โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล

โครงการปรับปรุงห้องเรียน โรงเรียนบ้านชำขวาง จ.ฉะเชิงเทรา

เด็ก ๆ ที่โรงเรียนบ้านชำขวางรอมา 2 ปีเพื่อวันนี้

สภาพห้องเรียนในอาคารไม้ชั้นเดียวที่สร้างมากว่า 30 ปีได้ถูกกาลเวลาและปลวกทำลายจนใช้การไม่ได้ เด็ก ๆ ต้องย้ายไปเรียนรวมกันในอาคารใหม่ แต่ห้องเรียนก็ไม่พอ บางครั้งก็ต้องเรียนที่ใต้ถุนอาคารซึ่งสภาพไม่เหมาะที่จะทำการเรียนการสอน

ด้วยจำนวนนักเรียนที่น้อย ทำให้งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปรับปรุงห้องเรียนที่ผุพัง เด็ก ๆ จึงขาดแคลนห้องเรียนมากว่า 2 ปี

มูลนิธิช้างเพชรจึงร่วมกับบริษัท FLS 19963 (ไทยแลนด์) จำกัด, ชมรมคนอวดดี และจิตอาสาภาคประชาชน เข้าสำรวจ วางแผน และซ่อมแซมบูรณะอาคารไม้เพื่อสร้างห้องเรียนให้กลับมาใช้การได้เหมือนเดิมในวันที่ 30 พย. ถึง 1 ธค.

เราได้ทำการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นห้องเรียนที่ชำรุด และสร้างผนังห้องเรียนใหม่จนได้ห้องเรียน 5 ห้องและพื้นไม้ที่ได้รับการซ่อมแซมทุกห้อง เรายังได้ติดตั้งมุ้งลวดและเครื่องปรับอากาศสำหรับห้องเรียนเด็กอนุบาลเพื่อป้องกันยุงและทำให้เด็ก ๆ หลับสบายในเวลาหลับช่วงบ่าย นอกจากนี้เรายังทาสีพื้นไม้ของห้องเรียนทุกห้องเพื่อรักษาเนื้อไม้และป้องกันปลวกในระยะยาว


เด็ก ๆ ได้ห้องเรียนของพวกเขากลับคืนมา ทั้งห้องวิทยาศาสตร์ ห้องซาวนด์แล็บ และห้องประชุมในอาคารขนาดใหญ่ที่สามารถใช้งานอเนกประสงค์


ทั้งหมดนี้ต้องขอขอบคุณบริษัท FLS 1993 (ไทยแลนด์) จำกัด, ชมรมคนอวดดี, จิตอาสาภาคประชาชน ที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็ก ๆ ของโรงเรียนบ้านชำขวางในครั้งนี้

โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล
โครงการปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ชื่อโครงการ                        ห้องเรียนน่าอยู่

แผนงาน                             บริหารงานทั่วไป

ลักษณะโครงการ                 โครงการต่อเนื่อง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ          โรงเรียนบ้านเขาตะเภาทอง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

              ชุมพร เขต 2

ผู้รับผิดชอบโครงการ            นางมณฑา  ทองใบ  นางจรัสศรี  แสงอำพร

ระยะเวลาดำเนินการ              ตลอดปีการศึกษา 2562

สนองกลยุทธ์  สพฐ.              กลยุทธ์ที่   3  

สนองมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย        สนองมาตรฐาน สพฐ. ที่   1,5 ,6,7,9

สนองมาตรฐาน  สมศ.                      ตัวบ่งชี้พื้นฐานที่  1,7

1.      หลักการและเหตุผล

         โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ให้การศึกษาแก่เยาวชน เพื่ออบรมบ่มนิสัยให้ทุกคนเป็นคนดี  มีความรู้   มีคุณธรรม  จริยธรรมสามารถอยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข   โดยเฉพาะนักเรียนระดับปฐมวัยเป็นเด็กที่ต้องเตรียมความพร้อมที่จะต้องศึกษาในขั้นต่อไป ครูจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา   การจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและรอบๆบริเวณห้องเรียนก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาด้านต่างๆของนักเรียนได้พัฒนาอย่างสมบูรณ์ทั้งยังเอื้อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนและทางราชการ   เพราะสภาพแวดล้อมดี มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมากตลอดจนมีผลต่อการพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์   และสังคมด้วย  โรงเรียนบ้านเขาตะเภาทองจึงได้ทำโครงการห้องเรียนน่าอยู่ขึ้น เพื่อจัดหาสื่อเพื่อการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งห้องเรียนและบริเวณรอบห้องเรียนมีบรรยากาศที่ดี  น่าอยู่ ตลอดจนเกิดประโยชน์ใช้สอยทั้งด้านการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมทักษะ

2.     วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้การใช้ห้องต่างๆได้เต็มประสิทธิภาพ   มีระเบียบในการใช้อย่างชัดเจน

2.2 เพื่อจัดห้องและสถานที่สนับสนุนการเรียนการสอนได้กับความต้องการของครูและนักเรียน

2.3 เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวัสดุที่ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้

2.4 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสวัสดิภาพด้านต่างๆสำหรับนักเรียน

2.5 เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

2.6 ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพกายและจิตที่ดี

3.     เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

          1. ห้องอนุบาลและบริเวณรอบๆห้องเรียน มีความสวยงาม ปลอดภัย  เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน และถูกสุขลักษณะ 90 %

          2. ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ 90 %

          3. นักเรียนร้อยละ 90 มีทักษะในการเรียนเพิ่มขึ้น

          4.  นักเรียนร้อยละ 90มีสุขภาพกายและจิตที่ดี

          5. นักเรียนร้อยละ 90 มีความปลอดภัยในสวัสดิภาพด้านต่างๆ

เชิงคุณภาพ

ห้องอนุบาลและรอบๆห้องเรียนอนุบาลโรงเรียนบ้านเขาตะเภาทองมีความสวยงาม ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่และเอื้อต่อการเรียนการสอนและความปลอดภัยของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

4.     ระยะเวลาดำเนินการ

              ตลอดปีการศึกษา 2561

4.1ขั้นตอนการดำเนินการ

รายการที่ปฏิบัติ

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1.ประชุมครู

พฤษภาคม 2562

ผู้บริหาร

2.เสนอโครงการ

พฤษภาคม 2562

นางมณฑา  ทองใบ

3.ปฏิบัติกิจกรรมโครงการ ซึ่งมีกิจกรรม  ดังนี้

  - จัดหาซื้อสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน

  - จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้และตกแต่งบรรยากาศห้องเรียน

มิถุนายน 2562

- มีนาคม 2563

นางมณฑา  ทองใบ

นางจรัสศรี  แสงอำพร

4.ประเมินผล/สรุปผลโครงการ

มีนาคม 2563

นางมณฑา  ทองใบ

5.รายงานผลโครงการ

มีนาคม 2563

นางมณฑา  ทองใบ

5.สถานที่ดำเนินการ

      โรงเรียนบ้านเขาตะเภาทอง

6.งบประมาณ

          เงินงบประมาณรายหัวนักเรียนก่อนประถมศึกษา    ............  บาท

กิจกรรม

งบประมาณ

-กิจกรรมจัดหาซื้อสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้และตกแต่งบรรยากาศห้องเรียน 

.................

                                              รวม

..............

7.ตัวชี้วัดความสำเร็จ

          7.1  ห้องอนุบาลและบริเวณรอบๆห้องเรียน มีความสวยงาม ปลอดภัย  เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน และถูกสุขลักษณะ

          7.2  ร้อยละของผู้ใช้บริการมีความพอใจ

          7.3  ร้อยละของนักเรียนมีทักษะในการเรียนเพิ่มขึ้น

          7.4  ร้อยละของนักเรียนมีสุขภาพกายและจิตที่ดี

          7.5   ร้อยละของนักเรียนมีความปลอดภัยในสวัสดิภาพด้านต่างๆ

8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          8.1 นักเรียนได้รับความสะดวก ปลอดภัยในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในห้องเรียน

          8.2 ห้องเรียนอนุบาลทั้งภายในและภายนอกที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เหมาะแก่การเรียนรู้และประกอบกิจกรรมต่างๆ

9.การประเมินผล

 เครื่องมือ

          9.1  แบบสำรวจห้องเรียนอนุบาล

          9.2  แบบสำรวจความพอใจของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ชุมชน

                ผู้เสนอโครงการ                                            ผู้อนุมัติโครงการ

               (นางมณฑา  ทองใบ)                                (นางสาววิระวรรณ  บูรณากูล)

          ครูโรงเรียนบ้านเขาตะเภาทอง                    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาตะเภาทอง