กลไกการบาดเจ็บ ตกจากที่สูง

บาดเจ็บที่สันหลัง ( SPINAL  INJURY) 

 พอ.นพ.ศุภกิจ สงวนดีกุล
บาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นโรคที่พบได้บ่อย(3% ของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ(Trauma),  10% พบร่วมกับบาดเจ็บที่ศีรษะ)ก่อให้เกิด ภาวะกดทับไขสันหลังเป็นภาวะเร่งด่วนทางศัลยกรรมประสาทเป็นผลให้เกิดความพิการจนถึงเสียชีวิตตามความรุนแรงซึ่งจำเป็นต้องรีบตรวจวินิจฉัยและรักษาก่อนที่ไขสันหลังจะเสียหายจนไม่สามารถฟื้นคืนหน้าที่ได้ สิ่งสำคัญคือ การดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาเพื่อให้ระบบประสาทฟื้นตัวได้มากที่สุดและคนไข้สามารถช่วยเหลือตนเอง,ทำงานได้ตามปกติหรือดำรงชีวิตในสังคมได้
ตำแหน่งที่พบการบาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ ระดับคอ
20% มีการบาดเจ็บที่ตำแหน่งอื่นของสันหลัง
ส่วนใหญ่ พบในเพศ ชาย > หญิง ช่วงอายุที่พบบ่อย 15-30 ปี พบน้อยในเด็ก(5%)
สาเหตุ ที่พบคือ
                                อุบัติภัยบนท้องถนน(Motor vehicle accident)45%
                                 ตกจากที่สูง (Fall)                                        20%
                                 การทำร้าย (Violence)                                 15%
                                 กีฬา (Sport)                                               15%
                                 อื่นๆ (Miscellaneous)                         5%
การจำแนกประเภท (Classification)
อาจจำแนกประเภทได้หลายแบบตามกลไกการบาดเจ็บ,ระดับที่เกิดการบาดเจ็บ
ในทางคลินิกสามารถแบ่งชนิดการบาดเจ็บ ได้ 3 แบบอย่างง่ายเพื่อประโยชน์ในการรักษา
1.)บาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง (Only Spinal Fracture)
2.)บาดเจ็บต่อไขสันหลัง (Only Spinal Cord Injury, Spinal cord injury without radiographic abnormality SCIWORA)
3.)บาดเจ็บต่อกระดูกและไขสันหลัง (Spinal Fracture & Spinal Cord Injury)
กระดูกสันหลังบาดเจ็บ
การแบ่งชนิดการบาดเจ็บตามกลไกที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและระดับที่บาดเจ็บ
ระดับคอ(Cervical level)
อาจแบ่งการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอตามกลไกการบาดเจ็บแรงที่มากระทำขณะแหงนคอหรือก้มคอร่วมกับแรงกด(Compression)แรงดึง(Distraction)
1.)กระดูกหักเคลื่อนจากการแหงนคอ(Hyperextension fracture-dislocation)
                        Posterior fracture dislocation of dens
                        Traumatic spondylolisthesis of the axis(Hangman ‘s fracture)
                        Hyperextension sprain with fracture
                        Hyperextension fracture-dislocation with fractured articular pillar
                        Hyperextension fracture-dislocation with comminution of the vertebral arch
2.)กระดูกหักเคลื่อนจากการก้มคอ(Hyperflexion fracture-dislocation)
                         Anterior fracture dislocation of dens
                        Hyperflexion sprain:rare
                        Locked articular facets with fracture
                        Teardrop fracture-dislocation
แบ่งการบาดเจ็บเป็น 2 ระดับ คอส่วนบน(C1-2),คอส่วนล่าง(C3-7)
                    ระดับคอส่วนบน( Upper c-spine injury:C1,2)
                        Atlantoaxial dislocation
                        Occipital condyle fracture
                        Atlas fracture:Jefferson Burst fracture
                        Combinded C1-2 fracture
                        Axis Odontoid fracture
                        Hangman fracture
                        Miscellaneous axis fracture
                     ระดับคอส่วนล่าง(Lower c-spine injury:C3-7) แบ่งการบาดเจ็บเป็น 8 ชนิด(Allen et.al)ตามแรงที่มากระทำ

major loading force                 
Flexion:  1.action alone:  Uni or bilateral Facet dislocation, 2.With compression: Teardrop fracture,ant.body kyphosis, Interspinous lig.disruption, 3.With distraction :Torn post.lig,Dislocate or locked facet

Extension: 4..action alone:Fracture spinous process, 5. Fracture facet,6.With distraction : Torn ALL with retrolisthesis of Superior or inferior vertebralbody            

Neutral position:7.With compression:Burst fracture,8.With distraction :Complete lig.disruption (unstable)