ค่ารักษา นอกเวลา ประกันสังคม

ค่ารักษา นอกเวลา ประกันสังคม

การหักเงินประกันสังคม สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ  อาจจะคิดว่า “ไม่จำเป็น” หรืออยากเอาเงินไปทำอย่างอื่นเองคงจะดีกว่า  แต่จริง ๆ  แล้วสิทธิประกันสังคมมี “ข้อดี” อีกมากที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึง หรือยังไม่รู้ว่าการ จ่ายเงินประกันสังคมในทุก ๆ เดือนนั้น  จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ?

ในวันนี้ . . เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน “ประกันสังคม” จะได้รับบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วยมาฝากกันค่ะ

ค่ารักษา นอกเวลา ประกันสังคม

ในกรณีเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้

  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ การรักษาทั้งอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาทตามระยะเวลาการผ่าตัด
  • กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม (ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลได้จาก สำนักงานประกันสังคม) สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาทต่อปี

14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ดังนี้

1. โรคหรือประสบอันตรายเนื่องจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
2. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันใน 1 ปี
3. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรังยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตนให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
8. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
9. การผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้น
- การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
10. การเปลี่ยนเพศ

11. การผสมเทียม
12. การบริการระหว่างการรักษาตัวแบบพักฟื้น
13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันขุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
14. แว่นตา

โดยเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ : ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3

ที่ปรึกษา รมว.สธ. ยืนยัน โรงพยาบาลสามารถเก็บค่าบริการนอกเวลาราชการได้ แต่ต้องเป็นผู้ป่วยทั่วไปไม่ฉุกเฉิน และเก็บได้ไม่เกิน 110 บาท เหตุ รพ.มีค่าใช้จ่าย-เจ้าหน้าที่ต้องทำงานเพิ่ม ย้ำแค่จ่ายค่าบริการเพิ่ม ส่วนสิทธิประโยชน์อื่นๆ ยังเหมือนเดิมตามสิทธิ

ค่ารักษา นอกเวลา ประกันสังคม

นพ.กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข

นพ.กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข ชี้แจงกรณีโรงพยาบาลจัดเก็บค่าบริการผู้ป่วยที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งเข้ามารับบริการนอกเวลาราชการ โดยยืนยันว่า โรงพยาบาลสามารถดำเนินการได้ตามระเบียบของ สธ. แต่ต้องไม่เกิน 110 บาท

นพ.กิตติศักดิ์ อธิบายว่า โรงพยาบาลทุกแห่งให้บริการผู้ป่วยบัตรทองในเวลาราชการอย่างเต็มที่ แต่นอกเวลาราชการนั้น หากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุก็สามารถเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน (ER) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนผู้ป่วยทั่วไป หรือผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉิน และสมัครใจเข้ารับบริการในคลินิกนอกเวลาหรือคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลา ทางหน่วยบริการสามารถกำหนดค่าบริการการให้บริการนอกเวลาได้

“โรงพยาบาลสามารถกำหนดค่าบริการได้ตามหลักการเล่มเขียวของ สธ. ซึ่งจะต้องไม่เกิน 110 บาท โดยกรณีนี้ต้องเป็นผู้ป่วยที่สมัครใจมาใช้บริการนอกเวลาเท่านั้น หากไม่สมัครใจก็กลับไปใช้บริการในเวลาได้” นพ.กิตติศักดิ์ กล่าว

นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากค่าบริการนอกเวลาราชการจำนวนไม่เกิน 110 บาทแล้ว สิทธิอื่นๆ ของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยบัตรทอง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ ยังคงเหมือนเดิม กล่าวคือผู้ป่วยบัตรทองก็ได้รับการรักษาตามสิทธิประโยชน์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนด ผู้ประกันตนก็ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาอื่นๆ หรือข้าราชการก็ยังเบิกได้เช่นเดิม

“ผู้ป่วยเพียงแต่จ่ายค่าบริการนอกเวลาเพิ่มแค่นั้น ส่วนสิทธิประโยชน์อื่นๆ ยังเหมือนเดิม” นพ.กิตติศักดิ์ ระบุ

นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า หากผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินมารับบริการนอกเหนือเวลาราชการ และเกินเวลาที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการเปิด ผู้ป่วยก็ยังสามารถเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินได้ แต่การเข้ารับบริการดังกล่าวอาจกระทบต่อการรักษาผู้ป่วยที่ฉุกเฉินอยู่ ดังนั้นโรงพยาบาลจึงได้จัดห้องแยกไว้ต่างหาก ซึ่งจุดนี้โรงพยาบาลก็สามารถเก็บค่าบริการนอกเวลาราชการได้ แต่ต้องไม่เกิน 110 บาทด้วยเช่นกัน

“การให้บริการนอกเวลาราชการ ทั้งคลินิกนอกเวลา คลินิกพิเศษ ห้องแยกจากห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มทั้งในแง่ของทรัพยากรและบุคลากร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเก็บจากผู้รับบริการ แต่เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งที่ขอย้ำคือต้องเป็นผู้ป่วยที่สมัครใจมาใช้บริการนอกเวลาราชการเท่านั้น ถ้าไม่สมัครใจก็กลับไปใช้บริการในเวลาได้ ซึ่งโรงพยาบาลก็ให้บริการอย่างเต็มที่แน่นอน” นพ.กิตติศักดิ์ ยืนยัน

ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข กล่าวด้วยว่า หลักการนี้แตกต่างกับสิ่งที่หนึ่งในกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สปสช. ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการฯ ระบุว่า โรงพยาบาลไม่สามารถเก็บค่าบริการใดๆ จากผู้ป่วยบัตรทองได้เลย

“ถ้าไม่สามารถเก็บเงินได้เลย จะมาเมื่อไรก็มาได้ จะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไข้มาโรงพยาบาลเมื่อใดก็ได้ แล้วเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในเวลาราชการ ซึ่งควรจะได้พักผ่อนในช่วงนอกเวลา ก็จะต้องรับภาระหนัก และไปกินเวลาของคนไข้ฉุกเฉินด้วย” นพ.กิตติศักดิ์ กล่าว

นพ.กิตติศักดิ์ อธิบายต่อไปว่า กรณีที่อ้างว่าบัตรทองให้สิทธิประชาชนเข้ารับบริการตามความจำเป็นได้นั้น ความจำเป็นหมายถึงผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือผู้ป่วยอุบัติเหตุ ไม่ใช่ผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ฉุกเฉิน ซึ่งในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้แยกค่าบริการออกมาแล้ว แต่ไม่ได้เน้นว่าในเวลาหรือนอกเวลา แต่ที่ผ่านมาเคยมีมติของบอร์ด สปสช.ว่าการให้บริการของหน่วยบริการต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง นั่นหมายถึง 8.30-16.30 น. รวม 5 วัน ก็จะ 40 ชั่วโมง แต่ในกรณีนี้เป็นการให้บริการนอกเวลา

“ท่านประธานคณะกรรมการควบคุมฯ ก็ได้ชี้แจงแล้วว่า การเข้ารับบริการของผู้ป่วยบัตรทองนอกเวลาที่คลินิกนอกเวลาหรือคลินิกพิเศษนอกเวลา จะต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มตามที่หน่วยบริการกำหนด” นพ.กิตติศักดิ์ ยืนยัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

แจง กรณี รพ.แยกรักษาไม่ฉุกเฉินนอกเวลา ถือเป็นทางเลือกให้ ปชช. แต่สิทธิบัตรทองยังอยู่

แนะผู้ป่วย ‘บัตรทอง’ ร้องเรียนขอคืนเงิน หากถูก รพ.เก็บค่ารักษานอกเวลาราชการ

สรุปสิทธิบัตรทองเข้า ER นอกเวลาไม่เสียเงิน แต่ต้องคิดว่าฉุกเฉินจริง และให้คิวอาการหนักก่อน

คลินิกนอกเวลา ใช้ ประกันสังคมได้ไหม

ผู้ประกันตน สปส.-บัตรทองเตรียมเฮ! สธ.ประกาศให้สิทธิ์ใช้บริการดคลินิกนอกเวลารพ.รัฐได้

ไปหาหมอที่คลีนิคเบิกประกันสังคมได้ไหม

หลายคนไม่ได้ใช้สิทธินี้เลย ซึ่งน่าเสียดายมากๆ เพราะสิทธิ์ในเรื่องการ “ทำฟัน” นั้นประกันสังคมเปิดให้สามารถเข้ารักษาที่โรงพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมแห่งไหนก็ได้ และหากเข้ารักษากับโรงพยาบาล-คลินิกที่ทำความตกลงร่วมกับสำนักงานประกันสังคม ก็จะสามารถใช้บริการได้เลย วงเงิน 900 บาทต่อปี โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

เบิกค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม กี่วันได้

ทั้งนี้เราจะต้องเบิกค่ารักษาพยาบาลประกันสังคมภายในกี่วัน? คำตอบก็คือ เรามีสิทธิ์เบิกประกันสังคมได้ภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่จ่าย หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ หรือโทร.1506.

ใช้สิทธิประกันสังคม ทำยังไง

ข้อควรปฏิบัติในการใช้สิทธิประกันสังคม สถานที่สามารถใช้สิทธิ คือ โรงพยาบาลที่ระบุตามบัตรรับรองสิทธิ, คลินิกเครือข่าย ยกเว้นกรณีโรงพยาบาลหลักอนุญาตให้รักษาเป็นลายลักษณ์อักษร, แสดงหลักฐานบัตรรับรองสิทธิ และบัตรประชาชน / บัตรอื่นที่ทางราชการออกให้และมีรูปถ่ายผู้ประกันตน มิใช่เพื่อการตรวจสุขภาพ