่า อาจจะเป็นเพราะความคิด หรือ "การช็อกทางวัฒนธรรม" ด้วย

"พวกเขาได้เห็นคนใส่เสื้อผ้าเป็นครั้งแรก และมาฉีดยาให้พวกเขา" เขากล่าว

"ไม่ควรมีใครสวมบทพระเจ้า"

ที่มาของภาพ, Amazon Conservation Team

คำบรรยายภาพ,

มาร์ก พล็อตคิน ทำงานเพื่อปกป้องชนพื้นเมืองที่อยู่ห่างไกล

หลายประเทศทั่วโลก ไม่เห็นคุณค่าของงานมิชชันนารี

การโน้มน้าวให้เปลี่ยนศาสนาเป็นเรื่องผิดกฎหมายในเนปาล และเมื่อเดือน ส.ค. มีรายงานว่า ได้มีการแก้กฎหมายให้อยู่ในขั้นที่ ชาวต่างชาติที่มีความผิดอาญาอาจถูกส่งกลับประเทศได้ หลังจากรับโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี

ตามประวัติศาสตร์ ศ. เพรสตัน ระบุว่า มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนต์ของสหรัฐฯ บางส่วน ได้มาเพื่อสร้าง "ความรู้สึกสับสนเพื่อปกครอง"

"พวกเขาตระหนักว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของพลังอำนาจแบบแข็ง (hard power) ของสหรัฐฯ พวกเขาไม่สามารถหนีพ้นได้" เพราะการเกี่ยวโยงเช่นนั้น มิชชันนารีบางคนได้เดินทางมาเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ท้องถิ่นและแนวคิดชาตินิยม แม้ว่าจะขัดกับเป้าหมายของสหรัฐฯ

"ยังคงมีคนอเมริกันจำนวนมากที่คิดว่าสหรัฐฯ ดีกว่าประเทศอื่น" เขากล่าวว่า คนเหล่านี้เชื่อว่า สหรัฐฯ มีความพิเศษกว่าประเทศอื่น "แต่พวกเขาจำนวนมากต้องการทำให้โลกของชาวคริสต์ดีขึ้น ไม่ใช่ของชาวอเมริกัน"

นายอันเลน เห็นด้วยว่า คนกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดเรื่องยุ่งยาก โดยเขารู้สึก "ขยะแขยง" เมื่อเขาเห็นกระทำแบบอาณานิคมทุกรูปแบบ ในหมู่มิชชันนารี หรือแม้แต่ในหมู่นักธุรกิจ

"สักวันหนึ่ง ไมว่าเราจะพยายามสักเพียงไหน ดูเหมือนว่า เราจะเผชิญกับการคล้อยตามโดยไม่จำเป็น" เขาอธิบายว่า พวกเขาพยายามสร้าง "ความสัมพันธ์ที่แท้จริงบนพื้นฐานของความไว้วางใจและความเคารพกัน"

"ผมไม่ได้เดียงสาขนาดที่จะคิดว่า ผมจะอยู่คาเมียตลอดไป แต่ทีมงานของเราในพื้นที่พยายามทำงานเพื่อทำลายการพึ่งพิงอาณานิคม และแทนที่ด้วยมิตรภาพที่ต้องพึ่งพากัน"