โอนหุ้นให้คนอื่น เสียภาษีไหม

บริษัท A )ได้หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการโอนหุ้นให้บุตรชอบด้วยกฎหมาย มีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า บริษัท A จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ได้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นของบริษัท A มีราคาพาร์ (PAR) เท่ากับหุ้นละ 10 บาท แต่มีราคามูลค่าทางบัญชี (Book Value) เท่ากับหุ้นละ 90 บาทเนื่องจากได้มีการแก้ไขมาตรา 42 (10) ประมวลรัษฎากร โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559ผู้ถือหุ้นบริษัท A ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจำนวน 4 คน จึงมีความประสงค์จะโอนหุ้นของตนเองให้บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทนก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559บริษัท A ได้หารือว่า ความเข้าใจของบริษัท A ดังต่อไปนี้ถูกต้องหรือไม่

1. กรณีบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นบิดาได้โอนหุ้นให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทนถือเป็นการให้โดยเสน่หา จึงไม่มีผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนถือว่าผู้โอนไม่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรจากการโอนหุ้นดังกล่าว

2. กรณีบุตรชอบด้วยกฎหมายได้รับโอนหุ้นจากบิดา เข้าลักษณะเป็นการได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่การได้รับหุ้นในกรณีดังกล่าวก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา

3. กรณีบุตรชอบด้วยกฎหมายขายหุ้นที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาตามข้อ 1. ซึ่งไม่มีต้นทุน บุตรจะต้องนำกำไรจากการขายหุ้นทั้งหมดไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40 (4) (ช) และมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1. การโอนหุ้นที่จะเข้าลักษณะเป็น "เงินได้พึงประเมิน" ตามคำนิยามมาตรา 39 และมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเป็นการโอนหุ้นที่มีผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ตามข้อเท็จจริง กรณีบิดาโอนหุ้นให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทน จึงไม่มีผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน กรณีนี้บิดาจึงไม่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. การได้รับโอนหุ้นของบุตร เข้าลักษณะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ถือเป็น "เงินได้พึงประเมิน" ตามคำนิยามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อเท็จจริง หากการรับโอนหุ้นได้กระทำก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 มาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงยังคงมีผลบังคับใช้ บุตรจึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กรณีได้รับโอนหุ้นจากบิดา

3. หากต่อมาบุตรโอนขายหุ้นที่ได้รับมาโดยไม่มีค่าตอบแทนดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะผู้ถือหุ้นย่อมหวังที่จะได้รับประโยชน์จากเงินปันผลหรือกำไรจากการโอนเป็นปกติอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น จึงต้องนำผลประโยชน์ที่ได้จากการขายหุ้นดังกล่าวเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบุตร ทั้งนี้ ตามมาตรา 39 และมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อเท็จจริง เมื่อบุตรไม่มีต้นทุนในการได้มาซึ่งหุ้น บุตรจึงต้องนำผลประโยชน์ที่ได้จากการขายหุ้นทั้งจำนวนมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณีที่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย ก. โอนหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งตนถือครองอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กับนาย ก. ซึ่งเป็นบุตร โดยเสน่หา และไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น บิดาในฐานะผู้โอนหุ้น และ/หรือนาย ก. ในฐานะผู้รับโอนหุ้น มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายสำหรับการโอน และการรับโอนหรือไม่

แนววินิจฉัย

1. การโอนหุ้นที่จะเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามคำนิยามมาตรา 39 และมาตรา40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นการโอนหุ้นที่มีผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน กรณีตามข้อเท็จจริงการโอนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้กับนาย ก. ซึ่งเป็นบุตร โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงไม่มีผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน การโอนหุ้นดังกล่าว จึงไม่มีเงินได้พึงประเมินที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ผู้รับโอนจึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 2. การได้รับโอนหุ้นของนาย ก. ซึ่งเป็นบุตร เข้าลักษณะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามคำนิยามมาตรา 39 และมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค 0702/11070 วันที่: 11 ธันวาคม 2558 เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการโอนหุ้นให้บุตรชอบด้วยกฎหมายข้อกฎหมาย : มาตรา 40 (4) (ช) และมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือ           บริษัท A )ได้หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการโอนหุ้นให้บุตรชอบด้วยกฎหมาย มีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า บริษัท A จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ได้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นของบริษัท A มีราคาพาร์ (PAR) เท่ากับหุ้นละ 10 บาท แต่มีราคามูลค่าทางบัญชี (Book Value) เท่ากับหุ้นละ 90 บาทเนื่องจากได้มีการแก้ไขมาตรา 42 (10) ประมวลรัษฎากร โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559ผู้ถือหุ้นบริษัท A ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจำนวน 4 คน จึงมีความประสงค์จะโอนหุ้นของตนเองให้บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทนก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559บริษัท A ได้หารือว่า ความเข้าใจของบริษัท A ดังต่อไปนี้ถูกต้องหรือไม่
               1. กรณีบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นบิดาได้โอนหุ้นให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทนถือเป็นการให้โดยเสน่หา จึงไม่มีผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนถือว่าผู้โอนไม่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรจากการโอนหุ้นดังกล่าว
               2. กรณีบุตรชอบด้วยกฎหมายได้รับโอนหุ้นจากบิดา เข้าลักษณะเป็นการได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่การได้รับหุ้นในกรณีดังกล่าวก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
               3. กรณีบุตรชอบด้วยกฎหมายขายหุ้นที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาตามข้อ 1. ซึ่งไม่มีต้นทุน บุตรจะต้องนำกำไรจากการขายหุ้นทั้งหมดไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แนววินิจฉัย           1. การโอนหุ้นที่จะเข้าลักษณะเป็น "เงินได้พึงประเมิน" ตามคำนิยามมาตรา 39 และมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเป็นการโอนหุ้นที่มีผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ตามข้อเท็จจริง กรณีบิดาโอนหุ้นให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทน จึงไม่มีผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน กรณีนี้บิดาจึงไม่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
               2. การได้รับโอนหุ้นของบุตร เข้าลักษณะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ถือเป็น "เงินได้พึงประเมิน" ตามคำนิยามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อเท็จจริง หากการรับโอนหุ้นได้กระทำก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 มาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงยังคงมีผลบังคับใช้ บุตรจึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กรณีได้รับโอนหุ้นจากบิดา
               3. หากต่อมาบุตรโอนขายหุ้นที่ได้รับมาโดยไม่มีค่าตอบแทนดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะผู้ถือหุ้นย่อมหวังที่จะได้รับประโยชน์จากเงินปันผลหรือกำไรจากการโอนเป็นปกติอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น จึงต้องนำผลประโยชน์ที่ได้จากการขายหุ้นดังกล่าวเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบุตร ทั้งนี้ ตามมาตรา 39 และมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อเท็จจริง เมื่อบุตรไม่มีต้นทุนในการได้มาซึ่งหุ้น บุตรจึงต้องนำผลประโยชน์ที่ได้จากการขายหุ้นทั้งจำนวนมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เลขตู้: 78/39945

การโอนหุ้นให้ลูกเสียภาษีไหม

1. กรณีบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นบิดาได้โอนหุ้นให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทนถือเป็นการให้โดยเสน่หา จึงไม่มีผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนถือว่าผู้โอนไม่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรจากการโอน ...

บุคคลธรรมดา ขายหุ้น เสียภาษี อย่างไร

เป็นภาษีจากธุรกรรมการขายหุ้น (Transaction Tax) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.10% (อัตราตามมาตรา 91/6(1)) ของมูลค่าที่ขาย แต่ภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 240) พ.ศ.2534 จนถึงปัจจุบัน

โอนหุ้นให้คนอื่นยังไง

เอกสารประกอบ (ใบหุ้น 1 ใบต่อเอกสาร 1 ชุด).
ใบหุ้นฉบับจริง : โดยเจ้าของใบหุ้น (ผู้โอน) ลงนามหลังใบหุ้น 1 ตำแหน่ง ตรง “ข้อ 1 ลงลายมือชื่อผู้โอน”.
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้โอน 1 ชุด รับรองสำเนาถูกต้อง “ใช้เพื่อการโอนหุ้น”.
สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด รับรองสำเนาถูกต้อง “ใช้เพื่อการโอนหุ้น”.

ขายหุ้นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ เสียภาษีไหม

กำไรจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ แม้จะมี TSD เป็นนายทะเบียนก็ตาม ผู้มีเงินได้จากการขายมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ (Capital Gain) ตามปกติ (มาตรา 40 (4) (ช) ตามประมวลรัษฎากร)