เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

สวัสดีครับ วันก่อนมีน้องๆ เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับโปรเจค แจ้งเตือนแก๊ส ควันบุหรี่ในห้องน้ำ โดยใช้ Arduino Uno R3 ให้แจ้งเตือนผ่านทาง Line โดยน้องๆเขาซื้อของมาแล้ว และโดนหลอกจากร้านอื่น มาว่า Arduino Uno R3 สามารถส่งได้ จริงๆก็ไม่ผิดน่ะครับ แต่ต้องเพิ่มอุปกรณ์อย่างอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ด้วยตัวของ Arduino Uno R3 มันไม่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้โดยตรจะตองมีอุปกรณ์อีกหลากหลาย มาเพิ่มเติม เช่น W5100, W5500, Esp8266 เป็นต้น

Admin อ๊อฟเลยแนะนำไปว่า ให้น้องๆเปลี่ยนมาใช้บอร์ด Wemos ที่หน้าตาเหมือนกับ Arduino Uno ก็ได้น่ะครับ ก็ง่ายเหมือนกับ Nodemcu เลย ก็เลยมอบหมายให้น้องๆ นักศึกษาฝึกงานเขียนโปรเจคตัวนี้ขึ้นมาครับ  เรามาเริ่มกันเลย

บทความต่อไปนี้คือการพูดถึง เซ็นเซอร์ตรวจจับควัน MQ2 LPG CO Smoke Gas Sensor

เซ็นเซอร์ตรวจจับควัน MQ2 ที่ใช้ในการตรวจจับสิ่งต่างๆ ควันไฟ แก็ส หรือ สิ่งต่างๆที่จะเกิดอันตรายให้แกตัวเราโดยมาในรูปแบบของ ควัน โดย  เซ็นเซอร์ตรวจจับควัน MQ2 จะส่งแจ้งเตือนผ่านทาง แอปพลิเคชัน line

อุปกรณ์มีดังต่อไปนี้

  • D1 WiFi UNO board ESP8266
  • Sensor MQ-2
  • สายแพร Jumper Male to Female ยาว 20CM 

การต่อสาย

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

รูปการต่อสายงานจริง

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright
เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

หลักการทำงาน ของอุปกรณ์

  • เมื่อพบเจอแก๊ส หรือกลุ่มควัน อุปกรณ์ Wemos D1 ก็จะทำการส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง Line ผ่าน Line Notify

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

Code ของโปรแกรม

บทความจากน้องมะม่วงและน้องบ่าว

ชื่องานวิจัย เครื่องเตือนควันบุหรี่

ชื่อผู้วิจัย

1. เด็กหญิงกษิตินาถ ศรีภูมิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2. เด็กหญิงขวัญชนก พันธุ์สบาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3. เด็กหญิงลดามณี ทิพย์สิงห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระต าหนักสวนกุหลาบมัธยม)

ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

อาจารย์ที่ปรึกษา 1. นายศุภกิตติ์ ดนุดิษฐ์

2. นางปิ่นแก้ว กฤชแสงโชติ

3. นายดนัย สุดจิตรจูล

ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องเตือนควันบุหรี่ให้สามารถ

ตรวจจับควันที่เกิดจากบุหรี่ได้(2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ของเครื่องเตือนควัน

บุหรี่แบบปกติและแบบเพิ่มแรงลม โดยเครื่องเตือนควันบุหรี่ที่สร้างขึ้นเป็นแบบที่ใช้ตัวตรวจจับก๊าซ

Flammable Gas &Smoke Sensor (MQ-2) มีประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ได้ มีหลักการท างานคือ

เมื่อมีควันเคลื่อนที่เข้าไปยังกล่องควันของวงจร MQ-2 เป็นผลให้ค่าแรงดันของระบบเปลี่ยนแปลงไปจนถึง

ระดับหนึ่ง สังเกตได้จากไดโอดสีแดงจะกระพริบตลอดเวลา(ตรวจพบควัน) จนเมื่อมีควันเข้าไปอยู่จนเต็มกล่อง

ควัน รีเลย์จะตัดและส่งสัญญาณไปยังเอาท์พุทซึ่งต่อไว้กับ Alarm เกิดเป็นเสียงดังต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกว่า

ควันจะลดลงจนหมดจากกล่องควัน หรือจนกว่าจะถูกปิดสวิตซ์ นั่นคือค่าแรงดันของระบบไม่เปลี่ยนแปลง

ระบบแจ้งเตือนจะหยุดท างาน โดยเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบเพิ่มแรงลม (มีพัดลมระบายอากาศ) จะมีความเร็ว

ในการแจ้งเตือนมากกว่าเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบปกติ 2 เท่า

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

สถิติทั่วโลกพบว่า มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 จากโรคมะเร็งในผู้ชาย และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 จากโรคมะเร็งในผู้หญิง สำหรับในประเทศไทย จากสถิติ พ.ศ.2551 พบว่า มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 2 จากโรคมะเร็ง รองจากมะเร็งตับและทางเดินน้ำดีในทั้งเพศชายและเพศหญิงจากสถิติพบว่า ในเพศชายที่เป็นมะเร็งปอดจะเกิดจากการสูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 80 และเพศหญิงที่เป็นมะเร็งปอดพบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 50 โดยจากการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ 1 ซองต่อวัน เป็นเวลานาน 30 ปี จะเสี่ยงต่อการตายจากมะเร็งปอด 20-60 เท่าในผู้ชาย และ 14-20 เท่าในผู้หญิง เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว ถ้าสูบนาน 40 ปี
ในปัจจุบันพบว่า คนที่ไม่สูบบุหรี่ ก็เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้จากควันบุหรี่ในสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า Environmental Tobacco Smoke (ETS) หรือควันบุหรี่มือสอง หรือ Secondhand Smoke (SHS) นั่นเอง ควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมหรือจากควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบมี 2 รูปแบบคือ ควันที่ออกมาจากปลายมวนบุหรี่หรือซิการ์ และควันที่ผู้สูบบุหรี่ โดยมีผลการศึกษาพบว่า ควันบุหรี่จากปลายมวนบุหรี่จะมีสารก่อมะเร็งสูงมากกว่าควันที่ผู้สูบบุหรี่หายใจออกมา

สังคมไทยในปัจจุบันมีการต่อต้านการสูบบุหรี่เป็นอย่างมากมีการกำหนดพื้นที่สำหรับให้สูบบุหรี่และห้ามสูบบุหรี่โดยเฉพาะในขณะเดียวกันก็ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่สูบบุหรี่ แม้ในสถานที่ที่ห้ามสูบบุหรี่ เช่น ในโรงเรียนของคณะผู้จัดทำโครงงาน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าโรงเรียนมัธยม หรือกระทั่งมหาวิทยาลัยก็พบปัญหานี้เช่นกัน มาตรการที่นำมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามกับพฤติกรรมของเยาวชนที่ยังคงแอบสูบบุหรี่ในสถานศึกษายังไม่ได้ผลเท่าที่ควร  ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงงานจึงพยายามคิดหานวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้ที่แอบสูบบุหรี่ในโรงเรียน เช่น บริเวณห้องน้ำชาย ได้เกิดความเกรงกลัวหรืออับอายเมื่อต้องแอบสูบบุหรี่ในห้องน้ำ และเลิกสูบบุหรี่บริเวณนั้นในที่สุด  คณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับระบบแจ้งเตือนควันขนาดเล็ก (Small Smoke DetectorAlarm System) ซึ่งจะทำการพัฒนาเครื่องเตือนควันบุหรี่ ให้สามารถตรวจจับควันที่เกิดจากควันบุหรี่และส่งเสียงสัญญาณเตือนเป็นหลักโดยจะนำไปใช้ติดตั้งในสถานที่ที่ห้ามสูบบุหรี่เช่นห้องน้ำชายในโรงเรียนโรงพยาบาลโรงงานอุตสาหกรรมรถโดยสารสาธารณะเป็นต้นโดยเครื่องเตือนควันบุหรี่จะส่งสัญญาณเตือนทุกครั้งเมื่อมีการตรวจพบควันบุหรี่ เครื่องเตือนควันบุหรี่ที่ติดตั้งภายในอาคารต่างๆได้ออกแบบมาเพื่อตรวจจับควันที่เกิดจากไฟไหม้โดยที่เครื่องเตือนควันบุหรี่ มีการทำงานอยู่ 2 รูปแบบรูปแบบแรกคือIonizationSmoke Detector เป็นแบบที่ต้องใช้สารกัมมันตรังสีซึ่งต้องทำการจดทะเบียนก่อนจึงจะสามารถผลิตได้และรูปแบบที่สองคือ Photoelectric Smoke Detector เป็นแบบที่ใช้หลักการให้ควันเข้าไปบังแสงหรือหักเหแสงที่เกิดจากอุปกรณ์ตรวจจับซึ่งโครงงานนี้จะนำแบบที่ใช้หลักการหักเหแสงที่เกิดจากควันและใช้ตัวตรวจจับก๊าซ(MQ-2- Flammable Gas &Smoke Sensor) มาประยุกต์ใช้งาน

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. ศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องเตือนควันบุหรี่ ให้สามารถตรวจจับควันที่เกิดจากบุหรี่ได้
  2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ของเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบปกติและแบบเพิ่มแรงลม

สมมติฐานของการศึกษา

  • ถ้าแรงลมมีผลต่อความเร็วในการตรวจจับควันบุหรี่แล้ว ดังนั้น เครื่องเตือนควันบุหรี่แบบเพิ่มแรงลม จะตรวจจับควันบุหรี่ได้เร็วกว่าแบบปกติ

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น  ชนิดของเครื่องเตือนควันบุหรี่

ตัวแปรตาม        อัตราเร็วในการเตือนของเครื่องเตือนควันบุหรี่

ตัวแปรควบคุม1.   บริเวณที่ใช้ทดสอบ

  1. ปริมาณควันบุหรี่
  2. ชนิดของควันที่ใช้ทดสอบ

นิยามเชิงปฏิบัติการ

       ประสิทธิภาพของเครื่องเตือนควันบุหรี่  หมายถึง  ความเร็วในการส่งสัญญาณเตือนของเครื่องเตือนควันบุหรี่เมื่อตรวจพบควันบุหรี่ วัดเป็นวินาที

ขอบเขตของการศึกษา

สถานที่ทดลองการตรวจจับควันบุหรี่ ใช้บริเวณหน้าห้องปกครอง โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 6-17มิถุนายน พ.ศ.2559

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้เรียนรู้หลักการทำงานโครงสร้างระบบควบคุมและระบบแสดงผลของเครื่องเตือนควันบุหรี่
  2. ได้เครื่องเตือนควันบุหรี่ที่สามารถเตือนควันบุหรี่ได้จริง
  3. มีส่วนร่วมในการช่วยต่อต้านบุคคลที่สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบและช่วยในการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอด
  4. สามารถช่วยเหลือและรักษาสุขภาพของคนที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่
  5. สามารถนำเครื่องเตือนควันบุหรี่ไปติดตั้งในสถานที่ที่ห้ามสูบบุหรี่สามารถช่วยลดจำนวนคนที่สูบบุหรี่ลงได้

บทที่ 3

วิธีดำเนินการ

ในการจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง เครื่องเตือนควันบุหรี่ คณะผู้จัดทำได้แบ่งวิธีดำเนินการได้ดังนี้

ตอนที่ 1 การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องเตือนควันบุหรี่ ให้สามารถตรวจจับควันที่เกิด
จากบุหรี่ได้

ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ของเครื่องเตือนควันบุหรี่
แบบปกติและแบบเพิ่มแรงลม

ตอนที่ 1เพื่อศึกษาออกแบบและสร้างเครื่องเตือนควันบุหรี่ ให้สามารถตรวจจับควันที่เกิดจาก
บุหรี่ได้

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องเตือนควันบุหรี่ ให้สามารถตรวจจับควันที่เกิดจากบุหรี่ได้

วัสดุอุปกรณ์

1.วงเวียน                                                  จำนวน          1          อัน

2.ปากกาเคมี                                              จำนวน          1          ด้าม

3.แผ่นอะคริลิค                                           จำนวน          5          แผ่น

4.ฟิวเจอร์บอร์ด                                          จำนวน          1          แผ่น

5.พัดลมระบายอากาศ (คอมพิวเตอร์)                 จำนวน          1          ตัว

6.เซ็นต์เซอร์ตรวจจับควัน                               จำนวน          1          ตัว

7.ปืนกาวร้อนพร้อมแท่งกาว                            จำนวน          1          อัน

8.กาวสองหน้า                                            จำนวน          1          ม้วน

9.หัวแร้ง,ตะกั่ว,น้ำยาประสาน                          จำนวน          1          อัน

10.คัตเตอร์                                                จำนวน          1          อัน

วิธีสร้าง

1.นำวงเวียนวาดเป็นวงกลม

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

2.เจาะรูแผ่นอะคริลิคเป็นวงกลมตามที่วาดไว้ ด้วยคัตเตอร์

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

3.เชื่อมแผ่นอะคริลิคเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม(กล่อง)ด้วยกาวร้อน

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

4.นำตัวเซ็นต์เซอร์ตรวจจับควันไปติดลงฟิวเจอร์บอร์ดจากนั้นไปติดกับกล่อง

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

5.เชื่อมต่อสายไฟตัวเซ็นต์เซอร์ตรวจจับควันเข้ากับกล่องแบตเตอร์รี่พร้อมใส่ถ่าน

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

6.ติดพัดลมระบายอากาศ(คอมพิวเตอร์)ไว้ตรงช่องติดกับตัวเซ็นต์เซอร์ด้วยกาวสองหน้า

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ของเครื่องเตือนควันบุหรี่
แบบปกติและแบบเพิ่มแรงลม

วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ของเครื่องเตือนควันบุหรี่
แบบปกติและแบบเพิ่มแรงลม

สมมติฐาน

ถ้าแรงลมมีผลต่อความเร็วในการตรวจจับควันบุหรี่แล้ว ดังนั้น เครื่องเตือนควันบุหรี่แบบเพิ่มแรงลม จะตรวจจับควันบุหรี่ได้เร็วกว่าแบบปกติ

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น  ชนิดของเครื่องเตือนควันบุหรี่

ตัวแปรตาม        เวลาที่ใช้ในการเตือนของเครื่องเตือนควันบุหรี่

ตัวแปรควบคุม

  1.    บริเวณที่ใช้ทดสอบ
  2. ปริมาณควันบุหรี่
  3. ชนิดของควันที่ใช้ทดสอบ
  4. 4. ช่วงเวลาที่ใช้เครื่องเตือนควันบุหรี่

วัสดุอุปกรณ์

  1. ตู้จำลองควัน จำนวน              1      ตู้
  2. นาฬิกาจับเวลา จำนวน              1      เรือน
  3. บุหรี่ จำนวน              1      ซอง

วิธีทดลอง

  1. จุดบุหรี่จำนวน 1 มวน วางในตู้จำลองควัน และเริ่มจับเวลาจนกว่าสัญญาณเตือนเสียงAlarmsจะดังขึ้น บันทึกเวลา
  2. ทำซ้ำข้อ 1 แต่เปลี่ยนจากบุหรี่ 1 มวน เป็น 2 , 3 , 4 , และ 5 มวนตามลำดับ
  3. ทำซ้ำข้อ 1 -2 อีก 3 ครั้ง
  4. ทำซ้ำข้อ 1-3 แต่เปลี่ยนเป็นตู้จำลองควันที่ไม่มีพัดลมระบายอากาศแทน

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

ในการจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง เครื่องเตือนควันบุหรี่ คณะผู้จัดทำได้รายงานผลการการดำเนินงานดังนี้

ผลการทดลองตอนที่ 1 การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องเตือนควันบุหรี่ ให้สามารถตรวจจับควันที่เกิดจากบุหรี่ได้

ผลการทดลองตอนที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ของเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบปกติและแบบเพิ่มแรงลม

ผลการทดลองตอนที่ 1 การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องเตือนควันบุหรี่ ให้สามารถตรวจ
จับควันที่เกิดจากบุหรี่ได้

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

 รูปภาพแสดงเครื่องเตือนควันบุหรี่ที่สร้างเสร็จแล้ว

 ผลการทดลองตอนที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ของเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบปกติและแบบเพิ่มแรงลม

ตารางที่ 1 แสดงระยะเวลาการเริ่มแจ้งเตือนของเครื่องเตือนควันบุหรี่ (Smart Smoke Detector)
แบบมีพัดลมระบายอากาศ

จำนวนบุหรี่ที่จุด (มวน) ระยะเวลาที่เครื่องตรวจจับเริ่มแจ้งเตือน(วินาที)
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 เฉลี่ย
1 20 19 18 19.00
2 18 19 17 18.00
3 17 17 15 16.00
4 13 13 11 12.00
5 9 10 11 10.00

จากตารางที่ 1 พบว่า การจุดบุหรี่ 1 มวนในตู้จำลองควัน เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ใช้เวลาเฉลี่ย 18.66 วินาที จึงจะเริ่มมีการแจ้งเตือนเป็นเสียง Alarmส่วนการจุดบุหรี่ 2 , 3 , 4 และ 5 มวน เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ใช้เวลาเฉลี่ย 17.33 , 15.66 , 14.66 และ 13.33 ตามลำดับ

ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาการแจ้งเตือนของเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบไม่มีพัดลมระบายอากาศ

จำนวนบุหรี่ที่จุด (มวน) ระยะเวลาที่เครื่องเตือนเริ่มแจ้งเตือน(วินาที)
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 เฉลี่ย
1 41 42 40 41.00
2 31 33 30 31.33
3 29 28 27 28.00
4 24 25 23 24.00
5 20 19 20 19.67

จากตารางที่ 2 พบว่า การจุดบุหรี่ 1 มวนในตู้จำลองควันที่ไม่มีพัดลมระบายอากาศ เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ใช้เวลาเฉลี่ย 58.00 วินาที จึงจะเริ่มมีการแจ้งเตือนเป็นเสียงAlarmส่วนการจุดบุหรี่2 , 3 , 4  และ 5 มวน เครื่องเตือนควันบุหรี่ใช้เวลาเฉลี่ย 54.33 , 50.00 , 46.67 และ 44.67 ตามลำดับ

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ในการจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง เครื่องเตือนควันบุหรี่ คณะผู้จัดทำได้สรุปผลการการดำเนินงานดังนี้

สรุปผลการทดลองตอนที่ 1 การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องเตือนควันบุหรี่ ให้สามารถ
ตรวจจับควันที่เกิดจากบุหรี่ได้

       เครื่องเตือนควันบุหรี่ที่สร้างขึ้นเป็นแบบที่ใช้ตัวตรวจจับก๊าซ Flammable Gas &Smoke Sensor (MQ-2)มีประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ได้ โดยมีหลักการทำงานคือ เมื่อมีควันเคลื่อนที่เข้าไปยังกล่องควันของวงจร MQ-2 เป็นผลให้ค่าแรงดันของระบบเปลี่ยนแปลงไปจนถึงระดับหนึ่ง สังเกตได้จากไดโอดสีแดงจะกระพริบตลอดเวลา(ตรวจพบควัน) จนเมื่อมีควันเข้าไปอยู่จนเต็มกล่องควัน รีเลย์จะตัดและส่งสัญญาณไปยังเอาท์พุทซึ่งต่อไว้กับ Alarm เกิดเป็นเสียงดังต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกว่าควันจะลดลงจนหมดจากกล่องควัน หรือจนกว่าจะถูกปิดสวิตซ์ นั่นคือค่าแรงดันของระบบไม่เปลี่ยนแปลง ระบบแจ้งเตือนจะหยุดทำงาน

สรุปผลการทดลองตอนที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจจับควันบุหรี่ของเครื่อง
เตือนควันบุหรี่แบบปกติและแบบเพิ่มแรงลม

จากการทดลองตอนที่ 2 สรุปได้ว่า เครื่องเตือนควันบุหรี่แบบเพิ่มแรงลม (มีพัดลมระบายอากาศ) จะมีความเร็วในการแจ้งเตือนมากกว่าเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบปกติถึง 2 เท่า

อภิปรายผลการทดลอง

  • เครื่องเตือนควันบุหรี่แบบเพิ่มแรงลม (มีพัดลมระบายอากาศ) มีความเร็วในการแจ้งเตือนมากกว่าเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบปกติถึง 3 เท่า เนื่องมาจากเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบเพิ่มแรงลมมีพัดลมระบายอากาศ ซึ่งจะดูดอากาศและควันจากด้านล่างเข้ามายังกล่องควันให้เต็มอย่างรวดเร็วค่าแรงดันในกล่องควันจึงเปลี่ยนแปลงและทำให้ระบบทำงานทันที ซึ่งต่างจากเครื่องตรวจจับควันแบบปกติ ซึ่งควันจะค่อยๆ เคลื่อนที่จากด้านล่างขึ้นด้านบนอย่างช้าๆ ทำให้ใช้เวลานานกว่าจะทำให้ควันเข้าไปอยู่เต็มกล่องควัน ระบบจึงเริ่มทำงานช้ากว่าเครื่องเตือนควันบุหรี่แบบแรก

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรนำไปติดตั้งในบริเวณที่สาธารณะที่ห้ามสูบบุหรี่ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ฝ่าฝืน ตกใจและรู้สึกอับอายไม่กล้าสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบอีก
  2. เครื่องตรวจจับควันบุหรี่แบบเพิ่มแรงลม เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทมากนัก หากนำไปติดตั้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา อาจทำให้เวลาในการแจ้งเตือนช้าลงกว่าเดิม เนื่องจากปริมาณควันบุหรี่จะเจือจางกับอากาศมากกว่าในที่ที่เป็นพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท

บรรณานุกรม

 กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2550). มาตรฐานอุปกรณ์ตรวจจับควัน. กระทรวงมหาดไทย.

วิชัย ประเสริฐเจริญสุข. 2547. ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์, ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถิรพร พรนิมิต. 2551. C Programming for Embedded Systems. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนุศร ทัศศรี. 2553. ระบบแจ้งเตือนควันขนาดเล็ก. งานโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector). (2552). เข้าถึงได้จาก :

http://www.vecthai.com/main/?p=3229 (วันที่ค้นข้อมูล 9 มิถุนายน 2559)

เครื่อง Smoke Detector ทำงานอย่างไร. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก :

http://www.thaicondoonline.com/itcondo/702-smoke-detector

(วันที่ค้นข้อมูล 12 มิถุนายน2559)

ภาคผนวก

ภาพกิจกรรมการทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง เครื่องเตือนควันบุหรี่

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

ประวัติผู้วิจัย

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

ชื่อ ด.ญ.กษิตินาถ

สกุล ศรีภูมิ

ชั้น ม.2/1

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม(พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต9

ที่อยู่ 55/165 หมู่บ้านภัสสร8 ต.บางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

เบอร์โทรศัพท์ 0872235419

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

ชื่อ ด.ญ.ขวัญชนก

สกุล พันธุ์สบาย

ชั้น ม.2/1

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม(พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต9

ที่อยู่ 106/3 หมู่2 ซอยสุคนธวิท9 ต.ดอนไก่ดีอ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

เบอร์โทรศัพท์ 0877697046

เครื่องตรวจจับควันบุหรี่ kidbright

ชื่อ ด.ญ.ลดามณี

สุกล ทิพย์สิงห์

ชั้น ม.2/1

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม(พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต9

ที่อยู่ 100/363 หมู่บ้านพฤกษา19 ต.บางคูรัด อ.บางบัวทองจ.นนทบุรี

เบอร์โทรศัพท์ 0995052211