การบริหารจัดการ management

PM กรอบแนวคิดในการบริหารจัดการ (Management Approach)

การบริหารจัดการ management

แนวคิดทางการจัดการ (Management Approach) มีแนวคิดหลักหลากหลายแนวคิดเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและสังคมเช่น

- แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมจาก นักวิทยาศาสตร์ และนักคิดในยุคนัน ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิดนี้หลักในด้าน เกิดจาก แนวคิดและทฤษฎี Frederick Winslow Taylor (1856) โดยในยุคนี้ได้มีผู้สนับสนุนแนวคิดที่สาคัญคือ แนวคิดและทฤษฎี Henry Gantt และ แนวคิดและทฤษฎี Frank and Lillian Gilberth

- แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (ฺBusiness Management Approach) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับหลักการจัดการของผู้บริหารในภาพรวมทั้งหมด และแนวทางของการจัดโครงสร้างที่ดีที่สดขององค์กร แนวคิดการจัดการเชิงบริหารเห็นว่าประสิทธิภาพขององค์กรอาจเพิ่มขึนได้โดยการปรับปรุงกระบวนการบริหาร ซึ่งถือเป็นวิถีทางที่นำไปสู่จุดมุงหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคคลที่สาคัญสำหรับแนวคิดการจัดการเชิงบริหารได้แก่ แนวคิดและทฤษฎี Henry Fayol (1841)

- แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach)

- แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach)

- แนวคิดการจัดการร่ วมสมัย (Contemporary Management Approach)

การบริหารจัดการ management

แนวคิดทางการจัดการ มีหลากหลายแนวคิดหลักเช่น

1 แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร

3. แนวคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรม

4. แนวคิดทางการจัดการเชิงปริมาณ

5. แนวคิดทางการจัดการร่วมสมัย

6. แนวคิดการจัดการแบบญี่ปุ่น

7. แนวคิดทฤษฎี Z ของ Ouchi

8. แนวคิดความเป็นเลิศขององค์การ

9. แนวคิดองค์การการเรียนรู้

10. แนวคิดการรปรับรื้อระบบ

11. แนวคิดการจัดการคุณภาพโดยรวม

อ้างอิงที่มา 

----------------------------------------

@ ลงข้อมูล / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ

@ ที่มาข้อมูล

- Web: http://iok2u.com

- FB: https://www.facebook.com/iOK2u

- Line: rainubon

วิรัชนิภาวรรณ, การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2548), หน้า 5.)

             สรุป
         การบริหารและการบริหารจัดการมีแนวคิดมาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมซึ่งจะต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยจะต้องมีผู้นำกลุ่มและมีแนวทางหรือวิธีการควบคุมดูแลกันภายในกลุ่มเพื่อให้เกิดความสุขและความสงบเรียบร้อย  ซึ่งอาจเรียกว่าผู้บริหารและการบริหาร ตามลำดับ ดังนั้น ที่ใดมีกลุ่มที่นั่นย่อมมีการบริหาร
         คำว่า การบริหารและการบริหารจัดการ รวมทั้งคำอื่น ๆ อีก  เป็นต้นว่า การปกครอง (government) การบริหารการพัฒนา การจัดการ และการพัฒนา (development) หรือแม้กระทั่งคำว่า การบริหารการบริการ (service administration) การบริหารจิตสำนึกหรือการบริหารความรู้ผิดรู้ชอบ (consciousness administration) การบริหารคุณธรรม (moralityadministration) และการบริหารการเมือง (politics administration) ที่เป็นคำในอนาคตที่อาจถูกนำมาใช้ได้ คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัยจะนำคำใดมาใช้โดยอาจมีจุดเน้นแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ทุกคำที่กล่าวมานี้เฉพาะในภาครัฐ ล้วนหมายถึง (1) การดำเนินงาน การปฏิบัติงาน แนวทาง(guideline) วิธีการ (method) หรือมรรควิธี (means) ใด ๆ (2) ที่หน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐนำมาใช้ในการบริหารราชการหรือปฏิบัติงาน (3) ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (4) เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทาง (end หรือ goal) หรือการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางเบื้องต้น (primary goal) คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ หรือช่วยเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติราชการให้เป็นไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางสูงสุด (ultimate goal) คือ การพัฒนาประเทศที่ประเทศชาติและประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน เป็นต้น และทุกคำดังกล่าวนี้ อาจมองในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (process) ที่มีระบบและมีหลายขั้นตอนในการดำเนินงานก็ได้