มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาษาอังกฤษ

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (แก้ความกำกวม)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือนิยมเรียกโดยทั่วไปว่าบางมด (Bangmod) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ได้รับเลือกจากรัฐบาลให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research University) และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยของไทย ที่ติดอันดับโลกอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี มีชื่อเสียงทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มจธ. เป็นมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับโลก โดยเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 3 ปีซ้อน ในปี พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2563 โดยสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก Times Higher Education และถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยีอันดับที่ 1 ของประเทศไทย 2 ปีซ้อน ในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 โดยการจัดอันดับของ U.S. News & World Report มจธ.เป็นมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนสถานะจาก สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ แห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันเปิดสอนใน 8 คณะ, 1 สถาบัน, 1 วิทยาลัย, 1 บัณฑิตวิทยาลัย และ 1 บัณฑิตวิทยาลัยร่วม โดยเปิดสอนทั้งหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ครอบคลุมในระดับปริญญาตรี, โท และเอก จัดการเรียนการสอนใน 3 พื้นที่การศึกษา และ 1 อาคาร คือ มจธ.บางมด, มจธ.บางขุนเทียน, มจธ.ราชบุรี และ อาคารเคเอกซ์ (KX - Knowledge Exchange for Innovation) ถ.กรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วยพระนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และมีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน

เนื้อหา

  • 1ประวัติ
    • 1.1ช่วงเวลา
    • 1.2ลำดับการจัดตั้ง
  • 2พระราชวงศ์ กับมหาวิทยาลัย
  • 3วันสำคัญ ของมหาวิทยาลัย
  • 4สัญลักษณ์
    • 4.1สัญลักษณ์ทางการ
    • 4.2สัญลักษณ์ทั่วไป
    • 4.3เพลงประจำมหาวิทยาลัย
  • 5การบริหารงาน
    • 5.1ผู้อำนวยการ หรือ อธิการบดี
    • 5.2นายกสภา
  • 6หน่วยงานที่เปิดสอน
    • 6.1คณะ
      • 6.1.1 หลักสูตรปริญญาตรี
      • 6.1.2หลักสูตรปริญญาโท
      • 6.1.3หลักสูตรปริญญาเอก
      • 6.1.4หลักสูตรปริญญาโท
      • 6.1.5หลักสูตรปริญญาเอก
  • 7หน่วยงานทั่วไป
    • 7.1หน่วยงานภายใน
    • 7.2วิทยาเขต
  • 8อันดับมหาวิทยาลัย
  • 9บุคคลสำคัญ
  • 10อ้างอิง
  • 11แหล่งข้อมูลอื่น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมคือ " วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี " ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ (ซอยสุขสวัสดิ์ 48) แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

บรรยากาศยามเย็นบริเวณสระมรกตและอาคารสำนักอธิการบดี มองจากด้านหลังห้องประชุมจำรัสฯ

ช่วงเวลา

แบ่งได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้

1.วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (พ.ศ. 2503 - 2514)

พ.ศ. 2503 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ในสังกัด กองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในระยะเริ่มแรก วิทยาลัย จะรับนักศึกษาโดยรับเองสอบตรง จากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยมีหลักสูตร 3 ปี ใน 4 สาขาวิชา คือ

  1. ช่างก่อสร้าง (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา)
  2. ช่างไฟฟ้า (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า)
  3. ช่างยนต์ (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล)
  4. ช่างโลหะ (ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)

(โดย วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี - ธนบุรี (พ.ศ. 2503) เป็น วิทยาลัยเทคนิคแห่งที่ 5 ที่ได้ก่อตั้งต่อจาก วิทยาลัยเทคนิคหลัก 4 แห่งทั่วประเทศ คือ 1.วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ - พระนคร (พ.ศ. 2495), 2.วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ - สงขลา (พ.ศ. 2497), 3.วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - นครราชสีมา (พ.ศ. 2499) และ 4.วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ - เชียงใหม่ (พ.ศ. 2500)) ซึ่งเป็นวิทยาลัยเทคนิคแห่งแรกและแห่งเดียว ที่รับเฉพาะผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ มาเรียนต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

พ.ศ. 2505 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก (UNESCO) และ กองทุนพิเศษ สหประชาชาติ โครงการมีระยะเวลา 5 ปี ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ให้มาช่วยดำเนินการสอน รวมทั้งให้ทุนการศึกษา อบรมเพิ่มเติมแก่อาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้แก่ วิทยาลัย รวมทั้ง วิทยาลัย จะรับนักศึกษาโดยได้เข้าร่วมกับ สภาการศึกษาแห่งชาติ ในการใช้ วิธีสอบคัดเลือกรวมเพื่อรับนักศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ (การสอบเอนทรานซ์) (โดยมี สถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ที่มีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ วิทยาลัย 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้จัดสอบร่วมกัน)

ทัศนียภาพยามเย็นภายในมหาวิทยาลัยฯ มองจากสถาบันการเรียนรู้ ชั้น 7 อาคารสำนักอธิการบดี

พ.ศ. 2506 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 4 คณะวิชา คือ

  1. คณะวิชาช่างโยธา
  2. คณะวิชาช่างไฟฟ้า
  3. คณะวิชาช่างกล
  4. คณะวิชาสามัญ

พ.ศ. 2507 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้ปรับปรุงหลักสูตรที่เปิดสอน คือ

  1. หลักสูตรแผนกวิชาช่างก่อสร้าง (โยธา)
  2. หลักสูตรแผนกวิชาช่างก่อสร้าง (สถาปัตย์)
  3. หลักสูตรแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
  4. หลักสูตรแผนกวิชาช่างยนต์
  5. หลักสูตรแผนกวิชาช่างโลหะ

พ.ศ. 2508 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก (UNESCO) และ กองทุนพิเศษ สหประชาชาติ ต่ออีก โครงการมีระยะเวลา 4 ปี ในรูปแบบเดียวกับโครงการแรก คือมี ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา อบรมแก่อาจารย์ และอุปกรณ์การศึกษา ซึ่งได้ขยายเพิ่มการสอนในหลักสูตร ปทส. ต่อจาก ปวส. เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในสาขาช่างยนต์,ช่างโลหะ และปี พ.ศ. 2509 ในสาขาช่างโยธา,ช่างไฟฟ้า โดยความเห็นชอบของ กระทรวงศึกษาธิการ และ คณะรัฐมนตรี ให้ทำการเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) หลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 3 ปี รวมมีระยะเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบเท่าปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ใน 4 สาขา (โยธา,ไฟฟ้า,เครื่องกล,อุตสาหการ) ) รวมทั้งจัดตั้ง คณะวิชาฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง เป็นคณะที่ 5 ของ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี

พ.ศ. 2510 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เสนอโครงการ สถาบันเทคโนโลยีธนบุรี (Thonburi Institute of Technology) หรือ ( T I T ) และ กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติในหลักการ เมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ให้ขยายหลักสูตรการเรียนการสอนเป็น 5 ปี ต่อจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (ม.ศ.5)


2.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี (พ.ศ. 2514 - 2529)

พ.ศ. 2514 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2514 จากการรวม 1.วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, 2.วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และ 3.วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี โดย วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี มีสถานะเป็นวิทยาเขต คือ "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี" และเปลี่ยนจากหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) มาเป็น หลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ใน 4 สาขา (โยธา,ไฟฟ้า,เครื่องกล,อุตสาหการ) และให้เลิกรับนักศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ใน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2515 และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 7 ภาควิชา คือ

  1. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
  2. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  3. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  4. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม
  5. ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  6. ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์
  7. ภาควิชาครุศาสตร์

พ.ศ. 2515 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 1 ให้กับผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2510-2514 ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515 โดย สำนักงาน ก.พ. ได้รับรอง ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (สาขา โยธา, ไฟฟ้ากำลัง, ไฟฟ้าสื่อสาร, เครื่องกล และ อุตสาหการ) ของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี

พ.ศ. 2517 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษา และวิจัยระดับอุดมศึกษา เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมสังกัด และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 2 คณะ 8 ภาควิชา คือ

1. คณะวิศวกรรมศาสตร์

  1. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
  2. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  3. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  4. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  5. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

2. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

  1. ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  2. ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์
  3. ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม


3.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (พ.ศ. 2529 - 2541)

พ.ศ. 2529 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

พ.ศ. 2533 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปรับหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี มาเป็นหลักสูตร 4 ปี


4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน)

พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 และได้เปลี่ยนสภาพเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ

พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการประกาศรายชื่อจาก กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้เป็น 1 ใน 9 แห่ง ของ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

ลำดับการจัดตั้ง

  1. พ.ศ. 2503 จัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. พ.ศ. 2517 จัดตั้ง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  3. พ.ศ. 2519 จัดตั้ง คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ
  4. พ.ศ. 2533 จัดตั้ง คณะวิทยาศาสตร์
  5. พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์
  6. พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
  7. พ.ศ. 2537 จัดตั้ง คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
  8. พ.ศ. 2538 จัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  9. พ.ศ. 2538 จัดตั้ง สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
  10. พ.ศ. 2545 จัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
  11. พ.ศ. 2559 จัดตั้ง วิทยาลัยสหวิทยาการ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การค้นพบสุริยุปราคามืดหมดดวงของพระองค์ท่าน เป็นการแสดงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ของคนไทยให้ชาวโลกประจักษ์ว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในการคำนวณ ทรงกระทำตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และการที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้เช่นนี้นั้น แสดงว่าประเทศไทยจะต้องมีระบบเวลามาตรฐานและมีวิธีการรักษาเวลามาตรฐานแบบอารยประเทศที่เชื่อถือได้ ถึงขั้นนำมาวัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของโลกได้ การศึกษาในพระราชสำนัก จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ (สยามสามสมัยจากสายตาหมอบรัดเลย์) วันก่อนที่เจ้าฟ้าจะทรงลาผนวช พระองค์โปรดให้มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ที่ทรงสนิทสนมมาเป็นปีๆ เข้าเฝ้า ในระหว่างการเข้าเฝ้า พระองค์ตรัสอย่างไม่ถือพระองค์และให้รู้เป็นการภายใน สิ่งที่พระองค์ตรัสทำให้ความหวังที่จะเห็นสยามรุ่งเรืองในอนาคตฟื้นคืนมาอีก พระราชดำรัสที่ทำให้เราหูผึ่งก็คือ พระราชดำรัสที่จะให้มีชั้นเรียนขนาดใหญ่ให้หนุ่มสยามได้ศึกษาภาษาอังกฤษอย่างดี และจะทรงโปรดให้มีโรงเรียนมัธยมขึ้นในบางกอก ที่สอนทั้งภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์จากตะวันตกด้วย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชทานที่ดินแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ ตำบล ราชบูรณะ เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่ดินเลขที่ ๑๐๘ โฉนดเลขที่ ๑๒๘๖ พื้นที่ตามโฉนด ๒๕๖ ไร่ ๑ งาน ๙๖ ตารางวา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนาม "พระจอมเกล้า" เป็นชื่อของสถาบัน มีนามภาษาอังกฤษว่า “ King Mongkut's Institute of Technology Thonburi” 24 ตุลาคม 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 6

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ

ทรงพระเมตตามาก ได้ฉลองพระเดชพระคุณสนิทมากยิ่งกว่าพระองค์อื่น ๆ ด้วยพระปรีชาว่องไว ในราชกิจทั้งปวง และมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีกว้างขวางในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และทรงพระอุตสาหะดูแล บังคับบัญชาการฝ่ายใน ให้สำเร็จไปตามพระราชประสงค์ และราชประเพณี ทรงพระปรีชาสามารถในราชกิจเก่าใหม่ ตั้งพระราชหฤทัยจงรักภักดีเป็นอันมาก จึงมีพระบรมราชโองการทรงสถาปนา พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงเททองหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ทรงเปิดอาคารคณะพลังงานและวัสดุ อาคารภาควิชาเคมี และอาคารห้องสมุด ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอบรรณสารสนเทศ ทอดพระเนตรนิทรรศการ มจธ. กับมิติด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้และอยู่อาศัย และทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร ปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แขวงบางมด เขตทุ่งครุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดอาคารคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และงานครบรอบ 20 ปี ของสถาบันฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ ทรงเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 5 และทรงเปิดสำนักงานโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ภายใต้โครงการหลวง และโครงการพระราชดำริในความรับผิดชอบของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

18 สิงหาคม 2541 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)

วันสถาปนาตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ประกาศตั้ง “ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 รับผู้จบเตรียมอุดมศึกษา (ม.6 ปัจจุบัน) เฉพาะสาย วิทยาศาสตร์ ศึกษาต่อ 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ส. นับเป็นวิทยาลัยเทคนิค แห่งแรก ในประเทศไทย ณ ตำบลบางมด อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี

วันพระราชทานนามตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม ของทุกปี

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนาม “ พระจอมเกล้า ” เป็นชื่อของสถาบัน มีนามภาษาอังกฤษว่า “ King Mongkut's Institute of Technology ” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศ ณ ค่ายหลวงหว้ากอ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี

วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์"

วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม ของทุกปี

เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี

เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บวงสรวงพระอริยพรหม และพระบรมราชานุสาวรีย์ ,ถวายบังคม และวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ,หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์,พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์

สัญลักษณ์ทางการ

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4


' ตราประจำมหาวิทยาลัย

ลักษณะของตราเชิญมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ (ตราประจำพระองค์) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ลักษณะของตรา ประกอบด้วยลายกลางเป็นตราพระมหามงกุฎ ซึ่งนำมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม "มงกุฎ" และเป็นศิราภรณ์สำคัญหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ มีฉัตรบริวารขนาบอยู่บริเวณด้านข้างทั้งสอง โดยสัญลักษณ์ทั้งหมดจะอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น มีอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งแสดงนามมหาวิทยาลัย กำกับอยู่ภายในโค้งด้านล่างของวงกลม


สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสด และ สีเหลือง

โดยสีแสดเป็นสีประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย พระผู้ทรงริเริ่มแนวคิดสมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย

ส่วนสีเหลืองเป็นสีประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระผู้ทรงพระราชทานนามมหาวิทยาลัย

และเมื่อรวมกันจึงเป็นสีที่แสดงถึงความจงรักภักดี และเป็นสีที่แสดงถึงความเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง ความแข็งแรง ทั้งเป็นสีที่กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นเปรียบเทียบได้กับเครื่องมือเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องมือเครื่องจักรทั้งหลาย ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย


ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกธรรมรักษา

เป็นไม้ดอกที่พบมากในบริเวณที่ตั้ง มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาลัย และมีสีของดอกที่คล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัยฯ

นอกจากนี้ยังมีนามที่เป็นมงคลต่อนักศึกษาและบุคลากรในด้านจริยธรรมกล่าวคือสอดคล้องกับคติธรรมที่ว่า "ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม"

สัญลักษณ์ทั่วไป

ตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์

ตราสัญลักษณ์วิสัยทัศน์ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2552 ประกอบด้วยสองส่วนคือ สัญญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) และตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark)

สัญญลักษณ์วิสัยทัศน์ (Vision Mark) สื่อถึงความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย (Framing Vision) ที่จะก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาว มจธ. โดยรูปแบบของจุด หรือ Pixel ที่เรียงกันสามารถสื่อถึงความเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีได้อย่างร่วมสมัย ในขณะเดียวกันการเรียงกันเป็นเลขสี่ยังสามารถสื่อถึงความภาคภูมิใจในนามพระราชทาน

ตัวอักษรสัญลักษณ์ (Wordmark) เป็นการเรียงตัวกันอย่างสร้างสรรค์ (Creative & Constructive) สื่อถึงการไม่หยุดนิ่งและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การใช้ชื่อย่อตัวอักษรภาษาอังกฤษยังสื่อถึงวิสัยทัศน์ที่จะนำมหาวิทยาลัยก้าวไปสู่สากลอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยตราวิสัยทัศน์ เป็นตราที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดทอนรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ (LOGO) ให้ง่ายต่อการจดจำ, สร้างเอกลักษณ์ให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นตราสัญลักษณ์ที่สามารถใช้ได้ในทุก ๆ ที่ อาธิเช่น ขวดน้ำ มจธ., ใบปลิว, แก้วน้ำ, ของที่ระลึก รวมทั้งที่ ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้ตราพระลัญจกรซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระมหากษัตริย์

เพลงประจำมหาวิทยาลัย


เพลง


เพลงพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2542 โดยนายก่อเกียรติ ชาตะนาวิน บทเพลงมีเนื้อร้องที่ครอบคลุมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย


เพลงมาร์ชห้ามุ่ง เป็นเพลงประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยนายไกวัล กุลวัฒโนทัย บทเพลงที่สามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ห้ามุ่ง


เพลงลูกพระจอม เป็นเพลงประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2551 ขับร้องสู่สาธารณชนครั้งแรกในกิจกรรมถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหาพิชัยมงกุฎ ขับร้องโดยวงประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT Chorus)


เพลงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นเพลงประพันธ์ทำนองขึ้นโดยครูเอื้อ สุนทรสนานแห่งวงสุนทราภรณ์ คำร้องโดย ธาตรี เป็นบทเพลงประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

ผู้อำนวยการ หรือ อธิการบดี

หมายเหตุ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ เป็น รักษาการ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี

หมายเหตุ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ เป็น รองอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี

นายกสภา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

คณะ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) มี 12 หน่วยงานที่จัดทำการเรียนการสอน แบ่งเป็น 8 คณะ 1 สถาบัน 2 บัณฑิตวิทยาลัยและ 1 วิทยาลัยสหวิทยาการ ดังนี้

1.คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้ 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 7.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 8.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถือว่าเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เปิดสอนมีสาขาวิชาทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด 1 ใน 3 ของประเทศไทย และในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมากที่สุดในประเทศไทย

หลักสูตรทั้งหมดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งสิน 57 สาขา สอนทั้งในหลักสูตรปกติ หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตร Residential College ของมหาวิทยาลัย Cambridge และ Oxford จากประเทศอังกฤษ อีกทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.คว้าอันดับ 1 ด้านวิศวกรรมศาสตร์ของไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดย U.S. News & World Report ประจำปี 2020 อีกด้วย

ประกอบด้วย 11 ภาควิชา 1.วิศวกรรมโยธา 2.วิศวกรรมเครื่องกล 3.วิศวกรรมไฟฟ้า 4.วิศวกรรมอุตสาหการและแมคคาทรอนิกส์ 5.วิศวกรรมเคมี 6.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 7.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 8.วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด 9.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 10.วิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ 11.วิศวกรรมอาหาร

หลักสูตรปริญญาตรี 27 สาขา


ปริญญาตรี หลักสูตรปกติ

1 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

3 สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ

4 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

5 สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด

6 สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (สหกิจศึกษา)

7 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

8 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน)

9 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

10 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

11 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและพลังงาน

12 สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์

13 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

14 สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

15 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ

16 สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ

17 สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์


ปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ) ภายใต้การกำกับดูแลของ International Center for Engineering (ICE)

18 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)

19 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

20 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)

21 สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ (Automation Engineering)

22 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics and Telecommunication Engineering)

23 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)

ปริญญาตรี หลักสูตร Residential College ของมหาวิทยาลัย Cambridge และ Oxford จากประเทศอังกฤษ

24 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Residential College)

25 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Residential College)

26 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Residential College)

27 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Residential College)


หลักสูตรปริญญาโท 20 สาขา

1 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

2 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

3 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา

4 สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง

5 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

6 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

7 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

8 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ

9 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

10 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

11 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

12 สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)

13 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต

14 สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ

15 สาขาวิชาวิศวกรรมการเชื่อม

16 สาขาวิชาวิศวกรรมคุณภาพ

17 สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุและนวัตกรรมการผลิต

18 สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

19 สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ

20 สาขาวิชาวาริชวิศวกรรม


หลักสูตรปริญญาเอก 10 สาขา

1 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

2 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

3 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

4 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ

5 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

6 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

7 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต

8 สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุและนวัตกรรมการผลิต

9 สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

10 สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ


2.คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดสอนในหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี โท และเอก และได้รับการจัดอันดับใหเป็น

ประกอบด้วย 4 ภาควิชา 1.คณิตศาสตร์ 2.ฟิสิกส์ 3.เคมี 4.จุลชีววิทยา

หลักสูตรปริญญาตรี

1. วท.บ. คณิตศาสตร์

2. วท.บ. เคมี

3. วท.บ. ฟิสิกส์ประยุกต์ (หลักสูตรสองภาษา)

4. วท.บ. จุลชีววิทยา

5. วท.บ. วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์

6. วท.บ. สถิติ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

7. วท.บ. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

หลักสูตรปริญญาโท

1. วท.ม. คณิตศาสตร์ประยุกต์

2. วท.ม. การสอนคณิตศาสตร์

3. วท.ม. เคมีอุตสาหกรรม

4. วท.ม. เคมีศึกษา

5. วท.ม. เคมี

6. วท.ม. ฟิสิกส์

7. วท.ม. ฟิสิกส์ศึกษา

8. วท.ม. จุลชีววิทยาประยุกต์

9. วท.ม. วิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโน (หลักสูตรนานาชาติ)

10. วท.ม. วิทยาศาสตร์ศึกษา (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

หลักสูตรปริญญาเอก

1. ปร.ด. คณิตศาสตร์ประยุกต์

2. ปร.ด. ฟิสิกส์

3. ปร.ด. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)

4. ปร.ด. เคมี

5. ปร.ด. วิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโน (หลักสูตรนานาชาติ)

3.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (SOA+D)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นคณะทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติทุกสาขาวิชา ในระดับปริญญาตรี โท และเอก ครอบคลุมด้านสถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม ออกแบบอุตสาหกรรม ออกแบบนวัตกรรม รวมถึงออกแบบนิเทศน์ศิลป์


หลักสูตรหลักสูตรปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ) 5 สาขาวิชา

  • สถาปัตยกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรนานาชาติ)
  • ภูมิสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
  • ออกแบบอุตสาหกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) (เดิมคือหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม หลักสูตร 5 ปี)
  • ออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ)


หลักสูตรปริญญาโท (หลักสูตรนานาชาติ) 3 หลักสูตร

  • สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผน) Master of Architecture (Design and Planning)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผน) Master of Science (Design and Planning)
  • ศิลปมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผน) Master of Fine Arts (Design and Planning)


หลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ) 1 หลักสูตร

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การออกแบบและวางแผน) Ph.D. in Design and Planning


4.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (FIET)

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 เดิมมีชื่อว่า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

ภาควิชา 1.ครุศาสตร์เครื่องกล 2.ครุศาสตร์ไฟฟ้า 3.ครุศาสตร์โยธา 4.ครุศาสตร์อุตสาหการ 5.เทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 6.เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 7.คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาตรี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) , วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) , เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ใน 10 สาขาวิชา 15 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาโท ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) , วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) ใน 9 สาขาวิชา 9 หลักสูตร
  3. หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 1 สาขาวิชา 1 หลักสูต


5.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT)

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทยด้วย

SIT KMUTT เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของประเทศไทย และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศครบถ้วนทั้ง ปริญญาตรี โท และเอก ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ

หลักสูตรปริญญาตรี

1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

3. สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล

หลักสูตรปริญญาโท

1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

3. สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อวิทยาการข้อมูล

4. สาขาวิชาวระบบสารสนเทศทางธุรกิจดิจิทัล

หลักสูตรปริญญาเอก

1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

6.คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ

คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 เดิมมีชื่อว่า คณะพลังงานและวัสดุ นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เปิดหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก

สายวิชา 1.สายวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน 2.สายวิชาเทคโนโลยีพลังงาน 3.สายวิชาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ 4.สายวิชาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 5.สายวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) , วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) ใน 6 สาขาวิชา 10 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) , ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 6 สาขาวิชา 6 หลักสูตร


7.คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก

สายวิชา 1.สายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 2.สายวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ 3.สายวิชาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 4.สายวิชาวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี 5.สายวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) , วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) , ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศ.ม.) ใน 5 สาขาวิชา 7 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 3 สาขาวิชา 3 หลักสูตร


8.คณะศิลปศาสตร์ (SOLA)

คณะศิลปศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก

สายวิชา 1.สายวิชาภาษา 2.สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศ.ม.) ใน 2 สาขาวิชา 3 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 1 สาขาวิชา 1 หลักสูตร


9.สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ตามแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 7 เพื่อวิจัยพัฒนาการศึกษาระดับสูงทางด้านวิชาการหุ่นยนต์ และงานวิจัยทางด้านระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้บริการรับปรึกษาด้านอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศ

10.บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี 2546 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ใน 5 สาขาวิชา ดังนี้

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการโลจิสติกส์ (Master of Science Program in Logistics Management)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารโครงการ (Master of Science in Project Management)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Master of Science in Technology and Innovation Management)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ (Master of Business Administration in Entrepreneurship Management)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคม (Master of Business Administration in Telecommunication Business Management)


11.บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) เปิดสอนระดับปริญญาโทและเอก


12.วิทยาลัยสหวิทยาการ เปิดสอนระดับปริญญาตรี โทและเอก

หน่วยงานภายใน

สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี () จัดตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ตอนที่ 16 ก. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ คือ ให้สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ เพื่อเป็นแหล่งดำเนินการวิจัย การพัฒนาและการวิศวกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสหวิทยบริการ เพื่อสนองนโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเน้นนโยบายการพึ่งพาตนเอง สร้างขีดความสามารถของภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ประกอบด้วยศูนย์ต่างๆ ดังนี้

วิทยาเขต

1. วิทยาเขตบางมด มจธ.บางมด ตั้งอยู่เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 มีพื้นที่มากกว่า 134 ไร่ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 มจธ.บางมด เป็นพื้นที่หลักและศูนย์กลางในการบริหาร และการจัด การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

2. วิทยาเขตบางขุนเทียน มจธ.บางขุนเทียน สวนอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย อยู่ห่างจาก มจธ. บางมด ประมาณ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 80 ไร่ ประกอบด้วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ โรงงานต้นแบบ ผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบ ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ และอาคารวิจัยและนวัตกรรม กระบวนการชีวภาพ นักศึกษาสามารถเดินทางไปมาระหว่าง มจธ. บางมด และ มจธ.บางขุนเทียน โดยรถโดยสารของมหาวิทยาลัยซึ่งมีให้บริการเดินรถตลอดทั้งวัน

3. วิทยาเขตราชบุรี มจธ.ราชบุรี เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนระบบ Residential College แห่งแรกของประเทศไทย มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาสติปัญญา และการพัฒนาคุณลักษณะการเป็นพลเมืองที่ดี ที่จะนำไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้านวิชาชีพ มีทักษะชีวิตและสังคม สามารถเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ในโจทย์และวิชาการแขนงต่างๆได้ มจธ. ราชบุรี ก่อตั้งขึ้น ณ ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 1,200 ไร่ ในปี พ.ศ. 2538 ตามนโยบายการขยายโอกาสอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค โดยผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี (หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล) และ ร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ พร้อมด้วยประชาชนใน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ให้การสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาเขต วิทยาเขตราชบุรี เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) ในปี พ.ศ. 2556 ได้เปิดสอนหลักสูตร Liberal Arts Engineer ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน) และวิศวกรรมอุตสาหการ

4. อาคารเคเอ็กซ์ มจธ.อาคารเคเอ็กซ์ หรือ KX - Knowledge Exchange for Innovation ตั้งอยู่ ถ.กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีเป้าหมายคือนำความรู้และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนทางความรู้เหมือนชื่ออาคาร Knowledge Exchange อาคารด้านในออกแบบโดยใช้แนวคิด Interlocking in Space คือ การเชื่อมพื้นที่แต่ละส่วนเข้าหากัน เพื่อให้ห้องกว้างขึ้น เป็นการใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด มจธ. อาคารเคเอ็กซ์ มีทั้งหมด 20 ชั้น ประกอบไปด้วย ห้องประชุม ห้องสัมมนา ห้องจัดงาน และ Co-Working Space ทุกส่วนถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานและเรียนรู้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ การเดินทางระหว่าง มจธ. บางมด และ มจธ. อาคารแอ็กซ์ สามารถใช้รถโดยสารของมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งมีรอบการใช้บริการตลอดทั้งวัน สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางมายัง มจธ. อาคารเคเอ็กซ์ โดยใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยลงที่สถานีวงเวียนใหญ่

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • ชลิต แก้วจินดา (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ อดีตสมาชิกวุฒิสภา แบบสรรหา
  • บุญมาก ศิริเนาวกุล (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี
  • สามารถ พิริยะปัญญาพร (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี
  • สุรเดช จิรัฐิติเจริญ (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปราจีนบุรี
  • พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเวโช (ศิษย์เก่า) อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • พล.อ.ราเมศว์ ดารามาศ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ทรงคุณวฺฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย
  • พล.อ.ท.พิชิต แรกชำนาญ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ทรงคุณวฺฒิพิเศษ กองทัพอากาศ
  • พล.ร.ท.สมภพ เสตะรุจิ (ศิษย์เก่า) อดีตเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ
  • พล.ร.ต.ปพนภพ สุวรรณวาทิน (ศิษย์เก่า) อดีตเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ
  • เพชรสมร วีระพัน (ศิษย์เก่า) (สัญชาติลาว) ปลัดกระทรวงคมนาคม ประเทศลาว
  • สุพจน์ ทรัพย์ล้อม (ศิษย์เก่า) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม
  • วีระ เรืองสุขศรีวงศ์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
  • จำรูญ ตั้งไพศาลกิจ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
  • พีระพล สาครินทร์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • สมนึก บำรุงสาลี (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • มณฑล สุดประเสริฐ (ศิษย์เก่า) อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
  • จุลภัทร แสงจันทร์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
  • กิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย
  • ปริญญา ยมะสมิต (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าการการประปานครหลวง
  • นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
  • ชยธรรม์ พรหมศร (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
  • ปรีชา อู่ทอง (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการองค์การตลาด
  • นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  • ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • สุมิท แช่มประสิทธิ์ (ศิษย์เก่า) เลขาธิการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิเศรษฐกิจพอเพียง
  • สมประสงค์ บุญยะชัย (ศิษย์เก่า) อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • สมบัติ อนันตรัมพร (ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิงก์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
  • บุญนาค โมกข์มงคลกุล (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดานิลี่ ฟาร์ อีส จำกัด
  • สมนึก โอวุฒิธรรม (ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการ บริษัทเลคิเซ่ กรุ๊ป และบริษัท เลคิเซ่ ไลท์ติ้ง จำกัด
  • ประภาส ตั้งอดุลย์รัตน์ (ศิษย์เก่า) ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท Appli CAD จำกัด
  • บุญยง ตันสกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
  • วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. แรม จำกัด บริษัทในกลุ่ม บมจ.ซีพี ออลล์(CP All)
  • ปราโมทย์ ธีรกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฟร์พัฒนา จำกัด และ นายกสมาคมรับสร้างบ้านคนแรก
  • ธนวงษ์ อารีรัชชกุล (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมีคอลล์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
  • สัมพันธ์ ลู่วีระพันธ์ (ศิษย์เก่า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด
  • วิวัฒน์ วิริยะชัยพร (ศิษย์เก่า) ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท General Electric จำกัด (GE,USA)
  • รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย คนแรก
  • รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย (ศิษย์เก่า) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ผศ.ดร.เฉลิม มัติโก (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • รศ.ดร.สมชาย ปฐมศิริ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ศ.ดร.ไพฑูรย์ ตันติเวชวุฒิกุล (ศิษย์เก่า) อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเคมี University of Regina ประเทศแคนาดา
  • ศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศ.ดร.สำเริง จักรใจ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศรี (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศ.ดร.อาษา ประทีปเสน (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศ.ดร.สุทัศน์ ทิพย์ปรักมาศ (ศิษย์เก่า) และ (บุคลากร) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.ตรีทศ เหล่าศิริหงษ์ทอง (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.พานิช วุฒิพฤกษ์ (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ณัฐพล เกียรติวงศ์หงส์ (ศิษย์เก่า) ผู้ริเริ่มและพัฒนาโปรแกรม CPE17 Autorun killer
  • เศรษฐกานต์ ปิติไชยเจริญ (พี่ต้อม Eureka) (ศิษย์เก่า) อาจารย์สถาบันกวดวิชาคณิตศาสตร์ของสถาบันกวดวิชา Eureka
  • ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ (ศิษย์เก่า) นักจัดรายการโทรทัศน์
  • บารมี นวนพรัตน์สกุล (ศิษย์เก่า) ผู้ประกาศข่าว ช่อง 3
  • ศรัณภัทร ตั้งไพศาลธนะกุล (ศิษย์เก่า) ผู้ประกาศข่าว อมรินทร์ทีวี
  • ณัฎฐ์ศรุต ถาม์พรทองสุทธิ (ยศ OIC) (ศิษย์เก่า) นักจัดรายการโทรทัศน์
  • ณัฐพล วาสิกดิลก (ศิษย์เก่า) พิธีกร
  • สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว (บี้ เดอะสตาร์) (ศิษย์เก่า) นักร้อง และ นักแสดง
  • สุวิกรม อัมระนันทน์ (เปอร์ ไฟน่อลสกอร์) (ศิษย์เก่า) นักแสดง และ พิธีกร
  • โกสินทร์ ราชกรม (ศิษย์เก่า) นักแสดง
  • อรณัชชา ไกรสมสุด นักแสดง นางเอกMusic Video และ Miss slimming thailand 2009
  • กฤษณ์ บุญญะรัง (บี้ เดอะสกา) (ศิษย์เก่า) เน็ตไอดอลยูทูป,หัวหน้าบริษัท เดอะสกาฟิล์ม จำกัด และ นักแสดง

คณะวิทยาศาสตร์

  • ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ (ศิษย์เก่า) อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาตจำกัด(มหาชน)
  • ไอริณ ดำรงค์มงคลกุล (ศิษย์เก่า) พิธีกร และ ผู้ประกาศข่าว
  • อกนิษฐ์ สมิตะพินทุ นายกสมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย
  • นพดล เปี่ยมกุลวนิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่งสิ่งทอไทย
  • สนธิ ดำรงค์ศิลป์ กรรมการผู้จัดการภาคพื้นประจำประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย บริษัท Agilent Technologies (Thailand) จำกัด.
  • ปรีดา ลิ้มนนทกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็ดดูแคชั่น แอด คลิก จำกัด และ บริษัท พีแอนด์ดับบลิว เอาท์ซอร์ส จำกัด
  • กุลชนม์ ยิ่งชัยยะกมล ผู้จัดการบริษัท AstraZeneca (Thailand)

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

  • ณัฐภัสสรา อดุลยาเมธาสิริ (กอล์ฟ) (ศิษย์เก่า) นักแสดง
  • กิติพัฒน์ พิมพ์เกษมโสภณ (เพียว) (ศิษย์เก่า) พิธีกร
  • คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ (กลัฟ) นักแสดง
  • วุฒินันท์ นาฮิม (ศิษย์เก่า) ผู้ประกาศข่าว

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

  • ศิริศิลป์ โชติวิจิตร (กวาง) (ศิษย์เก่า) นักร้องนำวงเอบีนอร์มัล

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • ธิดา ธัญญประเสริฐกุล (ศิษย์เก่า) นักแปล

คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ

  • สุพจน์ เลียดประถม (ศิษย์เก่า) อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดตราด
  • อำนวย ทองสถิตย์ (ศิษย์เก่า) อดีตอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • ศ.ดร.ฐานิตย์ เมธิยานนท์ (ศิษย์เก่า) ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

  1. LeeSunbin (2 มกราคม 2563). . campus-star.com.Check date values in: |date= (help)

  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจาก หรือ
    • แผนที่จาก หรือ
    • ภาพถ่ายทางอากาศจาก

พิกัดภูมิศาสตร์:13°39′09″N100°29′38″E /13.652383°N 100.493872°E /13.652383; 100.493872

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาษาอังกฤษ