จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

การกู้ร่วม คือ การมีผู้ยื่นกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อกู้เงินร่วมกันตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 คน ภายใต้สัญญากู้เดียวกัน โดยต้องเป็นคนในครอบครัวใกล้ชิดที่มีนามสกุลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ สามีภรรยา ลูก หรือแม้กระทั่งพี่น้องร่วมสายเลือด แม้คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมได้ ทำให้เพิ่มโอกาสกู้ผ่านหรือได้วงเงินกู้เพิ่มขึ้น

ผู้กู้ร่วมจะมีภาระหนี้สินคนละครึ่ง หรือมีสัดส่วนเท่าๆ กัน โดยหากผู้กู้คนใดคนหนึ่งไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ตามกำหนด ผู้กู้ร่วมคนอื่นๆ ต้องรับผิดชอบหนี้ค้างชำระต่อแทน ในขณะที่อาจเลือกให้มีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวหรือมีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของร่วมกันได้ตามแต่ตกลง หรือเงื่อนไขการกู้ร่วมในแต่ละแบบ

หลายคนอาจสงสัยว่าการกู้ร่วมในแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร หรือมีจุดไหนบ้างต้องตัดสินใจก่อนการกู้ร่วม ไม่ว่าจะกู้บ้านร่วมกับพ่อแม่ กู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟน กู้ร่วมกับเพื่อน หรือกู้ร่วมพี่น้อง แรบบิท แคร์ สรุปภาพรวมการกู้ร่วมซื้อบ้านในแต่ละแบบมาให้ไว้ที่นี่แล้ว

1. กู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟน

การกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านกับแฟนจะสามารถทำได้ต่อเมื่อผู้ยื่นกู้สามารถแสดงหลักฐานความเป็นสามีภรรยา หรือหลักฐานแสดงความผูกพันทั้งทางนิตินัย (กฎหมาย) หรือทางพฤตินัย (ข้อเท็จจริง) แม้จะไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสมระหว่างผู้ยื่นกู้ทั้งสองคนแก่ธนาคาร ตัวอย่างเช่น ทะเบียนสมรส สำหรับผู้ยื่นกู้หลักและกู้ร่วมที่แต่งงานและจดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้ว

ในขณะที่คู่รักที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่อยู่ในระหว่างเตรียมงานแต่งงาน สามารถใช้ภาพถ่าย หรือการ์ดงานแต่งงานเป็นหลักฐานประกอบการยื่นกู้ร่วมได้เช่นกัน สำหรับคู่รักที่อาจจะไม่ได้จัดงานแต่งงาน ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่อยู่กินกันฉันสามีภริยา หรือมีลูกด้วยกันเเล้วนั้น สามารถยื่นขอกู้ร่วมได้ด้วยการแสดงหลักฐานความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง

เช่น หนังสือรับรองบุตร ใบสูจิบัตรที่ระบุชื่อผู้กู้ทั้งสองเป็นพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด ใบลงบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจระบุว่าผู้กู้ทั้งสองได้อยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียน หรือทะเบียนบ้านปัจจุบันที่มีชื่อผู้กู้ทั้งคู่อยู่ร่วมกัน ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ยื่นกู้ร่วมในกรณีของคู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะแตกต่างและขึ้นอยู่กับนโยบายการพิจาจณาอนุมัติการกู้ร่วมของแต่ละธนาคาร

อย่างไรก็ตาม การกู้ร่วมในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น อาจจะไม่สามารถเลือกใส่ชื่อใครคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินในหลังโฉนดได้ แต่จะใส่ชื่อของผู้ยื่นกู้ทั้งสองคนเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกันแทน เพื่อป้องกันปัญหาภาระหนี้สินหรือกรรมสิทธิ์ที่จะตกอยู่กับคนใดคนหนึ่งในกรณีเลิกรากันในภายหลัง

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

2. กู้ร่วมซื้อบ้านกับสามีหรือภรรยา

การกู้ซื้อบ้านด้วยการกู้ร่วมระหว่างสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย จะเข้าเงื่อนไขการกู้ร่วมตามที่ธนาคารกำหนด สามารถเลือกใส่ชื่อผู้กู้คนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ โดยมีชื่อผู้กู้ร่วมประกอบการยื่นกู้กับธนาคาร หรือใส่ชื่อผู้กู้ทั้ง 2 คนเพื่อให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันได้เช่นกัน

ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมกับสามีภรรยา คือ “การจัดการกรรมสิทธิ์” ในกรณีที่ต้องเลิกรากันไปก่อนผ่อนบ้านครบกำหนด โดยต้องตกลงว่าใครจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ที่ยื่นกู้ร่วมกันต่อ รวมถึงชดเชยเงินที่ผ่อนชำระไปเเล้วให้เรียบร้อย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายให้ความยินยอมในการโอนกรรมสิทธิ์ให้อีกฝ่ายหนึ่ง และเริ่มดำเนินการการถอดชื่อกู้ร่วมต่อไป

“การถอนชื่อกู้ร่วมออกจากโฉนด” จะเริ่มต้นภายหลังจากจดทะเบียนหย่าเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว โดยต้องนำเอกสารใบหย่าและสัญญาซื้อขายเดิมมาให้ธนาคาร เพื่อทำเรื่องเปลี่ยนสัญญาเงินกู้เดิมเป็นสัญญาเงินกู้ใหม่ ในส่วนของการถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมเดิมออก และเปลี่ยนชื่อผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ต่อไป

หรือ “การรีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการแจ้งขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมที่สามารถทำได้ โดยจะเป็นการขอรีไฟแนนซ์พร้อมเปลี่ยนจากการกู้ร่วมเป็นการกู้คนเดียว ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคารเดิมหรือธนาคารใหม่ ในกรณีธนาคารเดิมไม่อนุมัติการรีไฟแนนซ์เพื่อถอดชื่อผู้กู้ร่วม

ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีการถอดชื่อคู่ผู้กู้ร่วมวิธีไหนก็ตาม ธนาคารจะตรวจสอบข้อมูลผู้กู้ใหม่อีกครั้งเหมือนกับการยื่นขอทำสัญญาเงินกู้ใหม่เป็นครั้งแรก รวมถึงมีสิทธิ์ไม่อนุมัติคำขอดังกล่าวได้ในกรณีที่ผู้กู้ไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระเงินกู้ต่อแต่เพียงผู้เดียว มีพฤติกรรมการชำระงินคืนเงินกู้ที่ไม่ตรงเวลา หรือมีรายได้หรือภาระหนี้สินที่ไม่ตรงตามเกณฑ์ที่ธนาคารที่กำหนด ทำให้ผู้กู้ที่เหลืออยู่ อาจต้องพิจารณาเลือกกู้ร่วมกับพ่อแม่ หรือพี่น้องแทน

ในขณะที่ “การขายทิ้ง” ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ต้องการสินทรัพย์ที่ทำเรื่องกู้ร่วมไว้ รวมถึงไม่ต้องการมีภาระผ่อนอีกต่อไป การประกาศขายสินทรัพย์เพื่อปิดหนี้ผ่อนที่คงค้างอยู่ทั้งหมดจะช่วยจบปัญหาการกู้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยา ในกรณีที่หย่าร้างหรือเลิกรากันไป แต่จำเป็นต้องพูดคุยและได้รับความยินยอมในการขายจากทั้งสองฝ่ายก่อนการขาย

ซึ่งต้องคิดถึงเรื่อง “สินทรัพย์ส่วนตัว และสินทรัพย์สมรส” หรือทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายระหว่างก่อนและหลังจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายด้วยเช่นกัน โดยหากการกู้ร่วมเพื่อซื้อสินทรัพย์และได้มาซึ่งสินทรัพย์หลังจดทะเบียนสมรส จะถือว่าเป็นสินสมรส และกำไรที่จะได้จากการขายสินทรัพย์ต้องถูกแบ่งคนละครึ่งเท่าๆ กัน

3. กู้ร่วมซื้อบ้านกับเพื่อน

การกู้ซื้อบ้านร่วมกับเพื่อนที่ไม่ใช่ญาติใกล้ชิด ญาติสายเลือดเดียวกัน หรือไม่มีภาระผูกพันทางสายเลือด จะไม่สามารถยื่นขอกู้ร่วมได้ ยกเว้นในกรณีเดียว คือ กรณีการยื่นกู้สินเชื่อบ้านของเพื่อนคู่รักเพศเดียวกัน(LGBTQ+) ซึ่งจะสามารถยื่นขอกู้ซื้อบ้านร่วมกันได้โดยสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ขอกู้นั้นไม่ได้แตกต่างจากรายละเอียดการขอสินเชื่อในกลุ่มคู่รักเพศเดียวกันแต่อย่างใด

แม้ว่าเอกสารแสดงหลักฐานบางอย่างที่ต้องใช้ยื่นประกอบการพิจารณาขอกู้ร่วม เช่น ทะเบียนสมรส อาจจะไม่สามารถนำมาแสดงได้ในกรณีของคู่รักเพศเดียวกัน เนื่องจากในขณะนี้ประเทศไทยยังไม่รองรับการจดทะเบียนสมรสในเพศเดียวกัน จึงทำให้คู่เพื่อนรักเพศเดียวกันอาจจะไม่สามารยื่นขอกู้ร่วมได้

แต่ในปัจจุบันได้มีการพิจารณาการกู้ร่วมของคู่เพื่อนเพศเดียวกันเพิ่มมากขึ้น โดยแสดงเอกสารความสัมพันธ์แทนทะเบียนสมรสได้ ไม่ว่าจะเป็น ทะเบียนบ้านที่มีชื่ออยู่ร่วมกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน, เอกสารการประกอบธุรกิจร่วมกัน, รูปถ่ายแสดงความสัมพันธ์ และลายเซ็นในเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

4. กู้ร่วมซื้อบ้านกับพี่น้อง

การกู้ซื้อบ้านร่วมกับพี่น้องนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการเพิ่มโอกาสผ่านการพิจารณาอนุมัติ เเละเพิ่มวงเงินกู้สินเชื่อได้ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องนามสกุลเดียวกัน หรือพี่น้องคนละนามสกุลที่มีเอกสารหลักฐานแสดงความผูกพันธ์ทางสายเลือดจากการมีพ่อแม่คนเดียวกัน เช่น ทะเบียนบ้าน หรือสูจิบัตร ก็สามารถยื่นขอเป็นผู้กู้ร่วมได้

การกู้ซื้อบ้านร่วมกับพี่น้องมีปัจจัยที่ต้องตัดสินใจหลายประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น “จำนวนพี่น้อง” ที่จะยื่นขอกู้ร่วม โดยหากมีจำนวนผู้ยื่นกู้ร่วมที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมอาจมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสให้อนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรือได้รับวงเงินในการกู้เพิ่มสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับประวัติทางการเงินของแต่ละคน ซึ่งโดยทั่วไปเเล้วสามารถยื่นกู้ร่วมได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน

แต่หากพี่น้องที่ยื่นกู้ร่วมมีภาระหนี้สินในปัจจุบันที่มากเกินกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด มีรายรับที่น้อยจนเกินไปหรือไม่สม่ำเสมอ อาจกลายเป็นการลดโอกาสในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อบ้านก็เป็นได้ นอกจากนั้นแล้ว การกู้ร่วมกันกับพี่น้องภายในครอบครัว ย่อมอาจมีโอกาสพูดคุย ขอเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ หรือขอถอดชื่อกู้ร่วมได้ง่ายกว่ากรณีการกู้ร่วมกับสามีภรรยาที่มีโอกาสเลิกรา และไม่ติดต่อกันอีกเลยก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม “โอกาสในการยื่นขอสินเชื่อของพี่น้องในอนาคต” เป็นอีกเรื่องที่ต้องนำมาคิดด้วยเช่นกัน เพราะแม้ว่าตอนนี้พี่น้องจะยังไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องกู้ซื้อทรัพย์สินของตัวเอง แต่ในอนาคตหากต้องแต่งงานและแยกไปซื้อบ้านเพื่อสร้างครอบครัวของตัวเอง ก็อาจจะไม่สามารถกู้ขอสินเชื่อเองได้ เนื่องจากติดภาระการกู้ร่วมกับพี่น้องไปก่อนหน้านี้แล้วนั่นเอง

เช่นเดียวกันกับ “ความสามารถในการผ่อน” ตั้งเเต่วันที่เริ่มต้นยื่นกู้ไปจนถึงวันที่จ่ายเงินกู้ครบ ตัวอย่างเช่น พี่น้องสามคนตกลงตัดสินใจร่วมกันกู้ซื้อบ้าน และช่วยกันผ่อนจ่ายเงินกู้เท่าๆ กัน แต่ในเวลาต่อมามีพี่น้องสองคนที่แต่งงานและย้ายออกไปสร้างครอบครัวเอง ทำให้ต้องเหลือผ่อนบ้านอยู่คนเดียว ซึ่งอาจเป็นภาระทางการเงินที่หนักเกินไปสำหรับการผ่อนบ้านต่อคนเดียวในระยะยาวอย่างน้อย 20-30 ปี

นอกจากนั้นเเล้ว “กรรมสิทธิ์” หรือความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์ในวันที่ผ่อนเสร็จแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการกู้ร่วมกันระหว่างพี่น้อง และทุกคนช่วยกันจ่ายค่าเบี้ยรายเดือนเท่าๆ กัน หรือกู้ร่วมกับพี่น้อง แต่มีเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่เป็นผู้ผ่อนจ่าย เพราะการกู้ร่วมถือว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งตั้งแต่แรกแล้ว และไม่ว่าใครจะเป็นคนจ่ายเงินผ่อนบ้าน ไม่ได้แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

ซึ่งเรื่องกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์จากการกู้ร่วมกับพี่น้อง อาจต้องคำนึงถึงกรณีที่พี่น้องที่กู้ร่วมแต่งงานจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่มีเหตุให้เสียชีวิตจากไปอย่างกะทันหัน ทำให้สินทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างผ่อนชำระร่วมกับพี่น้องนั้น อาจถูกแบ่งกรรมสิทธิ์ให้สามีหรือภรรยาของพี่น้อง รวมถึงทายาทตามกฏหมายอีกด้วย

ทั้งนี้ หากกู้ร่วมกับพี่น้องในตอนต้น และต้องการมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านเเต่เพียงผู้เดียวในวันที่ผ่อนชำระเงินกู้ครบ ต้องตกลงทำเรื่องซื้อขายระหว่างกัน และเสียภาษีขายบ้าน (ภาษีธุรกิจเฉพาะ) ให้เรียบร้อย จึงจะสามารถแจ้งเปลี่ยนชื่อหลังโฉนดได้

5. กู้ร่วมซื้อบ้านกับพ่อแม่

การกู้ซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ร่วมกับพ่อแม่มักเกิดขึ้นได้ในสองกรณีหลักๆ ได้แก่ กรณีที่พ่อแม่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เอง แต่คาดว่าจะไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาเงินกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารจากทั้งเรื่องอายุของผู้ยื่นขอกู้ (พ่อแม่) ที่อยู่ในช่วงวัยใกล้เกษียณ ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่กำหนดอายุผู้กู้ร่วมต้องไม่เกิน 60-70 ปี ตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร หรือเรื่องรายได้ที่น้อยเกินไปจนไม่สามารถยื่นกู้เองได้

หรือกรณีที่ลูกต้องการซื้อบ้านเอง แต่ไม่สามารถยื่นกู้ได้ด้วยตัวเองโดยลำพัง เนื่องจากความไม่พร้อมของหลักฐานประกอบการพิจารณากู้สินเชื่อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุการทำงาน หลักฐานทางการเงิน หรือปัจจัยภาระทางการเงินและความมั่นคงอื่นๆ ทำให้ต้องนำคนในครอบครัวที่มีความใกล้ชิดและมีความมั่นคงมากกว่ามาเป็นผู้กู้ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและโอกาสผ่านการพิจารณาสินเชื่อจากธนาคาร

สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อคิดจะกู้ซื้อบ้านร่วมกับพ่อแม่ คือ “อายุของผู้กู้ร่วม” หรืออายุของพ่อแม่ เนื่องจากเกณฑ์เรื่องอายุเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ธนาคารใช้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อหรือเงินกู้ซื้อบ้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารจะให้ผ่อนบ้านได้สูงสุด 30 ปี และอายุของผู้ยื่นกู้ หรือกู้ร่วมต้องไม่เกินเกณฑ์ที่แต่ละธนาคารกำหนดตัวอย่างเช่น

  • อายุของผู้กู้หรือผู้กู้ร่วม กรณีเป็นผู้ที่มีรายได้ประจำ ต้องไม่เกิน 60 ปี
  • อายุของผู้กู้หรือผู้กู้ร่วม กรณีเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องไม่เกิน 65 ปี
  • อายุของผู้กู้หรือผู้กู้ร่วม กรณีเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพพิเศษ เช่น ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ บุคลากรทางการแพทย์ (เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ หรือเภสัชกร) นักบินพาณิชย์ หรืออัยการและผู้พิพากษา ต้องไม่เกิน 70 ปี

ดังนั้นแล้ว พ่อแม่ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และทำงานประจำแต่เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถเป็นผู้กู้ร่วมได้ตามเกณฑ์ทั่วไปที่ธนาคารกำหนด แต่หากพ่อแม่ที่อายุเกิน 60 ปี ทำธุรกิจส่วนตัว หรือมีอาชีพอยู่ในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ ก็อาจจะสามารถยื่นขอเป็นผู้กู้ร่วมได้ โดยจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อกู้บ้านจากรายได้ของผู้ยื่นกู้ทั้งสองคน และดูอายุของผู้กู้หลักเป็นหลัก รวมถึงอาจมีโอกาสได้รับดอกเบี้ยพิเศษจากสินเชื่อบ้านสำหรับอาชีพเฉพาะทางในกรณีที่ยื่นขอเป็นผู้กู้หลักอีกด้วย

บทสรุปส่งท้าย

ไม่ว่าจะเลือกกู้ร่วมแบบไหนหรือยื่นกู้ร่วมซื้อบ้านกับใคร สิ่งสำคัญที่จะต้องวางแผนให้เรียบร้อยตั้งเเต่ก่อนยื่นเอกสารขอกู้ร่วม คือ การจัดการกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ที่ยื่นกู้ เพราะเมื่อยื่นกู้ร่วมกันเเล้ว จะถือว่าเป็นหนี้ร่วมกัน และจะมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์เท่าๆ กัน หรือมีกรรมสิทธิ์เเต่เพียงผู้เดียวได้นั้นขึ้นอยู่กับการตกลงหรือข้อบังคับธนาคาร ซึ่งการถอนชื่อกู้ร่วมในภายหลังอาจทำได้ยาก ในขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเสมือนการซื้อขายสินทรัพย์ทั่วไปเช่นกัน

แรบบิท แคร์ พร้อมช่วยจบทุกปัญหากู้ร่วมหรือแบ่งกรรมสิทธิ์มรดก ด้วยประกันภัยและผลิตฑัณฑ์ทางการเงินและสินเชื่อจากทุกบริษัทประกันภัยและสถาบันการเงินชั้นนำ ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อรถ วงเงินสูงและดอกเบี้ยต่ำพิเศษ เฉพาะลูกค้าที่ขอรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของ แรบบิท แคร์ ตั้งเเต่วันนี้เป็นต้นไปเท่านั้น โทรเลย. 1438 หรือ https://rabbitcare.com/

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

เลือกยี่ห้อรถของคุณ

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

Toyota

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

Nissan

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

Mitsubishi

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

Mazda

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

Isuzu

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

Honda

ชื่อนามสกุล

หมายเลขโทรศัพท์

เจ้าหน้าที่ของแรบบิท แคร์ หรือ เอเชียไดเร็ค อินชัวรันส์ โบรคเกอร์* จะติดต่อกลับหาคุณภายใน 24 ชม.
หมายเหตุ *บริษัท เอเชียไดเร็ค อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด เป็นบริษัทในเครือของแรบบิท แคร์

Δ

การขอสินเชื่อ

กู้เงิน

ผ่อนบ้าน

สินเชื่อบ้าน

สินเชื่อรถยนต์

สินเชื่อส่วนบุคคล

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

บทความสินเชื่อบ้าน

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

สินเชื่อบ้าน

ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ 2566 พร้อมขั้นตอนทำพิธีขึ้นบ้านใหม่เสริมสิริมงคล

ปี 2566 อาจเป็นปีที่หลาย ๆ คนมีแผนว่าจะขึ้นบ้านใหม่ แต่สำหรับใครที่ต้องการเสริมสิริมงคลให้กับบ้าน

Janamon

15/12/2022

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

สินเชื่อบ้าน

ทำนายฝันเรื่องบ้าน ฝันเห็นบ้าน ฝันว่าไฟไหม้บ้าน ฝันว่าบ้านพัง หมายความว่าอะไร?

ตามความเชื่อโบราณของคนไทย “ความฝัน” สามารถเป็นลางบอกเหตุการณ์ในอนาคตได้และสื่อถึงตัวเลขที่แตกต่างกันไป

Janamon

08/11/2022

จดทะเบียน สมรส ซื้อรถ คน เดียว ได้ ไหม

สินเชื่อ

มีปัญหาเรื่องค่าเทอม! แบบนี้หาทุนการศึกษาได้จากไหนบ้างนะ?!

เรื่องเงินไม่เคยเข้าใครออกใคร และคงไม่ดีแน่ถ้าปัญหาการเงินทำให้เรื่องการศึกษาเรียนต่อของลูกหลานเราต้องสะดุดลง แต่ไม่ต้องเป็นห่วงไป นอกจากทุน กยศ.

ออกรถทำไมต้องใช้ทะเบียนสมรส.

ผู้กู้ร่วม จะต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เช่น พ่อ-แม่-ลูก, สามี-ภรรยา หรือพี่น้องทางสายเลือด แล้วถ้าเป็นสามี-ภรรยากัน แต่ไม่ ได้ จดทะเบียน ซื้อ รถ ร่วม กัน ได้ ไหม ? ขอตอบเลยว่า ไม่ได้ เพราะต้องมีการจดทะเบียนสมรสเป็นหลักฐานก่อน จึงจะสามารถกู้ร่วม ออก รถ ชื่อ ร่วมกันได้

รถยนต์ถือเป็นสินสมรสไหม

สินสมรส” คือ ทรัพย์สินที่มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และบุคคลทั้งสอง จะมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ร่วมกัน เช่น บ้าน, คอนโด รถยนต์ หรือแม้แต่ เงินเดือน รวมไปถึงเงินโบนัส เป็นต้น

รถผ่อนไม่หมดเป็นสินสมรสไหม

ผ่อนรถยนต์ระหว่างสมรส รถเป็นของใคร? สำหรับกรณีเช่นนี้ ต้องบอกก่อนเลยว่า ในระหว่างสมรส ทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือรถยนต์ รวมทั้งทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำการเช่าซื้อ หรือซื้อผ่อนมา จะถือว่าเป็นสินสมรสที่ทั้งสองฝ่ายเป็นเจ้าของร่วมกัน

ผ่อนบ้านอยู่เป็นสินสมรสได้ไหม

สินสมรสครอบคลุมเฉพาะสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย 1. ถ้าซื้อบ้านและที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก่อนจดทะเบียนสมรส ถือเป็นสินส่วนตัว 2. ถ้าช่วยกันผ่อนแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าแบ่งกันคนละครึ่ง แต่มิใช่สินสมรส