พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

ไมโครเวฟ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำ บ้านและ คอนโด ที่แทบจะเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นที่ใช้ในการปรุงอาหาร เพราะมันสามารถปรุงอาหารได้ง่ายและรวดเร็วตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคเร่งรีบในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แต่หากใช้งานผิดวิธีอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือแม้กระทั่งถึงชีวิตได้

ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนยังใช้งานไมโครเวฟไม่ถูกต้องนัก โดยเฉพาะเรื่องของภาชนะที่เราจับยัดเข้าไมโครเวฟทุกวันอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวหรืออาจเกิดไฟไหม้เป็นเรื่องใหญ่กันเลยทีเดียว เราจึงได้รวบรวม 5 ภาชนะต้องห้าม ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาด นี่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่อยากให้มองข้ามครับมาดูกันเลย

1. พลาสติกและโฟม

อันดับแรกที่หลายๆ คนเข้าใจผิดกันคือสามารถนำภาชนะอย่างจานพลาสติก กล่องเก็บอาหารพลาสติก ซึ่งถ้าหากไม่ใช่พลาสติกประเภททนความร้อนอย่าง Polyethylene terephthalate (PET) หรือ Polypropylene (PP) ก็ไม่ควรนำมาใช้ครับ เพราะหากภาชนะพลาสติกที่ไม่ทนความร้อน เมื่อโดนความร้อนจากรังสีของไมโครเวฟอาจทำให้พลาสติกละลายและเกิดสารปนเปื้อนในอาหารได้ ทั้งนี้ควรหมั่นสังเกตุภาชนะพลาสติกที่มีสัญลักษณ์บ่งบอกว่าสามารถเข้าไมโครเวฟได้จะปลอดภัยกว่าครับ

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

ส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์บ่งบอกว่าสามารถใช้กับไมโครเวฟได้

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

2. ภาชนะโลหะ

อีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรนำเข้าเตาไมโครเวฟไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น เพราะเมื่อโดนความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟแล้ววัสดุชนิดนี้จะเกิดการสะท้อนกลับ ส่งผลให้ระบบเครื่องไมโครเวฟเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรืออาจจะทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้ รวมไปถึงช้อน-ส้อมที่ผลิตจากโลหะอย่าเผลอนำเข้าไปในโครเวฟล่ะ คงไม่ดีแน่ครับ

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

3. ภาชนะกระเบื้องเคลือบสี

ควรตรวจเช็คให้ดีก่อนว่าภาชนะนั้นมีลวดลายการเคลือบสีอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างสีเงินหรือสีทองมันสามารถสะท้อนคลื่นไมโครเวฟจนก่อให้เกิดประกายไฟได้เลยทีเดียว อีกทั้งยังมีสารปนเปื้อนมาในอาหารอีกด้วย ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เครื่องไมโครเวฟพังก่อนอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

4. พลาสติกถนอมอาหาร

พลาสติกแรปอาหารเป็นอีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ เพราะความร้อนอาจทำให้เกิดไอน้ำบนแผ่นพลาสติกไหลลงไปยังอาหารอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ แนะนำว่าควรนำพลาสติกออกก่อนจะทำการปรุงอาหารด้วยไมโครเวฟทุกครั้งครับ

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

5. ฟอยล์ห่ออาหาร

วัสดุที่ใช้ผลิตฟอยล์ห่ออาหารก็คืออะลูมิเนียมซึ่งหากกระทบกับรังสีความร้อนจากไมโครเวฟแล้ว อาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้ ถึงแม้ว่าฟอยล์จะทำหน้าที่ในการเก็บความร้อนของอาหาร แต่นี่เป็นวัสดุอีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาดครับ

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

บทความน่าสนใจที่คุณต้องอ่าน

  • รวม 6 ปัญหาแอร์ภายในบ้านที่ทุกคนต้องเจอ
  • เลือกประตูบานเลื่อนแบบไหนให้เหมาะกับบ้าน

  • รวมวิธีทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆ

บทความที่แล้ว OfficeMate มาเตือนภัยกับ ของ 7 ประเภทที่ห้ามนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟ เพราะอาจเกิดการระเบิด หรือทำให้ไมโครเวฟเสื่อมสภาพเร็วขึ้น คราวนี้เรามาดูกันว่าหากต้องการอุ่นอาหารในไมโครเวฟ ภาชนะแบบไหนบ้างที่สามารถนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัย ไม่ระเบิด ไม่มีไฟลุกไหม้ และไร้สารปนเปื้อนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์!!  

ภาชนะแบบไหนเข้าไมโครเวฟได้บ้าง? 

ถ้วยเซรามิก ถ้วยกระเบื้อง

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

ถ้วยเซรามิก หรือจาน ชามที่ทำมาจากเซรามิก รวมไปถึงภาชนะประเภทกระเบื้อง เช่น ถ้วยกระเบื้อง จานกระเบื้อง สามารถใช้งานกับไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัย แต่ต้องระวังถ้วยชามที่มีการวาดลวดลาย หรือตกแต่งด้วยการเคลือบสี เพราะหากผลิตมาไม่ได้มาตรฐานพอ เมื่อได้รับความร้อนสูงสีเหล่านี้อาจละลายไปปนเปื้อนกับอาหารได้ รวมถึงภาชนะเซรามิกที่ตกแต่งขอบหรือวาดลวดลายด้วยสีเงิน หรือสีทอง สีทั้ง 2 ประเภทนี้มีคุณสมบัติในการสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ อาจทำให้ไมโครเวฟของคุณเสื่อมสภาพ หรืออายุการใช้งานสั้นลงได้  

ถ้วยแก้ว

‘แก้ว’ ผลิตมาจากทรายซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อนสูงๆ ได้ดี ถ้วยแก้ว และภาชนะที่ทำจากแก้วทุกชนิด จึงสามารถนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟได้ แต่ก็ควรระวังถ้วยแก้วที่มีการตกแต่งลวดลายด้วยเช่นกัน 

กล่องพลาสติก

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

พลาสติกเป็นหนึ่งในลิสต์ของที่ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ แต่ก็มีพลาสติกบางประเภทที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ คือ พลาสติกประเภทที่ 5 : PP (Polypropylene) ที่มีความทนทาน เหนียว ยืดหยุ่นได้ และทนแรงกระแทกได้ดี ก่อนนำพลาสติกเข้าไมโครเวฟ ก็อย่าลืมพลิกหาสัญลักษณ์ระบุประเภทของพลาสติก หรือจะมองหาสัญลักษณ์ Microwavable หรือ Microwave Safe ก็ได้ค่ะ   

จาน ชามเมลามีน

เมลามีนเป็นภาชนะที่นิยมใช้ใส่อาหาร โดยเฉพาะในร้านอาหาร เพราะมีราคาถูก และทนทาน ใช้งานได้นาน ทั้งยังมีสีสันสวยงาม ซึ่งเมลามีนถือเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง แม้จะทนทานและสามารถทนความร้อนได้ดีกว่าพลาสติกชนิดอื่นๆ แต่จาน ชาม และภาชนะที่ผลิตจากเมลามีนนั้น ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ เพราะแม้จะทนความร้อนจากอาหารได้ แต่เมลามีนไม่สามารถทนความร้อนจากไมโครเวฟได้ และอาจมีสารฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งละลายมาปนเปื้อนกับอาหารอีกด้วย 

ภาชนะที่ทำจากโลหะ

ภาชนะที่ทำจากโลหะ เช่น หม้อ กระทะ ถ้วย ช้อน ส้อม หรือแม้แต่ภาชนะที่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น หูโลหะ ด้ามจับโลหะ และภาชนะโลหะเคลือบสี ภาชนะเหล่านี้ห้ามนำเข้าไมโครเวฟโดยเด็ดขาด เพราะพื้นผิวของโลหะจะสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ ทำให้ไมโครเวฟเสื่อมสภาพเร็ว และในกรณีร้ายแรงอาจเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นได้  

บรรจุภัณฑ์กระดาษ

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

ปัจจุบันนี้ร้านอาหารหลายเจ้าหันมาใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษกันมากขึ้น กล่องกระดาษ ถ้วยกระดาษที่เคลือบแว็กซ์ และเคลือบพลาสติก สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ แต่ต้องอุ่นด้วยความร้อนต่ำเท่านั้น ส่วนกระดาษอื่นๆ เช่น ถุงกระดาษ กระดาษชานอ้อย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์รักษ์โลกต่างๆ ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ เพราะอาจเกิดประกายไฟได้ สำหรับใครที่อยากอุ่นอาหารในกล่องกระดาษ แนะนำว่าให้พลิกกล่องหาสัญลักษณ์ Microwave Safe หรือถ้าจะเอาเซฟที่สุดก็เปลี่ยนเป็นภาชนะอื่นๆ ก่อนอุ่นจะดีกว่าค่ะ 

กล่องโฟม

กล่องโฟมบรรจุอาหารห้ามนำเข้าไมโครเวฟโดยเด็ดขาด หรือแม้แต่นำไปบรรจุอาหารร้อนๆ ก็ไม่ควร เพราะอย่างที่รู้กันว่า เมื่อโฟมโดนความร้อนจะละลายได้ง่าย ยิ่งเป็นความร้อนสูงจากไมโครเวฟ อาจทำให้กล่องโฟมละลาย หรือเกิดไฟลุกไหม้ได้เลย 

ฟอยล์ห่ออาหาร 

ฟอยล์ห่ออาหาร หรืออลูมิเนียมฟอยล์ ช่วยกักเก็บความร้อนในอาหารได้ นิยมใช้ห่ออาหารบางชนิด แต่เมื่อโดนความร้อนจากไมโครเวฟจะทำให้เกิดประกายไฟ และลุกไหม้ได้ 

สรุปแล้ว ภาชนะที่สามารถนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟได้โดยไม่เป็นอันตราย ไม่ระเบิด ไม่เกิดไฟลุก และไม่มีสารปนเปื้อน ได้แก่ ภาชนะประเภทแก้ว, เซรามิก, กระเบื้อง, พลาสติกประเภทที่ 5 (PP) รวมถึงบรรจุภัณฑ์กระดาษบางประเภท

ส่วนภาชนะที่ห้ามนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟโดยเด็ดขาด คือ ภาชนะและผลิตภัณฑ์พลาสติกทุกชนิด (ยกเว้น PP), โลหะ, อลูมิเนียมฟอยล์, กล่องโฟม และเมลามีน 

ก่อนใช้งานไมโครเวฟ อย่าลืมพลิกดูบรรจุภัณฑ์ มองหาสัญลักษณ์ Microwave Safe หรือ Microwavable ก่อน เพื่อความปลอดภัยนะคะ

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

อ่านการใช้งานไมโครเวฟอย่างปลอดภัย คลิก 7 อย่าง ‘ห้าม’ นำเข้าอุ่นในไมโครเวฟ เสี่ยงระเบิดไม่รู้ตัว!

สำหรับเจ้าของร้านอาหาร หากใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำเข้าอุ่นในไมโครเวฟได้เลย อย่างกล่องพลาสติกประเภทที่ 5 (PP) ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้า ไม่ต้องคอยสลับสับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ก่อนนำอาหารเข้าอุ่นในไมโครเวฟนั่นเอง ถือเป็นอีกทริคเล็กๆ ที่ช่วยสร้างความประทับใจได้ดีเลยล่ะค่ะ 

ช้อปบรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์กระดาษ และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกย่อยสลายได้ กับ OfficeMate สำหรับลูกค้าธุรกิจ เรามีเครดิตเทอมให้สูงสุด 30 วัน แถมด้วยโปรโมชั่นดีๆ อีกมากมายที่จะช่วยลดต้นทุนให้ธุรกิจของคุณได้ ช้อปเลย ส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อครบ 499 บาท!

พลาสติกที่เข้าไมโครเวฟได้ สัญลักษณ์

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • www.baanlaesuan.com
  • www.mangozero.com
  • jonessalad.com