มา ย แม พ ภูมิภาค เอเชีย ตะวันออก

เขตภูมิอากาศ

เขตภูมิอากาศเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ( Humid Mesothermal Climate “ C” )เขตภูมิอากาศแบบเย็นชื้น ( Humid Microthermal Climate “ D” )เขตภูมิอากาศแบบขั้วโลก ( Polar Climate “ E ” )เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง ( Dry Climate “ B ” )เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ( Humid Tropical Climate “ A ” )เขตภูมิอากาศแบบมรสุมร้อน ( Tropical Monsoon Climate “ Am ” )เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ( Tropical Savanna Climate “ Aw ” )ลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อน มีฤดูแล้งสั้นๆ ประมาณ 1 – 2 เดือน มักพบบริเวณชายฝั่งด้านต้นลมระหว่างละติจูดที่ 15 – 20 องศาเหนือ และใต้ อาจเป็นลมประจำปีหรือลมประจำฤดูก็ได้ จึงมักทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงที่บริเวณนั้นได้รับแสงจากดวงอาทิตย์มาก ในเอเชีย ได้แก่ ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย ชายฝั่งทะเลของประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย ภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดจัทบุรี และจังหวัดตราด ชายฝั่งตะวันออกของประเทศเวียดนาม และหมู่เกาะฟิลิปินส์ ชายฝั่งทะเลลุ่มแม่น้ำอเมซอนในอเมริกาใต้ และชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวกินีในประเทศแอฟริกา อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า เนื่องจากอยู่ในเขตร้อน อุณหภูมิของอากาศสูงตลอดปี และมีฤดูแล้งสั้นๆ ปริมาณน้ำฝนรวมตลอดทั้งปีมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 130 – 375 เซนติเมตร สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ เนื่องจากสภาพอากาศมีฤดูแล้งเพียงระยะเวลาสั้นๆ และมีปริมาณน้ำฝนมาก พืชพรรณมักเป็นป่าดงดิบ ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบเขา ไม้ยืนต้นขึ้นหนาแน่น และมีพืชขนาดเล็กเติบโตได้บ้าง เนื่องจากสภาพพื้นดินมีความชื้นแฉะน้อยกว่าลักษณะภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นและแสงอาทิตย์ส ามารถส่องผ่านเรือนยอดไม่ใหญ่ได้บ้าง แต่ความหลากหลายของชนิดพรรณไม้มักมีน้อยกว่าป่าดงดิบในเขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้น ส่วนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศ ได้แก่ จำพวกสัตว์ปีก แมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ ส่วนสัตว์ขนาดใหญ่มีเล็กน้อย การดำรงชีวิตของประชากรส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเขตป่าร้อนชื้น ได้แก่ การเก็บหาของป่า การล่าสัตว์ การทำไร่เลื่อนลอย การทำป่าไม้ และการเพาะปลูก เช่น ทำสวนยางพารา กาแฟ เป็นต้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตภูมิอากาศแบบสะวันนา ลักษณะภูมิอากาศมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนอย่างเด่นชัด โดยมักมีสถานที่ตั้งอยู่ถัดจากเขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นขึ้นไปยังเขตละติจูดสูง หรือทางตอนในของแผ่นดิน โดยพบอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 - 20 องศาเหนือ และใต้ ในทวีปเอเชียพบบริเวณ กลุ่มประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คาบสมุทรเดคข่าน ประเทศอินเดีย รอบๆ เขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นในแอฟริกากลาง หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ลุ่มแม่น้ำโอริโนโค และที่ราบสูงบราซิลในทวีปอเมริกาใต้ อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนอย่างเด่นชัด อุณหภูมิของอากาศจึงคล้ายกับภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นและมรสุมร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 23 – 27 องศาเซลเซียส พิสัยของอุณหภูมิที่ผันแปรอยู่ระหว่าง 3 – 10 องศาเซลเซียส ส่วนทางด้านปริมาณน้ำฝนจะมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นและแบบมรสุมร้อน โดยจะแปรผันไปตามฤดูกาล แต่โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝนตกรวมเฉลี่ย 100 – 150 เซนติเมตร โดยส่วนใหญ่ฝนจะตกในช่วงเวลาที่ได้รับแสงดิ่งจากดวงอาทิตย์เป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนมักมีที่ตั้งอยู่ระหว่าง เขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นและเขตภูมิอากาศแบบสเต็ปป์ จึงทำให้มีผลต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา เช่น ถ้าอยู่ใกล้กับภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นปริมาณน้ำฝนจะตกมากถึง 175 เซนติเมตร แต่ถ้าอยู่ใกล้กับเขตภูมิอากาศแบบสเต็ปป์ปริมาณน้ำฝนที่ตกจะมีน้อยกว่า 100 เซนติเมตร นอกจากนี้ปริมาณน้ำฝนที่ตกยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของการเคลื่อนขึ้น ลง ของเขตเบียดตัวเข้าหากันเขตร้อนอีกด้วย สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ ดังที่ทราบมาแล้วว่าเขตภูมิอากาศนี้มีความแตกต่าง กันในเรื่องของปริมาณน้ำฝน ดังนั้นจึงส่งผลต่อลักษณะพืชพรรณธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ถ้าบริเวณที่ได้รับความชื้นเพียงพอ พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่มักเป็นป่าไม้ แต่ไม่หนาแน่นมาก เช่น ป่าแดง หรือป่าเบญจพรรณในประเทศไทย ในส่วนบริเวณพื้นที่ที่มีความชื้นน้อย พืชพรรณส่วนใหญ่มักเป็นไม้ต้นเล็ก เช่น ป่าหนาม หรือไม้พุ่มเขตร้อน ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตอบอุ่น (BWk) ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) และกึ่งทะเลทรายเขตร้อน (BSh)มีลักษณะภูมิอากาศอบอุ่นและแห้ง พบในบริเวณพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากทะเล และมีเทือกเขาขวางกั้นทิศทางลม พืชพรรณธรรมชาติมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าสั้น บริเวณที่มีภูมิอากาศเช่นนี้ ได้แก่ ประเทศเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน มองโกเลีย และทางทิศตะวันตกของจีนมีอุณหภูมิสูงเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนและ 18 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว มีความแห้งแล้งและมีฝนตกน้อยมาก เนื่องจากอิทธิพลของมวลความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุม รวมถึงไม่มีลมที่พัดจากทะเลเข้าสู่แผ่นดินพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้จะมีน้อย เช่น กระบองเพชรและไม้พุ่มต่างๆ ส่วนบริเวณโอเอซิสที่มีน้ำใต้ดินจะมีพืชจำพวกปาล์ม อินทผลัม ภูมิอากาศแบบนี้พบบริเวณประเทศ เยเมน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน ซีเรีย อิรัก อิหร่าน อัฟกานิสถาน และปากีสถานเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ( Mediterranean Climate “Csa” ,“Csb ” )เขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน ( Humid Subtropical Climate “Cfa” ,“Cwa” )เขตภูมิอากาศชายฝั่งตะวันตก ( Marine West Coast Climate “Cfb” ,“Cfc” ) รียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เขตภูมิอากาศกึ่งเขตร้อนที่แห้งแล้งในฤดูร้อน” (Dry -Summer Subtropical Climate) มีลักษณะอากาศแห้งแล้งในฤดูร้อน แต่จะมีฝนตกในฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ในเขตอิทธิพลของมวลอากาศอบอุ่นและชื้นจากภาคพื้นสมุทร และมีพายุพัดเข้าสู่ชายฝั่ง ส่วนในฤดูร้อนได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศแห้งภาคพื้นทวีปที่จมตัวลงมาทำให้อากาศแห้งแล้ง เขตภูมิอากาศนี้จะปรากฏอยู่อย่างเด่นชัดทางด้านชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 30 – 40 องศาเหนือ และใต้ และทางตอนใต้และตอนกลางของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนกลางของประเทศชิลี ตอนเหนือของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่ประเทศโปรตุเกสไปจนถึงประเทศตุรกี เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงประเทศอิหร่าน ในประเทศโมร็อกโก ทางเหนือของเอลจีเรีย และตูนิเซีย ทางเหนือของเบงกาสี ในประเทศลิเบีย และทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย ย่านเคปทาว์นแอฟริกาใต้ อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า ลักษณะอุณหภูมิจะแตกต่างกันไปในแต่ละ ที่ตั้งของพื้นที่ โดยถ้าบริเวณใดอุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ยตลอดปีเท่าหรือสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะเป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนร้อน (Csa) แต่ถ้าหากอุณหภมิของอากาศโดยเฉลี่ยตลอดปีต่ำกว่า 22 องศาเซลเซียส จะเป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น (Csb) ซึ่งโดยทั่วไปจะปรากฏอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลระหว่างละติจูดที่ 30 – 40 องศาเหนือ และใต้ และมีกระแสน้ำเย็นไหลผ่าน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส แต่บริเวณที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเข้าไปในภาคพื้นดินจะมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียส สำหรับในฤดูหนาวอุณหภูมิจะแปรผันระหว่าง 4 – 10 องศาเซลเซียส โดยบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินหรือมีตำแหน่งละติจูดเพิ่มขึ้นอุณหภูมิจะลดลง ส่วนปริมาณหยาดน้ำฟ้าเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นจากภาคพื้นสมุทร มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปี มีค่าประมาณ 40 – 80 เซนติเมตร โดยมากเป็นฝนที่ตกมากในฤดูหนาว มักพบบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีป จึงได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศชื้นภาคพื้นสมุทร บริเวณที่มีลักษณะอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน ได้แก่ ชายฝั่งตะวันออกของทวีปบริเวณละติจูดที่ 25 – 40 องศาเหนือ และใต้ เช่น ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ ในประเทศปารากวัย ทางใต้ของบราซิล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาใต้ ทางตะวันออกของออสเตรเลีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ลุ่มแม่น้ำโปของอิตาลี ภายในของประเทศยูโกสลาเวีย และทางตะวันออกของประเทศจีนด้านตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำฮวงโห อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า เนื่องมาจากพื้นที่อยู่บริเวณชายฝั่งทางด้าน ตะวันออกของทวีปเป็นส่วนใหญ่ และได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศชื้นจากทะเล และมวลอากาศเย็นจากเขตละติจูดสูงที่เคลื่อนที่ลงมา ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในฤดูร้อนอยู่ระหว่าง 24 – 27 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวอุณหภูมิของอากาศอยู่ระหว่าง 6 – 13 องศาเซลเซียส ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ตั้งว่าอยู่ใกล้หรือห่างจากชายฝั่งทะเลเพียงใด หรืออยู่ในเขตละติจูดสูงต่ำเพียงใด สำหรับเขตภูมิอากาศแบบ Cfa จะมีฝนตกตลอดทั้งปี เดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุดจะมีค่ามากกว่า 3 เซนติเมตร แต่ในเขตภูมิอากาศแบบ Cwa จะมีอากาศแห้งแล้งในช่วงฤดูหนาว แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกตลอดปีของเขตภูมิอากาศแบบชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อนจะแปรผันอยู่ระหว่าง 75 - 150 เซนติเมตรต่อปี สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ เนื่องจากเป็นเขตภูมิอากาศที่มีความชุ่มชื้นสูงและ อุณหภูมิของอากาศค่อนข้างสูง พืชพรรณจึงได้แก่พืชจำพวกไม้ใบกว้างทิ้งใบ ในเขตที่สูงเป็นป่าไม้ใบกว้างผสมกับป่าสน พืชพรรณจะทิ้งใบในช่วงฤดูหนาว สัตว์ป่าที่อยู่อาศัย ได้แก่ กวาง สุนัขจิ้งจอก กระต่าย กระรอก ตัวนิ่ม และนกต่างๆเป็นเขตภูมิอากาศที่มีอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดทั้งปี พบบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปต่างๆ ในบริเวณเขตละติจูดที่ 40 – 60 องศาเหนือ และใต้ จึงได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศภาคพื้นสมุทร โดยมากพบบริเวณทางด้านชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา จากทางเหนือของแคลิฟอร์เนีย เลียบชายฝั่งไปจนถึงตอนใต้ของอลาสกา ส่วนประเทศชิลีเริ่มจากละติจูดที่ 40 องศาใต้ลงไป ตอนใต้ของแอฟริกา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนียและนิวซีแลนด์ และส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ทางยุโรปตะวันตก เริ่มตั้งแต่เกาะไอซ์แลนด์ไปจนถึงตอนใต้ของโปแลนด์ อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ย ต่ำกว่า 22 องศาเซลเซียส แต่อย่างน้อย 4 เดือนที่อุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ซึ่งในการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนใช้สัญลักษณ์ Cfb แต่ถ้าหากเขตภูมิอากาศแบบชายฝั่งตะวันตกที่มีอากาศเย็นในฤดูร้อนใช้สัญลักษณ์ Cfc ซึ่งลักษณะอากาศโดยทั่วไปในช่วง 1 – 3 เดือนอุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิของอากาศร้อนที่สุดเฉลี่ยประมาณ 12 – 21 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวเดือนที่หนาวที่สุดมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 0 – 9 องสาเซลเซียส สำหรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณที่ราบมีปริมาณเฉลี่ย 75 – 100 เซนติเมตร ส่วนในบริเวณด้านต้นลมของภูเขาที่ตั้งรับลมประจำฝ่ายตะวันตก ที่พัดเข้าสู่ฝั่งมีปริมาณเฉลี่ย 150 – 200 เซนติเมตร สำหรับปริมาณหิมะที่ตกพบว่ามีปริมาณผันแปรไปตามละติจูดที่สูงขึ้น และพื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ พืชพรรณธรรมชาติจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ในทวีปยุโรปเป็นป่าไม้ใบกว้างทิ้งใบในฤดูหนาว ส่วนในอเมริกาเหนือเป็นป่าสนตามเทือกเขาที่ตั้งรับลมประจำ สำหรับประเทศนิวซีแลนด์เป็นป่าฝนเขตอบอุ่น (Temperate Rainforest) สำหรับพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกทำลายจะกลายมาเป็นทุ่งหญ้าแพรี่ หรือทุ่งหญ้าบนภูเขา ซึ่งเหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์ สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ สุนัขป่า ตัวบีเวอร์ กระรอก และสัตว์น้ำแถบชายฝั่งทะเล เช่น ปลาวาฬ และแมวน้ำ เป็นต้น ลักษณะภูมิอากาศแบบชายฝั่งตะวันตกเหมาะสำหรับการตั้งถิ่นฐานมากเนื่องจากมีอากาศอบอุ่นตลอดปี และได้รับอิทธิพลจากภาคพื้นทะเล จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น การประกอบอาชีพที่สำคัญได้แก่ การอุตสาหกรรมและการค้า อาชีพรองลงมา ได้แก่ การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ การประมงเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นภาคพื้นทวีปที่ร้อนในฤดูร้อน ( Humid Continental Hot Summer Climate “ Dfa” , “Dwa” )เขตภูมิอากาศชุ่มชื้นภาคพื้นทวีปที่อบอุ่นในฤดูร้อน ( Humid Continental Mild Summer Climate “ Dfb” , “Dwb” )เขตภูมิอากาศกึ่งขั้วโลกภาคพื้นทวีป ( Continental Sub-Arctic Climate “Dfc” , “Dwc” , “Dfd” และ “Dwd” )ลักษณะภูมิอากาศจะร้อนและชุ่มชื้นในฤดูร้อน พบในอเมริกาเหนือต่อจากแนว เขตภูมิอากาศแบบสเต็ปป์ในแถบตะวันตกกลางของสหรัฐอเมริกามายังชายฝั่งตะวันออก และอยู่เหนือเขตภูมิอากาศแบบชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อนในยุโรป ปรากฏตั้งแต่ยุโรปตะวันออก เป็นพืดติดต่อกันเข้าไปยังประเทศโรมาเนียและบัลเกเรีย ส่วนในเอเชียจะปรากฏอยู่ในแมนจูเรียของประเทศจีนและคาบสมุทรเกาหลีเหนือ อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า ในฤดูร้อนจะมีช่วง 3 – 4 เดือน อุณหภูมิมี ค่าเฉลี่ยราว 21 - 24 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวมีระยะเวลา 3 – 5 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยราว -4 ถึง 2 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปอุณหภูมิจะลดต่ำลงจากจุดเยือกแข็งติดต่อกันหลายวัน ส่วนปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกจะผันแปรแตกต่างกันออกไป บางแห่งมีหยาดน้ำฟ้าตกตลอดปี แต่บางแห่งจะแห้งแล้งในฤดูหนาว โดยเฉลี่ยมีหยาดน้ำฟ้าตกลงมาเฉลี่ยประมาณ 60 - 90 เซนติเมตรต่อปี ยกเว้นบริเวณลมมรสุมเอเชียหยาดน้ำฟ้าจะตกมากในช่วงฤดูร้อน ซึ่งจะตกลงมาในรูปของน้ำฝนอันเกิดจากกระบวนการพาความร้อน ส่วนในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูใบไม้ร่วงหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาจะเกิดจากแนวปะทะของมวลอากาศขั้วโลก แต่ในฤดูหนาวหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาจะเป็นพวกหิมะ สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ พืชพรรณธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ป่าไม้ เนื่องจาก มีสภาพลมฟ้าอากาศที่เหมาะสม โดยมากเป็นป่าไม้ใบกว้างทิ้งใบ และป่าผสมระหว่างป่าไม้ใบกว้างทิ้งใบกับป่าสน ส่วนบริเวณที่สูงจะเป็นป่าสน บริเวณป่าไม้ที่ถูกแผ้วถางทำลายจะกลายเป็นทุ่งหญ้าแพรี่ แต่ถ้าบริเวณใดมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยพืชพรรณจะเป็นทุ่งหญ้าแพรี่ ส่วนสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ส่วนมาก ได้แก่ สัตว์ที่ทนต่อสภาพหนาวเย็นในฤดูหนาว เช่น สุนัขจิ้งจอก กวาง หมี บีเวอร์ กระต่าย และนาก เป็นต้น และยังมีแมลงต่างๆ มากในช่วงฤดูร้อน ประชากรที่อาศัยในเขตภูมิอากาศนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้านการเพาะปลูก พืชที่สำคัญ เช่น ข้าวโพดเป็นเขตภูมิอากาศที่อากาศอบอุ่นในฤดูร้อน มีความแตกต่างจากเขตภูมิอากาศแบบชุ่มชื้นภาคพื้นทวีปที่ร้อนในฤดูร้อน คือ ในฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นกว่า ส่วนในฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายกว่า และมีหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในปริมาณน้อยเนื่องจากอยู่ในเขตละติจูดที่สูงกว่า อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า ในฤดูร้อนอากาศอบอุ่นอุณหภูมิจะผันแปรระหว่าง 18 – 21 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นมาก อุณหภูมิผันแปรอยู่ระหว่าง -12 ถึง -6 องศาเซลเซียส ส่วนปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาจะมีความแตกต่างกัน ได้แก่ เขตภูมิอากาศแบบ Dfb มีหยาดน้ำฟ้าตกตลอดทั้งปี แต่ถ้าเป็นเขตภูมิอากาศแบบ Dwb จะมีอุณหภูมิอากาศแห้งแล้งและหนาวเย็นในฤดูหนาว ปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมามีค่าเฉลี่ยราว 50 – 100 เซนติเมตรต่อปี แต่บางแห่งมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าตกลงมามากกว่าเนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาเกิดจากพายุมากกว่ากระบวนการพาความร้อน แต่เนื่องจากในฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นอย่างรุนแรง หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาจะเป็นหิมะและตกติดต่อกันนาน 3 เดือน หรือมากกว่า สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ผสม ระหว่างป่าไม้ใบกว้างทิ้งใบผสมกับป่าสน แต่จะมีปริมาณของต้นสนมากกว่าไม้ใบกว้างทิ้งใบ ตัวอย่างพืชพรรณ เช่น โอ๊ก เมเปิ้ล พันธุ์ไม้สน เช่น เฟอร์ ไพน์ ส่วนบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในผืนแผ่นดิน ปริมาณความชื้นลดลง พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าแพรี่ และทุ่งหญ้าสเต็ปป์ สัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่ กวาง บีเวอร์ ออตเตอร์ และกระต่าย ซึ่งมักอาศัยอยู่ทางตอนเหนือที่ติดต่อกับเขตภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกและกระจายอยู่ตามป่าพรุ หรือทะเลสาบที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยในเขตภูมิอากาศนี้ประกอบอาชีพ เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ พืชที่ปลูก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง ข้าวโอต เป็นต้น ส่วนในบางบริเวณของทะเลสาบทั้ง 5 ของอเมริกาเหนือ มีการปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ แอปเปิ้ล พลัม และเชอร์รี่ ส่วนการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วัวนม นอกจากนั้นยังมีการประกอบอาชีพทำป่าไม้ การประมง และการอุตสาหกรรรมด้วยเช่นกันป็นเขตภูมิอากาศที่มีอากาศหนาวเย็นมากในช่วงฤดูหนาวเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลิ่มความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุม เขตภูมิอากาศกึ่งขั้วโลกภาคพื้นทวีปมักพบบริเวณซีกโลกเหนือ ได้แก่ในอเมริกาเหนือ และยูเรเชีย ที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 50 – 55 และ หรือ 70 องศาเหนือ ในทวีปอเมริกาเหนือจะเป็นแนวแผ่ขยายจากอลาสกามาจนถึงนิวฟันด์แลนด์ของประเทศแคนาดาถึงทะเลแลบราเดอร์ ส่วนในยูเรเชียเริ่มจากทะเลบาเรนต์ถึงทะเลเบริ่งและทะเลโอโคทสต์ อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า เนื่องจากในเขตนี้มีลักษณะอากาศปลีกย่อย แตกต่างกันอยู่ เคิปเปนจึงได้แบ่งออกเป็นเขตย่อย ได้แก “Dfc” มีสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเย็น มีฤดูร้อนสั้นๆ น้อยกว่า 4 เดือน ที่มีอุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส แต้ถ้าหากสภาพอุณหภูมิของอากาศเย็นมากกว่านี้ ใช้สัญลักษณ์ “Dfd” ในฤดูหนาวอากาศเย็นจัดมาก เดือนที่หนาวที่สุดอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า -38 องศาเซลเซียส ส่วนสัญลักษณ์ “Dwc” หรือ “Dwd” นั้นจะมีอุณหภูมิของอากาศคล้ายคลึงกันกับที่กล่าวมาแล้วแต่จะแตกต่างกัน คือ หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาจะมีอากาศแห้งแล้งในช่วงฤดูหนาว ส่วน “Dfc” และ “Dfd” จะมีหยาดน้ำฟ้าตกตลอดทั้งปี ปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาตลอดปีเฉลี่ยต่ำกว่า 30 เซนติเมตร สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ พืชพรรณธรรมชาติส่วนมากเป็นป่าสน เรียกว่า “ป่าไม้เขตหนาว” (Boreal Forest) ในรุสเซีย เรียกว่า “ไทก้า” (Taiga) ในแคนาดา เรียกว่า “ป่าสนเหนือ” บริเวณพื้นล่างของต้นไม้มีพืชจำพวกมอสส์ และไลเคน ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนในบริเวณที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงขึ้นจะเป็นป่าไม้ทิ้งใบและป่าสนผสมกัน สัตว์ป่าที่พบมากมักเป็นสัตว์ที่มีขนปุกปุยเพื่อป้องกันความหนาวเย็น ได้แก่ สุนัขป่า สุนัขจิ้งจอก มิ้ง ออตเตอร์ กวางเรนเดียร์ หรือ กวางคาริบู นาก และกวาง ส่วนตามทะเลสาบและแม่น้ำลำธารมีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม เช่น ปลากะพง ปลาเทราต์ นอกจากนั้นในช่วงฤดูร้อนสั้นๆ จะมีแมลงชุกชุม และมีนกชนิดต่างๆ อพยพขึ้นไปอยู่แต่พอถึงฤดูหนาวก็จะพากันบินอพยพลงมาทางใต้ต่อไป สำหรับการดำรงชีวิตส่วนใหญ่ในเขตภูมิอากาศนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นมาก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพ ล่าสัตว์ จับปลา หาของป่า ส่วนในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นกว่าสามารถทำการเพาะปลูกได้แต่ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากการเกิดน้ำค้างแข็ง พืชที่ปลูกมักมีช่วงอายุสั้น เช่น ธัญญพืช พืชมีหัว เป็นต้นเขตภูมิอากาศแบบทรุนดรา ( Tundra Climate “ ET ” )เขตภูมิอากาศแบบพืดน้ำแข็ง ( Ice Cap Climate “ EF ” )อากาศตลอดปีมีอุณหภูมิต่ำ อากาศหนาวเย็นมาก พบบริเวณ หมู่เกาะทางเหนือของอเมริกาเหนือ เริ่มจากทางตอนเหนือของอลาสกาถึงชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดา บริเวณรอบนอกของเกาะกรีนแลนด์ ชายฝั่งและหมู่เกาะทางเหนือของยูเรเชีย โดยเริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทางเหนือของนอร์เวย์ถึงช่องแคบเบริ่ง ในซีกโลกใต้จะปรากฏอยู่บ้างเล็กน้อยตามคาบสมุทรของทวีปแอนตาร์กติกา และหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า ช่วงฤดูร้อนโดยเฉลี่ยอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 4 – 9 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ตั้งที่อยู่ใกล้ ไกลทะเล ส่วนในฤดูหนาว อุณหภูมิจะแปรผันอยู่ระหว่าง –28 ถึง -6 องศาเซลเซียส สำหรับหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาโดยเฉลี่ยมีปริมาณต่ำกว่า 30 เซนติเมตรต่อปี ส่วนใหญ่เกิดจากพายุ ที่ตกในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง หยาดน้าฟ้าที่ตกในฤดูร้อนมักเป็นฝน ส่วนฤดูหนาวเป็นหิมะ สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดปี พืชพรรณส่วนใหญ่ ได้แก่ ตะไคร่น้ำ มอสส์ และไลเคน ส่วนในเขตละติจูดต่ำลงมามีพืชจำพวกสนแคระขึ้นอยู่บ้าง สัตว์ป่าที่สำคัญได้แก่ กระต่ายอาร์กติก หมีขั้วโลก ส่วนฤดูร้อนมักมีกวางเรนเดียร์ และสุนัขป่าอพยพมาจากป่าไม้ใกล้เคียงเข้ามาอยู่บ้าง ส่วนสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาคอด ปลาแซลมอน แมวน้ำ ปลาวาฬ และสิงโตทะเล การดำรงชีพส่วนใหญ่ประชากรมีจำนวนน้อยเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น อาชีพที่สำคัญเช่น การล่าสัตว์ หาของป่า บางส่วนเป็นเหมืองแร่ เช่นทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา เป็นต้นอากาศหนาวเย็นตลอดปี พื้นดินปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทะเลทรายขั้วโลก” (Polar Desert) พบในเขตทวีปแอนตาร์กติกาในซีกโลกใต้ ส่วนในซีกโลกเหนือจะปรากฏอยู่ในบริเวณตอนกลางของเกาะกรีนแลนด์ อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า อุณหภูมิของอากาศทุกเดือนต่ำกว่า 0 องศา เซลเซียส จึงทำให้พื้นดินปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งตลอดเวลา สำหรับปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาส่วนใหญ่อยู่ในรูปของหิมะมีปริมาณเฉลี่ยน้อยกว่า 8 – 10 เซนติเมตร สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีพ ในเขตภูมิอากาศนี้ไม่มีพืชพรรณธรรมชาติใดๆ เนื่อง จากพื้นผิวถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดเวลา สัตว์ที่พบ ได้แก่ ปลาชนิดต่างๆ แมวน้ำ สิงโตทะเล หมีขั้วโลก นกเพนกวิน เป็นต้น นอกจากนั้นการเข้าไปตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในเขตนี้คงมีแต่เพียงการเข้าไปสำรวจ ศึกษา และจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เป็นครั้งคราวเท่านั้นนาย ธนกฤต อินทร์ติยะ เลขที่10 ม5/9

เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น

เขตภูมิอากาศแบบเย็นชื้น

เขตภูมิอากาศแบบขั้วโลก

เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง

เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น

Similar Mind Maps

Outline