โรคลิ้นหัวใจรั่วกินอะไรได้บ้าง

ถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถั่วอัลมอนด์ แมคคาเดเมีย วอลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และไขมันดีชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวและไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Monounsaturated and Polyunsaturated Fats) ที่สามารถลดระดับไขมันเลวในเลือด (LDL Cholesterol) ที่เป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบได้ ปริมาณที่แนะนำบริโภคต่อวัน คือ 2 ช้อนโต๊ะ

 

โรคลิ้นหัวใจรั่วกินอะไรได้บ้าง

2) สมุนไพร

สมุนไพรนานาชนิดอย่างขิง ข่า ตะไคร้ กระเทียม กะเพรา โหระพา สะระแหน่ มีสารพฤษเคมีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ทำให้ลดการอักเสบของหลอดเลือดและยังสามารถช่วยให้อาหารมีรสชาติดีขึ้นด้วยในกรณีคนที่เป็นโรคหัวใจที่ต้องจำกัดอาหารรสเค็ม

 

โรคลิ้นหัวใจรั่วกินอะไรได้บ้าง

3) ปลาทะเลและปลาน้ำจืดไทย

ปลานอกจากจะมีคุณค่าสารอาหารสูง ยังมีกรดไขมันที่จำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 ช่วยลดการแข็งตัวของหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปลาไทย ไม่ว่าจะเป็นปลากะพง ปลาทู ปลาดุก ปลานิล ปลาสวาย  เป็นต้น

โรคลิ้นหัวใจรั่วกินอะไรได้บ้าง

4) น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอกมีกรดไขมันดีชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง (Monounsaturated Fats) และวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ช่วยป้องกันหลอดเลือดจากความเสื่อมและการอักเสบภายในหลอดเลือด

 

โรคลิ้นหัวใจรั่วกินอะไรได้บ้าง

5) ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีใยอาหารสูง ทั้งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน กรดอะมิโน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการดูแลหัวใจและหลอดเลือดหัวใจให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

อาหารที่รับประทานส่งผลโดยตรงกับระดับไขมันในเลือดและระดับความดันโลหิต  ซึ่งสามารถส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหัวใจขาดเลือด  โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย  และ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้  แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแล้ว แต่หากผู้ป่วยไม่ควบคุมอาหาร โรคดังกล่าวสามารถกลับมามีอาการกำเริบได้ 

แนวทางการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

1.  หลีกเลี่ยงอาหารทำให้ไขมันสูง

Ÿ เลือกทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและ ไขมันน้อย เช่น ปลา ไข่  เต้าหู้  ไก่ไม่ติดหนัง หรือ หมูเนื้อแดง

*สามารถทานไข่แดงได้ไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์

*อาหารทะเลที่สามารถทานได้ คือ เนื้อกุ้ง(ไม่ทานหัว) เนื้อปู(ไม่ทานไข่ปู) ไม่ควรทานปลาหมึกและหอยบ่อย

                                *หลีกเลี่ยง ขาหมู หมูสามชั้น หนังไก่ทอด เครื่องในสัตว์

Ÿ หลีกเลี่ยง/ลดการทาน กะทิ   อาจเลือกใช้กะทิธัญพืชทดแทน หรือ ใช้หลักการทานเนื้อ เหลือน้ำ

Ÿ หลีกเลี่ยง / ลดการทาน เบเกอรี่ คุ้กกี้ โดนัท พาย พิซซ่า เบอร์เกอร์ ไอศกรีม ครีมเทียม  เนื่องจากมีไขมันทรานส์                             ทำให้ไขมันตัวร้าย (LDL) มากขึ้น และไขมันตัวดี (HDL) ลดลง   หากอยากทานของว่างอาจเลือกทานผลไม้ หรือ ถั่วเปลือกแข็ง 1 กำมือ ทดแทน จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า

Ÿ เลือกเมนู ต้ม / ปิ้ง / ย่าง / นึ่ง ให้มากกว่า ผัด และ ทอด

Ÿ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ / น้ำหวาน / น้ำผลไม้ เนื่องจากสามารถทำให้ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์มากขึ้นได้

Ÿ เลือกใช้น้ำมันทำอาหารอย่างเหมาะสม

*น้ำมันมะพร้าว  น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม ใช้ทอด แต่ไม่ควรใช้บ่อยเนื่องจากทำให้ไขมันไม่ดี (LDL)เพิ่มได้

*น้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมันดอกทานตะวัน  น้ำมันมะกอก ใช้ผัดความร้อนไม่มาก

*น้ำมันรำข้าว  น้ำมันคาโนล่า ได้ทั้งทอด ทั้งผัด เป็นไขมันชนิดที่ดีสามารถลดไขมันไม่ดีได้ (LDL) 

2.  หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม

§                 หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป / อาหารหมักดอง / อาหารแช่แข็ง

 เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูแผ่น หมูหยอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กผง ซุปผง ผักผลไม้ดอง ไข่เค็ม

§                 หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำซุป / น้ำแกง เนื่องจากส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของผงชูรสและเครื่องปรุง

§                 ลดการปรุงอาหาร

*เติมเกลือในอาหารไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน

*เติมน้ำปลา ซีอิ้ว ซอสถั่วเหลือง น้ำมันหอย ไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน

                *ซอสพริก  ซอสมะเขือเทศ  ไม่เกิน 1ช้อนโต๊ะ

§                 อ่านฉลากโภชนาการ เลือกผลิตภัณฑ์ที่โซเดียมน้อยกว่า 100 มก.

                3.  เน้นอาหารที่มีเส้นใย  (Fiber)

เลือกทานข้าว/ขนมปัง/ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เพิ่มการทานผักและผลไม้ เพราะเส้นใยจากอาหารจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน  ทำให้ลดการสะสมหรือการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด  

โรคหัวใจตีบกินอะไรได้บ้าง

เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ ซึ่งมีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ ปลา นม ไข่ แต่บางชนิดจะมีปริมาณ ไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารประเภทโปรตีน ควรเลือกในกลุ่มที่มีปริมาณไขมันต่ำ เช่น การเลือกรับประทานปลา หรือเนื้อในส่วนที่ไม่ติดมัน งดการทานเครื่องในสัตว์ ไข่แดง ถ้า ...

คนเป็นโรคหัวใจห้ามกินอะไรบ้าง

หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด : โดยเฉพาะอาหารรสเค็มและหวานจัดไม่เหมาะต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ อาหารที่มีส่วนผสมโซเดียมสูงมีส่วนประกอบของผงชูรสเป็นจำนวนมาก หรืออาหารดองหรือปรุงแต่งให้เค็ม เช่น ปลาเค็ม ผักดอง เป็นต้น รวมไปถึงอาหารรสหวานจัดควรทานให้น้อยลงทั้งทุเรียน ขนุน และขนมหวานต่าง ๆ

ทำบอลลูนหัวใจกินอะไรได้บ้าง

การปฏิบัติตัวหลังทำบอลลูนหัวใจเมื่อกลับไปอยู่บ้าน.
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เป็นต้น.
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เช่น ข้าวเหนียวทุเรียน ทองหยิบ ทองหยอด ทุเรียน ลำไย เป็นต้น.
ควรลด ชา กาแฟ และน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์.

อาหารชนิดใดที่ผู้ป่วยโรคหัวใจควรเลือรับประทานมากที่สุด

Ÿ เลือกทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและ ไขมันน้อย เช่น ปลา ไข่ เต้าหู้ ไก่ไม่ติดหนัง หรือ หมูเนื้อแดง *สามารถทานไข่แดงได้ไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ *อาหารทะเลที่สามารถทานได้ คือ เนื้อกุ้ง(ไม่ทานหัว) เนื้อปู(ไม่ทานไข่ปู) ไม่ควรทานปลาหมึกและหอยบ่อย *หลีกเลี่ยง ขาหมู หมูสามชั้น หนังไก่ทอด เครื่องในสัตว์