วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope ) คือ เครื่องมือขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางตา ให้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า เช่น จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด เป็นต้น

ประเภทของกล้องจุลทรรศน์ ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light Microscope) เป็นกล้องที่ได้รับการพัฒนาจากในอดีตอย่างมาก และใช้แสงที่ดีที่สุด ในปัจจุบันมีกำลังขยายถึง 2,000 เท่าและเป็นกล้องที่ราคาถูก แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1.1 กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงแบบธรรมดา  ประกอบด้วยเลนส์ 2 ชนิดคือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา โดยใช้แสงผ่านวัตถุแล้วขึ้นมาที่เลนส์จนเห็นภาพที่บนวัตถุอย่างชัดเจน

วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

(ที่มา https://happypa.wikispaces.com/รู้จักและใช้งานกล้องจุลทรรศน์)

1.2 กล้องที่ใช้แสงแบบสเตอริโอ เป็นกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ที่ทำให้เกิดภาพแบบ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย

กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบเชิงประกอบ (compound light microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ ชนิดที่ใช้เลนส์หลายอันและมีกำลังขยายต่างๆ กันจะเห็นภาพวัตถุได้โดยมีการสะท้อนแสงจากวัตถุเข้าสู่เลนส์ประกอบด้วย เลนส์ 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) และเลนส์ใกล้ตา (ocular lens หรือ eyepiece) กำลังขยายของภาพคือ ผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา ความสามารถในการแจกแจงรายละเอียดของภาพของกล้องจุลทรรศน์ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเลนส์ และแสงต้นกำเนิดการหากำลังขยาย

กำลังขยายของกล้อง = กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา x กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ

วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์

วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

1. ฐาน ( BASE ) ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์ มีรูปร่างสี่เหลี่ยม หรือวงกลม ที่ฐานจะมีปุ่มสำหรับปิดเปิดไฟฟ้า

2. จานหมุน (EVOLVING NOSEPIECE) เป็นส่วนของกล้องที่ใช้สำหรับหมุน เพื่อเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ

3. เลนส์ใกล้วัตถุ ( OBJECTIVE LENS ) 10 X จะติดอยู่เป็นชุดกับจานหมุน ซึ่งเป็นส่วนของกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ ซึ่งรับแสงที่ส่องผ่านมาจากวัตถุที่นำมาศึกษา ( Specimen ) เมื่อลำแสงผ่านเลนส์ใกล้วัตถุ เลนส์ใกล้วัตถุจะขยายภาพของวัตถุนั้น ได้ 10 เท่า จากวัตถุจริง และทำให้ภาพที่ได้เป็นภาพจริงหัวกลับ

4. เลนส์ใกล้วัตถุ ( OBJECTIVE LENS ) 40 X จะติดอยู่เป็นชุดกับจานหมุน ซึ่งเป็นส่วนของกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ ซึ่งรับแสงที่ส่องผ่านมาจากวัตถุที่นำมาศึกษา ( Specimen ) เมื่อลำแสงผ่านเลนส์ใกล้วัตถุ เลนส์ใกล้วัตถุจะขยายภาพของวัตถุนั้น ได้ 40 เท่า จากวัตถุจริง และทำให้ภาพที่ได้เป็นภาพจริงหัวกลับ

5. เลนส์ใกล้วัตถุ ( OBJECTIVE LENS ) 100 X จะติดอยู่เป็นชุดกับจานหมุน ซึ่งเป็นส่วนของกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ ซึ่งรับแสงที่ส่องผ่านมาจากวัตถุที่นำมาศึกษา ( Specimen ) เมื่อลำแสงผ่านเลนส์ใกล้วัตถุ เลนส์ใกล้วัตถุจะขยายภาพของวัตถุนั้น ได้ 100 เท่า จากวัตถุจริง และทำให้ภาพที่ได้เป็นภาพจริงหัวกลับ

6. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุม การเลื่อนสไลด์ให้สะดวกยิ่งขึ้น

7. คอนเดนเซอร์( CONDENSER ) จะอยู่ด้านใต้ของแท่นวางวัตถุ เป็นเลนส์รวมแสง เพื่อรวมแสงผ่านไปยังวัตถุที่อยู่บนสไลด์ สามารถเลื่อนขึ้นลงได้โดยมีปุ่มปรับ ลำกล้อง (BODY TUBE ) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากมือจับ

8. หลอดไฟ เป็นแหล่งกำเนิดแสง

9. เลนส์ใกล้ตา ( EYEPIECE LENS หรือ OCULAR LENS ) เลนส์นี้จะสวมอยู่กับลำกล้อง มีตัวเลขแสดงกำลังขยาย อยู่ด้านบน เช่น 5X, 10X หรือ 15X เป็นต้น กล้องที่ใช้ในปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไปนั้น มีกำลังขยายของเลนส์ตา ที่ 10X รุ่นที่มีเลนส์ใกล้ตาเลนส์เดียว เรียก Monocular Microscope ชนิดที่มีเลนส์ใกล้ตาสองเลนส์ เรียก Binocular Microscope แท่นวางวัตถุ (STAGE ) เป็นแท่นสำหรับวางสไลด์ตัวอย่างที่ต้องการศึกษา มีลักษณะเป็น แท่นสี่เหลี่ยม หรือวงกลมตรงกลางมีรูให้แสงจากหลอดไฟส่องผ่านวัตถุแท่นนี้สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ด้านในของ แท่นวางวัตถุ จะมีคริป สำหรับยึดสไลด์และมีอุปกรณ์ช่วยในการเลื่อนสไลด์ เรียกว่าMechanical Stage นอกจากนี้ยังมีสเกลบอกตำแหน่งของสไลด์ บนแทนวางวัตถุ ทำให้สามารถ
บอกตำแหน่งของภาพบนสไลด์ได้

10. แขนกล้อง (arm) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างลำกล้องและฐานกล้องเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกล้องในขณะเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์

11. แท่นวางสไลด์ (stage) เป็นแท่นที่ใช้วางสไลด์ (slide) ตัวอย่างที่ต้องการศึกษาที่ตรงกลางแท่นวางสไลด์

12. ปุ่มปรับภาพหยาบ ( COARSE ADJUSMENT KNOB ) ใช้เลื่อนตำแหน่งของแท่นวางวัตถุขึ้นลง เมื่ออยู่ในระยะโฟกัส ก็จะมองเห็นภาพได้ ปุ่มนี้มีขนาดใหญ่จะอยู่ที่ด้านข้างของตัวกล้อง

13.ปุ่มปรับภาพละเอียด ( FINE ADJUSMENT KNOB ) เป็นปุ่มขนาดเล็กอยู่ถัดจากปุ่มปรับภาพหยาบออกมาทางด้านนอกที่ตำแหน่งเดียวกัน หรือกล้องบางชนิดอาจจะอยู่ใกล้ ๆ กัน เมื่อปรับด้วยปุ่มปรับภาพหยาบจน มองเห็นภาพแล้วจึงหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดจะทำให้ได้ภาพคมชัดยิ่งขึ้น

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงใช้ยังไง

การใช้กล้องจุลทรรศน์.
การจับกล้องและเคลื่อนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหนึ่งจับที่แขนและอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของกล้อง.
ตั้งลำกล้องให้ตรง.
เปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่.
หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ ให้เลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง.
นำสไลด์ที่จะศึกษามาวางบนแท่นวางวัตถุ โดยปรับให้อยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน.

กล้องจุลทรรศน์ใช้งานอย่างไร

ขั้นที่ 1 วางสไลด์ที่ต้องการส่องบนแท่นวางสไลด์ เปิดไฟกล้องจุลทรรศน์ ควรให้จุดวงกลมของแสงอยู่ตรงกลางใกล้เคียงกับบริเวณที่ต้องการส่องมากที่สุด ขั้นที่ 2 ปรับระยะห่างระหว่างตา สำหรับกล้องชนิด 2 ตา ปรับหาระยะห่างระหว่างตา (Interpupillary distance) และปรับ Diopter ที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้ระยะโฟกัสที่เท่ากัน

วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์และการดูแลรักษาเป็นอย่างไร

วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ และข้อควรระวัง Page 9 Page 10 วิธีการดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์ ใช้ผ้าแห้งสะอาดเช็ดส่วนที่เป็นโลหะ • ใช้กระดาษเช็ดเลนส์ • หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้มีก าลังขยายต่าสุด เมื่อเลใกใช้ • ปใดสวใตซ์ ถอดปลั๊ก • ใช้ผ้าคลุม • ไม่เก็บกล้องในที่ชื้น

กล้องจุลทรรศน์มีความสําคัญอย่างไร

ความหมายของกล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือที่ส าคัญในการศึกษาชีววิทยาและช่วยให้ เรามองเห็นในสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก กล้องจุลทรรศน์(Microscope) คือ เครื่องมือขยายขอบเขตของ ประสาทสัมผัสทางตา ให้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า เช่น จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด เป็นต้น