ข้อสอบ it support พร้อมเฉลย

ข้อสอบ it support พร้อมเฉลย

ข้อสอบ it support พร้อมเฉลย

คอร์สเรียน

เกี่ยวกับเรา

OPENDURIAN

หน้าแรก

คอร์สเรียน

คลังข้อสอบ

คลังความรู้

เกี่ยวกับเรา

ล็อคอิน / สมัครสมาชิก

  • สำหรับทุกคน
  • /
  • สอบเข้าราชการ
  • /
  • แนวข้อสอบก.พ. ภาค ก ฟรี พร้อมเฉลย (ครบทุกวิชา)

ข้อ 57

57 of 100

ฝึกทำโจทย์แบบชิลๆ

น้องๆ สามารถเลือกทำโจทย์ได้ตามต้องการ ไม่มีการจับเวลา ไม่มีการนับคะแนน ตอบผิดแล้ว สามารถตอบใหม่ได้ สิ่งสำคัญ ก็คือ ควรทำความเข้าใจกับวิธีทำในเฉลยละเอียด การเรียนคณิตศาสตร์ให้ได้คะแนนดี ต้องเรียนด้วยการลองทำโจทย์เยอะๆ

เคล็ดลับจากติวเตอร์

ระหว่างอ่านเฉลย อย่าลืมมองหา "เคล็ดลับจากติวเตอร์" กรอบสีเขียว เพื่อเรียนวิธีลัด ตีโจทย์แตก เร็ว แวร๊ง!

IT Support ต้องรู้! แบบทดสอบวัดความสามารถตอนสัมภาษณ์

Posted on 18 Jul 2019

6325


ข้อสอบ it support พร้อมเฉลย

IT Support ต้องรู้! แบบทดสอบวัดความสามารถตอนสัมภาษณ์

" ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย!! "

ในยุคนี้สมัยนี้ ต้องบอกเลยว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลกเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย องค์กรต่างๆ จึงต้องการมีพนักงานด้านไอทีที่มีทักษะและความสามารถสูง มีหลักในการทำงานที่ดี และมีวิสัยทัศน์ที่เข้ากันกับองค์กรได้ เพื่อช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า

ซึ่งตำแหน่งงานด้านไอทีที่มีความสำคัญ ที่เกือบทุกองค์กรจำเป็นต้องมีนั้น ก็คงจะเป็นตำแหน่ง IT Support เพราะตำแหน่งนี้จะทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาด้านไอทีต่างๆ ให้คนในองค์กร ตั้งแต่แสกนไวรัส ลงโปรแกรม ดูแลระบบ และซ่อมบำรุง ฯ วันนี้ aSearcher จึงได้รวบรวมแนวทางสำหรับแบบทดสอบวัดความสามารถตอนสัมภาษณ์มาฝากคนที่ต้องการทำงานในตำแหน่ง IT Support กันค่ะ รับรองว่าสัมภาษณ์งานผ่านแน่นอน!!

1. ขั้นแนะนำตัว 

เป็นด่านแรกที่ต้องเจอแน่นอน! ผู้สัมภาษณ์จะเปิดคำถามอุ่นเครื่องก่อนเข้าเรื่องหนักๆ คุณต้องแนะนำชื่อเสียงเรียงนาม ถิ่นฐาน ประวัติการศึกษา แต่ยังไม่จบแค่นี้ คุณควรที่จะโฆษณาตัวเองซักหน่อย ว่าเชี่ยวชาญด้านไหนเป็นพิเศษ และมีความสามารถพิเศษอะไรบ้างที่เกี่ยวกับงาน หรือความสามารถอื่นๆ ก็สามารถแนะนำเพิ่มเติมได้ในตอนท้าย

2. สอบถามประวัติและประสบการณ์ทำงาน

ในส่วนนี้ คุณต้องอย่าลืมเตรียมข้อมูลของที่ทำงานเก่ามาว่ามีประสบการณ์อะไรบ้าง ทำงานที่ไหน เคยฝึกงานที่ไหน หรือได้ทำโปรเจคพิเศษที่ไหนมาบ้างหรือเปล่า ยิ่งถ้าคุณมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวกับ IT Support มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้คะแนนการสัมภาษณ์ของคุณสูงขึ้นไปด้วยนะ

3. สอบถามความสามารถ

ส่วนใหญ่ที่เจอจะเป็นการสอบถามความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิค ที่ทางองค์กรพบเจอบ่อยๆ อาทิเช่น ฟอนต์ภาษาไทยในเวิร์ดเวลาพิมพ์เอกสารออกมามีลักษณะผิดเพี้ยน จะมีวิธีการแก้ไขได้อย่างไรบ้าง หรือปัญหาทางด้านต่างๆ ที่ทางไอทีซัพพอร์ตจะพบเจอได้บ่อยๆ ดังนั้น การเตรียมรับมือกับปัญหาและมีวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี จะทำให้คนสัมภาษณ์ประทับใจ

4. สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลขององค์กร

การเตรียมตัวก่อนมาสัมภาษณ์งานจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบและเข้าใจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับองค์กรที่สมัคร เช่น ผลิตภัณฑ์ กลุ่มลูกค้า คู่แข่ง ภาพลักษณ์องค์กร ที่มาและประวัติขององค์กร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า คุณได้ทำการบ้านมา และให้ความสนใจกับองค์กรอย่างแท้จริง

5. สาเหตุในการลาออกจากองค์กรเก่า

คุณต้องตอบความจริงให้มากที่สุด ตอบให้สั้น และกระชับ จับใจความได้ ไม่จำเป็นต้องตอบทั้งหมดถ้าความจริงมันเลวร้ายเกินไป อย่าลืมว่าผู้สัมภาษณ์อาจขออนุญาตติดต่อกับบุคคลอ้างอิงเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการวิจารณ์องค์กรและเจ้านายเก่า เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณดูแย่

6. สอบถามว่าจะทำงานที่นี่นานเท่าไหร่

เมื่อเจอคำถามนี้ ให้มุ่งประเด็นไปที่ความทุ่มเทของตัวเองและความท้าทายของงาน ด้วยการบอกว่าตราบใดที่งานมีความยากและท้าทาย ก็จะขอทุ่มเทความสามารถของตัวเองให้เต็มที่เพื่อสร้างประโยชน์และความก้าวหน้าให้กับองค์กร

7. เจอคำถามวัด EQ

สำหรับข้อนี้ถือว่าเดาได้ยาก เพราะอาจเป็นคำถามที่เกิดจากความตั้งใจจะทดสอบผู้สมัครจริงๆ หรืออาจเป็นตัวตนของผู้สัมภาษณ์ที่เป็นคนชอบถามตรงและแรงก็ได้ ดังนั้น ถ้าเจอสไตล์คำถามแบบนี้ ให้ตั้งสติและคิดในใจก่อนว่า เขากำลังทดสอบ EQ เราอยู่ เช่น คุณสามารถทนเวลาโดนคนอื่นด่าได้หรือไม่ หรือคุณทำงานมาตั้งหลายปี แต่ทำไมถึงไม่มีผลงานที่โดดเด่นเลย เป็นต้น ให้คุณหยุดตั้งสติ เรียบเรียงคำตอบ อธิบายสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล น่าจะเป็นการเอาตัวรอดที่ดีที่สุด

8. ทำแบบทดสอบ

ส่วนใหญ่ที่มักจะเจอก็เช่น English Test, Personality Test, Aptitude Test เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นแบบทดสอบทั่วไป และขึ้นกับองค์กรว่าจะทดสอบอะไรบ้าง แต่สำหรับงานไอที อาจมีบางแห่งให้ผู้สมัคร เขียน Flow Chart, เขียน Module การทำงานย่อย เพื่อให้ได้ผลตามที่โจทย์กำหนดไว้ หรือเขียนผลลัพท์ที่ได้จาก Module ในโจทย์ เป็นต้น ดังนั้น ก่อนไปสัมภาษณ์ก็ลองทำแบบทดสอบพวกนี้เผื่อไว้บ้าง จะได้รู้เป็นแนวทางไว้ก่อน

แนวทางที่ดีที่สุดที่จะลดเหตุการณ์ Surprise เหล่านี้คือ “สอบถามก่อนไปสัมภาษณ์” ว่าต้องทำแบบทดสอบอะไรบ้างไหม ใครที่จะเข้าสัมภาษณ์คุณในครั้งนี้บ้าง เป็นต้น อย่างน้อยก็จะได้เตรียมตัวได้ถูก แต่หากทาง HR ไม่บอกก็เป็นสิทธิ์ของเขา คุณก็แค่ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม!!