กฎหมายขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

หากจะก่อสร้างอาคารหรือที่พักสักหลัง สิ่งแรกที่ต้องมีคือ ใบอนุญาตก่อสร้าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับการจะก่อสร้างอาคารหรือที่อยู่อาศัยสักแห่ง เพราะถ้าหากก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้ขออนุญาต เจ้าของบ้านจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งสามารถเอาผิดย้อนหลังได้ วันนี้ The Wisdom Property ได้รวบรวมขั้นตอนการขอใบอนุญาตก่อสร้างมาให้ทุกท่านได้ทราบกัน

ใบอนุญาตก่อสร้างคืออะไร?

การที่จะก่อสร้างบ้านหรืออาคารมีข้อกฎหมายที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ก่อนสร้างบ้านเจ้าของบ้านต้องรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และเขียนคำร้อง แล้วยื่นเรื่องขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เพื่อตรวจสอบมาตรฐานความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ระยะร่นของถนน การเว้นระยะห่างกับชุมชนรอบข้าง เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเอง รวมถึงเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน เพื่อให้การก่อสร้างอยู่ภายใต้กฎหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยจุดประสงค์หลักและสำคัญของเรื่องนี้ คือเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร และป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น

ขั้นตอนการก่อสร้างบ้าน

  • ในพื้นที่เขตควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง บ้านหรืออาคารที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาตแบบแปลนเสียก่อนและไม่สามารถสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตได้ โดยยื่นคำร้อง ได้ที่สำนักงานเทศบาล อำเภอ และสำนักงานเขต แล้วแต่กรณี
  • บริเวณนอกเขตควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง บ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างไม่ต้องขอใบอนุญาตก่อสร้างสามารถปลูกสร้างได้เลย

เมื่อปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในท้องถิ่นนั้นๆ คือนายทะเบียนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ เพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลุกสร้างบ้านเสร็จ ทั้งนี้หากไม่ได้ไปแจ้งตามวันที่กำหนด มีความผิดตามกฎหมายและมีค่าปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท

เอกสารที่ต้องนำไปขอเลขประจำบ้าน

  • ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านหรืออาคาร เฉพาะเขตพื้นที่ประกาศ ใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง
  • สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวผู้แจ้ง หรือหากในกรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัว ของผู้มอบและหนังสือมอบอำนาจ แสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
  • หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลุกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย และสัญญาเช่า(ถ้ามี)
  • ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง

เอกสารที่จะต้องยื่นขอใบอนุญาติก่อสร้าง

1.แบบก่อสร้าง โดยต้องมีรายละเอียดที่แสดงผังบริเวณรวม และแสดงแบบรายละเอียดของชั้นต่าง ๆ รวมถึงแบบแสดงรูปด้านทุกด้าน แสดงรายละเอียดทั้งหมดของงานสถาปัตยกรรมและงานวิศวกรรม ส่วนนี้ต้องถูกจัดเตรียมโดยสถาปนิกและวิศวกร

2.เอกสารแสดงสิทธิของที่ดิน ส่วนใหญ่มักจะใช้เป็นโฉนดที่ดิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าจะสร้างในที่ดินใด หากผู้ที่จะสร้างบ้านไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จะต้องมีหลักฐานการยินยอมให้สร้างในที่ดินจากเจ้าของที่ดินตัวจริง

3.เอกสารแสดงการเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งในเอกสารนี้ต้องเป็นวิศวกรเป็นผู้คุมงาม แต่ส่วนมากผู้ออกแบบมักจะเซ็นเป็นผู้ควบคุมงานตอนยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้าง และเมื่อใบอนุญาตก่อสร้างออกแล้ว อาจเปลี่ยนผู้ควบคุมงานเป็นผู้อื่นแทน

4.รายการคำนวณ ของวิศวกรโครงสร้าง ในส่วนนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าอาคารได้ผ่านการออกแบบโดยวิศวกรแล้ว เพื่อให้มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยในงานก่อสร้างและใช้งาน

5.เอกสารแสดงการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน ในเรื่องการขอใบอนุญาตก่อสร้าง โดยส่วนมาก เจ้าของจะไม่ได้ดำเนินการเป็นผู้ยื่นเรื่องเอง จึงเป็นเหตุผลที่ต้องมีเอกสารการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน

ใบอนุญาตก่อสร้างไม่ใช่เพียงแต่เอกสารที่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนเท่านั้น แต่การขอใบอนุญาตก่อสร้างยังเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าบ้านหรืออาคารของเราได้รับการสร้างอย่างมั่นคงและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นที่อาศัยอยู่ละแวกบ้านของเรา และโดยจุดประสงค์สำคัญของใบอนุญาตก่อสร้าง คือเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากการก่อสร้างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งถ้าหากบ้านหรืออาคารถูกก่อสร้างโดยที่ไม่ยื่นเรื่องขอใบอนุญาตก่อสร้างอย่างเป็นทางการก่อน ผู้ก่อสร้างจะมีความผิด และต้องรับโทษตามกฎหมาย

          ข้อ 9 ในกรณีที่อาคารได้จัดให้มีทางระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำจากอาคารลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง ทางระบายน้ำนั้นต้องมีลักษณะที่สามารถตรวจสอบ และทำความสะอาดได้โดยสะดวก และต้องวางตามแนวตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยต้อง มีส่วนลาดเอียงไม่ต่ำกว่า 1 ใน 200 หรือต้อง มีส่วนลาดเอียงเพียงพอให้น้ำทิ้งไหลเร็วไม่ ต่ำกว่า 60 เชนติเมตรต่อวินาที ขนาดของทาง ระบายน้ำต้องมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำทิ้ง ของอาคารนั้นโดยถ้าเป็นทางระบายน้ำแบบท่อปิด ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 10 เซนดิเมตร โดยต้องมีบ่อพักสำหรับตรวจ การระบายน้ำทุกมุมเลี้ยวและทุกระยะ ไม่เกิน 12 เมตร หรือทุกระยะไม่เกิน 24 เมตร ถ้าทางระบายน้ำแบบท่อปีดนั้นมีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางภายในตั้งแต่ 60 ซม. ขึ้นไป ในกรณีที่เป็นทางระบายน้ำแบบอื่นต้องมี ความกว้างภายในที่ขอบบนสุดไม่น้อยกว่า 10 ซม.

ขั้นตอนการ ขออนุญาตสร้างบ้าน เป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะยุ่งยาก ใช้เวลานาน จึงทำให้หลายท่านอาจคิดว่า “ไม่เป็นไรหรอก แค่นิด ๆ หน่อย ๆ” แต่ตามกฎหมายแล้ว หากบ้านอยู่ในเขตประกาศใช้ควบคุมอาคาร หรือที่เรียกว่า กฎหมายผังเมืองบ้าน อาคาร จะต้องดำเนินเรื่อง ขออนุญาตสร้างบ้าน และยื่นเอกสาร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบถึงความปลอดภัยของตัวบ้าน-อาคาร และผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียง หรือแม้แต่การต่อเติมบ้านที่เกินกว่า 5 เมตร ก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตด้วยเช่นกัน ฉะนั้นอย่ามองข้ามขั้นตอนเหล่านี้เลยครับ เพราะทุกสิ่งปลูกสร้างควรจะได้มาตรฐาน ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตัวท่านเอง รวมถึงเพื่อนบ้าน สิ่งแวดล้อมโดยรอบของเรา ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนครับ

ครั้งนี้ WIDE HOUSE จะมาบอกเล่าถึงขั้นตอนการขออนุญาตสร้างบ้าน และเอกสารสำหรับดำเนินการมาไว้ให้ทุกท่านในบทความนี้ครับ ซึ่งเอกสารบางอย่างอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่

  • สำเนาโฉนดที่ดิน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาต
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
  • คำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร (ข.1)
  • แบบแปลน ผังบริเวณ
  • รายงานการคำนวณทางวิศวกรรม
  • หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม (น.4)
  • หนังสือรับรองผู้ออกแบบจากสถาปนิก
  • ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมผู้ควบคุมงาน
  • ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
  • เอกสารรับรองจากวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง
  • หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
  • หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
  • เอกสารอื่น ๆ ถ้ามี

สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสารต่าง ๆ ได้ ทาง สำนักการโยธา

ขั้นตอนการ ขออนุญาตสร้างบ้าน

  • เจ้าของอาคาร หรือตัวแทน ยื่นคำร้อง (ข.1) และเอกสารทั้งหมด ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
  • ชำระค่าธรรมเนียม และเจ้าหน้าที่จะแจ้งว่าต้องใช้เวลากี่วันจึงจะสามารถออกใบอนุญาตได้ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาภายใน 45 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่น (เฉพาะกรณีที่ไม่มีการแก้แบบ)
  • เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบเอกสารทั้งหมด
  • รอรับใบอนุญาตก่อสร้าง
  • กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากต้องมีการแก้ไขบางรายละเอียด จะต้องทำการแก้ไขใหม่ และยื่นขออนุญาตอีกครั้ง
  • เมื่อได้ใบอนุญาตก่อสร้างมาแล้ว สามารถดำเนินงานก่อสร้างได้ทันที โดยแนะนำว่าให้ทำสำเนาเอาไว้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เช่น การตรวจแบบแปลนก่อสร้าง การออกใบอนุญาต หรือการต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งจะมีรายละเอียดลึกลงไปอีกในแต่ละส่วน

ตรวจสอบค่าธรรมเนียม ขออนุญาตก่อสร้างได้ทาง >> เอกสาร

ทั้งนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา

สุดท้ายนี้อยากจะทิ้งทายเอาไว้ครับว่า ขั้นตอนการดำเนินการกว่าจะเป็นบ้านสักหลังนั้น มีหลายขั้นตอนที่ละเอียดอยู่พอสมควร รวมถึงการทำเอกสารต่าง ๆ เพื่อขออนุญาตก่อสร้างให้ถูกต้อง แต่ไม่ว่าจะขั้นตอนไหนในการสร้างบ้านก็ตาม WIDE HOUSE เราสามารถดำเนินการให้ท่านทุกขั้นตอนได้อย่างราบรื่น เรียกได้ว่าตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ รวมถึงบริการหลังการขายไปอีกมากกว่า 10 ปี ท่านสามารถวางใจเราได้ครับ

สร้างบ้านต้องขออนุญาตใคร

การปลูกสร้างอาคารต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสมอ ในกรุงเทพฯ ขอที่สำนักงานเขตหรือที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา แยกตามชนิดอาคาร ต่างจังหวัดถ้าอยู่ในเขตเทศบาลก็ยื่นที่ทำการเทศบาล สำนักการช่าง นอกเขตเทศบาลยื่นที่หน่วยบริการของแต่ละพื้นที่ เช่น อบต. เป็นต้น

ทำไมต้องขออนุญาตสร้างบ้าน

คำตอบก็คือ เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเองและชุมชนรอบข้าง เพราะกฎหมายต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้น ก็เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปลูกสร้างทุกรูปแบบ เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้าง ระยะร่นจากถนน ระยะห่างจากชุมชนรอบข้าง ฯลฯ เพื่อไม่ให้สิ่งปลูกสร้างเกิดใหม่กระทบกับการอยู่อาศัยเดิมของชุมชนรอบข้าง

แบบ ขอ อนุญาต ก่อสร้างบ้าน ต้อง มี อะไร บ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน.
เอกสารสำเนาบัตรประชาชน (ผู้ขออนุญาต และเจ้าของที่ดิน) จำนวนอย่างละ 1 ชุด.
สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขออนุญาต และเจ้าของที่ดิน) จำนวนอย่างละ 1 ชุด.
เอกสารแสดงการครอบครองที่ดิน ได้แก่ สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนา นส.3 จำนวน 2 ชุด.
แบบก่อสร้างแผนผัง และรายการประกอบแบบ จำนวนอย่างละ 5 ชุด.

สร้างบ้านแบบไหนไม่ต้องขออนุญาต

“อาคารอยู่อาศัยไม่เกินสองชั้น และมีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกัน รวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร นั่นหมายถึงบ้านพักอาศัย มีพื้นที่ไม่เกิน 2 ชั้น และพื้นที่ใช้สอยรวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร เป็นลักษณะที่ทางกฎหมายอนุญาต ไม่จำเป็นต้องมีสถาปนิก และวิศวกรเซ็นรองรับ ส่วนการคุมงานก่อสร้างนั้น เจ้าของบ้านสามารถเซ็นควบคุมงานได้เอง”